Issue 12

เรื่องราวเกี่ยวกับอมนุษย์ ในพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

         หากจะพูดถึงเรื่องราวของอมนุษย์ ภูตผีปีศาจ หรือศากศพ เรื่องเล่าที่ดีที่สุดคือ เรื่อง เวตลาปกรณัม (ซึ่งเป็นนิทานสุภาษิตที่รวมเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์และ ภูตผีปีศาจ)  เวตาลปกรณัม เป็นส่วนหนึ่งของประชุมปกรณัมหรือหนังสือที่รวบรวมนิทานสุภาษิตที่มีลักษณะเป็นนิทานซ้อนนิทาน ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามหลักฐานที่ได้ถูกบันทึกไว้ช่วงศตวรรษที่ 15 เรื่องราวที่น่าสนใจในประชุมปกรณัมประกอบไปด้วย เวตาลปกรณัม (หนังสือรวมนิทานที่เวตาลเล่าไว้) เวตาลปกรณัม (เรื่องราวเกี่ยวกับวัวที่ชื่อนนทกที่เอาใจออกจากนาย ซึ่งมีทั้งได้รับการแปลเป็นภาษาอินเดีย ภาษาชวา ภาษาทมิฬ และภาษาลาว) มัฑุกปกรณัม (เป็นนิทานเกี่ยวกับกบ) ปีศาจปกรณัม (รวมเรื่องเล่าเกี่ยวภูตผีปีศาจและผู้วิเศษ) ปักษีปกรณัม ( หนังสือรวมนิทานที่ตัวละครเป็นนก) หรือบางครั้งมีชื่อว่า สกุณาปกรณัม (คำว่า “ปักษี” และ […]

Issue 12

นักเวทย์ และการเมือง ในอินโดนีเซีย

       ราวกับว่าเป็นผู้แอบซ่อนในรถไฟทางการเมือง บทบาทของนักเวทย์ หรือ Shaman” มักจะไม่ถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนในการศึกษาเรื่องการเมืองหลังยุกปฏิวัตาการเมืองการปกครองของอินโดนีเซีย จากการศึกษาที่ผ่านๆมาจะเน้นไปในเรื่องของ หลักของเหตุผล และวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเมือง ในความจริง นักเวทย์ หรือ Shamanได้เข้ามามีมีส่วนเกี่ยวของกับการแข่งขันเพื่อช่วงชำอำนาจทางการเมืองของอินโดนีเซีย และมีบทบาทที่ไม่สามารถจะถูกละเลยได้ นักเวทย์ จะถูกว่าจ้าง เพราะความเชื่อที่ว่า นักเวทย์จะช่วยนำมาส่งโชคลาภ และความปลอดภัยให้กับผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้ง เพื่อที่ชิงอำนาจทางการเมือง  เนื้อหาที่กําลังจะกล่าวต่อไปนี้ จะนำเสนอบทบาทของนักเวทย์ที่มีต่อการเมืองยุคใหม่ในอินโดนีเซีย แต่ไม่ได้มีเจตนาจะแสดงให้เห็นถึงให้เห็นถึงพลังอำนาจ ลี้ลับของนักเวทย์แต่อย่างใด ความตั้งใจของข้าพเจ้าคือ เพื่อจะชี้ให้เห็นบทบาทของนักเวทย์ในการแข่งขันทางการเมือง ที่กลายมาเป็นปรากฏการณ์ โดยไม่ได้คำนึงถึงการเติบโตของสำนักวิจัยโพลที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นบรรทัดฐานของประชาธิปไตยสมัยใหม่ของอินโดนีเซีย  นักเวทย์ในยุคการปกครองสมัยใหม่  ” หรือ ชามานนิซึ่ม เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ไม่ได้อยู่ไกลไปจากการดำรงชีวิตประจำวันของชาวอินโดนีเซีย บุคคลผู้ซึ่งถูกเชื่อว่ามีพลังอำนาจวิเศษ จะใช้เวทย์มนต์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์หรือเป็นไปตามที่ผู้ร้องของได้ขอไว้ […]

Issue 12

การฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กและเยาวชนชาวอินโดนีเซีย

       การฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กและเยาวชนชาวอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นทุกๆปีอย่างเห็นได้ชัดเจน ปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายเริ่มมาเป็นที่สนใจของสาธาราณชนภายหลังจากปี ค.ศ.1998 ในรายงานประจำปีของ Komnas Anak (กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนแห่งชาติ อินโดนีเซีย) ระบุว่าช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม ครึ่งปีของ ปี 2012 มียอดการฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนถึง 20 ราย Arist Merdeka Sirait คณะกรรมการกองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนแห่งชาติ อินโดนีเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการฆ่าตัวตายทั้ง 20 รายว่า 8 รายมีสาเหตุมาจากมีปัญหาในเรื่องความรัก 7 รายประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ 4 รายมาจากปัญหาครอบครัว และอีก 1 รายมาจากปัญหาเรื่องการเรียน โดยอายุของเด็กที่ฆ่าตัวตายตํ่าสุดอยู่ที่ […]

Issue 11

การวิเคราะห์ปรากฏการณ์แทรยู(กระแสไทย)ในเกาหลี

  Kyoto Review of Southeast Asia Issue 11 (March 2011): Southeast Asian Studies in Korea  I.คานา ปัจจุบันนี้คนไทยเข้ามามีบทบาทและมีรายการที่นาเสนอเกี่ยวกับอาหาร ทัศนียภาพเมืองไทยในวงการสื่อสารมวลชนเกาหลี อีกทั้งในชีวิตประจาวันเรายังมี การติดต่อกับคนไทยเสมอดังนั้น จึงเกิดประเด็นอภิปรายและคาดเดาถึงวัฒนธรรมไทยในสังคมเกาหลี และการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะสื่อสารกันระหว่างในกลุ่มสังคม งานวิจัยนี้ศึกษาภายใต้กรอบความหมายสภาพการณ์เชิงวัฒนธรรมและสังคมที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยที่สามารถสัมผัสประสบการณ์ได้จากสังคมเกาหลีในรูปปรากฏการณ์ทางสังคมใหม่สังคมหนึ่งและเรียกขอบเขตความหมายของปรากฏการณ์นี้ว่า“แทรยู” ประเด็นหลักซึ่งอยู่ใต้กรอบความคิดที่เรียกว่า แทรยู คือ แรงงานต่างชาติไทย ผู้อพยพจากการแต่งงานระหว่างประเทศ วัฒนธรรมประชานิยม อาหารและการนวด การท่องเที่ยวและการศึกษาที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจาวันจากในสังคมเกาหลี งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อตระหนักถึงแนวโน้มชั่วคราวของแทรยู หลังจากศึกษาความเป็นมาของแทรยูในเกาหลี และสภาวการณ์และประสิทธิผลในแต่ละด้านของแทรยู II.ความเป็นมาของ “แทรยู” […]

Issue 8-9

ติดเซ็กส์

“ดร. วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาและ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต เปิดเผยว่า ประเทศไทยเริ่มมีโรคติดเซ็กส์มาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่นับวันยิ่งมีการระบาดของโรคนี้มากขึ้น โดยกลุ่มที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ คือผู้หญิงและวัยรุ่นไทย โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรม 4 ขั้นคือ มักสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ชอบโชว์โป๊ แอบดู ซึ่งหมายรวมถึงการดูภาพโป๊ในอินเทอร์เน็ต วีซีดี และขั้นสุดท้ายคือการค้าประเวณีเพื่อหาความสุขทางเพศไม่ใช่เพื่อเงิน ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากบุคคลเหล่านี้ในวัยเด็กได้รับสื่อลามก ซึ่งในอเมริกามีประชากรประมาณ 3-6% เป็นโรคดังกล่าว…ผู้ชายที่มีต้นทุนทางสังคมดีจะถูกผู้ป่วยเซ็กส์แอดดิคส์มาขอนอนด้วยบ่อยมาก ซ้ำบางคนมีอารมณ์รุนแรงสามารถร่วมได้ 5 คนต่อคืน หรือถึงแต่งงานแล้วก็ยังอดมีชู้ต่อไปเรื่อยๆไม่ได้ นางพรนิภา ลิปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า นายอดิศัย […]

Issue 8-9

“ความแตกสลายของอุดมการณ์เดือนตุลาฯ”

