Issue 4 Oct. 2003

งานวิจัยใหม่ ๆ เรื่องการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

           การย้ายถิ่นของผู้หญิงไทยไปเยอรมนี: สาเหตุ ชีวิตความเป็นอยู่และผลกระทบในประเทศไทยและเยอรมนี (The Migration of Thai Women to Germany: Causes, Living Conditions and Impacts for Thailand and Germany)สุภางค์ จันทวาณิช สุธีรา นิตยนันท์  ประไพรัตน์ รัตนโอฬาร-มิกซ์พัทยา เรือนแก้ว  และอัญชลี เขมครุฑกรุงเทพ ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544 การค้าประเวณีหญิงจีนในไทย (Chinese Women in the […]

Issue 3: Nations and Stories Mar. 2003

สู่การสร้างงานเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียแนวชาตินิยมขึ้นใหม่

         บรรยากาศที่ปลอดจากการควบคุมและแทรกแซงทางการเมือง ดูจะจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของงานวิชาการส่วนใหญ่  โดยเฉพาะงานทางประวัติศาสตร์ที่ง่ายต่อการถูกควบคุมและแทรกแซงทางการเมืองอย่างยิ่ง  เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การปกครองยุคซูฮาร์โต และการจำกัดเสรีภาพทางการเมืองในยุคนั้นได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว  ก็ถึงเวลาที่จะต้องตั้งคำถามกันว่า การล่มสลายของการปกครองยุคซูฮาร์โตก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ต่อพัฒนาการของงานขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียในประเทศอินโดนีเซียเอง เช่นเดียวกับงานเขียนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ในยุคหลังอาณานิคม ประวัติศาสตร์อินโดนีเซียมีลักษณะชาตินิยมอย่างเข้มข้นและโจ่งแจ้ง  งานเขียนประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมที่รู้จักกันในชื่อว่า  อินโดนีเซียเซ็นทรีส  หมายถึง งานเขียนประวัติศาสตร์ที่ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มีเป้าหมายหลักและ/หรือผลลัพธ์สุดท้าย ที่เป็นการประจักษ์ถึงและให้เหตุผลสนับสนุนว่า อินโดนีเซียเป็นรัฐชาติที่มีสถานภาพอันชอบธรรม ทั้งนี้งานทางประวัติศาสตร์เหล่านี้มีพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญ คือ ความพยายามที่จะสร้าง ธำรงรักษาไว้ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของชาติ ที่เชื่อว่าเหมาะสมกับความเป็นรัฐชาติแห่งอินโดนีเซีย บทความนี้พยายามระบุและชี้ให้เห็นร่องรอยการปฏิรูปการเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียแนวชาตินิยม  บรรยากาศที่มีเสรีภาพมากขึ้นในยุคหลังซูฮาร์โตไม่เพียงเอื้อให้เกิดการท้าทายงานเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียรุ่นเก่าเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การทบทวนกรอบความคิดที่มีมานาน ซึ่งยังอาจดำรงอิทธิพลต่อการเขียนประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ต่อไป ข้าพเจ้าเห็นว่า การปฏิรูปกำลังก่อตัวขึ้น โดยถูกกระตุ้นจากความจำเป็นที่จะต้องกำจัดชำระล้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่เคยมีอยู่ระหว่าง “วงการศึกษาประวัติศาสตร์” กับ “ระเบียบใหม่” กลุ่มนักปฏิรูปปฏิเสธประวัติศาสตร์แบบแผนแนวพรรณนาความที่มุ่งเน้นกิจกรรมทางการเมืองเป็นหลัก แต่เชิดชูสนับสนุนงานเขียนประวัติศาสตร์ในแนวสังคมศาสตร์ที่ซาร์โตโนเป็นผู้บุกเบิกขึ้น อีกทั้งยังตั้งคำถามเชิงท้าทาย (ที่แม้ว่าจะยังไม่หนักแน่นจริงจังเท่าไรนัก) ต่อความจำเป็นที่ต้องยืนยันในหลักคิด อินโดนีเซียเซ็นทรีส ในการเขียนประวัติศาสตร์  แต่อย่างน้อยที่สุด กลุ่มปฏิรูปต้องการแสวงหาทางปลดปล่อยอินโดนีเซียเซ็นทรีส ออกจากบทบาทเดิมที่ส่งเสริมและกำหนดความหมายของสิ่งที่เรียกได้ว่า […]

