งานวิจัยใหม่ ๆ เรื่องการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Supang Chantavanich

          

การย้ายถิ่นของผู้หญิงไทยไปเยอรมนี: สาเหตุ ชีวิตความเป็นอยู่และผลกระทบในประเทศไทยและเยอรมนี 
(The Migration of Thai Women to Germany: Causes, Living Conditions and Impacts for Thailand and Germany)
สุภางค์ จันทวาณิช สุธีรา นิตยนันท์  ประไพรัตน์ รัตนโอฬาร-มิกซ์
พัทยา เรือนแก้ว  และอัญชลี เขมครุฑ
กรุงเทพ ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544

การค้าประเวณีหญิงจีนในไทย
(Chinese Women in the Thai Sex Trade)
วรศักดิ์ มหัทธโนบล แปลโดย แอรอน สเติร์น บรรณาธิการ-พรพิมล ตรีโชติ
กรุงเทพฯ ศูนย์จีนศึกษา ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2541

หลุมพรางและปัญหาในการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า: คนงานย้ายถิ่นชาวไทยในประเทศญี่ปุ่น
(“Pitfalls and Problems in the Search for a Better Life: Thai Migrant Workers in Japan”)
พรรณนี ชื่นจิตกรุณา
ใน คนงานย้ายถิ่นชาวไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2539-2540
(Thai Migrant Workers in East and Southeast Asia 1996-1997)
สุภางค์ จันทวาณิช อันเดรอัส แกร์แมร์สเฮาเชน และอลัน บีสชีย์ เป็นกองบรรณาธิการ
กรุงเทพ ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2543

บริเวณเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และระหว่างประเทศไทยและพม่า: การค้าเด็กไปเป็นรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดในแรงงานเด็ก การประเมินอย่างคร่าว ๆ
(Thailand-Lao People’s Democratic Republic and Thailand-Myanmar Border Areas: Trafficking in Children into the Worst Forms of Child Labour: A Rapid Assessment )
คริสตินา วิลล์
กรุงเจนีวา องค์กรแรงงานนานาชาติ 2544
สามารถอ่านข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ที่
http://www.ilo.org/public/English/region/asro/Bangkok/library/pub1.htm

ความฝันน้อย ๆ ที่อยู่เกินเอื้อม: ชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยย้ายถิ่นตามชายแดนประเทศจีน พม่า และไทย
(Small Dreams Beyond Reach: The Lives of Migrant Children and Youth Along the Borders of China, Myanmar and Thailand)
ธีรีส เอ็ม คาเว็ทต์
โครงการการวิจัยร่วมระหว่างองค์กรเซฟ เดอะ ชิลเดรน (สหราชอาณาจักร) และสำนักงานการพัฒนานานาชาติแห่งสหราชอาณาจักร 2544 สามารถอ่านข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ที่
http://www.savethechildren.org.uk/labour/small%20dreams%20beyond%20reach.pdf

การกลับมาและการปรับตัวเข้าไปอยู่ใหม่อีกครั้ง: การอพยพของผู้หญิงจากยูนนานสู่ประเทศไทย
(“Return and Reintegration: Female Migrations from Yunnan to Thailand”)
อลัน บีสชีย์
ใน   การอพยพแรงงานผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่อง
(Female Labour Migration in South-East Asia: Change and Continuity)
สุภางค์ จันทวาณิช คริสตินา วิลล์ กัณณิกา อังสุธนสมบัติ มารุจา เอ็มบี อาซิส อลัน บีสชีย์ และสุคำดี เป็นกองบรรณาธิการ
กรุงเทพ ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544

trafficking-and-people

การค้ามนุษย์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2503-2513  พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกองทัพสหรัฐอเมริกาในอินโดจีน   หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกไปจากอินโดจีนในปี 2518 ผู้หญิงบางคนยังคงค้าประเวณีอยู่ต่อไปในประเทศไทย   ขณะที่บางคนก็เริ่มออกไปค้าประเวณีในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมนี ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ฮ่องกง และญี่ปุ่น ตัวแทนต่าง ๆ อำนวยความสะดวกในการย้ายถิ่นและการจ้างงานผู้หญิงโดยผ่านทาง “เครือข่ายการค้ามนุษย์ข้ามชาติ” ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ การที่ผู้หญิงเหล่านี้ไม่อาจทราบล่วงหน้าถึงสภาพการทำงาน  และไม่สามารถควบคุมสภาพนี้ได้เลย