เช้านี้ ผมเพิ่งไปไหว้วีรชน ๑๔ ตุลาฯ และ ๖ ตุลาฯ มา….. ปกติ สัปดาห์หรือสองสัปดาห์ครั้ง ผมจะซื้อพวงมาลัย ๒ พวง ไปไหว้ประติมากรรมอนุสรณ์เหตุการณ์ประชาชนลุกขึ้นสู้เผด็จการ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และเหตุการณ์ล้อมปราบฆ่าหมู่นักศึกษาประชาชน ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาลัยพวงหนึ่ง ผมจะคล้องมือรูปจำลองวีรชน ๑๔ ตุลาฯ แล้วพนมมือไหว้พลางน้อมรำลึกถึง“สิทธิเสรีภาพ” อีกพวงหนึ่ง ผมจะวางบนกลางแท่นหินอ่อนรำลึกวีรชน ๖ ตุลาฯ แล้วพนมมือไหว้พลางน้อม รำลึกถึง “ความเป็นธรรมทางสังคม” […]

Issue 8-9

วรรณกรรมและการเมืองฟิลิปปินส์ร่วมสมัย

       ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1958 เกือบ 57 ปีมาแล้ว นักเขียนฟิลิปปินส์ชั้นแนวหน้าจำนวนประมาณหนึ่งร้อยคนเดินทางไปที่เมืองบาเกียว ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศบนที่ราบสูงทางตอนเหนือของประเทศ เพื่อเข้าร่วมในการประชุมที่จัดโดยสมาคมนักเขียนนานาชาติในประเทศฟิลิปปินส์ การประชุมครั้งนี้ให้ชื่อว่า การประชุมนักเขียนแห่งชาติ ผู้เข้าร่วมประชุมจึงเป็นนักเขียนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีแขกผู้มีเกียรติจำนวนไม่น้อยทีเดียว เข้ามาพบปะสังสรรค์กับนักเขียน และร่วมบรรยายด้วย อาทิ การ์โลส พี การ์เซีย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ซึ่งท่านเองก็เป็นกวีที่ใช้ภาษาถิ่นที่มีชื่อเสียงด้วย กลาโร เอ็ม เร็กโต วุฒิสมาชิกแนวชาตินิยม ซึ่งเป็นกวีและนักเขียนบทละครเป็นภาษาสเปน บิเซ็นเต จี ซิงโก อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ และและมีชาวตะวันตกจากสถานทูตอเมริกา และสถานทูตอังกฤษอีกประปราย นอกจากนี้ ยังมีนักการเมือง นักธุรกิจ […]

Issue 8-9

ขับร้องแสดงความเป็นสมัยใหม่แบบอิสลาม : สร้างสรรค์นัสยิดขึ้นใหม่ในมาเลเซีย

       ตั้งแต่พรรคฝ่ายค้าน “ปาร์ตี้อิสลามเซมาเลเซีย” (พรรคอิสลามแห่งมาเลเซียหรือ PAS) ได้เป็นรัฐบาลท้องถิ่นปกครองรัฐกลันตันในปี ค.ศ.1990 พรรคเห็นว่าการแสดงละครพื้นเมืองอย่าง “วายังกูลิต” (หนังตะลุง) และ “มักยง” (ละครมาเลย์ชนิดหนึ่ง) ในที่สาธารณะและการจัดคอนเสิร์ตเพลงร็อคไม่มีความเป็นอิสลามและสั่งห้ามจัดการแสดงดังกล่าว สำหรับชาวมุสลิมที่มีทรรศนะดั้งเดิม ละครพื้นเมืองเป็นเรื่อง “ฮารัม” (ต้องห้าม) เพราะเป็นการแสดงที่จัดขึ้นในโอกาสที่มีความสำคัญในเชิงจิตวิญญาณ อาทิเพื่อการรักษา เชื่อกันว่ามีการเรียกวิญญาณขณะแสดงและยังแสดงเรื่องราวที่ไม่ใช่อิสลามอีกด้วย (อย่างเช่นมหากาพย์รามายนะและมหาภารตะของอินเดีย) ยิ่งไปกว่านั้นปะก์ โดกล ตัวตลกของวายังกลันตันไม่เพียงแต่เป็นผู้รับใช้ของพระราม ตัวเอกของละครหุ่นในเรื่องนี้แต่ยังเป็นกึ่งคนกึ่งเทพตามความเชื่อของฮินดูอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการห้ามสตรีเข้าร่วมในการแสดงคอนเสิร์ตและการแสดงสดเพื่อความบันเทิงทุกชนิดในรัฐกลันตันตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 เนื่องจากถือว่าเสียงของสตรีนั้น “เอารัต” เป็นส่วนของร่างกายซึ่งต้องปกปิด (Star 19 กันยายน […]

Issue 8-9

ทางเลือกที่จะเป็นนักวิจารณ์: พบกับกริเช็น จิตใน คุยเรื่องละครกับอูติห์

         การละครของเรานั้นมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างแล้วอย่างเล่า  แล้วอะไรอีกเล่ารอเราอยู่ข้างหน้ายากที่จะบอก เนื่องจากนักเขียนบทละครของเรา  ซึ่งทันทีที่มีอิสระจากกฎเกณฑ์มากมายหลาย   ประการที่มีมาก่อนยุคทศวรรษ 1970  กลายเป็นคนที่เราไม่อาจคาดเดาได้  มีเพียงกฎเดียวเท่านั้นที่ดูจะยังคงจริงอยู่ในปัจจุบัน  นั่นก็คือการละครนั้นไม่มีระเบียบแบบแผนตายตัว อย่างไรก็ตามอิสระนั้นก็มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่หลวง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ชม  ซึ่งการเปิดใจให้ยอมรับสิ่งใหม่ ๆของพวกเขา ยังต้องการการฟูมฟักอยู่  (Jit 1979, 8 April) ในสภาวะทางสังคมอย่างเช่นในประเทศมาเลเซีย ซึ่งประกอบด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่าง  (ทางเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา) อยู่ร่วมกันโดยมีสัมพันธภาพทางอำนาจกับรัฐในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป  หน้าที่ที่จะอภิปรายเรื่องการแสดงทำให้ผู้อภิปรายต้องพูดถึงนโยบายทางด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมซึ่งก่อให้เกิดธรรมเนียมปฏิบัติที่ใช้กันอยู่กว้างขวางตลอดจนอคติต่าง ๆ อาทิ การยืนยันสิทธิผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม (affirmative action) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล  (เป็นนโยบายซึ่งมุ่งที่จะลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มเชื้อชาติ) […]

Issue 8-9

วิถีของวรรณกรรมร่วมสมัยของไทย กระแสวรรณกรรม จาก เสนีย์ เสาวพงศ์ จนถึง ชาติ กอบจิตติ

บทนำ สำหรับวงการวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยแล้วนั้นปี2516หรือ“ช่วงของการปฎิวัตินักศึกษา” ถือได้ว่าเป็นจุดหักเหหนึ่ง(Turning point)เฉกเช่นเดียวกับในหลายๆแขนง งานวิจัยฉบับนี้จะทำการศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะพิเศษในผลงานวรรณกรรมและแนวโน้มของงานในช่วงก่อนและหลังระยะเวลาดังกล่าวผ่านทางการวิเคราะห์ผลงานวรรณกรรมในรายละเอียดของผลงานนวนิยายสองเรื่องนั่นก็คือ“ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงศ์ และ “คำพิพากษา” ของ ชาติ กอบจิตติ “ปีศาจ”เป็นตัวแทนของงานในช่วงก่อนปี2516 ส่วนเรื่อง “คำพิพากษา” นั้นเป็นตัวแทนของงานในช่วงหลังปี2516 เหตุผลที่หยิบยกผลงานทั้งสองเรื่องนี้มาทำการวิเคราะห์เนื่องจากผลงานทั้งสองเรื่องถือได้ว่าเป็นผลงานแถวหน้าในฐานะการวิจารณ์วรรณกรรมบริสุทธิ์ ของวรรณกรรมไทย อันดับแรกการวิจัยได้จับประเด็นของลักษณะพิเศษทางวรรณกรรมของเรื่อง “ปีศาจ” จากมุมมองในประเด็นที่เกี่ยวกับ “การหลุดพ้นจากบ่วงกรรม” เพราะเมื่อหากพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่าในผลงานวรรณกรรมของเสนีย์ เสาวพงศ์เรื่องนี้นั้นได้แสดงถึงการเป็นปฎิปักษ์กับแนวคิดเกี่ยวกับพุทธศาสนาโดยทั่วไปที่เป็นลักษณะพิเศษของสังคมไทยที่ได้สะท้อนออกมาเป็นระยะเวลายาวนานในวรรณกรรม กล่าวคือเป็นการถอยห่างออกจากเรื่องของพรหมลิขิต, โชคชะตาที่ได้กลายเป็นสิ่งธรรมดาสามัญของสังคมไปแล้ว, และเป็นสิ่งที่ชักชวนพวกเราให้เข้าไปสู่ความเข้าใจในเรื่องกรรม (กรรมลิขิต) ในความหมายดั้งเดิมซึ่งถือว่าโชคชะตาหรือกรรมนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หลังจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ลักษณะพิเศษทางวรรณกรรมของผลงานเรื่อง “คำพิพากษา”จากมุมมองเกี่ยวกับ“รอยต่อระหว่างการออกบวชกับการมีตัวตนอยู่จริง” สามารถกล่าวได้ว่าผลงานเรื่อง “คำพิพากษา” นี้นั้นได้ปฎิเสธถึงการหลอกตัวเองตามแนวคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ฌอง […]

