“กลัวพลาดตกขบวน” กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์: กรณีสิงคโปร์

ปัญหาของการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

 ความเติบโตของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย เอื้อให้พลเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ง่ายขึ้นและลดต้นทุนของการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชนหลายล้านคน (Ahmed & Madrid-Morales, 2020; Gil de Zúñiga et al., 2012; 2014)  อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากก็ยังไม่สนใจการเมืองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง (Ahmed & Gil-Lopez, 2022; Zhelnina, 2020)  ความไม่สนใจการเมืองคือการขาดความสนใจต่อความเป็นไปทางการเมือง รวมถึงข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมทางการเมือง เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  นักรัฐศาสตร์มองว่านี่เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง (Dean, 1965; Rosenberg, 1954)  พลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการเมืองที่ทำงานได้ดี  ระบอบประชาธิปไตยจะเติบโตได้ได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพลเมืองเข้ามาพัวพันในการเมืองประจำวันและการเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน  ยิ่งกว่านั้น “การมีส่วนร่วมที่เอียงกะเท่เร่นำไปสู่การปกครองที่เอียงกะเท่เร่” (Griffin & Newman, 2005; p. 1206)  อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในระยะหลังหลายชิ้นรายงานถึงวัฒนธรรมความไม่สนใจการเมืองในหลายประเทศประชาธิปไตย (Manning & Holmes, 2013; Henn et al., 2007; Pontes et al., 2017; Zhang, 2022)  ในกรณีแบบนี้ ระบอบประชาธิปไตยจะค่อยๆ มีความเป็นตัวแทนของทัศนะพลเมืองอย่างทั่วทุกกลุ่มน้อยลง  แนวโน้มนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมีช่องว่างถ่างกว้างมากขึ้นระหว่างกลุ่มพลเมืองที่กระตือรือร้นและไม่กระตือรือร้นทางการเมือง (Griffin & Newman, 2005; Hansford & Gomez, 2010) ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่พึงต้องพยายามพลิกกลับแนวโน้มนี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ชะลอแนวโน้มนี้ลงให้ได้  มิฉะนั้นแล้ว ความเอียงข้างในการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองจะก่อให้เกิดการเป็นตัวแทนของประชาชนที่เอียงข้าง นำไปสู่การเลือกที่รักมักที่ชังและผลลัพธ์ที่ถือเอาพรรคพวกของตนเป็นใหญ่ (Griffin & Newman, 2005; Manning & Holmes, 2013)

A crowded MRT train in Singapore

ใครบ้างที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

 หลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่า อายุและเพศมักเกี่ยวข้องกับความไม่สนใจการเมือง โดยชี้ว่า คนหนุ่มสาวอายุน้อย (Henn et al., 2007; Snell, 2010; Zhang, 2022) และกลุ่มประชากรเพศหญิงมีแนวโน้มไม่สนใจการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น (Abendschön & García-Albacete, 2021; Vochocová et al., 2015)  กล่าวอีกอย่างหนึ่ง พลเมืองที่ไม่สนใจการเมืองมีสัดส่วนที่เป็นคนอายุน้อยและเพศหญิงมากเกินไป  เรื่องนี้น่ากังวลอย่างมาก เพราะในขณะเดียวกันผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่เป็นคนอายุน้อยก็มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในสังคมของเราด้วย  ยิ่งกว่านั้น การที่ผู้หญิงขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างเพศกับการมีบทบาททางการเมืองมีมากขึ้น ทั้งที่ช่องว่างนี้ก็มีการกล่าวถึงอยู่แล้วในหลายประเทศทั่วโลก (Abendschön & García-Albacete, 2021; Ahmed & Madrid-Morales, 2020; Vochocová et al., 2015)

