Issue 37

ทำน้อยได้มาก? ความเป็นไปได้และข้อจำกัดของการบริหารรัฐกิจด้วยระบบแพลตฟอร์มในประเทศไทยยุคหลังรัฐประหาร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์สำหรับการงอกงามของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม  เช่นเดียวกับเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในพื้นที่อื่นๆ บริษัทแพลตฟอร์มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาทิ Grab, Lazada, Shopee) ได้พลิกโฉมหน้าชีวิต เศรษฐกิจ โครงสร้างแรงงาน และพื้นที่เมืองในภูมิภาคนี้  ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งของ “กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบแพลตฟอร์ม” (platformization) ที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้และมีความสำคัญไม่แพ้กัน กระนั้นกลับได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยกว่า นั่นคือ การเกิดขึ้นของ “การบริหารงานภาครัฐด้วยระบบแพลตฟอร์ม” (platform governance)  Ansell and Miura (2020) นิยามการบริหารรัฐกิจด้วยระบบแพลตฟอร์มว่า “สถาบันที่ใช้สถาปัตยกรรมของมันในเชิงยุทธศาสตร์เพื่องัดง้าง กระตุ้น และควบคุมขับเคลื่อนปฏิบัติการทางสังคมที่กระจัดกระจาย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการบริหารรัฐกิจตามที่มุ่งหมายไว้”   การนำมาใช้และการปรับแปลงแนวคิดระบบแพลตฟอร์มของผู้กระทำการทางการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยดำเนินไปท่ามกลางบริบทเชิงสถาบันและการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ  ในระดับชาติ ประเทศไทยอยู่ภายใต้รัฐบาลผสมที่กองทัพเป็นผู้นำมาตั้งแต่การรัฐประหารปี […]

Issue 37

การใช้แพลตฟอร์มเพื่อการมีส่วนร่วมในเมืองต่างๆ ของอินโดนีเซีย

แพลตฟอร์มของการมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงไปในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตได้พลิกโฉมหน้าวิถีที่เราดำเนินชีวิต  รวมทั้งวิธีการที่เราติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันข้ามพ้นขอบเขตพรมแดนทางกายภาพ  ถึงแม้อินโดนีเซียมีเงื่อนไขเชิงภูมิศาสตร์ที่เป็นหมู่เกาะ แต่พลเมืองอินโดนีเซียก็ติดต่อเชื่อมโยงกัน  เห็นได้จากตัวเลขอย่างน้อย 78.5% ของฐานผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในอินโดนีเซียมีการใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งแพลตฟอร์ม (Kemp, 2023)  นอกจากนี้ มันยังเปลี่ยนโฉมหน้าการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอินโดนีเซียด้วย  พลเมืองสามารถหรือกระทั่งได้รับการกระตุ้นให้ส่งเสียงแสดงความต้องการของตนโดยตรงผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน  มีข่าว ความคิดเห็น หรือเรื่องราว ให้แชร์และถกเถียงกันเสมอทุกวันในอัตราที่ทำให้เราสงสัยว่า การวิวาทะต่างๆ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ก่อให้เกิดผลดีหรือไม่ ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงว่ามีความหมายหรือเปล่า การมีส่วนร่วมทางดิจิทัลช่วยเปิดโอกาสกว้างใหญ่แก่ประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นในโลกความจริงเสมือน  มันถึงขนาดกำหนดวิถีโคจรในอนาคตของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ในโลกอนาล็อก  ในขณะเดียวกัน รัฐบาลท้องถิ่นก็กำลังพยายามไล่ตามให้ทันกับกระแสดิจิทัลเหล่านี้  เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อินโดนีเซียก็มีประสบการณ์กับ “ความเฟื่องฟูของเมืองอัจฉริยะ” เช่นกัน (Equinix, 2019) ดังเห็นได้จากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหลากหลายแบบที่เทศบาลเมืองหลายแห่งนำมาใช้เพื่อปรับปรุงยกระดับบริการสาธารณะ  ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ของรัฐบาลถูกนำมาใช้เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเพื่อปลูกฝังโครงการและระเบียบข้อบังคับต่างๆ สู่ความรับรู้ของประชาชนในวงกว้าง  […]

Issue 37

การเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจแพลตฟอร์มของระบบเศรษฐกิจมาเลเซีย: เหล้าใหม่ในขวดเก่า?

สืบเนื่องจากปรากฏการณ์ที่ประเทศจีนมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งการมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้นกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  กลุ่มผู้วางนโยบายภายในภูมิภาคนี้จึงเห็นสมควรที่จะดำเนินการเชิงรุกในการเชิญชวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment–FDI) จากประเทศจีนให้มากขึ้น  ความน่าสนใจของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนเกิดขึ้นท่ามกลางช่วงเวลาที่ความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมมีภาวะชะงักงันในเศรษฐกิจหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดภาวะที่ถูกหลอกหลอนจากปัญหากับดักรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap–MIT)  ในประเด็นนี้ ประสบการณ์ของมาเลเซียอาจช่วยให้เกิดความเข้าใจที่มีประโยชน์  เพื่อแสวงหาประโยชน์สูงสุดจากความสัมพันธ์อันยาวนานกับจีน มาเลเซียซึ่งเป็นหนึ่งในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงพยายามผลักดันความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจ  กล่าวในรายละเอียดก็คือ อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก (ดำรงตำแหน่งปี 2009-2018) ได้ทุ่มเทความพยายามและความตั้งใจอย่างมากในการชักชวนบรรษัทข้ามชาติของจีนเข้ามาในประเทศ  รัฐบาลนาจิบถูกมองว่าเป็นรัฐบาลที่ขยายการพึ่งพิงบรรษัทข้ามชาติของจีนอย่างมาก เพื่อหาทางบรรลุภารกิจอันตั้งเป้าหมายไว้สูง โดยมีช่วงระยะเวลาคืนทุนนานกว่าปรกติ อันที่จริง โครงการร่วมมือกับจีนที่โดดเด่นที่สุดบางโครงการ ซึ่งริเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลนาจิบและนายกรัฐมนตรีคนต่อๆ มาก็ยังดำเนินการสานต่อ ประกอบด้วยโครงการระบบรางเชื่อมชายฝั่งตะวันออก East Coast Rail Link (ECRL) โครงการนิคมอุตสาหกรรม […]

Issue 37

จุดจบของธุรกิจเสรี? การควบคุมเศรษฐกิจสัญญาจ้างชั่วคราวในสิงคโปร์และประเทศไทยยุคหลังโควิด-19

