Issue 40

การรื้อทำลายความสุจริตและเป็นธรรมในการเลือกตั้งของเมียนมา: บททบทวนภายหลังการรัฐประหาร

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 กองทัพพม่า หรือ ตะมะดอ (Tatmadaw) ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจทางการเมืองของประเทศ อ้างความชอบธรรมในการกระทำครั้งนี้โดยกล่าวหาว่ามีการโกงอย่างขนานใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020[1]  ในการเลือกตั้งดังกล่าว พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy—NLD ต่อไปจะเรียกว่าพรรคเอ็นแอลดี) ของอองซานซูจี ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย กวาดที่นั่งในสภาไปถึง 920 ที่นั่ง (หรือ 82%) จากทั้งหมด 1,117 ที่นั่ง  ในขณะที่พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party–USDP […]

Issue 40

เปลี่ยนรัฐบาลโดยไม่ต้องมีการเลือกตั้ง: การทำลายมติของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในมาเลเซีย

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2022 อันวาร์ อิบราฮิมปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย หลังจากมีการเจรจาต่อรองอย่างเข้มข้นภายหลังการเลือกตั้งที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2022  การเข้ารับตำแหน่งของเขานับเป็นหมุดหมายที่แสดงถึงพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเขาสามารถรวบรวมเสียงสนับสนุนข้างมากในหมู่สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งในหลากหลายพรรค รวมทั้งพรรคที่ไม่ได้เป็นแนวร่วมทางการเมืองของเขาด้วย ผ่านมาสองปีหลังจากการเลือกตั้งปี 2022  มีความวิตกกังวลพอสมควรเกี่ยวกับรัฐบาล “เอกภาพ” ของอันวาร์ รวมทั้งความสุจริตและเป็นธรรมในการเลือกตั้งของประเทศมาเลเซีย กล่าวคือ แนวร่วมพรรครัฐบาลอาจสลายตัวสืบเนื่องจากการถอนเสียงสนับสนุนของพรรคการเมืองแนวร่วมหนึ่งหรือหลายพรรค  การขาดไร้มาตรการที่เข้มแข็งในการป้องกันไม่ให้พรรคการเมือง (ไม่ใช่แค่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายบุคคล) ย้ายเสียงสนับสนุนจากแนวร่วมหนึ่งไปอยู่กับอีกแนวร่วมหนึ่งระหว่างสมัยประชุมสภานิติบัญญัติ เป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการล้มรัฐบาลได้ ถึงแม้มีการออกกฎหมายห้ามย้ายพรรคบังคับใช้ในปี 2022 เพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายบุคคลย้ายสังกัดพรรคการเมือง แต่กฎหมายนี้ไม่มีเงื่อนไขครอบคลุมตัวพรรคการเมือง  ช่องโหว่ในตัวบทกฎหมายทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นชนวนให้เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลโดยไม่จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ความล้มเหลวที่จะวางรากฐานกลไกคุ้มครองการเลือกตั้ง และป้องกันไม่ให้เกิดการยักย้ายบงการทางการเมืองเช่นนี้  กำลังเบิกทางให้ความพยายามที่จะก่อตั้งแนวร่วมการเมืองกลุ่มใหญ่ยิ่งกว่าเดิม เพื่อสร้างหลักประกันว่าการย้ายพรรคจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลในมาเลเซีย  อย่างไรก็ตาม […]