Issue 6

มองสถานการณ์ภาคใต้ผ่านแว่น “กบฏชาวนา”๑ พระเอกคือคนเล็กๆ

         พระเอกคือคนเล็กๆ ปฏิเสธได้ยากว่า สถานการณ์ที่เกิดในภาคใต้ในรอบปีนี้เป็นความเคลื่อนไหวทางสังคม มีคนร่วมอยู่ในเหตุการณ์นับเป็นร้อย ถ้ารวมคนที่อาจสนับสนุนให้สามารถปฏิบัติการได้ ก็นับได้เป็นพันหรืออาจจะมากกว่านั้น ผมไม่สนใจว่าความเคลื่อนไหวทางสังคมที่กว้างใหญ่ไพศาลขนาดนี้ มีใครเป็นผู้นำ ใครเป็นผู้บงการ หรือได้รับการอุดหนุนจากใครบ้าง เพราะการมองหา “หัวโจก” ไม่ช่วยให้เราเข้าใจอะไรเลย นี่ไม่ใช่เหตุการณ์โดดๆ เช่น ปล้นปืนทหาร สังหารเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เผาโรงเรียน หรือใช้กองกำลังโจมตีหน่วยตำรวจ แต่เป็นความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก ไม่มีใครสามารถบงการหรือล่อลวงคนจำนวนมากเช่นนี้ออกมาปฏิบัติการร้ายแรงเช่นนี้ได้ (แม้แต่อาศัยยาเสพติด) แต่ต้องมีปัจจัยบางอย่างที่ผลักดันให้ผู้คนเล็กๆ เหล่านี้เคลื่อนไหวเพื่อจุดประสงค์บางอย่างร่วมกัน จะเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดในภาคใต้ได้ จำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยเงื่อนไขที่แวดล้อมชีวิตของคนเล็กๆ เหล่านี้ รัฐอำนาจนิยมมักไม่สนใจคนเล็กๆ ที่ร่วมอยู่ในความเคลื่อนไหวทางสังคม เพราะรัฐอำนาจนิยมไม่เคยคิดว่าประชาชนคนธรรมดาสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือสังคมได้ด้วยตัวเอง ต้องมีคนหรืออามิสหรือคำหลอกลวงเป็นผู้ชักจูงเสมอ ถึงแม้จะมีคนหรืออามิสหรือคำหลอกลวงชักจูง ทั้งหมดเหล่านี้ก็ไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมของคนเล็กๆ ที่ร่วมอยู่ในขบวนการได้อยู่นั่นเอง […]

Issue 6

เดินย่องในย็อกยา

          ประกาศเตือนการเดินทาง-ประเทศอินโดนีเซีย  กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 10  เมษายน 2546 ประกาศเตือนการเดินทางฉบับนี้ออกมาเพื่อเตือนพลเมืองสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการคุกคามต่อสวัสดิภาพในประเทศอินโดนีเซียที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ … เนื่องจากที่ทำการของสหรัฐอเมริกามีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยยิ่งขึ้น  ผู้ก่อการร้ายจะหันไปหาเป้าหมายที่ง่ายต่อการโจมตีขึ้น  ซึ่งอาจจะรวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้กันว่าเป็นที่ที่ชาวอเมริกันพักพิง ชุมนุม และไปเยี่ยมชม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามโรงแรม สถานเริงรมย์ ภัตตาคาร สถานที่ทางศาสนา โรงเรียน หรือกิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง … ชาวอเมริกันที่เดินทางหรือพักพิงอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ทั้ง ๆ ที่ทราบถึงคำประกาศเตือนควรอย่าพยายามไม่ทำตัวโดดเด่น   ควรจัดเวลาและเส้นทางในการเดินทางให้มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละครั้ง  และขอให้ตื่นตัวเต็มที่ตลอดเวลาเกี่ยวกับสิ่งของและผู้คนรอบตัว… มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความรุนแรงและไม่สงบ ซึ่งอาจจะปะทุขึ้นได้โดยแทบไม่รู้ตัว อันตรายซึ่งรวมถึงการก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นซึ่งมีอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ของอินโดนีเซียเช่น กรุงจาการ์ตา ย็อกยาการ์ตา สุราบายา กะลิมันตัน และสุลาเวสี ฉันและสามีบินไปเกาะชวาทั้ง […]