Issue 3: Nations and Stories Mar. 2003

ทำความเข้าใจกับความเป็น “มาเลเซีย”

         Cheah Boon Kheng (เจีย บุน เคง)Malaysia: The Making of a Nation(มาเลเซีย: การสร้างชาติ)Singapore / ISEAS / 2002 Farish A. Noor (แฟริช เอ นัวร์)The Other Malaysia: Writings on Malaysia’s Subaltern History(อีกด้านหนึ่งของมาเลเซีย: รวมบทความด้านประวัติศาสตร์ผู้ด้อยโอกาสของมาเลเซีย)Kuala Lumpur / Silverfishbooks / […]

Issue 3: Nations and Stories Mar. 2003

ปันตายง ปานานอว์ : การอธิบาย การวิพากษ์และทิศทางใหม่

         บทความเรื่องปันตายง ปานานอว์นี้ (ปันตายง ปานานอว์ หมายถึง “จากพวกเราเพื่อพวกเรา” และเรียกโดยย่อว่า พีพี”) มุ่งเสนอภาพรวมเบื้องต้นของแนวการศึกษา ที่อาจเป็นแนวโน้มที่มีอิทธิพลและก่อให้เกิดการถกเถียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสังคมศาสตร์ในฟิลิปปินส์ พีพีเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1970 จากความเคลื่อนไหวในกลุ่มนักประวัติศาสตร์ชาว ฟิลิปปินส์ นำโดย ซุส เอ ซาลาซาร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ที่พยายามสร้าง “ความเป็นพื้นเมือง” ขึ้นในการเข้าใจสังคมฟิลิปปินส์ ในระยะแรก พีพี เป็นความพยายามที่ต้องการฉีกตัวออกจากขนบการเขียนประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ที่ดำรงอยู่ในขณะนั้น 2 แนว คือ แนวนิยมอเมริกา และแนวชาตินิยมที่ต่อต้านแนวทางแรก ขนบทั้งสองนี้เป็นกระบวนทัศน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1950 ถึงทศวรรษ 1970 หลังจากนั้น พีพีได้ส่งผลอิทธิพลอย่างช้าๆ ทั้งในเชิงปรัชญาและระเบียบวิธีการของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาอื่นๆ […]

Issue 3: Nations and Stories Mar. 2003

ปัญหาของการเขียนประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมร่วมสมัยของไทย

           วาทกรรมทางประวัติศาสตร์และการเมืองอันเนื่องมาจากวาทกรรมทางประวัติศาสตร์นั้นกลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญของปัญญาชนและสาธารณชนทั่วไป  ประเด็นที่ถกเถียงกัน ได้แก่ ใครควบคุมวาทกรรมทางประวัติศาสตร์และการเมืองเหล่านั้น วาทกรรมนี้ได้รับการเผยแพร่ด้วยวิธีใด และประวัติศาสตร์ที่เสนอเรื่องราวที่แตกต่างออกไปนั้นถูกสะกัดกั้นไม่ให้เผยแพร่ออกไปได้อย่างไร  เป็นเวลานานมาแล้วที่ประวัติศาสตร์ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดความสนใจเช่นว่านี้ในประเทศไทย การเขียนประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมดูจะมีอิทธิพลเหนือแนวอื่น  ซึ่งอาจนับเป็นเรื่องที่พิเศษไม่น้อย หากไม่เป็นเพราะว่า แท้ที่จริงแล้ว ประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมเผชิญการต่อต้านคัดค้านน้อยมาก  คำถามจึงอยู่ที่ว่า ลักษณะการเขียนประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมและวาทกรรมการเมืองที่ว่านี้ จะสามารถคงสถานภาพอันมั่นคงได้มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ก่อตัวขึ้นมาได้นานถึง 100 ปี ในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะได้พิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเขียนประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมร่วมสมัยของไทย  ปัญหาประการแรกเกี่ยวกับชาติไทย อันเป็นเนื้อหาในประวัติศาสตร์ไทยที่เขียนๆ กันมา น่าสนใจว่า หลังจากงานสำคัญสองชิ้น อันได้แก่ Imagined Communities ของ แอนเดอร์สัน และ The Invention of Tradition ของ ฮอบส์บอมและเรนเจอร์ ได้ก่อกระแสวิพากษ์แนวคิดเรื่อง “ชาติ” ขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

