ว่าด้วยผู้ทรงอิทธิพลกับรัฐ

Caroline S. Hau

John T. Sidel
Capital, Coercion, and Crime: Bossism in the Philippines
(ทุน การข่มขู่และอาชญากรรม: เจ้าพ่อในฟิลิปปินส์) 
Stanford, U.S.A. / Stanford University Press / 1999

Patricio N. Abinales
Making Mindanao: Cotabato and Davao in the Formation of the Philippine Nation-State
(การก่อร่างสร้างมินดาเนา: เมืองโคตาบาโตกับเมืองดาเวาในการก่อรูปรัฐชาติฟิลิปปินส์)
Quezon City, Philippines / Ateneo de Manila University Press / 2000

บทความนี้พูดถึงงานศึกษาทางวิชาการสองเล่มที่เขียนขึ้นเร็วๆนี้   โดยที่ทั้งสองเล่มกล่าวถึง  “การเมืองแบบผู้นำเหล็ก”  ในประเทศฟิลิปปินส์   หนังสือทั้งสองเล่มนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์-ผู้พึ่งพา “ตามแบบจารีตเดิม”  (Sidel) และการเมืองว่าด้วยเรื่องอัตลักษณ์  (Abinales)

 ที่กำหนดโฉมหน้าทางการเมืองในประเทศฟิลิปปินส์   อันเป็นประเด็นที่ทั้งวงวิชาการและประชาชนทั่วไปต่างก็ยอมรับว่า  มันเป็นคำอธิบายที่มีพลัง   Sidel ใช้แนวความคิดเกี่ยวกับ  “เจ้าพ่อ (bossism)”   ส่วน Abinales ใช้แนวความคิดเกี่ยวกับ  “ผู้ทรงอิทธิพล”  เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่าง  “รัฐ”  กับ “สังคม” เสียใหม่   โดยให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตกทอดมาจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งรัฐภายใต้อาณานิคมอเมริกัน    นักวิชาการทั้งสองเห็นร่วมกันว่า   การก่อรูปของรัฐไม่อาจแยกออกจากการเติบโตของผู้ทรงอิทธิพลหรือเจ้าพ่อท้องถิ่น  ทั้งยังเป็นรากฐานให้กับการเกิด, การสร้างความเป็นปึกแผ่นและอำนาจของพวกผู้ทรงอิทธิพล   นอกจากนี้ การที่ทั้งคู่เลือกพื้นที่ท้องถิ่นที่ไม่ใช่กรุงมะนิลามาเป็นกรณีศึกษา   ทำให้สามารถสำรวจเข้าไปถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างระดับท้องถิ่นกับระดับชาติ   ช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของเครือข่ายความสัมพันธ์ของอำนาจ  ที่กำหนดการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและระบบการเมืองในระบบผู้แทนราษฎร

แต่ผลงานทั้งสองชิ้นนี้มีความแตกต่างกันอย่างสำคัญในประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงอิทธิพลกับประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และ “การกดดันในเชิงคุกคาม”  (ในรูปของความรุนแรงและการโกงการเลือกตั้ง)  ของบรรดาเจ้าพ่อ   Abinales  เห็นว่า  เส้นแบ่งที่ไม่ชัดเจนระหว่างตำแหน่งหน้าที่กับตัวบุคคลเป็นรูปแบบการปกครองอย่างหนึ่งในตัวมันเอง   ในขณะที่ Sidel  มองว่า  การมีผู้นำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ซับซ้อนของพวกเจ้าพ่อที่มุ่งใช้อำนาจแต่ในทางที่เลวร้าย  ทำให้เกิดรัฐที่มุ่งคุกคามและเอารัดเอาเปรียบประชาชน ความแตกต่างในการตีความเช่นนี้ทำให้เกิดประเด็นที่แหลมคมตามมาว่า: บรรดาผู้ทรงอิทธิพลหรือเจ้าพ่อท้องถิ่นกับประชาชนฟิลิปปินส์จะโต้ตอบต่อการวิเคราะห์นี้ได้อย่างไรบ้าง?   วงการวิชาการเองมีข้อจำกัดมากน้อยแค่ไหนในการทำความเข้าใจธรรมชาติอันซับซ้อนของอำนาจทางการเมืองในประเทศฟิลิปปินส์ยุคหลังอาณานิค

Caroline S. Hau วิจารณ์
Read the full unabridged article (in English) HERE

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 1 (March 2002). Power and Politics

original_banner_blue_small