Issue 40

การฮั้วของพรรคการเมืองในอินโดนีเซีย: เส้นทางสู่ประชาธิปไตยไร้ฝ่ายค้าน

วันที่ 20 ตุลาคม 2024 ปราโบโว ซูบียันโตปฏิญาณตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่แปดของอินโดนีเซีย หลังจากได้คะแนนเสียงมากกว่า 58% ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024[1]  ความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่ที่กลุ่มแนวร่วมทางการเมืองต่างๆ แปลงร่างกลายเป็นการฮั้วกันทางการเมือง ซึ่งเท่ากับนำพาอินโดนีเซียไปสู่เส้นทางของการมีฝ่ายค้านที่อ่อนแอ กระทั่งกลายเป็น “ประชาธิปไตยไร้ฝ่ายค้าน” แนวร่วมพรรคการเมืองเหล่านี้มักจับกลุ่มกันเพราะหวังผลเชิงปฏิบัติมากกว่าอุดมการณ์ และขับเคลื่อนด้วยข้อตกลงการจัดสรรแบ่งปันอำนาจในหมู่ชนชั้นนำทางการเมือง ยิ่งผ่านมาหลายปีก็ยิ่งขยายกลายเป็นการฮั้วกันทางการเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจ[2]  ผลลัพธ์สุดท้ายของแนววิธีนี้ก็คือ พรรคการเมืองเพิกเฉยต่อแรงจูงใจเริ่มแรกที่จะปรับปรุงระบบเลือกตั้งของอินโดนีเซียให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและวางรากฐานให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีอิสระ  แทนที่จะทำเช่นนั้น กลับหันไปส่งเสริมเครือข่ายอุปถัมภ์และลดทอนการแข่งขันในการเลือกตั้ง ถึงแม้การจับกลุ่มเป็นแนวร่วมทางการเมืองช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารประเทศ แต่การแปรสภาพเป็นกลุ่มฮั้วทางการเมืองเป็นการบ่อนเซาะความสุจริตและเป็นธรรมของการเลือกตั้งในหลายทางด้วยกัน การรวมหัวจับมือกันในหมู่พรรคการเมืองพรรคใหญ่ แทนที่จะแข่งขันกัน นำไปสู่ผลการเลือกตั้งที่กำหนดไว้แล้วล่วงหน้า[3]  ในอินโดนีเซีย ผลประโยชน์ของชนชั้นนำมักมีความสำคัญเป็นอันดับต้นมากกว่ากระบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริง  ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันในด้านนโยบายและโครงสร้างการเลือกตั้งที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีความหมาย[4]  มันกลายเป็นการให้ท้ายวงจรอุบาทว์ทางการเมือง จนไม่ใช่เรื่องผิดปรกติในอินโดนีเซียที่ผู้สมัครแข่งขันในการเลือกตั้งจะกลับลำหนุนหลังคู่แข่งของตนทันทีที่วาระดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิ้นสุดลง การแปรสภาพแนวร่วมในการเลือกตั้งกลายเป็นการฮั้วทางการเมืองถือเป็นปัญหาท้าทายครั้งใหญ่ต่อคุณภาพของการเลือกตั้งแบบหลายพรรค  มันจำกัดโอกาสของการมีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่หลากหลาย […]

Issue 40

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเซาะกร่อนบ่อนทำลายความสุจริตและเป็นธรรมของการเลือกตั้งในประเทศไทย

ในเดือนสิงหาคม 2567  ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีคำวินิจฉัยสองคดีที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีการเมืองไทย  ในวันที่ 7 สิงหาคม คณะตุลาการสั่งยุบพรรคก้าวไกลด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันกษัตริย์[1]  หนึ่งสัปดาห์ถัดมา ศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินจากแนวร่วมพรรคการเมืองที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลถึงการขาดความซื่อสัตย์สุจริตอันสืบเนื่องจากการแต่งตั้งบุคคลที่เคยต้องโทษคนหนึ่งดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี ซึ่งศาลพิจารณาเห็นว่าบุคคลผู้นั้นขาดคุณสมบัติ[2] นับตั้งแต่มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาในปี 2540  ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและ “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ที่จัดตั้งขึ้นชั่วคราวภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารภายหลังการรัฐประหารปี 2549[3] ได้กลายเป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ในการเมืองไทย[4]  ยิ่งมีการรัฐประหารต่อเนื่องและการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้ง[5] อำนาจของศาลนี้ก็ยิ่งขยายมากขึ้น และยิ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจของวุฒิสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยภายใต้โครงสร้างในปัจจุบัน  ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำวินิจฉัยหลายครั้งหลายหนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้ความสุจริตและเป็นธรรมของการเลือกตั้งอ่อนแอลง มักมีผลการตัดสินที่เอียงข้างเอื้อต่อการรวบอำนาจของชนชั้นนำและบ่อนเซาะพรรคฝ่ายค้าน หลักฐานต่างๆ ชี้ให้เห็นแบบแผนที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ศาลรัฐธรรมนูญมักมีบทบาทระหว่างหรือหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเสร็จสิ้นลงไม่นาน  ส่งผลให้สมาชิกรัฐสภาต้องพ้นจากตำแหน่ง มีการยุบพรรค และในบางกรณีก็ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ  มีการใช้ข้ออ้างเหตุผลทางกฎหมายมาประกาศคำพิพากษาที่อุทธรณ์ไม่ได้  คำตัดสินของศาลต่อผลการเลือกตั้งที่มีมากขึ้น […]