เศรษฐกิจสัญญาจ้างชั่วคราว (Gig Economy) เฟื่องฟูไปทั่วโลกนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การที่ผู้บริโภคต้องพึ่งพาอาศัยบริการส่งตามสั่ง (on-demand delivery) เพิ่มมากขึ้น และการที่ประชาชนหลายล้านคนหันเหมาทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานกับธุรกิจแพลตฟอร์มหลังจากมีมาตรการปิดพื้นที่ (ล็อคดาวน์) และสั่งหยุดการทำงานของภาคธุรกิจ ทำให้การทำงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราวกลายเป็นหัวใจสำคัญของครัวเรือนและระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาคนี้ยิ่งกว่าเดิม จากการที่กลุ่มเทคโนแครตและกลุ่มการเมืองมีความกังวลมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มแรงงานก็เคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานมากขึ้น นักวางนโยบายทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ต่างก็ถูกบีบให้ปรับแก้แนววิธีปฏิบัติเดิม ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินตามแนวทาง “ไม่แทรกแซง” หรือธุรกิจเสรี (laissez-faire) อันเป็นแนวทางที่พวกเขาใช้จัดการต่อภาคส่วนเศรษฐกิจนี้ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา   ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ดำเนินตามแนวทางนี้เช่นกัน  พร้อมกันนั้นรัฐบาลในภูมิภาคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระบอบเผด็จการและระบอบกึ่งทหาร ต่างก็พยายามหาวิธีที่จะรับมือกับสภาวะไม่มั่นคงของไรเดอร์และไดรเวอร์ในเศรษฐกิจภาคส่วนนี้  การพิจารณาเส้นทางและทางเลือกต่างๆ ของแนววิธีปฏิรูปในประเทศไทยและสิงคโปร์ จะช่วยเผยให้เห็นกลไก ขีดจำกัด และความเสี่ยงของนโยบาย  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์กำกับดูแลต่างๆ ในระบอบที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและระบอบกึ่งเผด็จการทหาร แรงงานที่ถูกกีดกันและขาดไร้การกำกับดูแล ท่าทีของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อความตึงเครียดในเศรษฐกิจสัญญาจ้างชั่วคราวถูกกำหนดจากความสามารถที่มีจำกัดของแรงงานในการรวมตัวจัดตั้งและกดดันผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองและนโยบาย  […]

Issue 37

ความยืดหยุ่น ความมั่นคง และการแสวงหาความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในงานแพลตฟอร์ม: กรณีศึกษาไรเดอร์จากประเทศไทย

บทความนี้จะอภิปรายโดยสังเขปถึงประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานแพลตฟอร์มเรียกรถและส่งอาหาร หรือที่มักเรียกกันว่า “ไรเดอร์”  ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้รวบรวมจากการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการทำแบบสอบถามกับไรเดอร์ 435 คน ซึ่งอาศัยและทำงานในกรุงเทพกับจังหวัดอื่นอีกสามจังหวัด กล่าวคือ ขอนแก่น อ่างทองและปัตตานี  จากการสังเกตการประท้วงและการสัมภาษณ์ผู้นำหลายคนของหลายองค์กรที่เกิดจากการจัดตั้งของกลุ่มไรเดอร์  ผู้เขียนพบว่าความไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่ไรเดอร์เกี่ยวเนื่องกับความเข้าใจที่พวกเขามีต่อความเชื่อมโยงกันระหว่างความสัมพันธ์ในการจ้างงานและการคุ้มครองทางสังคม ปัญหาของไรเดอร์ จากการวิเคราะห์การประท้วงทั้ง 19 ครั้งที่กลุ่มไรเดอร์ต่างๆ เป็นแกนนำระหว่างเดือนมกราคม 2563 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564  ผู้เขียนพบว่าข้อเรียกร้องของไรเดอร์มีจุดมุ่งเน้นอันดับแรกอยู่ที่ค่าจ้างและเงินจูงใจ (89.5%)  ปัญหาการทำงานผิดพลาดของอัลกอริทึมในแพลตฟอร์ม (41.2%) การเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน (41.2%) และเรียกร้องประกันอุบัติเหตุ ( 11.8%)  ข้อเรียกร้องทั้ง 4 ประการนี้มีความเชื่อมโยงกันและได้รับการยืนยันซ้ำจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็น  ค่าจ้างและเงินจูงใจของไรเดอร์ลดลงพอสมควร  ยกตัวอย่างเช่น Grab […]

Issue 36

การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนญี่ปุ่น

การสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า ในทุกกลุ่มช่วงวัยของประชากรทั้งหมด มีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนเกิน 90% ในปี 2019 และอัตราการใช้ LINE ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศญี่ปุ่น เกิน 90% ในปี 2020 (Institute for Information and Communications Policy; IICP, 2022)  ทุกวันนี้ สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมในญี่ปุ่น  ประชาชนใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลาและสถานที่  บทความนี้จะอภิปรายถึงบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในญี่ปุ่น โดยเน้นไปที่คนรุ่นหนุ่มสาวที่เรียกกันว่า “ชาวดิจิทัลโดยกำเนิด” (digital native)  ในส่วนแรกจะอภิปรายถึงสภาพการณ์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนหนุ่มสาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน  จากนั้นจะกล่าวถึงตัวอย่างของปฏิบัติการทางการเมืองที่โดดเด่นสองกรณีซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสื่อสังคมออนไลน์  ในส่วนสุดท้ายจะพิจารณาถึงความท้าทายของการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนรุ่นหนุ่มสาวในญี่ปุ่น ภูมิทัศน์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในหมู่เยาวชนญี่ปุ่น เราสามารถให้คำจำกัดความของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนญี่ปุ่นว่า […]

Issue 36

จุดแข็งของสายสัมพันธ์แบบอ่อน: เยาวชนกับการเมืองดิจิทัลในอินโดนีเซีย

ห้องเสียงสะท้อน: ปรากฏการณ์ “LOE LAGI LOE LAGI (4L)” ภูมิทัศน์ทางการเมืองของอินโดนีเซียมีความซับซ้อนและแปรเปลี่ยนตลอดเวลา เนื่องจากมีกลุ่มการเมืองและกลุ่มกดดันมากมายมหาศาล ซึ่งเคลื่อนไหวพัวพันในประเด็นปัญหาหลากหลายอย่างยิ่ง  เพื่อทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อพลวัตทางการเมืองในประเทศนี้ โดยเฉพาะบทบาทของเยาวชนในการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หัวใจสำคัญคือต้องเข้าใจปฏิสัมพันธ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ระหว่างกลุ่มการเมืองและกลุ่มกดดันต่างๆ  ในบทความนี้ นิยามของกลุ่มการเมืองและกลุ่มกดดันคือองค์กรต่างๆ ที่มุ่งแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคม-สิ่งแวดล้อม-การเมืองที่มีมากมายผ่านช่องทางเชิงสถาบันในหลายลักษณะ อาทิ พรรคการเมือง องค์กรเอกชน องค์กรเยาวชน และองค์กรภาคประชาสังคม สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่มในสังเวียนการเมือง  Hillary Brigitta Lasut ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอายุน้อยที่สุดจากจังหวัดซูลาเวซีเหนือ กล่าวไว้ว่า “สื่อสังคมออนไลน์ช่วยให้การเข้าถึงผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงวัยหนุ่มสาวทำได้ในขอบเขตที่กว้างขึ้นและลดต้นทุนได้มากในระหว่างการหาเสียงของฉัน”  Lasut ใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายรูปแบบในการมีปฏิสัมพันธ์กับฐานเสียงอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม  นอกจากนี้ พรรคการเมืองที่เธอสังกัดยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมาจัดการและสนับสนุนการดำเนินงานทั่วทั้งอินโดนีเซีย (Kemenkominfo, 2021)  การที่คนหนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียมีส่วนร่วมผลักดันในกิจกรรมหลากหลายประเภทที่สนับสนุนประชาธิปไตยและสร้างคุณูปการต่อโครงสร้างทางการเมืองของอินโดนีเซีย […]

Issue 36

ศักยภาพและความท้าทายของสื่อสังคมออนไลน์ในฐานะเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในมาเลเซีย

