อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในกัมพชู า

ชาญวทิ ย์เกษตรศิริ

         

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในกัมพชู า

สถาบันกษัตริย์แบบดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่ว่าจะได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีของศาสนา ฮินดู พุทธ หรืออิสลาม อาจจะถูกทำลายไปหรือไม่ก็ดำรงไว้โดยมหาอำนาจอาณานิคมที่ยิ่งใหญ่ มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างราชวงศ์ของพม่าก็ยังถูกทำลาย ส่วนราชวงศ์อื่นๆ ก็ได้มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด รวมถึงราชวงศ์ของสยามเช่นกัน    พระเจ้าธีบอ (Thibaw)  พระมหากษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย (ครองราชย์ระหว่าง 1 ตุลาคม 1878 ถึง 29 พฤศจิกายน 1885) ถูกเนรเทศออกไปนอกบอมเบย์ ในขณะที่ จักรพรรดิโมกุลของอินเดีย พหาทุระ ชาห์ ซาฟาร์ (ครองราชย์ระหว่าง 28  กันยายน 1837 – 14 กันยายน 1857) ถูกส่งให้ไปสิ้นพระชนม์ชีพที่ย่างกุ้ง   มีกษัตริย์จำนวนมากหรือกษัตริย์ที่ไม่ทรงมีอำนาจมากนักยังคงถูกดำรงไว้สำหรับงานพระราชพิธีและเพื่อช่วยเหลือเจ้านายจากอาณานิคมเช่น กษัตริย์ชาวอินโดนีเซีย (ชวาและบาหลี), มาเลย์, ไท / ฉาน, เวียดนาม, ลาวและเขมร

หลังการเข้ามาล่าอาณานิคมของญี่ปุ่นจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่2 สิ้นสุด ยุคใหม่ก็ได้เริ่มต้นขึ้น เหล่ากษัตริย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะต้องทรงเลือกระหว่างการลุกขึ้นตื่นตัว หรือไม่ก็ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมใหม่ที่เรียกว่า “ถิ่นกำเนิดนิยม _- ชาตินิยม”(patriotic-nationalist)กษัตริย์เหล่านั้นส่วนใหญ่มีความเป็นอนุรักษ์นิยม โดยจะอ่อนน้อมต่อเจ้านายเก่าของพวกเขาในอดีต อย่างเช่น เวียดนาม  อินโดนีเซีย(ยกเว้นในกรณีของ สุลต่านของยอกยาการ์ตา)  กษัตริย์ของ Shan sawbuas    กษัตริย์ของลาว(ยกเว้นบางกลุ่มของ Lao Chao) และสุลต่านของมาเลย์  โชคยังดีเนื่องจาก พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 ที่ยังทรงพระเยาว์และพระอนุชาซึ่งคือพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทรงพำนักอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ตลอดระยะเวลาที่เกิดสงคราม ส่วนกรณีของกษัตริย์เขมร เจ้านโรดม สีหนุนั้น (1922-2012) ไม่เหมือนกันกับกรณีทั่วไป   ในปัจจุบันนี้ มี 27 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศที่เป็นสมาชิกของUN ที่ยังคงคงปกครองโดยสถาบันกษัตริย์ (หรือคิดเป็นร้อยละ 13)

โรเจอร์ เคอร์ชอว์ นักวิชาการชาวอังกฤษ เขียนไว้เมื่อปี 2001, หนึ่งทศวรรษก่อนการสวรรคตของเจ้านโรดมสีหนุ โดยแสดงความกังวลไว้ว่า

“อย่างไรก็ตามเราอาจจะสรุปคร่าวๆ ในช่วงเวลานี้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์กัมพูชามีโอกาสเพียงน้อยนิดในการดำรงอยู่ได้อย่างยาวนานหลังจากการเสด็จสวรรคตของเจ้านโรดมสีหนุ…. ไม่มีรัชทายาทองค์ใด ที่ทรงพระปรีชาสามารถในด้านการสร้างความชอบธรรมสำหรับเกียรติยศของพระองค์ กับการทำให้การเมืองราบรื่นอย่างมีชั้นเชิง (โดยยึดถือผลประโยชน์ของพระองค์เองเป็นหลัก) ต่อ ฮุนเซนหรือผู้สืบราชสันตติวงศ์ได้เหมือนกับพระองค์ ราชบัลลังก์ของกัมพูชากำลังเป็น “พื้นที่ที่ถูกจับตามอง”    ด้วยความคาดหวังที่กังวลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ที่เร็วๆ นี้จะว่างลงอย่างถาวร”