Issue 40

การเซาะกร่อนบ่อนทำลายความสุจริตและเป็นธรรมของการเลือกตั้งในกัมพูชา

พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party-CPP) รวบอำนาจทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2023 โดยได้ที่นั่ง 120 ที่นั่งจากทั้งหมด 125 ที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติหรือรัฐสภา[1]  นี่เป็นผลลัพธ์ที่ยิ่งตอกย้ำการครองอำนาจที่เข้มแข็งที่สุดครั้งหนึ่งของพรรคนี้ นับตั้งแต่กัมพูชาหันมาปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรคในปี 1991  ส่วนพรรคฝ่ายค้านมีอยู่แค่ชื่อ พวกเขาต้องเผชิญการกดขี่บีบบังคับทั้งในด้านกฎหมาย ราชการ และด้านข่าวสาร ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายความสุจริตและเป็นธรรมของการเลือกตั้ง อีกทั้งยังตีกรอบจำกัดการแข่งขันที่แท้จริง ระบบหลายพรรคของกัมพูชามีการนำมาใช้โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพปารีส (Paris Peace Agreements) เมื่อปี 1991 ซึ่งยุติความขัดแย้งกับเวียดนาม และวางรากฐานให้ระบอบประชาธิปไตยบนพื้นฐานของค่านิยมแบบเสรีนิยม  องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (United Nations Transitional Authority […]

Issue 39

ฝูไหมเฮิงและเถาเดี๋ยน: เมืองที่เพิ่งสร้างเพื่อชาวต่างชาติในนครโฮจิมินห์

ชาวเวียดนามเริ่มมีแนวคิดที่มุ่งเน้นการตลาดในด้านอสังหาริมทรัพย์และมาตรฐานการครองชีพ  ย่านฝูไหมเฮิงและเถาเดี๋ยน ซึ่งพัฒนาขึ้นมาบนที่ดินเกษตรรกร้าง เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติในนครโฮจิมินห์  การพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ชาวต่างชาติเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีดำเนินชีวิตในเมืองของชาวเวียดนามอย่างไรบ้าง  โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น โรงเรียนนานาชาติและร้านอาหารแบบตะวันตก เป็นสาเหตุสำคัญ  การปรากฏตัวของชาวต่างชาติช่วยยกระดับภูมิทัศน์และสภาพการดำเนินชีวิตของชาวท้องถิ่น คำนำ นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประตูให้การลงทุนระหว่างประเทศในปี 1993 นครโฮจิมินห์ก็กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจและสังคมของชาวต่างชาติ ทั้งในแง่ของบริษัทหรือบุคคล  ไม่ว่าเป็นเพราะระบบเศรษฐกิจเปิดหรือการเข้ามาพำนักของชาวต่างชาติ หรือทั้งสองประการ ล้วนทำให้นครแห่งนี้เปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างผิดหูผิดตา โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อสังหาริมทรัพย์ และเศรษฐกิจท้องถิ่น  ผู้อยู่อาศัยและธุรกิจนานาชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนำมาซึ่งกระแสการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ในย่านชานเมือง  อพาร์ตเมนต์ระดับบน อาคารทางการค้า และย่านขายปลีก มีการขยายตัวและพัฒนา โดยเฉพาะในย่านที่มีประชากรเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงาน อาทิ District 7 และ District 2 (Harms, […]

Issue 39

ครอบครัวพหุวัฒนธรรมเวียดนาม-ไต้หวัน: บริบทของไต้หวัน

ในช่วงทศวรรษ 1990 มีผู้หญิงเวียดนามจำนวนไม่น้อยแต่งงานกับชาวไต้หวันและอพยพย้ายถิ่นไปอยู่กับคู่สมรสในไต้หวัน  อย่างไรก็ตาม หลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหมู่คู่สมรสชาวเวียดนาม-ไต้หวันที่จะอยู่อาศัยในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม  งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ใช้แนวทางการศึกษาจากมุมมองของตัวแปรทางวัฒนธรรมและการเลือกอย่างมีเหตุมีผล  โดยนำเสนอข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์ผู้คน 33 ราย ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์มาจากครอบครัวพหุวัฒนธรรม ครอบคลุมเรื่องราวชีวิตของผู้หญิง 12 คน สามี 10 คน และลูก 11 คน โดยคำนึงถึงแง่มุมต่างๆ ภายในพลวัตของครอบครัว อีกทั้งพิจารณาถึงสัญชาติและสถานะพลเมืองด้วย  จากงานวิจัยนี้จะแยกออกเป็นสองบทความด้วยกัน  เราจะนำข้อค้นพบหลักของงานวิจัยมาอภิปรายถึงในบทความแรกเท่านั้น  ส่วนบทความชิ้นที่สองจะนำเสนอรายละเอียดจากผลลัพธ์ของการสัมภาษณ์มากขึ้น ข้อค้นพบชี้ให้เห็นว่า การลงหลักปักฐานครอบครัวพหุวัฒนธรรมในนครโฮจิมินห์เริ่มต้นมาจากการตัดสินใจโดยสมัครใจเป็นหลัก ขับเคลื่อนด้วยความรักและความปรารถนาการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน และแสดงออกอย่างเด่นชัดถึงความเข้าอกเข้าใจ ความกลมเกลียว และการปรับตัว ทั้งในแง่ของการใช้ภาษาและการสืบทอดวัฒนธรรมภายในกิจกรรมของแต่ละครัวเรือน  เด็กที่เกิดจากครอบครัวพหุวัฒนธรรมซึ่งจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย […]