Issue 6

มิตรภาพ จินตนาการที่ถูกแทรกแซง และความเคร่งศาสนาในชวา และที่อื่น ๆ

         แล้วพบกันใหม่  ผมเดินทางไป ๆ มา ๆ ยังประเทศอินโดนีเซียตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา และตลอด12 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ศึกษาวิจัยในสาขามนุษยวิทยาทางวัฒนธรรมในเมืองย็อกยาการ์ตาบนเกาะชวา   ผมกลับมาที่นี่อีกครั้งในฤดูร้อน ค.ศ.2002 เพื่อนเก่าผู้หนึ่งที่ผมคุ้นเคยเป็นอย่างดีในฐานะเพื่อนร่วมงาน และเพื่อนที่รู้จักเป็นส่วนตัวได้แวะมาเยี่ยมบ้านทางตอนใต้ของเมืองย็อกยาที่ผมและครอบครัวพำนักอยู่ มาส ยาร์โต ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดูแลรายชื่อผู้ได้รับเบี้ยเลี้ยงให้กับโครงการวิจัยหนึ่งที่เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในย็อกยา เคยช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้กับโครงการวิจัยในลักษณะคล้ายคลึงกันในสมัยที่ผมได้พบเขาครั้งแรกเมื่อ  20 ปีก่อน ตอนนั้นผมเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกเดินทางมากับภรรยาของผม ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกเช่นกัน เราทั้งสองกำลังวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกในสาขามานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมในเมืองย็อกยาแห่งนี้ ในคราวนี้เมื่อผมกลับมา มาส ยาร์โต และผมทักทายกันอย่างกระตือรือร้นด้วยการจับมือ และหอมแก้ม หลังจากที่มาส ยาร์โต ถอดรองเท้าออกแล้ว เขาก็เดินผ่านเข้ามาในห้องเล็ก ๆ ทางด้านหน้าของบ้านที่เปิดออกสู่ห้องรับแขกที่มีขนาดกว้างขวาง ห้องรับแขกนี้มีพัดลมติดเพดาน และตกแต่งด้วยวัตถุโบราณของชวา สิ่งทอ และศิลปะสมัยใหม่ของอินโดนีเซีย ในมุมหนึ่งของห้องที่มีพื้นเป็นหินอ่อนนี้ มีรูปภาพสีน้ำที่งดงามภาพหนึ่งแขวนอยู่ ภาพนี้เป็นภาพของบุรุษนายหนึ่งที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่บุคคลที่อยู่ในเสื้อแขนสั้น และสวมหมวกสีดำที่ชินตา คือ ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย ในท่ามกลางวัตถุต่าง ๆ ที่ชวนให้ระลึกถึงบรรยากาศแห่งความเป็นสมัยใหม่เหล่านี้ ในขณะที่พัดลมหมุนไปมาอยู่บนเพดานให้เสียงชวนฟัง ผมและเพื่อนชาวอินโดนีเซียก็สูบบุหรี่สำราญกับควันที่อบอวลไปด้วยมิตรภาพ ไม่นานนักบทสนทนาของเราทั้งสองก็วกไปที่เหตุการณ์ 9/11 ดวงตาของมาส ยาร์โต ดูเหมือนจะเพ่งทะลุม่านบาง ๆ จากควันกานพลูหอมกรุ่นเขาเสนอทฤษฎี และคำถามที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งนั้น เขาจ้องตรงมาที่ตาของผม ขณะที่ถามว่า “เป็นเรื่องจริงหรือไม่ที่คนยิวนับพัน ๆ คนที่ทำงานที่ตึกเวิรลด์ เทรด เซ็นเตอร์ รู้ล่วงหน้าแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น และไม่มาทำงานในวันนั้น” จึงไม่ต้องเผชิญกับความวุ่นวาย การบาดเจ็บ และล้มตาย คำถามที่มีคำตอบอยู่ในตัวนี้นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า “พวกยิวเป็นพวกที่ขับเครื่องบินชนตึก” ในขณะนั้นเอง เราได้ยินเสียงบ่งบอกถึงเวลาสวดมนต์เย็นที่เริ่มดังก้องไปทั่วเมือง  แล้ว มาส ยาร์โต ซึ่งกำลังทำทีประหนึ่งว่าข้อสรุปที่เขาเสนอมาสักครู่นั้นเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ ก็ขอตัวอย่างสุภาพออกไปล้างมือ ล้างเท้า ล้างหน้า และเลี่ยงออกไปสวดมนต์ในมุมหนึ่งของห้องนี้ ในขณะที่ผมก็สูบบุหรี่ต่อไปในความเงียบงัน เช่นเดียวกันกับ มาร์ค เพิร์ลแมน ที่กลับมาที่โซโล ซึ่งเป็นอดีตเมืองราชสำนักอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของย็อกยา ในปี คศ.1997 ผมรู้สึกว่า “ผู้คนที่นี่มีความเสื่อมใสและเคร่งครัดในศาสนามากยิ่งขึ้น”อย่างเห็นได้ชัดเจน (เพิร์ลแมน [Perlman]1999, 11) ตลอดเวลาที่เราได้รู้จักกันมา ครั้งเดียวที่มาส บาร์โต สวดมนต์ต่อหน้าผม คือ ตอนที่เขาอยู่กับเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งในห้องเล็ก ๆในสำนักงานที่จัดไว้ให้เป็นห้องสวดมนต์ ผมเคยไปพักค้างคืนที่บ้านของเขาหลายครั้งหลายหน และเราใช้เวลาช่วงบ่ายหลังเลิกงานด้วยกันขี่มอเตอร์ไซด์ของเขาตระเวนเที่ยวทั่วเมืองบ้าง ดูภาพยนตร์บ้างเป็นครั้งเป็นคราว และเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ๆ ร้านขายอาหารแผงลอย และสถานที่อื่น ๆ ทั้งใน และรอบ ๆ ย็อกยาที่มาส ยาร์โต เห็นว่าผมควรจะรู้จัก บทสนทนาของเราในวันเก่า ๆ นั้น ส่วนมากว่าด้วยการเมือง วัฒนธรรม วัฒนธรรมชวา และการรักษาแผนโบราณที่ผมสนใจในขณะนั้น แม้ว่าเขาพำนักอยู่ในเมืองเล็ก ๆ ทางใต้ของย็อกยา ซึ่งเป็นที่ฝังศพของอดีตผู้นำและครอบครัวที่เคยปกครองเมืองโซโล และย็อกยาซึ่งเป็นเมืองราชสำนักเก่า (สำหรับชาวอินโดนีเซียแล้ว จะถือว่าหลุมผังศพเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์และมีพลังลึกลับ) แต่เราก็ไม่เคยพูดถึงความหลากหลายทางศาสนาของชวา หากจะพูดถึงบ้างก็มีแต่เรื่องของการใช้ความลึกลับทางศาสนาของชาวชวาในการบำบัดรักษา เท่าที่ผมจำได้ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ไม่เคยเป็นหัวข้อการสนทนาของเราเลย ในช่วงแรก ๆ ที่เรารู้จักกัน ผมพบว่า มาส ยาร์โต เป็นคนที่มีความเป็นสมัยใหม่ เขานิยมซูการ์โน และไม่ไว้วางใจแนวทางของซูฮาร์โตที่ว่าด้วยการสร้างระบบใหม่ เขาสนใจวิทยาศาสตร์ แม้จะเป็นแบบที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลระดับล่างเช่นเขาจะเข้าใจได้ และเขาก็ผูกมิตรกับผมซึ่งมาจากประเทศ ซึ่งในขณะนั้นเป็นตัวแทนของทุกอย่างที่ทันสมัยตั้งแต่เทคโนโลยีจนถึงเพศสัมพันธ์ บ่ายวันหนึ่งเราสองคนและเพื่อน ๆ จากที่ทำงานไปดูภาพยนตร์เรื่อง JFK ของโอลิเวอร์ สโตน ด้วยกัน ตอนที่เควิน คอสต์เนอร์ดารานำเริ่มเล่าว่า แผนการสมคบคิดที่เขาเสนอนั้นนำไปสู่เหตุการณ์การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ได้อย่างไร ผมสังเกตเห็นว่าดวงตาของมาส ยาร์โต เอ่อไปด้วยน้ำตา หลังจากจบภาพยนตร์ ยาร์โตและเพื่อน ๆ เห็นพ้องว่า จอห์น เอฟ เคนเนดี้ และซูการ์โน มีลักษณะหลาย ๆ อย่างคล้ายกัน และสิ่งที่เกิดขึ้นกับเคนเนดี้ในภาพยนตร์ก็เกิดขึ้นกับซูการ์โนเช่นกัน นอกจากเรื่องทฤษฎีสมคบคิดแล้ว ก็มีเรื่องของการวิพากษ์รัฐชาติสมัยใหม่ และเจตน์จำนงของรัฐบาลที่เราสนใจร่วมกัน   หัวข้อเหล่านี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ที่ดุเดือดเอาการทีเดียว คราวนี้ในปี คศ.2002 เราหวนกลับมาถกประเด็นทฤษฎีสมคบคิดกันอีกครั้ง ในท่ามกลางเสียงเรียกให้สวดมนต์เย็นที่ดังก้องไปทั่ว มาส ยาร์โต เสนอข้อโต้แย้งของเขาทีละประโยค ๆ อย่างมั่นใจ โดยความคิดเหล่านี้มีรากฐานจากขนบที่เชื่อว่ามีผู้สมคบคิด และผู้ก่อการอยู่เบื้องหลัง  ในทุก ๆ ฉากของประวัติศาสตร์ ทุก ๆ ย่างก้าวที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว  ตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ.1997 ตามมาด้วย การล่มสลายของรัฐบาลที่มีซูฮาร์โตเป็นผู้นำ การลุกฮือขึ้นมาต่อสู้อย่างรุนแรงในส่วนต่าง ๆ ของหมู่เกาะอินโดนีเซียการประท้วงของนักศึกษา ขบวนการปฏิรูปที่มีชื่อว่า Reformasi เรื่องฉาวโฉ่ที่เกี่ยวกับธนาคาร การฆ่าหมอผีที่เล่นคุณไสย การข่มขืนสตรีเชื้อสายจีนและที่มีเลือดผสมระหว่างจีนและอินโดนีเซีย   และขบวนการล่าหัวมนุษย์ใหม่ในหมู่เกาะรอบนอก ไปจนถึงการเมืองของรัฐบาลทั้งเรื่องใหญ่และเรื่องเล็ก เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ ยืนยัน และประโคมข่าวว่ามีคนอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ด้วยความที่เราเป็นเพื่อนกันมาเป็นเวลายาวนาน และผมรู้สึกว่า มาส ยาร์โต มีความเป็นคนสมัยใหม่ ผมจึงอธิบายให้เขาฟังอย่างมุ่งมั่นว่าข้อสรุปเช่นนี้ไร้สาระเป็นอย่างยิ่ง ผมกล่าวอย่างไม่ลังเล (และไม่ได้คิดเลยด้วยซ้ำไป) ว่ามีหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งยืนยันว่าสมาชิกขบวนการอัลเคด้าของโอสะมา บิน ลาเดน เป็นผู้วางแผนอยู่เบื้องหลัง และเป็นผู้ดำเนินการโจมตี ตลอดช่วงฤดูร้อน ผมรู้สึกได้อย่างชัดเจนมากขึ้นว่าผลกระทบของเหตุการณ์ เช่น 9/11 ที่แผ่กระจายไปทั่วโลก ได้เขามามีบทบาทในความสัมพันธ์ของผมกับมาส ยาร์โต ตั้งแต่ที่ผมมาถึง เขาได้แสดงความสนใจอย่างล้นเหลือที่จะชวนเชิญให้ผมหันมาศึกษาประวัติศาสตร์ และลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลามในเกาะชวา เขาถึงกับกุลีกุจอจัดการนัดสัมภาษณ์ให้ผมได้พูดคุยกับผู้คนที่เขาและเพื่อน ๆ เของเขาในเมืองนี้เห็นว่าเป็นปราชญ์ทางศาสนาอิสลามที่รอบรู้ ครั้งหนึ่งผมได้พบกับบุคคลสำคัญในท้องถิ่นท่านหนึ่งที่ได้ศึกษาคำสอนและการปฏิบัติของศาสนาอิสลามด้วยตนเอง โดยการพบปะครั้งนี้จะมีขึ้นที่เมืองที่พำนักของ มาส ยาร์โต ซึ่งอยู่ทางใต้ของ ย็อกยาออกไปประมาณชั่วโมงครึ่ง มาส ยาร์โต ได้เชิญเพื่อน ๆ จากย็อกยาร่วมฟังการสัมภาษณ์ครั้งนี้ด้วย และเนื่องจากเราจะพบกันในตอนค่ำ มาส ยาร์โต จึงจัดการให้เพื่อน ๆ ของเขามารับผม และขับรถพาผมไปยังที่นัดผม ในขณะที่ผมรอพวกเรามารับ จู่ ๆ ผมก็นึกถึงภาพในหนังสือพิมพ์ของ เดเนียล  เพิร์ล ผู้สื่อข่าวที่ถูกฆ่าตาย ขณะถูกมัดอยู่กับพื้นศีรษะก้มต่ำ  ผมถูกกระชากเป็นกระจุกอยู่ในมือของผู้จับกุมที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ในภาพ และมีปืนและมีดจ่ออยู่ที่ศีรษะ เป็นเรื่องที่น่าอายจริง ๆ ที่ผมจะต้องเล่าว่า ผมกลัวมากจนกระทั่งในระหว่างที่รอยู่นั้น ผมเดินกลับไปที่บ้านเพื่อบอกภรรยาของผมว่าหากผมไม่กลับมา ขอให้เธอเข้าใจว่าอาจมีอันตรายเกิดขึ้นกับผม ทั้ง มาส  ยาร์โต และผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในบรรยากาศแห่งความขัดแย้งทางอัตลักษณ์ที่ถูกแทรกแซงอยู่ตลอดเวลา สามารถกลายเป็นคนที่กระทำการรุนแรงอย่างมากได้ “ความหลากหลายแห่งความเป็นจริงในรูปแบบต่าง