วนศาสตร์ชุมชนและการจัดการป่าไม้เขตร้อนในเอเชีย

         มาร์ค พอฟเฟนเบอร์เกอร์ บรรณาธิการผู้พิทักษ์ป่าไม้: ทางเลือกสำหรับการจัดรูปที่ดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวสต์ ฮาร์ทฟอร์ด คอนเนติกัต สหรัฐอเมริกา/ สำนักพิมพ์ คูแมเรียน / 1990 เอ็ม วิคเตอร์, ซี แลง และ เจฟฟ์ บอร์นไมเออร์ บรรณาธิการวนศาสตร์ชุมชนบนทางหลายแพร่ง: ข้อคิดและทิศทางในอนาคตของการพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนกรุงเทพฯ /รายงานของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชน (RECOFTC) ฉบับที่ 16 /1998http://www.recoftc.org/pubs_interreports.html#Crossroads ชาร์ มิลเลอร์ บรรณาธิการความเป็นมาของป่าไม้ในเอเชียประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฉบับพิเศษ 6(2)/2001[ ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นวารสารชั้นแนวหน้าระดับโลกสำหรับนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

“ป่าไม้ชุมชน” และสังคมชนบทไทย

         อนันต์ กาญจนพันธ์หน่วยควบคุมที่ดินและป่าไม้ประจำท้องที่: มิติทางวัฒนธรรมของการจัดการทรัพยากรทางตอนเหนือของประเทศไทยเชียงใหม่ / ศูนย์สังคมศาสตร์และการพัฒนาแบบยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / 2000 ชิเกะโทะมิ ชินอิชิการจัดระบบหมูบ้านเพื่อการพัฒนาชนบทในประเทศไทยโตเกียว / สถาบันเศรษฐศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนา / 1996ฉบับภาษาอังกฤษ: ความร่วมมือและชุมชนในชนบทของประเทศไทย: การวิเคราะห์ระบบการพัฒนาชนบทแบบมีส่วนร่วมโตเกียว / สถาบันเศรษฐศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนา / 1998 การอภิปรายถกเถียงเรื่องการใช้ป่าไม้เชิงอนุรักษ์ในประเทศไทยได้เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากกรมป่าไม้ องค์การนอกภาครัฐ และชุมชนในท้องถิ่นต่าง ๆ มีความคิดแตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ชุมชนซึ่งได้ริเริ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ยังคงไม่มีผลบังคับใช้ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังมีความซับซ้อนเนื่องจากผลกระทบจากสิ่งที่จอห์น เอ็มบรีเรียกว่า ลักษณะโครงสร้างแบบสองฝ่ายของสังคมไทย ชิเกะโทะมิ […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

การทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมาย – ความเป็นมาและบทเรียนจากประเทศอินโดนีเซีย

          บทความนี้กล่าวถึงความเป็นมาในอดีตอันใกล้ของการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายในประเทศอินโดนีเซียและบทเรียนบางประการที่อาจเรียนรู้ได้จากประสบการณ์นี้  ในระหว่างปี 1999-2000 มีรายงานหลายฉบับซึ่งทำให้เล็งเห็นความสำคัญของการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายในประเทศอินโดนีเซียและพยายามแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบใหญ่หลวงที่การทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายนี้มีต่อธรรมชาติแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และเศรษฐกิจ ในรายงานและวิดีโอขององค์การตรวจสอบสิ่งแวดล้อมและองค์กรเตลาปักที่ชื่อ “การตัดครั้งสุดท้าย” และรายงานฉบับต่อเนื่องทำให้เกิดมีการรณรงค์ในระดับนานาชาติเพื่อต่อต้านการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายในประเทศอินโดนีเซียซึ่งส่งผลสำคัญบางประการ รวมถึงการที่รัฐบาลอินโดนีเซียทบทวนการห้ามการส่งออกซุงในปี 2002 และการขึ้นทะเบียนพันธุ์ไม้เขตร้อนที่ใกล้สูญพันธุ์ในสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าพันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ระหว่างประเทศ ภาคผนวก 3 ปี 2001  รายงานอื่น ๆนั้นพยายามที่จะกล่าวถึงปัญหานี้ในเชิงปริมาณทั้ง ๆ ที่ข้อมูลที่มีทำได้เพียงแค่ประมาณการเท่านั้น   ในรายงานของสก็อตแลนด์และคณะ  เมื่อปี 1999  ประเมินว่าในปี 1998 ปริมาณการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายที่สงสัยว่าเกิดขึ้นคิดเป็น 57 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น 16 ล้านลูกบาศก์เมตรจากปี 1997  ส่วนในรายงานของวัลทั่นเมื่อปี 2543 ได้ประเมินอัตราการตัดไม้ทำลายป่า (สูงถึง 2.7 ล้านเฮคเตอร์/ปี) และคาดการณ์ว่าป่าไม้ในพื้นที่ต่ำของสุลาเวสี สุมาตรา และกาลิมันตันจะหมดไปภายใน […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