เคอร์ชอร์ อาจจะกล่าวได้อย่างถูกต้องว่าไม่มีใครที่จะเทียบเท่าหรือแทนที่เจ้านโรดม สีหนุ ได้   ตามที่เขาได้ตั้งพระนามให้พระองค์ว่า  “กษัตริย์เก้าชีวิต”

  1. ทรงเป็นผู้เยาว์ที่ถูกปกป้องโดยฝรั่งเศส (1941-45)
  2. ทรงเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจสูงสุดแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น (1945)
  3. ทรงเป็นกษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัชธรรมนูญ และอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศส ในช่วงการปกครองของฝรั่งเศส (1946-52)
  4. ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงได้อิสรภาพ (1952-54)
  5. ทรงเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด ผู้ซึ่งสละราชบัลลังก์และจัดตั้งพรรคการเมืองของพระองค์เอง (1954-55)
  6. ทรงเป็นนักประชานิยม ผู้มีอำนาจเด็ดขาด ผู้นำที่ไม่ร่วมมือกับฝ่ายใด และประมุขของรัฐ (1950-70)
  7. ทรงเป็น หัวหน้าของแนวร่วมสหชาติเขมร หรือ FUNK: Front Uni National du Kampuchea (1970-75-79)
  8. ทรงเป็นผู้กอบกู้ประเทศในการเผชิญหน้ากับเขมรแดงและเวียดนาม
  9. ทรงเป็นกษัตริย์อีกครั้งนับจากปี 1993 จนกระทั่งถึงการสละราชสมบัติครั้งที 2 ของพระองค์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2004, จากนั้นพระองค์ได้กลายเป็นพระบิดาของกษัตริย์  จนถึงปี 2012

จากบทบาททางการเมืองทั้ง 9 ชีวิต ข้างต้น จะเห็นได้ว่าเจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์ที่ทรงมีพระชนมายุ 71 พรรษา ทรงเป็น  “กษัตริย์ตัวเล็กผู้ยิ่งใหญ่”  สำหรับชาวกัมพูชาแล้วพระองค์เป็นทั้งกษัตริย์และพ่อผู้ที่ปรากฎในฐานะ ธรรมราชาหรือเทวราชาโดยประเพณี  และทรงเป็นกษัตริย์สมัยใหม่ในเวลาเดียวกัน  แต่สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่เหมือนกันกับกลุ่มที่อยู่ในยุคเดียวกับ ซูการ์โนและโฮจิมินห์ พวกเขาเหล่านั้นตกอยู่ในความวุ่นวายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และต้องลุกขึ้นต่อสู้ในช่วงภัยสงครามเย็น  พระเจ้านโรดม สีหนุ จะต้องแสดงบทบาทเพื่อความอยู่รอดของพระองค์เองภายใต้การเมืองภายในประเทศและในขณะเดียวกันพระองค์ยังต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มขั้วอำนาจหลัก-  2 กลุ่มในสมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น สหภาพโซเวียต จีนแผ่นดินใหญ่ เวียดนามเหนือ ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตร  สหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรไม่ค่อยชอบพระองค์มากนัก ซึ่งไม่ต่างกับไทยและเวียดนามใต้ที่ก็ไม่ชอบพระองค์เช่นเดียวกัน พระองค์และประเทศตกอยู่ในสภาวะที่ถูกขนาบด้วยโลกตะวันตกและโลกตะวันออก และสิ่งที่ต้องจดจำก็คือในปี 1970พระองค์ทรงถูกยึดอำนาจโดยกองทัพเขมรโดยการนำของ Lon Nol  ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและไทย  สถาบันพระมหากษัตรยิ์ถูกทำให้สะดุดและหยุดลงและกัมพูชาก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ หรือ ที่ที่ปราศจากสถาบันพระมหากษัตริย์นานถึง 23 ปีจนถึงปี 1993