มาเลเซียผ่านกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอันยาวนาน พร้อมกับมีขบวนการสังคมใหญ่ที่สุดสองขบวนการในช่วงยี่สิบปีหลัง กล่าวคือ ขบวนการ Reformasi ซึ่งก่อตัวขึ้นในปี 1998 และการประท้วงต่อสู้เพื่อการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมอย่างต่อเนื่องในชื่อเรียกว่า  BERSIH (2007-2016) จนทำให้มาเลเซียสามารถหลุดพ้นจากการเป็นรัฐพรรคเดียวที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งในโลก  แนวร่วมพรรคการเมืองที่เคยครองอำนาจรัฐมาอย่างยาวนานคือ Barisan Nasional (BN, National Front หรือที่เรียกกันว่าแนวร่วม Alliance ก่อนปี 1973) สิ้นสุดการครองอำนาจรัฐในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 (GE-14) ในปี 2018  การเปลี่ยนแปลงระบอบผ่านการเลือกตั้งหลายต่อหลายครั้งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยบางประการที่ไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งผ่านระบอบอำนาจนิยมที่มีการแข่งขันคล้ายๆ กัน (Croissant, 2022; Levitsky & Way, 2010)  […]

Issue 36

ปลุกคนแต่แยกขั้ว: บทบาทเยาวชนกับสื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งฟิลิปปินส์ปี 2022

ชาวฟิลิปปินส์จัดว่าเป็นประชากรผู้บริโภคเนื้อหาออนไลน์ที่กระตือรือร้นที่สุดชาติหนึ่งในโลก  ตามรายงานปี 2022 ของบริษัท We are Social ประเทศฟิลิปปินส์มีค่าเวลาเฉลี่ยต่อวันที่ใช้ไปกับโลกออนไลน์สูงที่สุดในโลก (10.5 ชั่วโมง)  องค์กรเดียวกันนี้ยังรายงานด้วยว่า 82.4% ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดมีการใช้งานแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์  เรื่องที่ตรงกับการคาดการณ์ก็คือ จำนวนเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในหมู่เยาวชนอายุ 15-24 ปีมากกว่า 20 ล้านคน  งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า 94% ของเยาวชนชาวฟิลิปปินส์ใช้อินเทอร์เน็ตหรือมีสมาร์ทโฟน ไม่น่าประหลาดใจที่ฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่างชัดเจนของการมีความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการยุ่งเกี่ยวการเมืองของพลเมือง  อย่างน้อยที่สุด การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวฟิลิปปินส์ผ่านการเลือกตั้งก็ค่อนข้างสูงทีเดียว กล่าวคือ มีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเฉลี่ย 80% ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จุดเชื่อมต่อนี้เห็นได้ชัดจากลักษณะที่สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียในปัจจุบันไม่ได้ถูกใช้แค่เป็นหนทางหนึ่งในการเชื่อมโยงสื่อสารเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพสำหรับการแบ่งพรรคแบ่งพวกทางการเมืองภายใต้เงื่อนไขของแยกขั้วที่ค่อนข้างอันตราย มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางมาแล้วว่า การชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2016 เป็น […]

Issue 36

“กลัวพลาดตกขบวน” กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์: กรณีสิงคโปร์

ปัญหาของการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง  ความเติบโตของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย เอื้อให้พลเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ง่ายขึ้นและลดต้นทุนของการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชนหลายล้านคน (Ahmed & Madrid-Morales, 2020; Gil de Zúñiga et al., 2012; 2014)  อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากก็ยังไม่สนใจการเมืองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง (Ahmed & Gil-Lopez, 2022; Zhelnina, 2020)  ความไม่สนใจการเมืองคือการขาดความสนใจต่อความเป็นไปทางการเมือง รวมถึงข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมทางการเมือง เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  นักรัฐศาสตร์มองว่านี่เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง (Dean, 1965; Rosenberg, 1954)  พลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการเมืองที่ทำงานได้ดี  ระบอบประชาธิปไตยจะเติบโตได้ได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพลเมืองเข้ามาพัวพันในการเมืองประจำวันและการเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน  ยิ่งกว่านั้น “การมีส่วนร่วมที่เอียงกะเท่เร่นำไปสู่การปกครองที่เอียงกะเท่เร่” […]

Issue 36

โอกาสและอุปสรรค: โครงสร้างทางโอกาสและผลพวงที่มีต่อขบวนการฝ่ายประชาธิปไตยในประเทศไทย

เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ทั่วโลกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนต่างกระตือรือร้นกับการใช้มันเป็นช่องทางเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น  ความคาดหวังนี้ยิ่งขยายตัวเมื่อแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียปรากฏขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เนื่องจากประชาชนคาดหวังว่าสื่อสังคมออนไลน์จะช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างขบวนการทางสังคม เอื้อให้ประชาชนก้าวข้ามอุปสรรคในการรวมตัวเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น รวมทั้งก่อให้เกิดปริมณฑลสาธารณะที่เข้มแข็งขึ้นในหลายๆ ด้าน ในประเทศไทย สังคมใช้ประโยชน์กันเต็มที่จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology—ICT) รวมทั้งดึงเอาโลกออนไลน์ที่แข็งแกร่งมาเติมเต็มเสริมสร้างการเคลื่อนไหวทางการเมือง  สถิติด้านดิจิทัลล่าสุดจาก DataReportal (2022) รายงานว่า ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีการเชื่อมต่อทางดิจิทัลมากที่สุดสังคมหนึ่งในเอเชีย  ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2565 ประชากรไทยประมาณ 78% สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเชื่อว่าแทบทั้งหมดเป็นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์  ระยะเวลาที่คนไทยใช้กับโลกออนไลน์จัดว่ามากพอสมควรทีเดียว  ค่าเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 9 ชั่วโมงบนเว็บไซต์ และ 3 ชั่วโมงเศษบนสื่อสังคมออนไลน์ (Leesa-nguansuk 2019)  ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา […]

Issue 35

จากความตายถึงการกำเนิด : ชีวประวัติ บริบททางศาสนา และการจดจำทิก กว๋าง ดึ๊กกับการเผาร่างพลีชีพ

วันที่ 11 มิถุนายน 1963 พระภิกษุอาวุโสชาวเวียดนามชื่อ ทิก กว๋าง ดึ๊ก เผาตัวเองจนมรณภาพตรงสี่แยกของถนนอันพลุกพล่านในเมืองไซ่ง่อน  การพลีชีพของพระภิกษุรูปนี้ได้จารึกภาพอันลบเลือนมิได้แก่สงครามเวียดนาม  ทั้งนี้ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากภาพถ่ายอันเป็นที่จดจำของมัลคอล์ม บราวน์ นักข่าวสำนัก Associated Press  ถึงแม้ภาพถ่ายชุดนี้ติดตามความตายอย่างใกล้ชิด แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าบันทึกภาพเปลวไฟที่เผาไหม้ร่างของพระภิกษุในศาสนาพุทธ  กระทั่งผ่านไปหนึ่งวัน เมื่อภาพถ่ายชุดนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับพระภิกษุรูปนี้ก็มีน้อยนิดมาก แทบไม่ต่างจากอ่านรายงานของตำรวจ  เดวิด ฮัลเบอร์สแตมเขียนไว้ในรายงานข่าวว่า  “พระภิกษุในศาสนาพุทธวัย 73 ปีประกอบอัตวินิบาตกรรมเพื่อยกระดับการประท้วงของชาวพุทธต่อนโยบายด้านศาสนาของรัฐบาล” ชีวประวัติ ไม่นานหลังจากการเผาร่างพลีชีพ องค์กรสหพุทธจักร (Unified Buddhist Church) แห่งเวียดนาม ได้ตีพิมพ์ชีวประวัติของทิก กว๋าง […]