Issue 39

ลงหลักปักฐานในนครโฮจิมินห์: ประสบการณ์ของครอบครัวพหุวัฒนธรรมเวียดนาม-ไต้หวัน

ครอบครัวเวียดนาม-ไต้หวัน  ผู้เข้าร่วมในโครงการวิจัยชิ้นนี้มักพบคู่สมรสในอนาคตผ่านการทำงานหรือการแนะนำ (มีหนึ่งกรณีที่พบกันผ่านธุรกิจบริการหาคู่)  ผู้หญิงชาวเวียดนามในกลุ่มตัวอย่างมักมีการศึกษาสูง กล่าวคือ ผู้เข้าร่วม 11 รายจบการศึกษาระดับไฮสกูลหรือสูงกว่านั้น และมีเพียงรายเดียวที่มีระดับการศึกษาแค่มัธยมต้น  พวกเธอส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญในภาษาที่สอง อาทิ ภาษาจีน อังกฤษ หรือญี่ปุ่น  มีบางรายเป็นชาวเวียดนามเชื้อสายจีนด้วย  นอกจากนี้ พวกเธอยังมีงานประจำมั่นคงก่อนแต่งงาน  ชาวไต้หวันในกลุ่มตัวอย่างมักมาอยู่ในเวียดนามเพื่อทำธุรกิจและพบคู่สมรสในอนาคตที่นั่น “ในเวียดนาม คู่สมรสเวียดนาม-ไต้หวันส่วนใหญ่มักทำงานด้วยกันมาก่อน ก่อนที่จะคบหาดูใจกันและตัดสินใจแต่งงานกัน  ส่วนในไต้หวัน ส่วนใหญ่การแต่งงานมักเกิดขึ้นผ่านธุรกิจบริการหาคู่  แต่ผู้ชายไต้หวันที่มาที่เวียดนามมักเลือกคู่ครองจากการคบหาดูใจกันก่อนและฝ่ายหญิงสามารถเป็นคู่ชีวิตที่สนับสนุนชีวิตครอบครัวได้” (ผู้หญิง, 51 ปี, แต่งงานมา 19 ปี) ครอบครัวพหุวัฒนธรรมเวียดนาม-ไต้หวันซึ่งเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ มีที่อยู่อาศัยตามกฎหมายภายใต้ชื่อของภรรยาชาวเวียดนาม  การกระทำแบบนี้มักมองว่าเป็นการที่สามียืนยันความไว้วางใจและความรักที่มีต่อภรรยา รวมทั้งแสดงความตั้งใจที่จะ “ลงหลักปักฐาน” […]

Issue 39

แง่มุมทางวัฒนธรรมของการดำเนินชีวิตยุคปัจจุบันในเมืองใหม่ฝูไหมเฮิง

เวียดนามได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์  วิถีชีวิตใหม่ในเมืองก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ สำหรับผู้วางนโยบาย  ฝ่ายบริหารนครโฮจิมินห์มีการติดตามตรวจสอบและสำรวจดูปัญหาและความต้องการของประชาชนใน District 7 (เมืองฝูไหมเฮิง)  บทความนี้นำเสนอความสำเร็จและข้อท้าทายที่สำคัญบางประการในการจัดการสังคมเมือง โดยคำนึงถึงการดึงชาวต่างชาติให้เข้ามามีส่วนร่วม คำนำ เมืองใหม่ฝูไหมเฮิงเริ่มสร้างมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 (โดยเป็นส่วนหนึ่งของ District 7 ในมหานครโฮจิมินห์)  เมืองใหม่แห่งนี้กลายเป็นที่ตั้งอันทันสมัยสำหรับบริษัทธุรกิจ การค้า และการเงิน  ในเมืองนี้มีสองแขวง นั่นคือ แขวงเตินฟ็อง (Tan Phong) และแขวงเตินฟู้ (Tan Phu)  แขวงเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรรายได้สูงบนพื้นที่ขนาด 750 เฮกตาร์  แขวงเตินฟ็องมีชาวต่างชาติ 3,184 คน (คิดเป็น 50.4% […]