Sihanouk visiting Romania in 1972, with Romanian President Nicolae Ceaușescu (left) and Queen Norodom Monineath (center). Photo: Romanian National History Museum - www.comunismulinromania.ro
Sihanouk visiting Romania in 1972, with Romanian President Nicolae Ceaușescu (left) and Queen Norodom Monineath (center). Photo: Romanian National History Museum – www.comunismulinromania.ro

หากตัดสินจากช่วงเวลาหลายทศวรรษที่มีทั้งช่วงขึ้นและลงที่เจ้านโรดม สีหนูทรงอยู่ในฐานะกษัตริย จากการดำรงตำแหน่งกษัตริย์ 2 วาระ และการสละราชสมบัติ 2 ครั้ง การเป็นประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี  ผู้นำกองโจรเพียงแค่ในนาม  และล่าสุด คือ  “พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ” สื่อโดยนัยได้ว่าพระองค์เปรียบเสมือนเทวรูปพระโพธิสัตว์ อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงสร้างบารมีที่ยิ่งใหญ่ซึ่งช่วยให้พระองค์ทรงอยู่รอดอย่างยาวนาน ในสภาวะทางการเมืองภายในประเทศที่ไม่เป็นมิตร

บารมีดังกล่าวช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตำแหน่งในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของพระองค์และความพยายามของพระองค์ในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น  “บารมี” เป็น แนวคิดของศาสนาพุทธของเขมร หมายถึง  “อำนาจที่สะสมไว้” ในแง่ของวัฒนธรรม คำนี้จะหมายถึงคนที่มีคุณธรรม อำนาจหรือความดีงาม  เช่น กษัตริย์ พระภิกษุสงฆ์ บุคคลหรือสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือ บุคคลที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือและแสดงความเคารพ    เมื่อบุคคลคนใดอยู่ในชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง เช่น กษัตริย์ที่เกิดมาพร้อมกับสถานะดังกล่าว  แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือบุคคลนั้นจะต้องสะสมบารมีด้วยตนเอง จึงจะได้รับความเคารพจากผู้อื่น    บารมี เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลและไม่สามารถถ่ายโอนให้กันได้    พระโคตมพุทธเจ้าใช้เวลากว่า 500 ปีในการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อสะสมบุญบารมีให้เพียงพอ เพื่อที่จะบรรลุนิพพาน  คงไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า บารมีของกษัตริย์สีหนุนั้นมีไว้เพื่อชาติและชีวิตในปัจจุบันของพระองค์เอง ไม่ได้มีไว้ศาสนาซึ่งก็คือ  การบรรลุในพุทธศาสนา

จากกษัตริย์สมัยนครวัดผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหมด พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ในปี 1181-1218) ทรงเป็นที่รู้จักกันดี ว่าเป็นพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในศาสนา พระองค์ได้ทรงสร้างโรงพยาบาล (arokayasala) สะพาน (sapian) วัด (prasat) จำนวนมาก รวมทั้งการป้องกันอาณาจักรของพระองค์จากศัตรูชาวจาม  กิตติศัพท์ของพระองค์เป็นที่เลื่องลือและพระบรมรูปของพระองค์ ถูกส่งออกไปเพื่อให้สามารถเห็นได้ทั่วราชอาณาจักร บางส่วนอยู่ในเวียดนามใต้ ลาว และไทย (มีพระบรมรูปขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่งที่คล้ายกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7อยู่ที่ปราสาทหินพิมาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย) ในปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามประชาชนไม่มีโอกาสที่จะได้ชมพระบารมีจากตัวพระองค์จริง แต่ในกรณีของเจ้านโรดม สีหนุนั้น  ตามที่ Pou Sothirak อดีตเอกอัครอัครทูตกัมพูชา กล่าวว่า ” พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วประเทศ เพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้คนในชนบท  เพื่อเชื่อมต่อแนวคิดชาตินิยมและพัฒนารูปแบบของกัมพูชาที่เป็นอิสระจากผู้ปกครองซึ่งก็คือฝรั่งเศส   พระราชดำรัสประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งจนทำให้เจ้านโรดม สีหนุ กลายเป็นผู้นำ ที่ได้รับการเคารพมากที่สุด   ที่สนับสนุนเรื่องเสรีภาพและความเป็นอิสระของชาติ”   การที่พระองค์ทรงเสด็จไปเยี่ยมเยียน  ทรงทำพระองค์ให้กลมกลืน และเข้าถึงสามัญชนทั่วไปขณะที่เปิดโรงเรียน  โรงพยาบาล วัด สะพาน ถนน ต่างๆ ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับกัมพูชา  และยิ่งเป็นสิ่งที่น่าแปลกใจมากยิ่งขึ้นเมื่อสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดขึ้นนอกกรุงพนมเปญ นี่คือสิ่งที่อาจจะคาดไม่ถึงไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือหลังยุคสมัยนครวัด    ในยุคสมัยใหม่​​ที่พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย​​ เช่น รถ  รถไฟ  เฮลิคอปเตอร์  วิทยุ  โทรทัศน์ ภาพยนตร์และอินเทอร์เน็ต     เจ้านโรดม สีหนุอาจจะเป็นกษัตริย์องค์แรกที่สามารถติดต่อโดยตรงกับพสกนิกรโดยทั่วถึง พระองค์ทรงอำนวยการสร้าง และทรงกำกับในภาพยนตร์และสารคดีกว่า 30 เรื่อง โดยมีส่วนร่วมแสดงในบางเรื่องด้วย  ทั้งหมดเหล่านี้ถือเป็นการสะสมบารมีของพระองค์ที่ยิ่งใหญ่เหลือคณานับ