Issue 35

มนตรากับความทรงจำ: พินิจเรื่องราวชีวิตในศาสนาพุทธของหมอพเนจรสมัยสาธารณรัฐเวียดนาม

เมื่อต้องเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธสมัยสาธารณรัฐเวียดนาม ประสบการณ์ในชีวิตจริงของปัจเจกบุคคลอาจช่วยจุดประกายความเข้าใจได้มากขึ้นเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนที่ล้อไปกับเค้าโครงของเรื่องเล่าระดับที่ใหญ่กว่า  ในที่นี้ เราจะพินิจเรื่องราวเช่นนี้เรื่องหนึ่ง นั่นคือ ประวัติชีวิตของหมอพเนจรและพระอาจารย์ด้านพุทธศาสนา เหงวียน วัน กว๋าง (Nguyễn Văn Quảng, ประมาณ 1950-ปัจจุบัน)  ตามที่เขาเขียนเล่าอัตชีวประวัติของตนโดยมีโกสต์ไรเตอร์ชาวอเมริกัน Margorie Pivar ช่วยเรียบเรียงให้ในหนังสือชื่อ Fourth Uncle in the Mountain: A Memoir of a Barefoot Doctor in Vietnam (2004)  ในบันทึกความทรงจำเล่มนี้ กว๋างเล่าย้อนถึงชีวิตในเวียดนามภาคใต้ (Nam […]

Issue 33

‘อินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ’ และอนาคตของระบอบเผด็จการดิจิทัลในกัมพูชา

ถึงแม้มีการรับรองเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นในรัฐธรรมนูญ แต่กัมพูชากำลังก้าวเข้าสู่ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อควบคุมภูมิทัศน์ด้านดิจิทัลของประเทศพร้อมกับการเริ่มบังคับใช้ ‘อินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ’ (National Internet Gateway–NIG) ซึ่งเป็นเกตเวย์ของรัฐบาลที่มีอำนาจควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งหมด อันจะนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองอย่างหนักภายในประเทศและช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบรัฐพรรคเดียวในกัมพูชา  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและพื้นที่ประชาสังคมเพื่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่หลงเหลือแค่ริบหรี่กำลังตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามจากการเริ่มบังคับใช้ซิงเกิลเกตเวย์ (Single Gateway)  เดิมทีนั้นมีแผนการที่จะเริ่มใช้ในช่วงต้นปี 2022 แต่ถูกชะลอไปก่อน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกัมพูชาเพิ่มขึ้นจาก 0.53% ของประชากรในปี 2009 พุ่งขึ้นเป็น 52.6% ของประชากร (8.86 ล้านคน) ในปี 2021  ในปี 2021 มีบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ 5 ราย ให้บริการทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภาคพื้นดินและโทรศัพท์มือถือในกัมพูชา อันประกอบด้วย Viettel, Smart Axiata, […]

Issue 33

ธำรงการปกครองพรรคเดียวในสิงคโปร์ด้วยเครื่องมือเผด็จการดิจิทัล

สิงคโปร์เป็นรัฐพรรคเดียวโดยพฤตินัย โดยมีพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party–PAP) กุมบังเหียนมานับตั้งแต่การเลือกตั้งรัฐสภาครั้งแรกภายหลังประเทศได้รับเอกราชในปี 1968  องค์กร Freedom House มักจัดอันดับนครรัฐแห่งนี้อยู่ในกลุ่ม “เสรีบางส่วน” ตั้งแต่มีการจัดทำรายงานสถานการณ์ของประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกในปี 1973  ตั้งแต่ปี 2006 จนถึง 2013 แผนกวิจัยและวิเคราะห์ของสำนักข่าว The Economist ให้คำจำกัดความว่าสิงคโปร์เป็น “ระบอบพันทาง” และต่อมาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยแบบมีตำหนิ” (flawed democracy) (2014 ถึง 2021) เสรีภาพของสื่อถูกจำกัดอย่างรุนแรง จนองค์กร Reporters Without Borders […]

Issue 33

โรคระบาดโควิด-19 กับวิวัฒนาการของระบบเผด็จการดิจิทัลในอินโดนีเซีย

เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานจาก Freedom House, IDEA และ Reporters Without Borders ที่ชี้ให้เห็นว่า ภายในโลกดิจิทัลของอินโดนีเซียนั้นมีปัญหาต่อเนื่องเกี่ยวกับพื้นที่ของภาคประชาสังคมที่หดตัวลง  รายงานเหล่านี้สอดคล้องกับรายงานระดับชาติจาก Indonesian National Human Rights Institution และการสำรวจความคิดเห็นประจำปี 2020 ของหนังสือพิมพ์รายวัน Kompas ที่แสดงให้เห็นว่า 36% ของประชากรอินโดนีเซียรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ การมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 204.7 ล้านราย (มกราคม 2022) หรืออย่างน้อย 73.7 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด อินโดนีเซียมีความเป็นอำนาจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ช่วงต้นของการเกิดโรคระบาดโควิด-19  รัฐบาลมักใช้คำศัพท์อย่างเช่น “ปกป้องความมั่นคงของชาติ” […]

Issue 32

ซ่อมสร้างความสัมพันธ์กัมพูชา-สหรัฐฯ : มุมมองจากฝั่งกัมพูชา

กัมพูชากับสหรัฐอเมริกาฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 70 ปีในปี 2020 ที่ผ่านมา  การฉลองวาระครบรอบนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่ไว้วางใจและความคลางแคลงที่พอกพูนขึ้นระหว่างสองประเทศ  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ความสัมพันธ์กัมพูชา-สหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวนขึ้นๆ ลงๆ สืบเนื่องจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน อันประกอบด้วยผลประโยชน์ด้วยภูมิศาสตร์การเมืองและยุทธศาสตร์ สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และในระยะหลังก็คือปัจจัยจีน (China Factor) อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ สายสัมพันธ์ทวิภาคียิ่งเสื่อมถอยลงเพราะการกล่าวหา การเผชิญหน้าและความไม่ไว้วางใจ  ในปี 2017  กัมพูชากล่าวหาสหรัฐฯ ว่าสมรู้ร่วมคิดกับพรรคสงเคราะห์ชาติ (Cambodia National Rescue Party–CNRP) ต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา  พรรคสงเคราะห์ชาติคือพรรคฝ่ายค้านพรรคใหญ่ของกัมพูชา ซึ่งตอนนี้ถูกยุบพรรคไปแล้ว  ในปี 2019 สหรัฐอเมริกากล่าวหากัมพูชาว่าลงนามในสัญญาลับกับจีน […]

Issue 32

พลวัตทางการเมืองและเศรษฐกิจของความร่วมมือ “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ระหว่างอินโดนีเซีย-จีน