ๆ” ที่ผมนำเข้ามาในจินตนาการของผม   ทำให้ผมประหวั่นพรั่นพรึงได้อย่างน่าประหลาดใจทีเดียว เท่าที่ผ่านมา ตลอดเวลาที่ผมอยู่ในประเทศอินโดนีเซียผมไม่เคยรู้สึกกลัวเช่นนี้มาก่อนเลย ยิ่งกว่านั้นความกลัวนี้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ผมถือว่าเป็นเพื่อน และญาติสนิทคนหนึ่ง เราทำงาน รับประทานอาหาร เดินทาง และสนุกด้วยกัน ผมส่งเสียให้ลูก ๆ ของเขาได้เรียน เขาให้ความช่วยเหลือในงานของภรรยาผม มิตรภาพที่ผมและเขามีต่อกันนั้นเหนียวแน่นพอ ๆ กับ ที่ผมมีให้เพื่อนคนอื่น ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย  หรืออาจจะมั่นคงกว่ากับคนอื่น ๆ ก็ว่าได้ ความกลัวที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งที่จริงเป็นความรู้สึกที่ผูกกับเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ที่ผมประสบอยู่ขณะที่ผมก้าวเขาไปในรถตู้ขนาดเล็กที่มารับผมนั้นบั่นทอนความรู้สึกผูกพันทางใจในมิตรภาพของเราสองคน ที่แม้จะเป็นความผูกพันที่ยั่งยืน  แต่อันที่จริงก็กำลังพัฒนาและแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ในขณะนี้ผมนึกสงสัยขึ้นมาว่า ในเหตุการณ์นั้น ผมควรจะบอกให้ มาส ยาร์โต ทราบถึงความกลัวของผมก่อนที่ผมจะกลับบ้าน หรือไม่และสองปีให้หลัง (คศ.2004) เราพบกันสั้น ๆ อีกครั้งหนึ่งเราพบว่าเราไม่มีอะไรจะพูดกันสักเท่าไร แม้ว่า มาส ยาร์โต จะนำของที่ระลึกมาให้ผม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสัญลักษณ์แทนประเทศอินโดนีเซียในยุคปัจจุบัน (ทั้งนี้ โมต และรูเธอร์ฟอร์ด ที่ได้ศึกษาวัฒนธรรมของเกาะปาบัว ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน “การเสนอภาพความรุนแรง[และเรื่องราวอื่น]) ที่ผ่านการแทรกแซงของสื่อนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดให้เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น” (โมต และรูเธอร์ฟอร์ด [Mote and Rutherford] 2001, 117) มาส ยาร์โต นำหนังสือมาให้ผมหนึ่งเล่ม และแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะไม่ได้เป็นภาพของความรุนแรง ผมกลับรู้สึกเสมือนว่ามันรวบรวมการแปลความที่หลากหลาย การเขียนขึ้นใหม่ และความเป็นจริงเสมือนที่เข้ามามีอิทธิพลต่อจินตนาการของเราอย่างท่วมท้นในยุคนี้ หนังสือเล่มนั้น คือ งานตีความพระคัมภีร์อัลกุรอาน ของนักวิชาการตะวันตกที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในฉบับแปลภาษาอินโดนีเซีย การแทรกแซง หลังจากวิกฤตการเมือง และเศรษฐกิจ ความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล   เหตุการณ์ 9/11 และสงครามในประเทศอัฟกานิสถาน และอิรัก นานาประเทศตั้งความหวังไว้ประการหนึ่งกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรที่เป็นมุสลิมจำนวนมากที่สุดในโลก ความหวังนั้น คือ ขอให้ประชาชนและการเมืองของประเทศคง “ความเป็นกลาง”ต่อไป เป็นที่เข้าใจกันดีในหมู่ ผู้ศึกษาประเทศอินโดนีเซียว่า ประวัติศาสตร์ที่หนักแน่นยาวนานของความใจกว้างยอมรับความแตกต่างและความยืดหยุ่นต่ออัตลักษณ์ และชีวิตทางสังคมที่พบได้ในผู้คนที่อยู่ในภูมิภาคนี้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเมืองเชิงอัตลักษณ์ที่มีความเป็นกลาง  อันที่จริงผู้คนมักจะพูดถึงความใจกว้าง และความยืดหยุ่นของทัศนคติ และวิถีชีวิตว่าเป็นลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งของหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในการอธิบายให้เห็นลักษณะเด่นที่เป็นจุดยืนทางวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ โอ ดับเบิลยู โวลเตอร์ (O. W. Wolters)อ้างจากหลักฐานภาษาชวาในศตวรรษที่ 19 ชิ้นหนึ่งถึงลักษณะร่วมหนึ่งที่บุคคลจากสังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ พึงมีเหมือนกัน นั่นคือ คนที่เจริญแล้ว (wong praja) จะเป็นคนที่ยืนหยุ่น (lemesena) (1999, 161)  เบเนดิค แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า สำหรับชาวชวาแล้ว “เขาจะอดทนยอมรับแทบทุกอย่าง หากสิ่งเหล่านั้นสามารถนำมาปรับ หรืออธิบายให้เข้ากับวิถีชีวิตของชาวชวาได้” แต่กระนั้นเมื่อไม่นานมานี่เอง แอนเดอร์สันมองย้อนกลับไปในอดีต และชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ “ความใจกว้างของชาวชวา” ลดน้อยลงไป และสิ่งที่ปรากฏขึ้นให้เห็นในสังคมทั้งในเชิงสัญลักษณ์ และในเชิงรูปธรรมในหลาย ๆ กรณี คือ การก่อตัวขึ้นของ“กำแพงสูงใหญ่ที่ขวางกั้นไม่ให้กลุ่มคนที่แตกต่างกันมาพบกันได้” เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย ทั้งก่อนและหลังโศกนาฎกรรม 9/11 ชี้เป็นนัยให้เห็นว่า ความใจกว้าง และความสามารถของชาวชวาที่จะ “เปลี่ยนที่ไปมา” ในประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้กำลังถูกท้าท้ายอยู่ ยิ่งกว่านั้นแล้ว “ความเป็นพลเมืองที่ยืดหยุ่นและลื่นไหล” มาโดยตลอดที่ยอมรับทั้งศาสนาที่นับถือ และความเป็นบุคคลนั้นดูเหมือนว่ากำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การขาดความผ่อนปรนที่ปรากฏมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งที่เราเคยชินมากไปเสียแล้ว  ดังที่แอนเดอร์สัน (Anderson) แสดงความรู้สึกเศร้าสลดไว้เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน และอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ อิทธิพลต่าง ๆ จากเหตุการณ์ในโลก และการก่อตัวขึ้นของลัทธิชาตินิยมในหมู่ชาวชวา “เข้ามาคุกคามความหลากหลายทางศีลธรรมเดิม ๆ อย่างเห็นได้ชัด” และ “บั่นทอนความใจกว้างยอมรับความแตกต่างที่เป็นลักษณะเดิม ๆ ซึ่งโครงสร้างทางสังคมกำหนดให้ดำรงอยู่” (1996, 42) จากการสังเกตและการสนทนาทั้งอย่างใกล้ชิดและจากที่มองอยู่ห่าง ๆ ณ ที่นี้ผมต้องการศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงไปของอัตลักษณ์ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตลักษณ์ทางศาสนา ซึ่งสังเกตเห็นได้เมื่อเร็ว ๆ นี้ แม้ว่าปัญหาความขัดแย้งท้องถิ่นใน มาลุกุ กะลิมันตัน และสุลาเวสี ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ หรือหลายมิติรวมกันนั้นอาจเป็นตัวอย่างที่น่าเชื่อถือ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความใจกว้างยอมรับความแตกต่างที่ลดน้อยลง และการสร้างอัตลักษณ์ที่ไม่ยืดหยุ่นและตายตัวมากยิ่งขึ้น  แต่ในที่นี้ผมขอเลือกศึกษาจากบทสนทนากับมาส ยาร์โต เพื่อนเก่าของผมผู้นี้ และเพื่อนคนอื่น ๆ ระหว่างที่ผมเข้าไปเก็บข้อมูลที่ย็อกยาการ์ตา และบริเวณใกล้เคียง ใน คศ.2002 เป็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งที่ผมได้เผชิญหน้ากับ “ยิว” หรือ Yahudi เป็นครั้งแรกในภูมิภาคท้องถิ่นที่ผมคุ้นเคยนี้ เมื่อผมเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ผมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสัญญะซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกนั้นนอกจากจะมีความโดดเด่นในฐานะที่เป็นสัญญะพิเศษที่ช่วยในการตีความเพื่อทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ 9/11 และเหตุการณ์อื่น ๆ ทั้งในและนอกประเทศอินโดนีเซียแล้ว   สัญญะนี้ยังอัดแน่นด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์อื่น ๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นรูปแบบและการปฏิบัติทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงทวิลักษณ์ในการสร้างอัตลักษณ์ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อพิจารณาจำนวนของชุมชนชาวยิวในประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีอยู่น้อยมาก ก็น่าจะบอกได้ว่าความรู้ผ่านประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับชาวยิวก็มีอยู่น้อยมากเช่นกันในหมู่ชาวอินโดนีเซีย นอกจากนั้นแล้ว ชาวยิวจำนวนน้อยนิดที่อยู่ในชุมชนเล็ก ๆ ที่สุราร์บายาไม่เคยเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์หรือต้องประสบกับการแบ่งแยกสีผิวที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศเมื่อไม่นานมานี้เลย เพื่อนบ้านชาวมุสลิมทักทายชาวยิวอย่างเป็นมิตรด้วยการกล่าวคำว่า “ซาโลม” อาหารของชาวยิวก็มาจากเนื้อที่พ่อค้าเนื้อฮาลาลชาวมุสลิมเป็นผู้ตระเตรียมให้ และในทศวรรษที่ผ่านมา ครอบครัวชาวมุสลิมรับหน้าที่ดูแลโบสถ์ยิวเล็ก ๆ ที่อยู่ในชุมชนนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซียนี้บอกเป็นนัยว่า สัญญะของ “ชาวยิว” ในประเทศอินโดนีเซียนั้นได้รับการตีความที่สอดคล้องกับเหตุการณ์อื่น ๆ และความกังวลในหมู่ชาวอินโดนีเซีย ตัวอย่างเช่น หลังจากการเลือกตั้งรัฐสภาของนายดับดูร์ราห์มัน วาห์ฮิด ประธานาธิบดีคนที่ 4 ของประเทศอินโดนีเซีย ชาวอินโดนีเซียเริ่มรู้สึกว่าความรุนแรงของอิสราเอลกับปาเลสไตน์เป็น “เรื่องของที่อื่นที่ถูกแทรกแซง” ในช่วงเวลานี้เองที่ “ยิว” ในฐานะที่เป็นสัญญะทางการเมืองได้เข้ามามีบทบาทในประเทศอินโดนีเซีย ผู้คนรับรู้สัญญะดังกล่าวที่ปรากฏอยู่ตามสื่อต่าง ๆ ว่า คือ ความเป็นจริง ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งมากขึ้นเมื่ออยู่ในบริบทของสัญญะตัวอื่น ๆ ที่สื่อความให้เข้าใจถึงความเป็นจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้พอ ๆกัน เฟลด์แมน (Feldman) (2000) อธิบายว่า การปรากฎให้เห็นของสัญญะเหล่านี้ในบริบททางการเมือง เป็น “ระบบในทางการมองเห็น”/”จักษุระบบ” โดยที่ในระบบนี้ “ความหลากหลาย” ของสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นจริงรูปแบบต่าง ๆ” เข้ามากำหนดความเข้าใจต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ (โปรดดู เฟลด์แมน [Feldman] 2000) ซีเกลตั้งข้อสังเกตว่า“คำว่า ‘ยิว’ ในประเทศอินโดนีเซียบ่งบอกถึงภัยคุมคาม” แต่เป็นภัยคุกคามที่ไม่มีรูปร่าง (2001, […]