ด้วยแนวคิดบารมีนี้ บวกกับบุคลิกภาพส่วนพระองค์ของเจ้านโรดม สีหนุ  เราสามารถสันนิษฐานได้ว่ารัชทายาทของพระองค์ คือ กษัตริย์สีหมุนี  และสถาบันพระมหากษัตริย์เขมร จะต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากที่ใหญ่หลวง กษัตริย์องค์ใหม่จะสามารถสร้างบารมีของพระองค์เองและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ในเวลาเดียวกันได้หรือไม่?  ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่คิดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เขมรไม่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นสถาบัน เหมือนกับที่อื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีของสหราชอาณาจักรและยุโรปตะวันตก ที่นั่นกษัตริย์ทรง “อยู่เหนือการเมือง” และได้รับการคุ้มครองสถานะ ดังนั้นอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ในกัมพูชาจึงดูมืดมัว

ในพระพุทธศาสนาเถรวาทของกัมพูชา ลาวและไทย   บารมี อาจจะเสื่อมถอยลงและหมดลงได้  กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิด    ในภาษาเขมรแถบพื้นราบเรียกว่า   bat baaramey   “Bat” หมายถึง สูญเสีย ทำลาย (เช่นการเสียหน้าหรือเสียศักดิ์ศรี) หรือ baaramey  อาจลดลงและหายไป สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับกษัตริย์สีหนุ คือ การที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ถึง 2 ครั้ง; ครั้งแรกตั้งแต่วันที่25 เมษายน 1941 ถึง 2 มีนาคม 1955 และครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 1993-7 ตุลาคม 2004 สำหรับการสละราชสมบัติ ครั้งแรกในปี 1955 เกิดขึ้นตอนที่พระองค์ทรงเข้าสู่การเมืองอย่างเต็มตัว เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา  ครั้งที่ 2 ในปี 2004 ตอนที่พระองค์ทรงออกจากการเมืองและทรงอยู่  “เหนือการเมือง” เมื่อทรงมีพระชนมายุ 82 พรรษา

Meeting in Beijing in 1956: from left Mao Zedong, Peng Zhen, Sihanouk, Liu Shaoqi
Meeting in Beijing in 1956: from left Mao Zedong, Peng Zhen, Sihanouk, Liu Shaoqi