การตรวจสอบสถานะของอินโดนีเซียบนเวทีระหว่างประเทศควรพิจารณาจากการตัดสินใจด้านนโยบายต่างประเทศที่เป็นรูปธรรม  ในบรรดาองค์ประกอบหลายประการของนโยบายต่างประเทศนั้น ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจัดเป็นจุดศูนย์ถ่วงที่สำคัญ  การที่ประธานาธิบดีโจโกวีให้ความสำคัญอันดับต้นแก่การตอบสนองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสะท้อนออกมาให้เห็นในลำดับความสำคัญด้านนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย นั่นคือ การส่งเสริม “การทูตด้านเศรษฐกิจ” ให้อยู่แถวหน้าสุดในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน  วาระการทูตด้านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียสอดคล้องต้องตรงกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ภายในประเทศ  ซึ่งหลักใหญ่ใจความคือการมุ่งสู่เป้าหมายระดับชาติที่จะยกระดับความเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  การตัดสินใจทางการทูตด้านเศรษฐกิจที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งของโจโกวีคือ ความร่วมมือ “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้น” ระหว่างอินโดนีเซีย-จีน (Indonesia-China Belt and Road Initiative  ต่อไปจะเรียกว่า BRI)  บทความนี้จะวิเคราะห์ความร่วมมือ BRI ของอินโดนีเซียและพลวัตทางการเมือง-เศรษฐกิจบางประการที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ จุดยืนและมุมมองของอินโดนีเซียต่อ BRI ระหว่างที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงมาเยือนอินโดนีเซียในปี 2013 เขาประกาศว่ารัฐบาลจีนมีความสนใจที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางทะเลผ่านกลไก “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Maritime Silk Road–MSR) […]

Issue 32

เมื่อความเปลี่ยนแปลงปะทะความต่อเนื่อง: นโยบายต่างประเทศของมาเลเซียในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา

ในช่วงเวลา 4 ปีระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ของมาเลเซียในเดือนพฤษภาคม 2018 และธันวาคม 2021 ปูตราจายาได้เห็นการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีถึงสามคนและการล่มสลายของพรรคแนวร่วมรัฐบาลถึงสองครั้ง  ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศมีการผลัดเปลี่ยนถึงสามครั้งระหว่างผู้ได้รับการแต่งตั้งสองคน และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศก็เปลี่ยนหน้ารัฐมนตรีถึงสามคนตามลำดับ  ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางฉากหลังที่วิกฤตการณ์ด้านสุขภาพและเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19 กำลังเริ่มต้นซ้ำเติมภูมิทัศน์ทางการเมืองภายในประเทศ ในช่วงกรอบเวลานี้เช่นกัน มาเลเซียได้เผยแพร่สมุดปกขาวด้านการป้องกันประเทศ (Defence White Paper—DWP) ออกมาเป็นครั้งแรก พร้อมกับกรอบนโยบายต่างประเทศสองฉบับที่บรรยายถึงลำดับความสำคัญและสถานะตำแหน่งของประเทศในการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ความปั่นป่วนทางการเมืองครั้งใหญ่ภายในประเทศเกิดขึ้น และมีการเดินหมากพลั้งพลาดเป็นครั้งคราวในการผูกสัมพันธ์กับภายนอกตลอดช่วงสี่ปีที่ผ่านมา แต่พื้นฐานแนวคิดด้านนโยบายต่างประเทศโดยรวมของมาเลเซียยังมีสาระคงเดิมที่ไม่เปลี่ยนแปลง  การดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศตามบุคลิกภาพของรัฐมนตรีแต่ละคนอาจก่อให้เกิดบรรยากาศของความไม่สม่ำเสมอด้านนโยบายบ้าง แต่หลักเกณฑ์ด้านการทูตของมาเลเซียยังคงเส้นคงวาอยู่  อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงอนาคตข้างหน้า พื้นที่ที่เป็นจุดสนใจใหม่และยังทรงพลังอยู่ อาทิ การทูตด้านสุขภาพ ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ และการทูตด้านวัฒนธรรม จะขึ้นอยู่กับเสถียรภาพภายในประเทศ […]

Issue 32

นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์หลังยุคดูเตอร์เต: ข้อคำนึงสำคัญสำหรับประธานาธิบดีคนต่อไป

เมื่อตำแหน่งประธานาธิบดีของโรดริโก ดูเตอร์เตหมดวาระลง ฟิลิปปินส์จะต้องเผชิญความไม่แน่นอนว่า ผู้นำประเทศคนต่อไปจะดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบไหน  ส่วนใหญ่แล้วเมื่อมีรัฐบาลใหม่ ก็มักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศและพฤติกรรมต่อภายนอกมากบ้างน้อยบ้าง ทั้งนี้เพราะประธานาธิบดีแต่ละคนนำเอาอคติของตนติดตัวเข้ามาสู่ทำเนียบด้วย  การปรับเปลี่ยนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวประธานาธิบดีมีมุมมองและจะส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติอย่างไร ซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานของนโยบายต่างประเทศและหลักปฏิบัติในกิจการระหว่างประเทศ  กระนั้นก็ตาม ในการสานต่อผลประโยชน์ของชาติ หัวหน้าคณะรัฐบาลคนต่อไปจะต้องเผชิญกับความท้าทายด้านภูมิศาสตร์การเมืองและรับมือกับนโยบายเจ้าปัญหาของดูเตอร์เตด้วย ซึ่งสร้างผลพวงตามมาอย่างสำคัญต่ออนาคตของนโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ ตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กับนโยบายต่างประเทศ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์มักได้รับการอ้างถึงว่าเป็นสถาปนิกใหญ่ของนโยบายต่างประเทศ  ด้วยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีจึงมีอิสระทางการเมืองมากพอสมควรในการกระทำการและตัดสินใจใดๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติในส่วนที่สัมพันธ์กับประเทศอื่นและองค์กรระหว่างประเทศ  ประธานาธิบดีสามารถประเมินทบทวนลำดับความสำคัญใหม่ “กำหนดน้ำเสียงและท่าทีในชุมชนระหว่างประเทศ และแม้กระทั่งบริหารจัดการด้านการทูตด้วยตัวเองกับบางประเทศตามที่ตนปรารถนา โดยอยู่ภายใต้ข้อจำกัดเชิงโครงสร้างบางอย่าง” (Baviera 2015)  ด้วยเหตุนี้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์จึงสามารถประทับบุคลิกภาพประจำตัวลงบนนโยบายต่างประเทศของชาติได้  อันที่จริง การประเมินกิจการระหว่างประเทศและความสัมพันธ์กับภายนอกประเทศของฟิลิปปินส์มักวางพื้นฐานอยู่บนการประเมินการบริหารงานของประธานาธิบดีคนนั้นๆ อาทิ นโยบายต่างประเทศของอาร์โรโย (2001-2010) หรือนโยบายต่างประเทศของอากีโน (2010-2016) เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองของฟิลิปปินส์ที่บุคลิกภาพมีบทบาทกำหนดอย่างมาก นโยบายต่างประเทศจึงมักเน้นย้ำลักษณะเฉพาะตัวของประธานาธิบดีแต่ละคน  […]