เพศกับการบริหารเขตอนุรักษ์ในเวียดนาม

         รัฐบาลเวียดนามได้พยายามแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมและปัญหาความยากจนตลอดมา ด้วยการจัดตั้งเขตอนุรักษ์และเริ่มใช้นโยบายที่ให้ประโยชน์แก่ชุมชนซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอนุรักษ์และโดยรอบ   อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านี้บางครั้งก็ขัดแย้งกันเอง และสร้างความเหลื่อมล้ำทางเพศ   ตัวอย่างในกรณีศึกษาต่อไปนี้ได้จากชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์สองแห่ง คือหมู่บ้านเผ่าคินห์ในเขตอนุรักษ์บินห์เชาฟวคบู และหมู่บ้านเผ่าบานาในเขตอนุรักษ์คอนคาคินห์   ทั้งสองกรณีแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชายและหญิงในเรื่องโอกาสใช้ที่ดิน  การฝึกอบรม สินเชื่อ ทรัพยากรธรรมชาติ  และบทบาทในการเป็นผู้ตัดสินใจในระดับครอบครัวและชุมชน กฎหมายที่ดิน ฉบับปี 1993 ระบุว่าการจัดสรรที่ดินจะต้องกระทำโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ  ทว่าร้อยละ 80 ของใบรับรองการใช้ที่ดินได้ให้ไว้ในนามของหัวหน้าครอบครัวที่เป็นผู้ชาย    ในหมู่บ้านบานา มีการลักลอบขายที่ดิน    เนื่องจากไม่มีการออกใบรับรองการใช้ที่ดินและจำนวนผู้อพยพเข้ามาอยู่ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว  ในทั้งสองหมู่บ้าน สามีได้ขายที่ดินของครอบครัวโดยไม่ได้ขออนุญาตจากภรรยาของตนก่อน   การหันไปปลูกพืชเศรษกิจและข้าวเปียกแทนพืชที่เป็นอาหารดั้งเดิมหมายถึงการใช้เทคนิคใหม่ ๆ ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและเงินทุน  ขณะที่ชาวนาซึ่งเป็นผู้ชายได้เข้ารับการอบรม  ผู้หญิงกลับถูกละเลยเนื่องจากไม่ได้รับข่าวสาร ขาดเครือข่ายที่เข้มแข็ง ไม่รู้หนังสือ และอคติของผู้ชาย    ในกรณีของหมู่บ้านบานา อุปสรรคคือภาษา  โอกาสที่ผู้หญิงจะได้รับสินเชื่อก็น้อยมาก  ขณะที่โครงการสินเชื่อขนาดย่อมของธนาคารมีข้อแม้ว่าจะต้องมีหลักประกันการกู้ยืมและการศึกษาในระดับหนึ่ง   โครงการสหภาพสินเชื่อขนาดย่อมของผู้หญิงมีเงื่อนไขที่เข้มงวดมาก   ดินที่มีคุณภาพต่ำเป็นสาเหตุให้ผลผลิตข้าวต่ำ ส่งผลให้ค่าแรงที่ฝ่ายชายได้รับต่ำไปด้วย   ผู้หญิงซึ่งไม่มีโอกาสทำงานจึงต้องเข้าป่าเพื่อเก็บของป่าเพิ่มมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่ของป่าเหล่านี้กำลังร่อยหรอลงทุกทีอันเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมและนโยบายการบริหารการอนุรักษ์  การถูกกีดกันจากบทบาทเรื่องความอยู่รอดของครอบครัวทำให้สตรียากจนมีสิทธิ์มีเสียงไม่มากในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติซึ่งร่อยหรอลง  ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนจำกัดบทบาทของสตรีในการตัดสินใจในระดับครอบครัวและชุมชน   ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ชี้แนะว่าความรู้ในเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศน่าจะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถคุ้มครองเขตอนุรักษ์และแก้ปัญหาโอกาสที่เหลื่อมล้ำในการใช้ที่ดินและทรัพยากร  ข้อเสนอแนะประการหนึ่งคือควรทบทวนกฎหมายที่ดินเพื่อให้สตรีมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของที่ดินได้ อีกประการหนึ่งคือควรมีโครงการพิเศษที่มุ่งให้สินเชื่อและการอบรมแก่สตรี  และประการสุดท้ายคือปรับโครงสร้างการปกครองในระดับท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านสตรีที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารงานได้ […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