Issue 37 Mar. 2024

ทำน้อยได้มาก? ความเป็นไปได้และข้อจำกัดของการบริหารรัฐกิจด้วยระบบแพลตฟอร์มในประเทศไทยยุคหลังรัฐประหาร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์สำหรับการงอกงามของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม  เช่นเดียวกับเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในพื้นที่อื่นๆ บริษัทแพลตฟอร์มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาทิ Grab, Lazada, Shopee) ได้พลิกโฉมหน้าชีวิต เศรษฐกิจ โครงสร้างแรงงาน และพื้นที่เมืองในภูมิภาคนี้  ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งของ “กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบแพลตฟอร์ม” (platformization) ที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้และมีความสำคัญไม่แพ้กัน กระนั้นกลับได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยกว่า นั่นคือ การเกิดขึ้นของ “การบริหารงานภาครัฐด้วยระบบแพลตฟอร์ม” (platform governance)  Ansell and Miura (2020) นิยามการบริหารรัฐกิจด้วยระบบแพลตฟอร์มว่า “สถาบันที่ใช้สถาปัตยกรรมของมันในเชิงยุทธศาสตร์เพื่องัดง้าง กระตุ้น และควบคุมขับเคลื่อนปฏิบัติการทางสังคมที่กระจัดกระจาย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการบริหารรัฐกิจตามที่มุ่งหมายไว้”   การนำมาใช้และการปรับแปลงแนวคิดระบบแพลตฟอร์มของผู้กระทำการทางการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยดำเนินไปท่ามกลางบริบทเชิงสถาบันและการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ  ในระดับชาติ ประเทศไทยอยู่ภายใต้รัฐบาลผสมที่กองทัพเป็นผู้นำมาตั้งแต่การรัฐประหารปี […]

Issue 37 Mar. 2024

การใช้แพลตฟอร์มเพื่อการมีส่วนร่วมในเมืองต่างๆ ของอินโดนีเซีย

แพลตฟอร์มของการมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงไปในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตได้พลิกโฉมหน้าวิถีที่เราดำเนินชีวิต  รวมทั้งวิธีการที่เราติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันข้ามพ้นขอบเขตพรมแดนทางกายภาพ  ถึงแม้อินโดนีเซียมีเงื่อนไขเชิงภูมิศาสตร์ที่เป็นหมู่เกาะ แต่พลเมืองอินโดนีเซียก็ติดต่อเชื่อมโยงกัน  เห็นได้จากตัวเลขอย่างน้อย 78.5% ของฐานผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในอินโดนีเซียมีการใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งแพลตฟอร์ม (Kemp, 2023)  นอกจากนี้ มันยังเปลี่ยนโฉมหน้าการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอินโดนีเซียด้วย  พลเมืองสามารถหรือกระทั่งได้รับการกระตุ้นให้ส่งเสียงแสดงความต้องการของตนโดยตรงผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน  มีข่าว ความคิดเห็น หรือเรื่องราว ให้แชร์และถกเถียงกันเสมอทุกวันในอัตราที่ทำให้เราสงสัยว่า การวิวาทะต่างๆ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ก่อให้เกิดผลดีหรือไม่ ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงว่ามีความหมายหรือเปล่า การมีส่วนร่วมทางดิจิทัลช่วยเปิดโอกาสกว้างใหญ่แก่ประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นในโลกความจริงเสมือน  มันถึงขนาดกำหนดวิถีโคจรในอนาคตของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ในโลกอนาล็อก  ในขณะเดียวกัน รัฐบาลท้องถิ่นก็กำลังพยายามไล่ตามให้ทันกับกระแสดิจิทัลเหล่านี้  เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อินโดนีเซียก็มีประสบการณ์กับ “ความเฟื่องฟูของเมืองอัจฉริยะ” เช่นกัน (Equinix, 2019) ดังเห็นได้จากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหลากหลายแบบที่เทศบาลเมืองหลายแห่งนำมาใช้เพื่อปรับปรุงยกระดับบริการสาธารณะ  ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ของรัฐบาลถูกนำมาใช้เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเพื่อปลูกฝังโครงการและระเบียบข้อบังคับต่างๆ สู่ความรับรู้ของประชาชนในวงกว้าง  […]

Issue 37 Mar. 2024

การเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจแพลตฟอร์มของระบบเศรษฐกิจมาเลเซีย: เหล้าใหม่ในขวดเก่า?