Issue 32

ในเงื้อมเงาจีน: นโยบายต่างประเทศที่ผิดพลาดของไทย

ใครคือภัยคุกคาม? เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายต่างประเทศไทยอภิปรายกันถึงแนวโน้มต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ประเด็นหนึ่งที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาก่อนอื่นเสมอและไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดก็คือ จุดยืนของประเทศไทยต่อการขับเคี่ยวกันระหว่างจีนกับอเมริกาเพื่อการมีอิทธิพลสูงสุดในเอเชียหรือในโลกด้วยซ้ำ  เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่รัฐบาลอเมริกันค่อยๆ ลดบทบาทของตนในตะวันออกกลางลงตลอดช่วงระยะหลัง  ดูเหมือนยุทธศาสตร์ใหญ่ก้าวต่อไปของอเมริกาคือการเข้ามามีบทบาทเป็นศูนย์กลางในเอเชีย ดังเช่นตัวอย่างที่โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกไว้  ในทำนองเดียวกัน โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา ก็แสดงให้เห็นสัญญาณบ่งบอกความสนใจต่อเอเชียหลายครั้งหลายหนเช่นกัน นักวิเคราะห์เกี่ยวกับประเทศไทยย่อมมีการคาดการณ์เกี่ยวกับพัฒนาการในโลกเช่นดังข้างต้นเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐไทยสามารถกำหนดนโยบายต่างประเทศในวิถีทางที่เกิดประโยชน์ที่สุด  เมื่อต้องเลือกระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา มักมีข้อแนะนำว่ารัฐบาลไทยควรพยายามสร้างสมดุลให้แก่ความสัมพันธ์กับทั้งสองประเทศมหาอำนาจ  ความเชื่อนี้เกิดมาจากภาษิตเก่าแก่ที่แพร่หลายเป็นวงกว้างในหมู่คณะทำงานด้านการทูตชาวไทยว่า “เพื่อนในวันนี้อาจกลายเป็นศัตรูในวันหน้า” บทความสั้นๆ ชิ้นนี้ขอเสนอคำแนะนำที่แตกต่างจากคำแนะนำของคนอื่นๆ โดยขอนำเสนอเหตุผลว่าทำไมไทยจึงควรเลือกข้างในยุคปัจจุบันที่มีการชิงดีชิงเด่นระหว่างจีนกับอเมริกา  บทความนี้เสนอแนะว่า จีนต่างหาก มิใช่อเมริกา ที่เป็นภัยคุกคามอย่างชัดเจนต่อความมั่นคง สถานะ จนแม้กระทั่งคุณค่าเสรีนิยม-ประชาธิปไตยของประเทศไทย  บทความนี้เริ่มต้นด้วยการวางแนวทางในการประเมินว่าจีนหรือสหรัฐฯ กันแน่ที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศไทยมากกว่ากัน  จากนั้นจึงจะหยิบยกความเป็นไปต่างๆ […]