ในแง่ของการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น กิจกรรมทางการเมืองแบบออฟไลน์มักมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบออนไลน์  นั่นคือเหตุผลว่าทำไมกิจกรรมแบบแรกอาจไม่น่าดึงดูดใจสำหรับพลเมืองส่วนใหญ่  ในขณะที่กิจกรรมแบบหลังอาจน่าดึงดูดใจมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ที่ขยายตัวมากขึ้นด้วย  กล่าวง่ายๆ ก็คือ ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างใหญ่หลวงจากโอกาสเหลือเฟือในการมีปฏิสัมพันธ์กันเพราะช่องทางที่อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์มอบให้  ช่องทางรับข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารออนไลน์ที่ลื่นไหลไม่สะดุดยิ่งช่วยเอื้ออำนวยให้การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและดึงดูดพลเมืองที่ไม่สนใจการเมืองมาก่อน  มีกิจกรรมทางการเมืองออนไลน์หลากหลายประเภทที่ผู้ใช้เข้าถึงได้ทันทีเพียงแค่แตะหน้าจอ ทั้งยังสามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคม-การเมืองได้ ( Gil de Zúñiga et al., 2012; Jost et al., 2018)  ถึงแม้เราต้องยอมรับความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ เช่น การเข้าร่วมการประท้วง แต่การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออนไลน์ก็มีคุณค่าลึกซึ้งในตัวมันเองเช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงระหว่างฐานเสียงกับนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เคยสะดวกง่ายดายเท่านี้มาก่อน (Keaveney, 2015)

บทบาทของ “ความกลัวพลาดตกขบวน”

นักวิชาการเคยถกเถียงกันมายาวนานเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่จะช่วยดึงพลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง  ยกตัวอย่างเช่น “ความกลัวพลาดตกขบวน” ซึ่งเป็นประสบการณ์ทางจิตวิทยาที่สำคัญมาก สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในหมู่พลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง  ตามคำอธิบายของ Przybylski et al. (2013)  ความกลัวพลาดตกขบวนคือ “ความหวั่นเกรงว่าคนอื่นอาจได้รับประสบการณ์ในทางที่มีคุณค่า ในขณะที่ตนเองไม่ได้อยู่ตรงนั้น” (p. 1841) และนำไปสู่ความปรารถนาที่จะตามให้ทันตลอดเวลาว่าคนอื่นกำลังทำอะไร  ความรู้สึกนี้ผลักดันให้เกิดการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากเกินพอดี เพื่อเชื่อมต่อกับคนอื่น เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเพื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่างๆ (Przybylski et al., 2013)  การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ในระยะหลังหลายชิ้นเกี่ยวกับประเด็นความกลัวพลาดตกขบวนกับใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมากระหว่างสองสิ่งนี้ (Fioravanti et al., 2021; Tandon et al., 2021)  หากจะกล่าวให้เจาะจงลงไปกว่านั้น Przybylski et al. (2013) แสดงให้เห็นว่า “ความกลัวพลาดตกขบวนมีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการยุ่งเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ในระดับสูงขึ้น” (p. 1847)

จากภูมิหลังแบบนี้ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าประชาชนที่มีระดับความกลัวพลาดตกขบวนสูงก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองต่างๆ ในโลกออนไลน์ เช่น มีการสนทนาเรื่องการเมืองกับคนอื่น สนับสนุนเป้าหมายทางการเมืองบางอย่าง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง  กลไกนี้สามารถอธิบายได้ว่า กลุ่มคนที่มีความกลัวพลาดตกขบวนสูงย่อมมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะติดตามอย่างใกล้ชิด (และยุ่งเกี่ยว) กับประเด็นและกิจกรรมทางการเมืองในเครือข่ายของตน เพื่อมิให้ตนพลาดกิจกรรมทางสังคมใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น (Skoric et al., 2018)  กล่าวโดยสรุป ถึงแม้ผู้คนเข้ามายุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางการเมืองด้วยแรงจูงใจต่างกันไป  แต่แรงจูงใจที่ถือเป็นแกนกลางประการหนึ่งน่าจะเป็นความกลัวพลาดตกขบวนที่ผลักดันให้พวกเขาเข้ามายุ่งเกี่ยว  อันที่จริง ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความกลัวพลาดตกขบวนกับกิจกรรมการเมืองออนไลน์บางกิจกรรม (Ahmed, 2022; Skoric et al., 2018)  อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์โดยตรงไม่ใช่จุดสนใจของงานเขียนชิ้นนี้  ยิ่งกว่านั้น มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า วัยและเพศมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นพิเศษกับความกลัวพลาดตกขบวน (Rozgonjuk et al., 2021; Przybylski et al., 2013)  ด้วยเหตุนี้ ปฏิสัมพันธ์ของวัย เพศ และความกลัวพลาดตกขบวน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการอธิบายการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออนไลน์