สืบเนื่องจากปรากฏการณ์ที่ประเทศจีนมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งการมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้นกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  กลุ่มผู้วางนโยบายภายในภูมิภาคนี้จึงเห็นสมควรที่จะดำเนินการเชิงรุกในการเชิญชวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment–FDI) จากประเทศจีนให้มากขึ้น  ความน่าสนใจของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนเกิดขึ้นท่ามกลางช่วงเวลาที่ความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมมีภาวะชะงักงันในเศรษฐกิจหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดภาวะที่ถูกหลอกหลอนจากปัญหากับดักรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap–MIT)  ในประเด็นนี้ ประสบการณ์ของมาเลเซียอาจช่วยให้เกิดความเข้าใจที่มีประโยชน์  เพื่อแสวงหาประโยชน์สูงสุดจากความสัมพันธ์อันยาวนานกับจีน มาเลเซียซึ่งเป็นหนึ่งในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงพยายามผลักดันความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจ  กล่าวในรายละเอียดก็คือ อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก (ดำรงตำแหน่งปี 2009-2018) ได้ทุ่มเทความพยายามและความตั้งใจอย่างมากในการชักชวนบรรษัทข้ามชาติของจีนเข้ามาในประเทศ  รัฐบาลนาจิบถูกมองว่าเป็นรัฐบาลที่ขยายการพึ่งพิงบรรษัทข้ามชาติของจีนอย่างมาก เพื่อหาทางบรรลุภารกิจอันตั้งเป้าหมายไว้สูง โดยมีช่วงระยะเวลาคืนทุนนานกว่าปรกติ อันที่จริง โครงการร่วมมือกับจีนที่โดดเด่นที่สุดบางโครงการ ซึ่งริเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลนาจิบและนายกรัฐมนตรีคนต่อๆ มาก็ยังดำเนินการสานต่อ ประกอบด้วยโครงการระบบรางเชื่อมชายฝั่งตะวันออก East Coast Rail Link (ECRL) โครงการนิคมอุตสาหกรรม […]

Issue 37 Mar. 2024

จุดจบของธุรกิจเสรี? การควบคุมเศรษฐกิจสัญญาจ้างชั่วคราวในสิงคโปร์และประเทศไทยยุคหลังโควิด-19

เศรษฐกิจสัญญาจ้างชั่วคราว (Gig Economy) เฟื่องฟูไปทั่วโลกนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การที่ผู้บริโภคต้องพึ่งพาอาศัยบริการส่งตามสั่ง (on-demand delivery) เพิ่มมากขึ้น และการที่ประชาชนหลายล้านคนหันเหมาทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานกับธุรกิจแพลตฟอร์มหลังจากมีมาตรการปิดพื้นที่ (ล็อคดาวน์) และสั่งหยุดการทำงานของภาคธุรกิจ ทำให้การทำงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราวกลายเป็นหัวใจสำคัญของครัวเรือนและระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาคนี้ยิ่งกว่าเดิม จากการที่กลุ่มเทคโนแครตและกลุ่มการเมืองมีความกังวลมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มแรงงานก็เคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานมากขึ้น นักวางนโยบายทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ต่างก็ถูกบีบให้ปรับแก้แนววิธีปฏิบัติเดิม ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินตามแนวทาง “ไม่แทรกแซง” หรือธุรกิจเสรี (laissez-faire) อันเป็นแนวทางที่พวกเขาใช้จัดการต่อภาคส่วนเศรษฐกิจนี้ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา   ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ดำเนินตามแนวทางนี้เช่นกัน  พร้อมกันนั้นรัฐบาลในภูมิภาคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระบอบเผด็จการและระบอบกึ่งทหาร ต่างก็พยายามหาวิธีที่จะรับมือกับสภาวะไม่มั่นคงของไรเดอร์และไดรเวอร์ในเศรษฐกิจภาคส่วนนี้  การพิจารณาเส้นทางและทางเลือกต่างๆ ของแนววิธีปฏิรูปในประเทศไทยและสิงคโปร์ จะช่วยเผยให้เห็นกลไก ขีดจำกัด และความเสี่ยงของนโยบาย  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์กำกับดูแลต่างๆ ในระบอบที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและระบอบกึ่งเผด็จการทหาร แรงงานที่ถูกกีดกันและขาดไร้การกำกับดูแล ท่าทีของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อความตึงเครียดในเศรษฐกิจสัญญาจ้างชั่วคราวถูกกำหนดจากความสามารถที่มีจำกัดของแรงงานในการรวมตัวจัดตั้งและกดดันผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองและนโยบาย  […]