Issue 32

中国の言いなり:判断を誤ったタイの外交政策

脅威はどちらか?  タイ外交政策の専門家が国際情勢の動向を論じる際に、常に脚光を浴びる問題がある。当然、その一つは米中の、世界ではないにせよ、アジアでの覇権争いに対するタイの姿勢だ。近年、米国が中東での役割を徐々に縮小しつつある事実を考慮すると、おそらく、米国の次なる大規模戦略はアジアが中心となるだろう。これには実際、米国のドナルド・トランプ前大統領がインド・太平洋戦略を打ち出した例もある。それと同様に、米国のジョー・バイデン現大統領もアジアに対する関心を度々示している。 このような世界情勢について、タイのアナリストは常に推測を行っており、おかげでタイの官僚は最良の外交シナリオを追求する事ができる。しばしば、中国か米国かの二択を前に、タイ政府に提言されるのは、両大国とのバランスの取れた関係を保つ努力だ。この確信の背後には、タイ外交官の間で広く知られた古いことわざ、「昨日の友は今日の敵」がある。 この論文の助言には、他に例が無いかも知れないが、米中対立の時代に、タイがいずれか一方を選ぶ必要があると主張する。そこで、タイの安全保障や地位、そして自由民主主義の価値観にとり、明らかな脅威はアメリカではなく、中国である事を示す。まず、記事の冒頭では、米中いずれがタイにとって一層の脅威なのかを判断する基準を明確に示し、その後、2020年から2021年までの動向を論じる。 間近に迫る脅威 タイにとって、どちらの大国が明白な脅威かを見極めるには、スティ―ヴン・M・ウォルト(Stephen M. Walt)が30年前に提唱した理論を見直す必要がある。ウォルトは、いわゆる「脅威均衡論(balance of threat theory)」と呼ばれる理論において鋭い指摘をした。それは、ある国家が大国と対峙する際、脅威に対して均衡を図る傾向があるというものだ。また、これと関連して、大国の中には他国より大きな力を蓄えながら、必ずしも他国の脅威にならない国もある。そこで、ウォルトは、国家の安全保障に対する潜在的な脅威の根源を特定する4つの要因を提示した。 すなわち、(1)「集積された国力(人口、面積、経済力、技術的な進歩具合などの総合的な国力)」、(2)「攻撃能力」、(3)「地理的近接性」、(4)「攻撃の意図」だ。 まず、米国と中国が1つ目と2つ目の要因に等しく当てはまる(両国は集積された国力に加え、核兵器などの攻撃的軍事力も保有する)事は極めて明白だ。ところが、3つ目と4つ目の要因から、米中いずれがタイの潜在的脅威かを判断するとなると、かなり難しい。だが、まずは地理的近接性という要因から、タイの安全保障にとって米国よりも中国が大きな脅威となり得ることが分かる。これはかなり理に適った判断だろう。そもそも、北米地域の国家が、なぜ東南アジアの安全保障上の脅威となるのか。仮に、米国がアジア諸国を脅かすとしても、アメリカ軍が同地域から撤退する以外に最悪のシナリオなどあるのだろうか? それどころか、米軍の存在がアジアに無ければ、中国を際限なく拡大させる事になるだろう。例えば、2021年10月にバイデン大統領は、中国が台湾への侵攻を決定すれば、米国は台湾を守ると固く約束した。 バイデンがこのように確約した理由には、中国が台湾の武力統一に向けた挑発を繰り返したことと、自国の主権に対する台湾の祭英文総統の頑なな姿勢があった。これに加え、アメリカ政府が南シナ海の航行の自由を守ると保証した事で、中国による東アジアの重要なシーレーン(海上輸送路)の封鎖は阻止された。 ところが、タイの一部の政治家や極右支持者は、米国よりも中国との関係を重視していた。これに対し、政治学が専門のカシアン・テジャピラ(Kasian Tejapira)教授は、このような中国を重視する右傾化には、次の四つのイデオロギーのいずれかの特徴があると考える。すなわち、「反欧米的ナショナリズム」、「中国を中心としたグローバリズム」、「あからさまで追従的な日和見主義」と「浅はかな物まねの権威主義」だ。 事実、タイのプラユット・チャンオチャ首相までもが、タイム誌に対し、中国はタイの「一番のパートナーだ」と言明している。 だが、中国をごく身近な潜在的脅威と認識せずに、中国寄りの姿勢を強める事は短絡的なだけでなく、タイの長期的な外交政策にとって危険でもある。 それに、歴史的に見ても、タイにとっての脅威は米国よりも中国本土なのだ。例えば、近代以前、タイ(あるいはシャム)は中国との属国関係に置かれていた。それに、大戦間期には、中国移民の問題がタイ当局の悩みの種であった。また、1950年から1975年にかけての中国による共産主義の輸出政策は、冷戦期のタイの国家体制に重大な危機をもたらした。一方で、米国については、米軍の存在が共産主義に対する防壁となった。このため、リチャード・ニクソンが東南アジアから米軍を撤退させると、タイの安全が危機にさらされた。つまり、タイと東南アジア地域に安定をもたらしたのは中国ではなく、タイ国内での米国の影響力だったのだ。確かに、1997年のアジア金融危機の際に米国がタイに同情的でなかったのは事実だ。当時、アメリカは遠くの知人にすぎず、その関心はどこか別のところにあった。このタイと米国の間の地政学的な距離ゆえに、米国はタイの脅威にはなり得ないだろう。 さて、現在も続く地理的対立の一つで、今後、高まる可能性があるのが、メコン川の干ばつをめぐる対立だ。この干ばつは、メコン川上流に建設された中国の11のダムが引き起こしたものだ。これについて、中国当局は、乾季の水不足は11のダムのせいではないと繰り返し否定する。だが、ある研究の指摘によると、中国のダムがメコン川下流の水事情を悪化させている。 これに関し、タイ側では活動家による運動がいくつか行われているが、タイ政府が実質的な協議によって中国政府に圧力をかけ、問題解決を図る様子はない。 地理というのは変えられないものであり、国家間の関係を築く基礎となる。従って、隣国が良い国であっても、その国が敵意を抱くと悪夢をもたらす。逆に、悪い国でも遠く離れていれば、腹は立つにせよ、その国によって常に苛まれることはないだろう。この観点から、タイは中国を米国以上の脅威として認識する必要がある。 基本理念への脅威 1990年代以降、中国は常に他国への内政不干渉政策を誇ってきた。だが、近年の出来事に照らしてみると、この内政不干渉神話を維持するのは次第に困難となるだろう。 2020年の初頭以降、タイも他の全ての国と同様に、新型コロナの流行による影響を受けた。だが、パンデミックの厳しい状況にもひるまず、反政府デモ隊は街頭デモを繰り広げ、タイのプラユット・チャンオチャ首相の辞任を要求した。若者が主導するこれらの運動の主な目的は、タイの政治体制の大規模な民主主義改革の要求だった。この民主化運動の一部の戦略は、黄之鋒(ジョシュア・ウォン)が率いた事で知られる香港のデモに着想を得ていた。つまり、これらの運動は、ゆるやかに結ばれた「ミルクティ―同盟」と呼ばれる連携の一部だったのだ。このオンライン上のつながりは、反権威主義の運動に携わる香港や台湾、タイのネット市民によって構成されていた。 これに対し、一部の中国メディアは、この民主主義的な動きを問題視した。例えば、中国政府の公認紙、グローバル・タイムズ(Global Times)は、タイの民主化運動と「アメリカには、何らかの関わりがある」と告発する記事を掲載した。 また、同様の報道に、身元不明の欧米人数名がタイ人学生に指示し、舞台やバリケードを築かせたとする虚偽の訴えもあった。この記事の著者は、反政府デモの参加者が「アメリカなど、西側諸国と結託し」、タイを欧米の代理人に支配させようとしていると説明した。 中国の干渉を示す確かな証拠は無いが、中国はタイの民主化運動を好ましく思ってはいない。一方、2014年のクーデターで、プラユットが政権を握って以来、中泰関係はこれまでになく親密となり、タイと中国の武器取引も驚くべきペースで増加している。専門家の指摘によると、タイでは武器の予備部品やメンテナンスが中国頼みとなるため、中国からの武器の販売量は、タイ国軍内での影響力に反映される。従って、軍の影響下にあるプラユット政権が親中的であれば、タイの権威主義に挑む民主化運動も国内の中国勢力にとっては脅威となる。 さらに、コロナ・ワクチンに関するタイの政策からも、中国が民主的価値観をゆがめている可能性が証明できる。2021年の初頭、タイの疑似民主主義政権は、オックスフォード・アストラゼネカと中国シノバック製のワクチンを執拗に入手した。ところが、この中国製ワクチンに対し、特に民主主義支持派などのタイ国民は良い印象を抱いていなかった。 また、2021年の第2四半期には、ファイザーおよび、モデルナ製のワクチン輸入が異常に遅れる一方で、タイでのシノバック製ワクチンの量は3千万回分以上に膨れ上がっていた。このため、タイの野党や民主主義支持派の人々は、タイ政府と中国政府とのワクチン取引をめぐる癒着を疑った。 後に、2021年9月の国会討論では、タイの首相と保健相、国会議長が野党側に警告を発した。いわく、北京政府との二国間関係を損なわぬよう、シノバックを無効だと論じるのは控えるように、という事だ。 これは信じがたいほど冒涜的な出来事だ。というのも、タイ国民議会は、タイ国民の利益と安全を代弁する存在のはずなのだ。大体、これまでに極右政治家が米国に責任転嫁をしても、規制された試しは一度もない。ならば、批評家がシノバック取引を失敗だと主張することに、一体何の問題があるというのか?考えられる唯一の理由は、プラユット政権が中国政府を米国以上に恐ろしい存在となる可能性があると認識していたためだ。だからこそ、北京政府と安定した関係を保ち、シノバックを批判する人間を抑えつける事がプラユットの最重要課題だったのだ。 さらに、中国がソーシャルメディア上で展開した外交は、一部の人々が「戦狼外交」と呼ぶようなものだった。一般に「狼の戦士」とも呼ばれる中国人外交官は、自身のあらゆるソーシャルメディアの手段を通じ、好戦的で攻撃的な言葉を積極的に拡散させてきた。例えば、「バンコク中国大使館」のFacebookページでは、中国公使が中傷キャンペーンを展開し、アメリカがパンデミック発生の背後に潜む犯人だと主張した。 […]

Issue 31

ระบอบสหพันธรัฐในฐานะธงนำการปฏิวัติของเมียนมา

นับตั้งแต่ได้รับเอกราชเป็นต้นมา เมียนมาพยายามแสวงหาระบบการเมืองที่จะรองรับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษา ชาติพันธุ์และศาสนาอันหลากหลายรุ่มรวยของตน  ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เรียกร้องระบอบสหพันธรัฐมาตลอด โดยเชื่อว่าจะเป็นวิถีทางหนึ่งในการสร้างหลักประกันให้แก่ความเท่าเทียมและสิทธิของทุกกลุ่มชน  อย่างไรก็ตาม ภายใต้ระบบรวมศูนย์รวบอำนาจที่เผด็จการทหารยัดเยียดให้แก่ประเทศ ซึ่งควบคุมปกครองเมียนมามาตั้งแต่ปี 1962 จนถึงปี 2010 การหยิบยกประเด็นระบอบสหพันธรัฐมาอภิปรายถกเถียงกันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2008 ก่อให้เกิดรูปแบบระบอบสหพันธรัฐที่มีลักษณะรวมศูนย์  แม้กระทั่งภายใต้รัฐบาลพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy—NLD) (2016-2021) การดำเนินนโยบายในภาคปฏิบัติและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลเมียนมาก็ยังคงมีลักษณะรวมศูนย์เช่นเดิม หลังจากสรุปประวัติศาสตร์ด้านนี้พอสังเขปแล้ว บทความนี้เน้นความสนใจไปที่สภาพการณ์ต่างๆ ซึ่งการรัฐประหารปี 2021 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิวาทะเกี่ยวกับระบอบสหพันธรัฐอย่างลึกซึ้ง  บทความจะวิเคราะห์ถึงการที่กลุ่มผู้นำหนุ่มสาวของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ผลักดันให้ประเด็นระบอบสหพันธรัฐกลายเป็นจุดศูนย์กลางของข้อเรียกร้องของขบวนการต่อต้านรัฐประหาร และชี้ให้เห็นจุดยืนที่เปลี่ยนไปในวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นชาติพันธุ์  กล่าวคือ มีการเปลี่ยนจุดยืนจากก่อนหน้านี้ที่เน้นระบอบสหพันธรัฐซึ่งตั้งอยู่บนตัวแบบวงศ์วาน-ชาติพันธุ์ (ethnic-genealogical model) เปลี่ยนมาเป็นระบอบสหพันธรัฐที่ตั้งอยู่บนตัวแบบอาณาเขต-ประชากร […]