A PAP election rally at Tampines Stadium

กรณีของสิงคโปร์

เราทดสอบสมมติฐานของเราในบริบทของสิงคโปร์ ประเทศซึ่งมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ในระดับสูง  ความไม่สนใจการเมืองในสิงคโปร์จัดอยู่ในอันดับสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก (Key, 2021; Ong, 2021)  หลักฐานก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่า ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงแม้แต่การเข้าร่วมทางการเมืองที่มีต้นทุนต่ำ เช่น การลงชื่อในข้อเรียกร้อง (Caplan, 2008)  รายงานชิ้นหนึ่งพบว่า ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ไม่สนใจการเมือง ถึงขนาดที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 4 จาก 10 รายไม่เคยพูดคุยเรื่องการเมืองกับเพื่อนเลย  มากกว่าครึ่งคุยเรื่องการเมืองเป็นครั้งคราว และมีเพียง 7.1% เท่านั้นที่พูดคุยเรื่องการเมืองบ่อยๆ (Ong, 2021)  จำนวนของชาวสิงคโปร์ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับปฏิบัติการทางการเมืองใดๆ เลยมีสูงมาก  ชาวสิงคโปร์จำนวนมากไม่เข้าร่วมการคว่ำบาตร (79.1%) ไม่เข้าร่วมการประท้วงอย่างสันติ (74.2%) ไม่เข้าร่วมการประท้วงหยุดงานที่ไม่เป็นทางการ (88%) ไม่จัดกิจกรรมทางการเมือง (90%) (Ong, 2021)  ไม่น่าประหลาดใจเลยที่สังคมสิงคโปร์มีอันดับความมีส่วนร่วมของพลเมืองในระดับต่ำกว่าสังคมตะวันตกอื่นๆ   หลักฐานในระยะหลังยิ่งยืนยันว่า พลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองในสิงคโปร์ไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการมีส่วนร่วม และได้รับผลกระทบเชิงลบจากการรับรู้ข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ (Ahmed & Gil-Lopez, 2022)  งานวิจัยอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า ความสนใจต่อข่าวสารการเมืองในระดับต่ำยิ่งทำให้ชาวสิงคโปร์บางส่วนไม่สนใจการเมือง (Zhang, 2022)  ในบทความนี้ เราเสนอว่าควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากปัจจัยด้านจารีตประเพณี และสำรวจดูปัจจัยเชิงจิตวิทยาอื่นๆ ที่อาจช่วยให้พลเมืองที่ไม่สนใจการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

เราพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความกลัวพลาดตกขบวนกับการยุ่งเกี่ยวการเมืองในโลกออนไลน์ รวมทั้งลักษณะที่ความสัมพันธ์นี้แปรผันตามวัยและเพศ  บนพื้นฐานของแนวคิดที่อภิปรายไปโดยสังเขปข้างต้น เราตั้งสมมติฐานว่า ความกลัวพลาดตกขบวนน่าจะมีความเชื่อมโยงเชิงบวกกับการถกเถียงพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งน่าจะเกี่ยวโยงไปถึงการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองทางโลกออนไลน์  เราลองทดสอบดูด้วยว่า กลไกนี้มีความคงเส้นคงวาในคนสิงคโปร์ทั้งหมด หรือว่าความสัมพันธ์นี้แตกต่างกันไปตามกลุ่มวัยและเพศ

The Speakers’ Corner in Singapore is an area located within Hong Lim Park at the Downtown Core district, whereby Singaporeans may demonstrate, hold exhibitions and performances, as well as being able to engage freely in political open-air public speeches, debates and discussions. Photo, Wikipedia Commons

ความกลัวพลาดตกขบวนเชื่อมโยงกับการถกเถียงพูดคุยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง

เราทำแบบสำรวจออนไลน์ในสิงคโปร์โดยใช้บริษัทสำรวจความคิดเห็นแห่งหนึ่ง  ผู้เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลประชากรของตน อุปนิสัยในการใช้สื่อ การบริโภคข่าวทางสื่อสังคมออนไลน์ ความกลัวพลาดตกขบวน และพฤติกรรมทางการเมือง  จากนั้นเราใช้ข้อมูลจากการสำรวจนี้เพื่อทำการวิเคราะห์การถดถอย (regression analyses) ทดสอบสมมติฐานของเรา