Issue 37 Mar. 2024

ความยืดหยุ่น ความมั่นคง และการแสวงหาความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในงานแพลตฟอร์ม: กรณีศึกษาไรเดอร์จากประเทศไทย

บทความนี้จะอภิปรายโดยสังเขปถึงประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานแพลตฟอร์มเรียกรถและส่งอาหาร หรือที่มักเรียกกันว่า “ไรเดอร์”  ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้รวบรวมจากการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการทำแบบสอบถามกับไรเดอร์ 435 คน ซึ่งอาศัยและทำงานในกรุงเทพกับจังหวัดอื่นอีกสามจังหวัด กล่าวคือ ขอนแก่น อ่างทองและปัตตานี  จากการสังเกตการประท้วงและการสัมภาษณ์ผู้นำหลายคนของหลายองค์กรที่เกิดจากการจัดตั้งของกลุ่มไรเดอร์  ผู้เขียนพบว่าความไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่ไรเดอร์เกี่ยวเนื่องกับความเข้าใจที่พวกเขามีต่อความเชื่อมโยงกันระหว่างความสัมพันธ์ในการจ้างงานและการคุ้มครองทางสังคม ปัญหาของไรเดอร์ จากการวิเคราะห์การประท้วงทั้ง 19 ครั้งที่กลุ่มไรเดอร์ต่างๆ เป็นแกนนำระหว่างเดือนมกราคม 2563 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564  ผู้เขียนพบว่าข้อเรียกร้องของไรเดอร์มีจุดมุ่งเน้นอันดับแรกอยู่ที่ค่าจ้างและเงินจูงใจ (89.5%)  ปัญหาการทำงานผิดพลาดของอัลกอริทึมในแพลตฟอร์ม (41.2%) การเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน (41.2%) และเรียกร้องประกันอุบัติเหตุ ( 11.8%)  ข้อเรียกร้องทั้ง 4 ประการนี้มีความเชื่อมโยงกันและได้รับการยืนยันซ้ำจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็น  ค่าจ้างและเงินจูงใจของไรเดอร์ลดลงพอสมควร  ยกตัวอย่างเช่น Grab […]

Issue 36 Sept. 2023

การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนญี่ปุ่น

การสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า ในทุกกลุ่มช่วงวัยของประชากรทั้งหมด มีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนเกิน 90% ในปี 2019 และอัตราการใช้ LINE ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศญี่ปุ่น เกิน 90% ในปี 2020 (Institute for Information and Communications Policy; IICP, 2022)  ทุกวันนี้ สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมในญี่ปุ่น  ประชาชนใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลาและสถานที่  บทความนี้จะอภิปรายถึงบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในญี่ปุ่น โดยเน้นไปที่คนรุ่นหนุ่มสาวที่เรียกกันว่า “ชาวดิจิทัลโดยกำเนิด” (digital native)  ในส่วนแรกจะอภิปรายถึงสภาพการณ์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนหนุ่มสาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน  จากนั้นจะกล่าวถึงตัวอย่างของปฏิบัติการทางการเมืองที่โดดเด่นสองกรณีซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสื่อสังคมออนไลน์  ในส่วนสุดท้ายจะพิจารณาถึงความท้าทายของการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนรุ่นหนุ่มสาวในญี่ปุ่น ภูมิทัศน์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในหมู่เยาวชนญี่ปุ่น เราสามารถให้คำจำกัดความของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนญี่ปุ่นว่า […]