หลังจากการสละราชสมบัติ เจ้านโรดม สีหนุทรงประทับอยู่นอกกัมพูชา โดยส่วนใหญ่จะทรงประทับอยู่ที่จีนกับราชินีที่ทรงครองคู่กันมาอย่างยาวนาน พระนามว่า Monineath (ก่อนหน้านี้พระนามของพระองค์ คือ  Paule-Monique Izzi, ทรงประสูติ เมื่อ18 มิถุนายน 1936 ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม ซึ่งได้มาจากเชื้อสายฝรั่งเศส อิตาลี และ เขมร; พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้านโรดม สีหนุ ในปี 1952 เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาและมีองค์ชาย 2 องค์) เจ้านโรดม สีหนุทรงมีพระมเหสีหลายพระองค์และทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 15 พระองค์  เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์เจ้านโรดม สีหนุจึงทรงห่างจากการเมืองนานกว่า 8 ปี จนกระทั่งเสด็จสวรรคต มีการกล่าวว่าพระองค์เสด็จสวรรคต ในช่วงที่พระบารมีของพระองค์อยู่จุดสูงสุด ในที่นี้ไม่ได้เป็น Bat  หรือการสูญเสีย และอาจมีการกล่าวแย้งได้ว่าว่าการสละราชสมบัติเป็นทางออกที่ดีสำหรับพระองค์และสถาบันพระมหากษัตริย์เขมร สรุปได้ว่า ถึงแม้กษัตริย์นโรดมสีหมุนี อาจจะไม่ได้รับบารมีของพระราชบิดาเป็นมรดก แต่พระองค์ก็อาจจะพึ่งพาบารมีนั้นได้

สิ่งที่น่าสนใจ กรณีของกัมพูชาดูเหมือนว่าค่อนข้างจะคล้ายกันกับอาณาจักรเล็กๆ อย่างภูฏาน ที่ซึ่งในปี 2006 อดีตกษัตริย์ Jigme Singye ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 61 พรรษาได้ทรงสละราชสมบัติเพื่อให้มกุฎราชกุมารหนุ่ม  Jigme Khesar Namgyel  ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 26  พรรษา กษัตริย์องค์ก่อนทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องการปฏิรูปสมัยใหม่ต่างๆ และพระองค์ก็ยังทรงเป็นที่นิยมและสามารถที่จะทรงอยู่เคียงข้างเพื่อช่วยพระราชโอรส   ในขณะที่กษัตริย์นโรดมสีหมุนี กลายเป็นกษัตริย์ในช่วงพระชนมายุได้ 51 พรรษาทั้งๆ ที่ไม่ได้ทรงอภิเษกสมรส พระองค์จึงได้รับ “การปกป้อง” อย่างมากจากพระราชบิดาและพระราชมารดาซึ่งเป็นผู้ที่ทรงได้รับความนิยม  ดูเหมือนว่าพระองค์ทรงพึงพอพระทัยกับความเป็นผู้นำแต่ในนาม และบทบาทต่างๆ ที่เกี่ยวกับพิธีการ ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากบทบาทของพระราชบิดา เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่พบว่าสำนักงาน ร้านค้า สถานที่สาธารณะ มากมายหลายแห่งในกัมพูชา มักจะแขวนพระบรมฉายาลักษณ์ของ เจ้านโรดมสีหนุ  พระราชินีMonineath และกษัตริย์นโรดมสีหมุนี ร่วมกันเสมอ

สถาบันพระมหากษัตริย์กัมพูชาอาจจะไม่ได้เป็นสถาบันพระมหากษัตริย์เฉกเช่นแบบฉบับระดับโลกอย่างสหราชอาณาจักรและยุโรปตะวันตก แต่การสละราชสมบัติดูเหมือนจะแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในอดีตได้  ดังนั้น นี่จึงไม่ได้เป็นกรณีของ “(หากองค์)กษัตริย์สวรรคตไปแล้ว – (ระบบสถาบัน) กษัตริย์ก็จะคงอยู่ต่อไปได้อย่างยืนยาว” (“the King is dead—Long live the king”)

 ชาญวทิ ย์เกษตรศิริ
Thammasat University

The author would like to express his thanks for suggestions and information from Benedict Anderson, ChhanySak-Humphry, Philippe Peycam, Phra Lah, Chap Prem, ThearaThun, Thongchai Winichakul, for the preparation of this article. Thanks to Caroline Hau and PavinChachavalpongpun for getting him across the Thai border to the other side.

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 13 (March 2013). Monarchies in Southeast Asia

References

Kershaw, Roger. 2001. Monarchy in South-East Asia: The Faces of Tradition in Transition. London: Routledge
Edwards, Penny. Cambodge, The Cultivation of A Nation: 1860-1945. Hawai’i: University of Hawai’i Press
Chandler, David. 1997. From ‘Cambodge’ to Kampuchea: State and Revolution in Cambodia, 1863-1979. Thesis Eleven, 50:35-49.
Remembering the King Norodom Sihanouk, 1922-2012. 2012. The Cambodia Daily. 31 Oct 2012. pp. 1-24.