การจัดการป่าชายเลนแบบยั่งยืนเป็นไปได้หรือไม่

         บทความนี้รายงานการศึกษาศักยภาพของสถาบันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติชุมชนในป่าชายเลนของเวียดนาม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติชุมชนดังกล่าวนี้ได้รับความสนใจและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในระดับนานาชาติ   แต่ยังไม่ได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในประเทศเวียดนาม  ซึ่งกลยุทธ์หลัก ๆ ยังคงอาศัยการจัดการแบบรวมอำนาจ  โดยหน่วยงานรัฐหรือสหกรณ์หมู่บ้าน และการจัดการโดยครัวเรือนโดด ๆ ซึ่งเริ่มมีขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980เป็นต้นมา  บทความนี้เสนอข้อคิดเห็นว่าการโอนกิจการเป็นของรัฐหรือการแปรรูปวิสาหกิจต่างไม่สามารถแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรจนเกินขอบเขต  และมีหลาย ๆ กรณีที่การแปรรูปวิสาหกิจทำให้ครอบครัวชนบทต้องไร้ทางทำมาหากิน ข้อคิดเห็นดังกล่าวนี้จะแสดงไว้ในกรณีศึกษาของการจัดการป่าชายเลนในหมู่บ้านเกียวลัค  อำเภอ เกียวทาย จังหวัดนำดินห์ ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของยุคอาณานิคม ชาวบ้านรู้จักวิธีใช้ทรัพยากรแบบยั่งยืน แม้ว่าจะปราศจากการควบคุมดูแลของทางการ   เมื่อมาถึงยุคร่วมมือ (1956-1975) เจ้าหน้าที่ของอำเภอได้จัดการป่าชายเลนเพื่อที่จะปกป้องกำแพงกั้นน้ำของส่วนกลาง ชาวบ้านไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ไปประโยชน์จากป่าอีกต่อไปทำให้เกิดการลักลอบจับสัตว์ขึ้นเป็นครั้งแรก การปฎิรูปทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า Doi Moi ซึ่งเริ่มดำเนินมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจตลอดจนการทำลายถิ่นที่อยู่ของพืชและสัตว์ ผู้ที่มีเงินทุน ความชำนาญในการจัดการ และอำนาจทางการเมืองสามารถหาผลประโยชน์จากทรัพยากรที่มาจากป่าชายเลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฟาร์มกุ้งและฟาร์มหอยกาบ ผู้ได้รับประโยชน์น้อยที่สุดได้แก่คนยากจน ซึ่งต้องเสียแหล่งรายได้เสริมการทำนาข้าว   การปฏิรูป Doi Moi มีผลทำให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยและมีหัวหน้าครอบครัวเป็นสตรีถูกละเลย นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นแม้จะมีโครงการที่ได้รับเงินทุนช่วยเหลือจากองค์กรนอกภาครัฐสากลซึ่งมุ่งช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและคนยากจนแล้วก็ตาม   โครงการดังกล่าวได้ช่วยฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนในบริเวณหมู่บ้าน แต่เนื่องจากโครงการจะสิ้นสุดลงในปี […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในเวียดนาม: ศักยภาพและความเป็นจริง