การวิเคราะห์ของเราชี้ให้เห็นว่า ความกลัวพลาดตกขบวนมีความเชื่อมโยงเชิงบวกกับการถกเถียงพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์  ยิ่งกว่านั้น การถกเถียงพูดคุยทางการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ยังเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความกลัวพลาดตกขบวนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์ด้วย  โดยรวมแล้ว ผลลัพธ์ของการสำรวจชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนที่มีระดับความกลัวพลาดตกขบวนสูงมักเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพูดคุยถกเถียงและกิจกรรมทางการเมืองออนไลน์ในสิงคโปร์  ในที่นี้ การถกเถียงพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ด้วย

นอกจากนั้น เราค้นพบด้วยว่า กลไกนี้แปรผันตามวัยและเพศ บ่งชี้ว่าความสัมพันธ์นี้มีมากขึ้นในหมู่พลเมืองอายุน้อยและชาวสิงคโปร์เพศหญิง  โดยที่ผลกระทบมากที่สุดของความกลัวพลาดตกขบวนเป็นที่สังเกตเห็นได้ในกลุ่มคนเพศหญิงอายุน้อย

ข้อสรุป

มีการตั้งคำถามกันมานานถึงหนทางแก้ไขความไม่สนใจการเมือง  ถึงแม้เราไม่มีข้อเสนอทางออกที่ครอบคลุมเด็ดขาด แต่เราก็แสดงให้เห็นว่า ความกลัวพลาดตกขบวนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดึงให้กลุ่มที่ไม่สนใจการเมืองเข้ามามีส่วนร่วม  ในกรณีของเรา เราพบหลักฐานที่สนับสนุนสมมติฐานว่า ความกลัวพลาดตกขบวนสามารถเป็นแรงจูงใจให้เกิดการถกเถียงพูดคุยและการมีส่วนร่วมในหมู่พลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนอายุน้อยเพศหญิงในสิงคโปร์  แม้ว่าบางคนเรียกการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ว่าเป็นแค่ clicktivism (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า slacktivism) โดยวิจารณ์ว่ากิจกรรมออนไลน์แบบนี้ไม่แปรไปสู่ปฏิบัติการในโลกออฟไลน์และไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือการเมืองอย่างถึงรากถึงโคนในชีวิตจริง (เช่น Christensen, 2011; Hindman, 2009; Shulman, 2004)  กล่าวอีกอย่างหนึ่ง พวกเขาวิจารณ์ว่า กิจกรรมทางการเมืองออนไลน์ ซึ่งใช้แค่คีย์บอร์ดกับการคลิกเมาส์ ควรนับว่ามีความชอบธรรมทางการเมืองและเป็นปฏิบัติการของพลเรือนที่มีความหมายจริงๆ หรือไม่ (Harlow & Guo, 2014)

อย่างไรก็ตาม เราขอแย้งว่า การยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออนไลน์ขั้นต่ำที่สุด เช่น การพูดคุยถกเถียงและการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ จะช่วยเพิ่มความตระหนักและความรู้ทางการเมืองของพลเมือง ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสังคมการเมืองและรากฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย  รวมทั้งช่วยส่งเสริมการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองออฟไลน์ในระยะยาวได้ในที่สุด  มีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่มากทีเดียวของกิจกรรมการเมืองออนไลน์ (เช่น Halupka, 2014, 2017; Karpf, 2010)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีหลักฐานบางประการสนับสนุนว่า กิจกรรมการเมืองออนไลน์มีความเกี่ยวโยงกับปฏิบัติการทางการเมืองออฟไลน์ในประเทศสิงคโปร์ (Skoric & Zhu, 2015)  โดยรวมแล้ว การยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออนไลน์แสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางการเมืองของพลเมือง  มันเป็นดัชนีที่ไว้ใจได้ในการชี้วัดว่าประชากรมีความกระตือรือร้นทางการเมืองแค่ไหน และมันมีศักยภาพมากพอสมควรที่จะแปรไปสู่การยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออฟไลน์  ยิ่งกว่านั้น นอกจากผลกระทบด้านลบของความกลัวพลาดตกขบวนที่ปรากฏอยู่ในงานเขียนต่างๆ แล้ว (Blackwell et al., 2017; Yin et al., 2021) เราพบเห็นข้อดีบางอย่างที่ความกลัวนี้อาจช่วยเป็นแรงขับดันให้เกิดพลเมืองที่สนใจการเมืองในประเทศสิงคโปร์