หลักฐานจากงานวิจัยที่ดำเนินการไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ในเรื่องการค้ามนุษย์และการย้ายถิ่นอย่างไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางความคิดเรื่องการค้ามนุษย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเห็นได้จากลักษณะของผู้ที่มาชักชวนให้ย้ายไปทำงานต่างประเทศและผู้ที่พาเดินทางไปต่างประเทศ ขั้นตอนการค้ามนุษย์ และการกดขี่เอาเปรียบที่เกิดขึ้นในประเทศปลายทาง

การชักชวนให้ย้ายไปทำงานต่างประเทศ: เราได้พบว่ามีผู้ชักชวนให้ย้ายไปทำงานต่างประเทศกลุ่มหนึ่งที่ไว้ใจได้ ไม่ได้ค้ามนุษย์ กลุ่มนั้นคือ ญาติพี่น้องและเพื่อนสนิท ส่วนการใช้กำลัง การลักพาตัว การบังคับ และการล่อลวงนั้นพบน้อยลง ในหลาย ๆ กรณีบุคคลที่ถูกหลอกไปขายเป็นผู้ติดต่อผู้ชักชวนเองเพื่อขอข้อมูลในการย้ายถิ่น    ปัญหาการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานและสภาพการทำงานที่เป็นเท็จ กลับพบได้บ่อยมากขึ้น

การค้ามนุษย์: ผู้ที่พาเดินทางไปต่างประเทศคอยให้ความช่วยเหลือบุคคลที่เดินทางข้ามเขตแดนที่ต้องการหลบเลี่ยงกฎระเบียบการเข้าเมืองที่เข้มงวดรัดกุมและซับซ้อน การลักลอบค้ามนุษย์เป็นคำที่เหมาะสมกับผู้ที่พาบุคคลเดินทางข้ามเขตแดนเหล่านี้ หากพิจารณาว่าการค้ามนุษย์ที่เกิดจากความยินยอมของบุคคลที่เป็นสินค้าเองนั้นมีมากขึ้น ดูเหมือนว่าวิธีการเดินทางมีความสำคัญน้อยกว่าการข้ามเขตแดน หรือการหลบเลี่ยงการควบคุมการเข้าเมือง เครือข่ายการค้ามนุษย์ประสานงานกันในระดับขนานตลาดเขตแดน มีการพบการใช้เอกสารการเดินทางปลอมอยู่เป็นประจำ จุดหมายปลายทางที่มีการค้ามนุษย์คือบริเวณที่การควบคุมการเข้าเมืองหละหลวม และมีบุคคลจำนวนไม่น้อยสามารถเดินทางข้ามเขตแดนได้สำเร็จ

การกดขี่เอาเปรียบ: บุคคลที่เป็นสินค้าในการค้ามนุษย์นั้น นอกจากจะตกอยู่สภาพของทาส เป็นหนี้เป็นสิน และถูกบังคับให้ขายบริการทางเพศแล้ว ยังต้องเผชิญกับการจำกัดพื้นที่ที่ผิดกฎหมาย การถูกยึดเอกสารสำคัญต่างๆ การถูกจับกุมการถูกบังคับขู่เข็ญ การถูกบังคับให้ทำงานเกินเวลา และสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด ไม่ปลอดภัย และทารุณ ส่วนการใช้งานเยี่ยงทาสและการตัดอวัยวะในร่างกายออกไปนั้น เราไม่พบหลักฐานว่าเกิดขึ้น มีการพบการค้าเด็กผู้หญิงและหญิงสาวเพื่อไปสมรสกับชาวต่างชาติ และทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้าน เช่นเดียวกันกับการค้าทารกและเด็ก เราตั้งข้อสังเกตอย่างมีนัยสำคัญว่ากรณีของผู้หญิงที่เต็มใจเข้าสู่การค้าทางเพศและกลับเข้าไปเป็นเหยื่อในการค้าลักษณะนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้นมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ผู้เสียหายที่ได้รับการพบตัวกลับไม่ต้องการรับความช่วยเหลือ และไม่ต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเดิม

สุภางค์ จันทวาณิช
Supang Chantavanich

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 4 (October 2003). Regional Economic Integration