         เวียดนามเป็นหนึ่งในสิบหกประเทศทั่วโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด  โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงที่เพิ่งค้นพบใหม่สามสายพันธุ์ โดยเมื่อเทียบอัตราส่วนต่อโลกแล้วคิดเป็นร้อยละ 6.3   ระบบนิเวศน์ที่หลากหลายและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด ทำให้ประเทศเวียดนามมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์   อันที่จริง รัฐบาลเวียดนามได้มีการกำหนดให้การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหัวหอก   และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเวียดนามได้เพิ่มขึ้นเจ็ดเท่าตัว  โดยร้อยละ 30 ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เป็นชาวต่างชาติ ส่วนอีกเกือบร้อยละ 50 เป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ    การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แตกต่างจากการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจทั่วไปในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่ต่ำกว่า  ตลอดจนบทบาทในการให้ความรู้ด้านธรรมชาติแวดล้อมและคุณค่าทางวัฒนธรรม พื้นที่เป้าหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้แก่ระบบนิเวศน์แถบชายฝั่ง  (หญ้าทะเล  ปะการัง ทะเลกึ่งปิดหรือลากูน หาดทราย และป่าชายเลน)  ภูเขาหินปูน  อุทยานแห่งชาติ และเขตอนุรักษ์ต่าง ๆ  ไปจนถึงสวนผลไม้   สถานที่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้นอกจากจะมีภูมิทัศน์น่าสนใจแล้วยังเป็นแหล่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันมั่งคั่งของเวียดนามอีกด้วย  ทั้งนี้เนื่องจากชนกลุ่มน้อยซึ่งอาศัยอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ส่วนใหญ่นี้ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเทศกาลประเพณี  ธรรมเนียมการใช้พื้นที่ วัฒนธรรมด้านอาหาร วิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม และหัตถกรรม ตลอดจนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ แม้ว่าเวียดนามจะมีศักยภาพอย่างยิ่งดังที่กล่าวมา บทความนี้ระบุว่ายังมีพื้นที่หลายแห่งในเวียดนามซึ่งมีสิ่งที่เรียกว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ดำเนินไปอย่างไม่เป็นไปตามที่มุ่งหวังไว้    ประการแรกคือแม้จะมีการลงทุนในเขตอนุรักษ์จากภาครัฐและการโรงแรมและภัตตาคารจากนายทุนต่างชาติ  แต่ไม่มีการลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจำเป็นต้องมีเพื่อพัฒนามัคคุเทศน์และพนักงานอื่น ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอบรมความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม    นอกจากนี้การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังคงขาดการวางแผนและควบคุม เป็นผลให้สภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรม   ส่วนชาวบ้านที่คงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและขนบประเพณีต่าง ๆ ของตนเอาไว้  นอกจากจะไม่มีส่วนร่วมเท่าไรนักต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แล้ว  ยังไม่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอีกด้วย   ประการสุดท้ายได้แก่การจัดการและนโยบายด้านการท่องเที่ยวที่ขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานรัฐระดับต่าง ๆ […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

ว่าด้วยการเมืองเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย

         บทความนี้เสนอแนวคิดที่ว่า “การอนุรักษ์ธรรมชาติ” ในประเทศไทยเป็นผลมาจากการแทรกแซงของรัฐในเขตพื้นที่ตามธรรมชาติและแนวคิดที่ว่าป่าไม้เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและก้าวหน้า การนำความคิดเกี่ยวกับป่าตามแบบทวีปอเมริกาเหนือมาใช้ในการพัฒนารัฐของไทยให้ทันสมัยและก้าวหน้าทำให้เกิดความคิดที่ขัดแย้งกันระหว่าง “การอนุรักษ์ธรรมชาติ” และ “การพัฒนาเศรษฐกิจ” ถึงแม้ว่าจะมุ่งให้เป็นเขตป่าที่ปราศจากการแทรกแซงของมนุษย์ “เขตป่าสงวน” ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการระดมทุนจากทรัพยากรธรรมชาติในแผนการ “พัฒนา” ความสนใจในการทำป่าไม้ของประเทศอังกฤษในยุคล่าอาณานิคมเมื่อศตวรรษที่ 19 ซึ่งเข้ามาทางประเทศพม่าเริ่มเข้าแทนที่แนวคิดก่อนยุคสมัยใหม่ของคำว่า “ป่า” ที่ว่าเป็นเขตลึกลับ ไร้ระเบียบ ซึ่งอยู่รอบนอกและแตกต่างจากเขต ”เมือง” อันศิวิไลซ์  แนวคิดนี้ถูกแทนที่ด้วยคำว่า “ป่าไม้” “ธรรมชาติ” ถูกแทนที่ด้วย “ทรัพยากรธรรมชาติ” ซึ่งเน้นการใช้ประโยชน์เชิงการค้า วนศาสตร์ซึ่งริเริ่มโดยผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศได้เปลี่ยนป่าซึ่งยุ่งเหยิง ไร้ระเบียบมาเป็นการจัดระบบต้นไม้อย่างมีระเบียบและหลักการ สิ่งนี้ทำให้รัฐของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมป่าไม้ สามารถพัฒนาวิธีใหม่ ๆ ในการควบคุม อาทิ การทำป่าไม้สักภายใต้การดูแลของรัฐ […]