Saifuddin Ahmed
Nanyang Technological University, Singapore

Muhammad Masood
City University of Hong Kong

References

Abendschön, S., & García-Albacete, G. (2021). It’s a man’s (online) world. Personality traits and the gender gap in online political discussion. Information, Communication & Society, 24(14), 2054–2074. https://doi.org/10.1080/1369118x.2021.1962944

Ahmed, S. (2022). Disinformation sharing thrives with fear of missing out among low cognitive news users: A cross-national examination of intentional sharing of deep fakes. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 66(1), 89–109. https://doi.org/10.1080/08838151.2022.2034826

Ahmed, S., & Gil-Lopez, T. (2022). Incidental news exposure on social media and political participation gaps: Unraveling the role of education and social networks. Telematics and Informatics68, 101764.

Ahmed, S., & Madrid-Morales, D. (2020). Is it still a man’s world? Social media news use and gender inequality in online political engagement. Information, Communication & Society, 24(3), 381–399. https://doi.org/10.1080/1369118x.2020.1851387

Blackwell, D., Leaman, C., Tramposch, R., Osborne, C., & Liss, M. (2017). Extraversion, neuroticism, attachment style and fear of missing out as predictors of social media use and addiction. Personality and Individual Differences116, 69-72.

Christensen, H. S. (2011). Political activities on the Internet: Slacktivism or political participation by other means?. First Monday16(2). https://doi.org/10.5210/fm.v16i2.3336

Dean, D. G. (1965). Powerlessness and political apathy. Social Science40(4), 208–213. http://www.jstor.org/stable/41885108

Fioravanti, G., Casale, S., Benucci, S. B., Prostamo, A., Falone, A., Ricca, V., & Rotella, F. (2021). Fear of missing out and social networking sites use and abuse: A meta-analysis. Computers in Human Behavior, 122, 106839. https://doi.org/10.1016/j.chb.2021.106839

Gil de Zúñiga, H., Jung, N., & Valenzuela, S. (2012). Social media use for news and individuals’ social capital, civic engagement and political participation. Journal of Computer-Mediated Communication, 17(3), 319–336. https://doi.org/10.1111/j.1083-6101.2012.01574.x

Gil de Zúñiga, H., Molyneux, L., & Zheng, P. (2014). Social media, political expression, and political participation: Panel analysis of lagged and concurrent relationships. Journal of communication64(4), 612-634.

Griffin, J. D., & Newman, B. (2005). Are voters better represented? The Journal of Politics, 67(4), 1206–1227. https://doi.org/10.1111/j.1468-2508.2005.00357.x

Halupka, M. (2014). Clicktivism: A systematic heuristic. Policy & Internet, 6(2), 115–132. https://doi.org/10.1002/1944-2866.poi355

Halupka, M. (2017). The legitimisation of clicktivism. Australian Journal of Political Science, 53(1), 130–141. https://doi.org/10.1080/10361146.2017.1416586

Hansford, T. G., & Gomez, B. T. (2010). Estimating the electoral effects of voter turnout. American Political Science Review, 104(2), 268–288. https://doi.org/10.1017/s0003055410000109

Harlow, S., & Guo, L. (2014). Will the revolution be tweeted or facebooked? Using digital communication tools in immigrant activism. Journal of Computer-Mediated Communication, 19(3), 463–478. https://doi.org/10.1111/jcc4.12062

Henn, M., Weinstein, M., & Hodgkinson, S. (2007). Social capital and political participation: Understanding the dynamics of young people’s political disengagement in contemporary Britain. Social Policy and Society, 6(4), 467–479. https://doi.org/10.1017/s1474746407003818

Hindman, M. (2009). The myth of digital democracy. Oxford: Princeton University Press.