Issue 6

การเลือกตั้งเปรียบเสมือนน้ำ

         สำหรับคนเป็นจำนวนมากเหลือเกินที่ไม่ได้มีความทรงจำแต่หนหลังใดๆ เกี่ยวกับชีวิตช่วงก่อนยุคที่ฟิลิปปินส์จะประกาศกฎอัยการศึกแล้ว การเลือกตั้งเป็นเหมือนกับน้ำ เป็นสิ่งที่หากขาดเสียแล้วก็เหมือนกับการเมืองสิ้นชีวิตไปด้วย  การเลือกตั้งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายการเมือง เช่นเดียวกับที่น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์   ในบรรดาคนรุ่นปู่ย่าตายายการเลือกตั้งก็เป็นเสมือนน้ำเช่นกัน ต่างกันแต่เพียงว่าคนรุ่นนั้นจะมองวัฒนธรรมทางการเมืองของฟิลิปปินส์ในปัจจุบันเป็นดั่งทะเลทรายที่แห้งผาก  ท่านผู้เฒ่าเหล่านี้จะถวิลหายุคที่ภูมิรัฐศาสตร์ดารดาษไปด้วยทุ่งหญ้าเขียวขจีแห่งอุดมการณ์ที่บานสะพรั่ง หอมอบอวลไปด้วยคุณธรรมในหมู่ท่านผู้นำและชนชั้นปกครองของประเทศ ตัดขาดไปไกลจากภาพอันน่าสะพรึงกลัวของประเทศที่แทบจะขาดวิ่นสิ้นไปในช่วงของการเลือกตั้งและช่วงหลังจากการเลือกตั้งฉะนั้น การเลือกตั้งเป็นเหมือนน้ำ เป็นเครื่องชะล้างกายาแห่งการเมืองให้สะอาดหมดจด  คณะผู้บริหารทุกคณะมักกลายสภาพเป็นคอกม้าหมักหมมโสมม และก็คะแนนเสียงที่ไหลหลั่งพรั่งพรูซึ่งมีการกำกับให้เข้าช่องเข้าทางเป็นสายน้ำสายเดียวนี้แหละที่จะชำระล้างคอกม้าที่โสโครกนั้นให้สะอาดขึ้นได้ ในปีค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) เมื่อฟิลิปปินส์มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหนึ่งในสามเต็มๆ ที่เดียวที่ไม่สนใจจะออกมาใช้สิทธิ์ และในตอนนั้นคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งมีถึงหนึ่งล้านห้าแสนคน เป็นชายล้วน และเป็นคนที่รู้หนังสือกันทุกคน ตอนนั้นคนฟิลิปปินส์กำลังใจจดใจจ่อรอการปกครองตนเองเพื่อเตรียมประเทศสำหรับเอกราชเต็มรูปแบบ(ผู้แปล — หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของสเปนมา 333 ปี คือตั้งแต่ ค.ศ. 1565-1898 และเปลี่ยนมือมาอยู่ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาจนได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1946) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่บรรดาคนที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งควรจะกระตือรือร้นออกมาใช้สิทธิ์กัน ออกมามีส่วนร่วมในการสร้างรากฐานแห่งรัฐชาติของชาวฟิลิปปินส์ด้วยกันเองในอนาคต  ทว่า คนเป็นจำนวนมากกลับไม่สนใจ และเหตุผลที่ไม่สนใจก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกอันใด ก็ด้วยตัวเลือกในขณะนั้นมีจำกัด ตอนนั้นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมีอยู่ด้วยกันเพียงสามคน และหนึ่งในสามนั้นก็ได้คะแนนนิยมท่วมท้น ผลการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งที่สรุปได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว และในเมื่อทุกอย่างดูเหมือนกำลังจะเป็นไปด้วยดีเช่นนี้ […]

Issue 5

การกำหนดขอบเขต : การเมืองและวัฒนธรรมการปรับเปลี่ยนความรู้ให้เป็นแบบอิสลามในประเทศ มาเลเซีย