Issue 2: Disaster and Rehabilitation Oct. 2002

ข้อจำกัดในการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย

         ชุมชนในท้องถิ่นได้ทำการจัดการและใช้ป่าไม้ในการดำรงชีพของตนมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่รัฐบาลกลางเข้าควบคุมการจัดการป่าไม้แทนชุมชนเป็นต้นมา ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น  และการจัดการป่าไม้ก็ประสบความล้มเหลวเนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน บทความนี้วิเคราะห์ข้อจำกัดต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการป่าไม้ นโยบายรัฐระยะยาว (1886-1986) สนับสนุนให้มีการให้สัมปทานการทำป่าไม้และการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดเดียวในไร่ขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก การจัดการป่าไม้ในลักษณะจากบนลงล่างนี้นำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงทั้งทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศน์ทั่วประเทศ กว่าจะถึงช่วงทศวรรษ 1990 ภาคเหนือก็ได้รับความเสียหายร้ายแรงที่สุดเนื่องจากการทำป่าไม้มากเกินขนาด และการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้ให้เป็นไร่ยางพารา กาแฟ และผลไม้ขนาดใหญ่ โครงการเหล่านี้ยังทำให้ชนกลุ่มน้อยในท้องที่จำต้องย้ายถิ่นฐานและกลายเป็นผู้อยู่อาศัยที่ “ผิดกฎหมาย” ในพื้นที่อื่น ๆ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 1997 ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน แต่ในเชิงปฏิบัติแล้ว เฉพาะหน่วยงานในภาครัฐและเอกชนเท่านั้นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังในการขยายการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ความล้มเหลวนี้มีสาเหตุหลายประการ หน่วยงานในภาครัฐมองว่าการจัดการป่าไม้ในแง่การตรวจตรา นิยมใช้นิติศาสตร์ (กฏและระเบียบที่เคร่งครัด) มากกว่ารัฐศาสตร์ (กุศโลบายอย่างนักการฑูต) ให้สิทธิพิเศษแก่นักธุรกิจผู้มีอิทธิพล […]

Issue 1 Mar. 2002

อิทธิพลของท้องถิ่นในการเมืองไทย

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ สังศิต พิริยะรังสรรค์ Corruption and Democracy in Thailand (คอร์รัปชั่นกับประชาธิปไตยไทย) Chiang Mai / Silkworm Books / 1994 Ruth McVey, editor Money and Power in Provincial Thailand (เงินและอำนาจในภูมิภาคท้องถิ่นของไทย) Honolulu / University of Hawaii Press / […]

Issue 1 Mar. 2002

เขียนเ่องปฏิรูป

Amir Muhammad “Perforated Sheets,” (คอลัมน์หนังสือพิมพ์) Kuala Lumpur / New Straits Times / 2 กันยายน 1998 – 3 กุมภาพันธ์ 1999 Sabri Zain Face Off: A Malaysian Reformasi Diary (1998–99) (การประจันหน้า : บันทึกการปฎิรูปมาเลเซีย 1998-99) Singapore / Options Publications / […]

Issue 1 Mar. 2002

ว่าด้วยผู้ทรงอิทธิพลกับรัฐ

John T. Sidel Capital, Coercion, and Crime: Bossism in the Philippines (ทุน การข่มขู่และอาชญากรรม: เจ้าพ่อในฟิลิปปินส์)  Stanford, U.S.A. / Stanford University Press / 1999 Patricio N. Abinales Making Mindanao: Cotabato and Davao in the Formation of the […]

Issue 1 Mar. 2002

การศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองในอินโดนีเซียยุคระเบียบใหม่

Farchan Bulkin “State and Society: Indonesian Politics Under the New Order, 1966-1978” (รัฐกับสังคม: การเมืองอินโดนีเซียภายใต้นโยบายระเบียบใหม่ 1966-1978)  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก / University of Washington / 1983  Mochtar Mas’oed Ekonomi dan Struktur Politik Orde Baru 1966-71  (โครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองในยุคนโยบายระเบียบใหม่ 1966-1971)  Jakarta / […]