Jost, J. T., Barberá, P., Bonneau, R., Langer, M., Metzger, M., Nagler, J., Sterling, J., & Tucker, J. A. (2018). How social media facilitates political protest: information, motivation, and social networks. Political Psychology, 39, 85–118. https://doi.org/10.1111/pops.12478

Karpf, D. (2010). Online political mobilization from the advocacy group’s perspective: Looking beyond clicktivism. Policy & Internet, 2(4), 7–41. https://doi.org/10.2202/1944-2866.1098

Keaveney, P. (2015). Online lobbying of political candidates. In Frame, A., & Brachotte, G. (Eds.), Citizen participation and political communication in a digital world (pp. 220-234). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315677569-21

Key, T. K. (2021, April 21). Are Singaporeans really politically apathetic?. Institute of Policy Studies. https://lkyspp.nus.edu.sg/ips/publications/details/are-singaporeans-really-politically-apathetic

Manning, N., & Holmes, M. (2013). ‘He’s snooty ‘im’: Exploring ‘white working class’ political disengagement. Citizenship Studies, 17(3–4), 479–490. https://doi.org/10.1080/13621025.2013.793082

Ong, J. (2021, July 2). Most Singaporeans politically apathetic, not keen on activism: IPS. The Straits Times. https://www.straitstimes.com/singapore/most-singaporeans-politically-apathetic-not-keen-on-activism-ips

Pontes, A. I., Henn, M., & Griffiths, M. D. (2017). Youth political (dis)engagement and the need for citizenship education: Encouraging young people’s civic and political participation through the curriculum. Education, Citizenship and Social Justice, 14(1), 3–21. https://doi.org/10.1177/1746197917734542

Przybylski, A. K., Murayama, K., DeHaan, C. R., & Gladwell, V. (2013). Motivational, emotional, and behavioral correlates of fear of missing out. Computers in Human Behavior, 29(4), 1841–1848. https://doi.org/10.1016/j.chb.2013.02.014

Rosenberg, M. (1954). Some determinants of political apathy. Public Opinion Quarterly, 18(4), 349. https://doi.org/10.1086/266528

Rosenberg, M. (1954). Some determinants of political apathy. The Public Opinion Quarterly18(4), 349–366. http://www.jstor.org/stable/2745968

Rozgonjuk, D., Sindermann, C., Elhai, J. D., & Montag, C. (2021). Individual differences in Fear of Missing Out (FoMO): Age, gender, and the Big Five personality trait domains, facets, and items. Personality and Individual Differences171, 110546.

Shulman, S. W. (2004). The internet still might (but probably won’t) change everything: Stakeholder views on the future of electronic rulemaking. I/S: A Journal of Law and Policy for the Information and Society, 1 (1), 111-145

Skoric, M. M., & Zhu, Q. (2015). Social media and offline political participation: Uncovering the paths from digital to physical. International Journal of Public Opinion Research, 28(3), 415–427. https://doi.org/10.1093/ijpor/edv027

Skoric, M. M., Zhu, Q., & Lin, J. H. T. (2018). What predicts selective avoidance on social media? A study of political unfriending in Hong Kong and Taiwan. American Behavioral Scientist, 62(8), 1097–1115. https://doi.org/10.1177/0002764218764251

Snell, P. (2010). Emerging adult civic and political disengagement: a longitudinal analysis of lack of involvement with politics. Journal of Adolescent Research, 25(2), 258–287. https://doi.org/10.1177/0743558409357238

Tandon, A., Dhir, A., Almugren, I., AlNemer, G. N., & Mäntymäki, M. (2021). Fear of missing out (FoMO) among social media users: A systematic literature review, synthesis and framework for future research. Internet Research, 31(3), 782–821. https://doi.org/10.1108/intr-11-2019-0455

Vochocová, L., Štětka, V., & Mazák, J. (2015). Good girls don’t comment on politics? Gendered character of online political participation in the Czech Republic. Information, Communication & Society, 19(10), 1321–1339. https://doi.org/10.1080/1369118x.2015.1088881

Yin, L., Wang, P., Nie, J., Guo, J., Feng, J., & Lei, L. (2021). Social networking sites addiction and FoMO: The mediating role of envy and the moderating role of need to belong. Current Psychology40(8), 3879-3887.

Zhang, W. (2022). Political disengagement among youth: A comparison between 2011 and 2020. Frontiers in Psychology13, 809432. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.809432

Zhelnina, A. (2020). The apathy syndrome: How we are trained not to care about politics. Social Problems67(2), 358-378.