         Georg StauthPolitics and Cultures of Islamization in Southeast Asia: Indonesia and Malaysia in the Nineteen-nineties[การเมืองและวัฒนธรรมการทำให้เป็นอิสลามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ : ประเทศอินโดนีเซียและ มาเลเซียในทศวรรษ 1990] Bielefeld / Transcript Verlag / 2002  Mona AbazaDebates on Islam and Knowledge in Malaysia and Egypt: […]

Issue 5

สตรี อิสลาม และกฎหมาย

         Hjh. Nik Noriani Nik Badlishah, editorIslamic Family Law and Justice for Muslim Women[กฎหมายครอบครัวของอิสลาม และความยุติธรรมต่อสตรีมุสลิม]Malaysia / Sisters in Islam / 2003 Gender, Muslim Laws and Reproductive Rights[เพศสถานะ กฎหมายของชาวมุสลิม และสิทธิในการสืบเผ่าพันธุ์]Davao City / Pilipina Legal Resources Center, […]

Issue 5

เลือดสีน้ำเงินแห่งอัสตานา ผู้เขียน —Ibrahim A. Jubaira

ผู้แปล  ปทมา อัตนโถ (Patama Attanatho)         แม้หัวใจจะไม่ยี่หระอีกต่อไปแล้ว แต่จิตใจก็ยังมีภาพเหล่านั้นวกกลับมาอยู่ร่ำไป  จิตใจยังคงดึงภาพในอดีตกลับมาได้เสมอ ก็เพราะมีสิ่งต่างๆ ให้จดจำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชีวิตวัยเด็กอันแสนจะจืดชืดซึมเศร้า ช่วงที่แสนจะมีความสุขกันในวันแดดกล้า หรือเรื่องความรักแอบแฝงและชะตากรรมที่เล่นตลก   ผมจึงคิดว่า คุณหนูเองก็น่าจะจำผมได้เช่นกัน จำได้ไหมครับ  ผมกลายเป็นเด็กกำพร้าได้ปีเศษๆ ป้าก็ตกลงใจยกผมให้ท่านดาตูท่านพ่อของคุณหนู   สมัยนั้น ดาตูมีหน้าที่ดูแลคนจนและคนไร้ที่พึ่งพิง ดังนั้นป้าก็ทำถูกแล้วที่ให้ผมไปอยู่ในความอนุเคราะห์ของท่านพ่อคุณหนู  นอกจากเหตุผลนั้นแล้ว ก็เป็นเพราะป้าแกเป็นคนจนด้วย  จนขนาดที่ว่า พอยกผมให้ท่านพ่อคุณหนูแล้ว ป้าไม่เพียงได้บรรเทาความค่นแค้นของตนเองเท่านั้น แต่ยังทำให้ผมมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นด้วย แต่พอมานึกถึงการที่ต้องพรากจากป้าไปแม้ชั่วขณะ ผมก็แทบทนไม่ได้  ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ ป้าเป็นเสมือนแม่ของผม และจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป “นะฮะ บาโบ” ผมร้องขอ  “เลี้ยงผมต่อไปอีกสักหน่อยเถอะฮะ ขอให้ผมอยู่กับป้าไปจนโตเถอะนะฮะ แล้วผมจะสร้างบ้านให้ป้า  สักวันผมจะตอบแทนป้าให้ได้  ให้ผมช่วยยังไงก็ได้ฮะ  นะ บาโบ นะฮะ […]

Issue 5

สายใยแห่งภราดรภาพ: บนสายรากวัฒนธรรมไทยทักษิณกับมลายูตอนบน

ความเป็นตัวตนของผู้คน/ชุมชนย่อมผสานด้วยส่วนที่เป็นองคาพยพทางกายภาพและองคาพยพทางจิต  อันได้แก่ส่วนที่เป็นรูป หรือรูปแบบ (Form) องค์ประกอบ (Element) บทบาท (Role) หน้าที่ ( Function) และความเข้มแข็ง (Strength) ความเป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริงของชุมชนจึงประกอบด้วยองคาพยพ(อวัยวะ)น้อยใหญ่ที่เป็นรูปธรรมตามสายรากแห่งชาติพันธุ์ด้านพันธุกรรมหรือเชื้อชาติสายรากหนึ่ง และอีกสายรากหนึ่งคือส่วนที่เป็น  “บุคลิกภาพ” ซึ่งสำแดงผ่านพฤติกรรมและวิถีคิดตามครรลองแห่งจารีตนิยมของกลุ่มอันอนุโลมว่าเป็นชาติพันธุ์ด้านวัฒนธรรมซึ่งมี “เจตนา” หรือธรรมาพยพเป็นตัวกำกับและขับเคลื่อน  ดังนั้นความเป็นตัวตนของผู้คน / ชุมชนจึงมีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหว หรือพลวัตอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการหยุดนิ่ง ความเป็นคนไทยภาคใต้ตอนล่างและความเป็นคนมาเลเซียตอนบนจึงต้องมองผ่านทั้ง๒ องคาพยพ  โดยการมองทั้งส่วนที่ย้อนอดีต  ส่วนที่กำลังก่อตัว และส่วนที่พึงพยากรณ์ได้ในอนาคต มองการร่วมสายรากแต่ดึกดำบรรพ์ ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและในมาเลเซียตอนบนมีโครงสร้างระดับรากเหง้าร่วมกันเพราะต่อ เขตแดนกันและตั้งอยู่ในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรด้วยกัน ต่างก็มีสภาพอากาศร้อนชื้นและลมมรสุมพัดผ่านตลอดทั้งปี  โครงสร้างทางกายภาพจึงเอื้อให้โครงสร้างทางชีวภาพเหมือนและคล้ายคลึงกัน  เหมือนคนร่วมสายโลหิตกันมาและพลวัตเคียงคู่กันมาโดยตลอด เช่น ความหลากหลายคล้ายคลึงของประชากรพืช  ประชากรสัตว์ และความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นปัจจัยให้เกิดความหลากหลายทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชุมชน  อันเนื่องแต่ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียง / เหมือนกัน มองในแง่ประวัติศาสตร์ทางชาติพันธุ์  ย้อนรอยประวัติศาสตร์ไปเมื่อประมาณ ๓๕๐๐ […]

Issue 4: Regional Economic Integration

การประเมินภาวะเศรษฐกิจฟิลิปปินส์

         รายงานฉบับนี้กล่าวถึงรูปแบบความเป็นวัฏจักรและความไม่ยั่งยืนของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ปัจจัยที่ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจในรอบวัฏจักรขาลง ผลจากภาคธุรกิจต่าง ๆ และกลยุทธ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยนัย ผลกระทบต่อการจ้างงานตามเพศของแรงงาน และสถานะของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศ รายงานฉบับนี้เสนอความคิดว่ารูปแบบความเป็นวัฏจักรและความไม่ยั่งยืนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของระดับรายได้ไม่เพียงสัมพันธ์กับรูปแบบการใช้จ่ายในระดับมหภาค ลักษณะของการเมืองที่อิงการเลือกตั้ง และการพัฒนาในระดับภาคธุรกิจและระดับภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังได้รับผลกระทบจากกลยุทธ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืนที่ใช้ก่อนช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2523-2532 ข้อจำกัดของกลยุทธ์การเปิดเสรีในปัจจุบัน และสถานะของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศด้วย  ต่อไปนี้เป็นรายงานฉบับสังเขป สำหรับเนื้อหา ข้อมูล และบรรณานุกรมที่ครบถ้วน สามารถดูได้จากรายงานฉบับสมบูรณ์  รูปแบบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นวัฏจักร ตั้งแต่ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2503-2512 ภาวะเศรษฐกิจที่วัดจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ต่อประชากร ประกอบด้วย 6 รอบวัฏจักรสั้น ๆ โดยแต่ละรอบมีระยะเวลา 4-5 […]