Issue 31

กระบวนการสันติภาพของเมียนมา: 2010-2021

ประวัติศาสตร์ของเมียนมานับตั้งแต่ปี 1957 จนถึงปี 2010 มีจุดเด่นอยู่ที่ความขัดแย้งทางอาวุธที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องระหว่างกองทัพพม่า (ชื่อในภาษาท้องถิ่นคือตะมะดอว์) กับกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Armed Organizations–EAOs) ที่มีมากมายหลายกลุ่ม  ถึงแม้ตะมะดอว์บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับบางกลุ่มเป็นครั้งคราวระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว  แต่การเปลี่ยนผ่านที่ริเริ่มในปี 2010 มีประเด็นสำคัญคือ เป้าหมายชัดเจนที่จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพที่ครอบคลุมมากกว่าเดิม  ข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (Nationwide Ceasefire Agreement–NCA) ที่ริเริ่มโดยรัฐบาลพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party—USDP) ซึ่งกองทัพให้การสนับสนุนและขึ้นครองอำนาจในปี 2011 ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  บทความนี้จะพิจารณาถึงวิวัฒนาการของกระบวนการสันติภาพ  นับตั้งแต่การใช้แนวทางใหม่ๆ เพื่อบรรลุการเจรจาหยุดยิงของพรรค USDP ไปจนถึงการเจรจาทางการเมืองที่อยู่ภายใต้ระบบราชการมากขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National […]

Issue 31

ขบวนการฝ่ายประชาธิปไตยของเมียนมา

เมียนมา (หรือเมื่อก่อนใช้ชื่อประเทศพม่า) เคยมีระบอบประชาธิปไตยในช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1948 จนกระทั่งการรัฐประหารในปี 1962  หลังจากนั้น กองทัพพม่า (ซึ่งเรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า ตะมะดอว์) ก็ยึดครองอำนาจเบ็ดเสร็จมาเกือบห้าทศวรรษ  การเปิดกว้างทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างไม่คาดหมาย เริ่มขึ้นในปี 2010 และตามมาด้วยทศวรรษของการแบ่งปันอำนาจระหว่างกองทัพกับรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง  เริ่มต้นด้วยการแบ่งปันอำนาจระหว่างกองทัพกับพรรคการเมืองที่เป็นแนวร่วม นั่นคือ พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party—USDP) ตั้งแต่ปี 2011-2015  จากนั้นเปลี่ยนเป็นพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy—NLD)  ถึงแม้การปฏิรูปเพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยยังมีจังหวะก้าวค่อนข้างช้า แต่ช่วงเวลาสิบปีที่มีการเปิดกว้างมากกว่าแต่ก่อน ได้ปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง และสร้างความหวังถึงอนาคตที่ดีกว่าให้แก่พลเมืองจำนวนมาก […]

Issue 31

อัตลักษณ์และความครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคม

ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์และความครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคม (social inclusion) เป็นเรื่องที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันมานานภายในสังคมเมียนมา  เมียนมาเป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์-ภาษามากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ 135 กลุ่มและภาษาประมาณ 107 ภาษา  ชุมชนทางศาสนาจำนวนมากดำรงอยู่ร่วมกันภายในพรมแดนของประเทศ ประกอบด้วยศาสนาพุทธ (87.9%)  คริสต์ (6.2%) อิสลาม (4.3%) ฮินดู (0.5%) และคติการนับถือผี (0.8%)  ท่ามกลางภูมิหลังเช่นนี้ การแบ่งแยกที่เป็นซากตกค้างจากยุคอาณานิคมและประวัติศาสตร์ ซึ่งชนกลุ่มใหญ่ชาติพันธุ์ชาวบะหม่ามีอำนาจครอบงำเหนือกลุ่มอื่น ก่อให้เกิดปัจจัยที่นำไปสู่ความแตกแยกทางด้านชาติพันธุ์และศาสนา ซึ่งยังคงทำให้สังคมเมียนมาแตกเป็นเสี่ยงๆ จนถึงทุกวันนี้ บทความนี้จะกล่าวถึงภาพกว้างๆ ว่าปัญหาอัตลักษณ์และความครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคมมีการคลี่คลายอย่างไรบ้างในช่วงสิบปีที่เมียนมาอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบระหว่างปี 2011-2021  ในช่วงแรก เมียนมาอยู่ภายใต้รัฐบาลพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and […]

Issue 31

สถานะในเวทีโลกของเมียนมาหลังรัฐประหาร 2020: การช่วงชิงความชอบธรรมและการเปลี่ยนแปลง

นโยบายต่างประเทศของพม่า/เมียนมาและสถานะของประเทศในเวทีโลกได้รับความสนใจอย่างมากในระยะหลัง  นโยบายต่างประเทศเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยัน ช่วงชิง ปฏิเสธหรือถ่ายโอนความชอบธรรมมายาวนาน โดยเฉพาะภายหลังการรัฐประหารปี 1962 และ 1988 เมื่อรัฐบาลพลัดถิ่นยืนยันความชอบธรรมของตนเพื่อคัดค้านระบอบทหารที่ล้มล้างรัฐบาลพลเรือนหรือประกาศให้คะแนนเสียงเลือกตั้งที่มอบอำนาจให้พวกเขากลายเป็นโมฆะ  ผลดีที่เกิดขึ้นบ้างจากการปรับความสัมพันธ์ของพม่ากับโลกให้อยู่ในภาวะปรกติตลอดช่วงเวลาหนึ่งทศวรรษของนโยบายต่างประเทศที่มีการคลี่คลายอย่างซับซ้อน (2010-2020) ตอนนี้กลับเผชิญอนาคตอันไม่แน่นอนหลังจากกองทัพกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021  การตอบโต้จากฝ่ายต่อต้านรัฐประหารหลังจากกองทัพปราบปรามการประท้วงอย่างป่าเถื่อนยิ่งชี้ให้เห็นว่า นโยบายต่างประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทั้งต่อรัฐบาลทหารและกลุ่มพลังฝ่ายประชาธิปไตยที่คัดค้านการรัฐประหารและการปกครองของกองทัพ บทความนี้จะอภิปรายถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ของสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council–SAC) ของรัฐบาลทหารและกลุ่มพลังอันหลากหลายที่ต่อต้านรัฐประหารในเมียนมา ซึ่งพอกล่าวได้ว่ามีรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government—NUG) เป็นตัวแทน  ความเคลื่อนไหวของทั้งสองฝ่ายที่พยายามใช้นโยบายต่างประเทศมายืนยันความชอบธรรมในหมู่ประชาชนและ/หรือทางการเมืองของตน  บทความจะประเมินความเคลื่อนไหวด้านนโยบายต่างประเทศคู่ขนานเพื่อแสวงหาความชอบธรรมดังที่เป็นมาในอดีตก่อน จากนั้นจึงจะอภิปรายถึงทางเลือกที่มีอยู่ของรัฐบาลพลเรือนในสถานการณ์หลังการเลือกตั้ง 2020  สรุปส่งท้ายด้วยการประเมินความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพกระทำรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 […]