Issue 4: Regional Economic Integration

ธุรกิจของชาวจีนในมาเลเซีย: ใครรอดพ้นจากวิกฤต

         ผู้เขียนศึกษาว่าวิกฤตทางการเงินในเอเชียที่เกิดขึ้นใน พ.ศ.2540 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของชาวจีนในประเทศมาเลเซียอย่างไร โดยเสนอแนะว่า ขนาด ภาคธุรกิจ หนี้สิน และการกระจายการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าธุรกิจใดประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว วิสาหกิจขนาดใหญ่ในภาคธุรกิจการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และการผลิต ซึ่งมีหนี้สินจำนวนมาก และมีการกระจายการลงทุนเพื่อการเก็งกำไรโดยอาศัยเงินกู้ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤต นอกจากนี้ วิสาหกิจที่ หาเงินทุนมาได้ หรือขยายธุรกิจไปยังภาคการเงินก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ รวมถึงผู้จู่โจมกิจการซึ่งซื้อหุ้นจำนวนมากของบริษัทเป้าหมาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างราคาหุ้นก่อนที่จะขายหุ้นเหล่านั้นออกไป และได้รับกำไรมหาศาล กลุ่มธุรกิจที่รอดพ้นจากวิกฤตคือวิสาหกิจซึ่งดำเนินกิจการและขยายกิจการอย่างรอบคอบและเลือกสรร  ธุรกิจที่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วนี้มีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจที่แท้จริงซึ่งมีการผลิตสินค้าและให้บริการ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจที่อ่อนไหวต่อวิกฤตทางการเงินน้อย ธุรกิจที่มุ่งเน้นในธุรกิจหลักของตน และธุรกิจที่หลีกเลี่ยงการก่อหนี้จนเกินตัว  มีสินทรัพย์รองรับ และมีกระแสเงินสดรับเพื่อชำระหนี้อย่างเพียงพอ ตลอดจนมีการจัดสรรกำไรไว้เป็นเงินสำรอง […]

Issue 4: Regional Economic Integration

คนงานชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเล การหมุนเวียนแรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ การบริหารโครงการอพยพไปต่างประเทศ

          ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา คนงานชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเล หรือที่เรียกกันว่า OFW (overseas Filipino workers) ได้กลายเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศฟิลิปปินส์ รัฐบาลฟิลิปปินส์ถือว่า พวก OFW ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกกันว่า คนงานสัญญาจ้างโพ้นทะเลหรือ OCW (overseas  contract workers) เป็นวีรบุรุษยุคใหม่ของประเทศ ด้วยเหตุผลหลักเพราะว่าเงินที่คนเหล่านี้ส่งกลับประเทศนั้นเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ   คำว่า OFW มีความหมายครอบคลุมคนงานชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเลหลายๆ กลุ่มด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ผู้ย้ายถิ่นฐานหรือคนงานที่มีสัญญาจ้าง ทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขึ้นทะเบียน  จากหลักฐานทางสถิติที่รวบรวมไว้ พวกนี้จะถูกจัดประเภทเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและ OFW  ในปี 2542 มีชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานเป็นจำนวน 2.8 ล้านคน […]

Issue 4: Regional Economic Integration

งานวิจัยใหม่ ๆ เรื่องการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

           การย้ายถิ่นของผู้หญิงไทยไปเยอรมนี: สาเหตุ ชีวิตความเป็นอยู่และผลกระทบในประเทศไทยและเยอรมนี (The Migration of Thai Women to Germany: Causes, Living Conditions and Impacts for Thailand and Germany)สุภางค์ จันทวาณิช สุธีรา นิตยนันท์  ประไพรัตน์ รัตนโอฬาร-มิกซ์พัทยา เรือนแก้ว  และอัญชลี เขมครุฑกรุงเทพ ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544 การค้าประเวณีหญิงจีนในไทย (Chinese Women in the […]

Issue 3: Nations and Stories

สู่การสร้างงานเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียแนวชาตินิยมขึ้นใหม่

         บรรยากาศที่ปลอดจากการควบคุมและแทรกแซงทางการเมือง ดูจะจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของงานวิชาการส่วนใหญ่  โดยเฉพาะงานทางประวัติศาสตร์ที่ง่ายต่อการถูกควบคุมและแทรกแซงทางการเมืองอย่างยิ่ง  เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การปกครองยุคซูฮาร์โต และการจำกัดเสรีภาพทางการเมืองในยุคนั้นได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว  ก็ถึงเวลาที่จะต้องตั้งคำถามกันว่า การล่มสลายของการปกครองยุคซูฮาร์โตก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ต่อพัฒนาการของงานขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียในประเทศอินโดนีเซียเอง เช่นเดียวกับงานเขียนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ในยุคหลังอาณานิคม ประวัติศาสตร์อินโดนีเซียมีลักษณะชาตินิยมอย่างเข้มข้นและโจ่งแจ้ง  งานเขียนประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมที่รู้จักกันในชื่อว่า  อินโดนีเซียเซ็นทรีส  หมายถึง งานเขียนประวัติศาสตร์ที่ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มีเป้าหมายหลักและ/หรือผลลัพธ์สุดท้าย ที่เป็นการประจักษ์ถึงและให้เหตุผลสนับสนุนว่า อินโดนีเซียเป็นรัฐชาติที่มีสถานภาพอันชอบธรรม ทั้งนี้งานทางประวัติศาสตร์เหล่านี้มีพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญ คือ ความพยายามที่จะสร้าง ธำรงรักษาไว้ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของชาติ ที่เชื่อว่าเหมาะสมกับความเป็นรัฐชาติแห่งอินโดนีเซีย บทความนี้พยายามระบุและชี้ให้เห็นร่องรอยการปฏิรูปการเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียแนวชาตินิยม  บรรยากาศที่มีเสรีภาพมากขึ้นในยุคหลังซูฮาร์โตไม่เพียงเอื้อให้เกิดการท้าทายงานเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียรุ่นเก่าเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การทบทวนกรอบความคิดที่มีมานาน ซึ่งยังอาจดำรงอิทธิพลต่อการเขียนประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ต่อไป ข้าพเจ้าเห็นว่า การปฏิรูปกำลังก่อตัวขึ้น โดยถูกกระตุ้นจากความจำเป็นที่จะต้องกำจัดชำระล้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่เคยมีอยู่ระหว่าง “วงการศึกษาประวัติศาสตร์” กับ “ระเบียบใหม่” กลุ่มนักปฏิรูปปฏิเสธประวัติศาสตร์แบบแผนแนวพรรณนาความที่มุ่งเน้นกิจกรรมทางการเมืองเป็นหลัก แต่เชิดชูสนับสนุนงานเขียนประวัติศาสตร์ในแนวสังคมศาสตร์ที่ซาร์โตโนเป็นผู้บุกเบิกขึ้น อีกทั้งยังตั้งคำถามเชิงท้าทาย (ที่แม้ว่าจะยังไม่หนักแน่นจริงจังเท่าไรนัก) ต่อความจำเป็นที่ต้องยืนยันในหลักคิด อินโดนีเซียเซ็นทรีส ในการเขียนประวัติศาสตร์  แต่อย่างน้อยที่สุด กลุ่มปฏิรูปต้องการแสวงหาทางปลดปล่อยอินโดนีเซียเซ็นทรีส ออกจากบทบาทเดิมที่ส่งเสริมและกำหนดความหมายของสิ่งที่เรียกได้ว่า […]

Issue 3: Nations and Stories

ทำความเข้าใจกับความเป็น “มาเลเซีย”

         Cheah Boon Kheng (เจีย บุน เคง)Malaysia: The Making of a Nation(มาเลเซีย: การสร้างชาติ)Singapore / ISEAS / 2002 Farish A. Noor (แฟริช เอ นัวร์)The Other Malaysia: Writings on Malaysia’s Subaltern History(อีกด้านหนึ่งของมาเลเซีย: รวมบทความด้านประวัติศาสตร์ผู้ด้อยโอกาสของมาเลเซีย)Kuala Lumpur / Silverfishbooks / […]

Issue 3: Nations and Stories

ปันตายง ปานานอว์ : การอธิบาย การวิพากษ์และทิศทางใหม่

         บทความเรื่องปันตายง ปานานอว์นี้ (ปันตายง ปานานอว์ หมายถึง “จากพวกเราเพื่อพวกเรา” และเรียกโดยย่อว่า พีพี”) มุ่งเสนอภาพรวมเบื้องต้นของแนวการศึกษา ที่อาจเป็นแนวโน้มที่มีอิทธิพลและก่อให้เกิดการถกเถียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสังคมศาสตร์ในฟิลิปปินส์ พีพีเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1970 จากความเคลื่อนไหวในกลุ่มนักประวัติศาสตร์ชาว ฟิลิปปินส์ นำโดย ซุส เอ ซาลาซาร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ที่พยายามสร้าง “ความเป็นพื้นเมือง” ขึ้นในการเข้าใจสังคมฟิลิปปินส์ ในระยะแรก พีพี เป็นความพยายามที่ต้องการฉีกตัวออกจากขนบการเขียนประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ที่ดำรงอยู่ในขณะนั้น 2 แนว คือ แนวนิยมอเมริกา และแนวชาตินิยมที่ต่อต้านแนวทางแรก ขนบทั้งสองนี้เป็นกระบวนทัศน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1950 ถึงทศวรรษ 1970 หลังจากนั้น พีพีได้ส่งผลอิทธิพลอย่างช้าๆ ทั้งในเชิงปรัชญาและระเบียบวิธีการของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาอื่นๆ […]