Issue 36 Sept. 2023

จุดแข็งของสายสัมพันธ์แบบอ่อน: เยาวชนกับการเมืองดิจิทัลในอินโดนีเซีย

ห้องเสียงสะท้อน: ปรากฏการณ์ “LOE LAGI LOE LAGI (4L)” ภูมิทัศน์ทางการเมืองของอินโดนีเซียมีความซับซ้อนและแปรเปลี่ยนตลอดเวลา เนื่องจากมีกลุ่มการเมืองและกลุ่มกดดันมากมายมหาศาล ซึ่งเคลื่อนไหวพัวพันในประเด็นปัญหาหลากหลายอย่างยิ่ง  เพื่อทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อพลวัตทางการเมืองในประเทศนี้ โดยเฉพาะบทบาทของเยาวชนในการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หัวใจสำคัญคือต้องเข้าใจปฏิสัมพันธ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ระหว่างกลุ่มการเมืองและกลุ่มกดดันต่างๆ  ในบทความนี้ นิยามของกลุ่มการเมืองและกลุ่มกดดันคือองค์กรต่างๆ ที่มุ่งแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคม-สิ่งแวดล้อม-การเมืองที่มีมากมายผ่านช่องทางเชิงสถาบันในหลายลักษณะ อาทิ พรรคการเมือง องค์กรเอกชน องค์กรเยาวชน และองค์กรภาคประชาสังคม สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่มในสังเวียนการเมือง  Hillary Brigitta Lasut ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอายุน้อยที่สุดจากจังหวัดซูลาเวซีเหนือ กล่าวไว้ว่า “สื่อสังคมออนไลน์ช่วยให้การเข้าถึงผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงวัยหนุ่มสาวทำได้ในขอบเขตที่กว้างขึ้นและลดต้นทุนได้มากในระหว่างการหาเสียงของฉัน”  Lasut ใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายรูปแบบในการมีปฏิสัมพันธ์กับฐานเสียงอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม  นอกจากนี้ พรรคการเมืองที่เธอสังกัดยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมาจัดการและสนับสนุนการดำเนินงานทั่วทั้งอินโดนีเซีย (Kemenkominfo, 2021)  การที่คนหนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียมีส่วนร่วมผลักดันในกิจกรรมหลากหลายประเภทที่สนับสนุนประชาธิปไตยและสร้างคุณูปการต่อโครงสร้างทางการเมืองของอินโดนีเซีย […]

Issue 36 Sept. 2023

ศักยภาพและความท้าทายของสื่อสังคมออนไลน์ในฐานะเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในมาเลเซีย

มาเลเซียผ่านกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอันยาวนาน พร้อมกับมีขบวนการสังคมใหญ่ที่สุดสองขบวนการในช่วงยี่สิบปีหลัง กล่าวคือ ขบวนการ Reformasi ซึ่งก่อตัวขึ้นในปี 1998 และการประท้วงต่อสู้เพื่อการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมอย่างต่อเนื่องในชื่อเรียกว่า  BERSIH (2007-2016) จนทำให้มาเลเซียสามารถหลุดพ้นจากการเป็นรัฐพรรคเดียวที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งในโลก  แนวร่วมพรรคการเมืองที่เคยครองอำนาจรัฐมาอย่างยาวนานคือ Barisan Nasional (BN, National Front หรือที่เรียกกันว่าแนวร่วม Alliance ก่อนปี 1973) สิ้นสุดการครองอำนาจรัฐในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 (GE-14) ในปี 2018  การเปลี่ยนแปลงระบอบผ่านการเลือกตั้งหลายต่อหลายครั้งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยบางประการที่ไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งผ่านระบอบอำนาจนิยมที่มีการแข่งขันคล้ายๆ กัน (Croissant, 2022; Levitsky & Way, 2010)  […]

Issue 36 Sept. 2023

ปลุกคนแต่แยกขั้ว: บทบาทเยาวชนกับสื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งฟิลิปปินส์ปี 2022

ชาวฟิลิปปินส์จัดว่าเป็นประชากรผู้บริโภคเนื้อหาออนไลน์ที่กระตือรือร้นที่สุดชาติหนึ่งในโลก  ตามรายงานปี 2022 ของบริษัท We are Social ประเทศฟิลิปปินส์มีค่าเวลาเฉลี่ยต่อวันที่ใช้ไปกับโลกออนไลน์สูงที่สุดในโลก (10.5 ชั่วโมง)  องค์กรเดียวกันนี้ยังรายงานด้วยว่า 82.4% ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดมีการใช้งานแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์  เรื่องที่ตรงกับการคาดการณ์ก็คือ จำนวนเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในหมู่เยาวชนอายุ 15-24 ปีมากกว่า 20 ล้านคน  งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า 94% ของเยาวชนชาวฟิลิปปินส์ใช้อินเทอร์เน็ตหรือมีสมาร์ทโฟน ไม่น่าประหลาดใจที่ฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่างชัดเจนของการมีความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการยุ่งเกี่ยวการเมืองของพลเมือง  อย่างน้อยที่สุด การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวฟิลิปปินส์ผ่านการเลือกตั้งก็ค่อนข้างสูงทีเดียว กล่าวคือ มีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเฉลี่ย 80% ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จุดเชื่อมต่อนี้เห็นได้ชัดจากลักษณะที่สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียในปัจจุบันไม่ได้ถูกใช้แค่เป็นหนทางหนึ่งในการเชื่อมโยงสื่อสารเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพสำหรับการแบ่งพรรคแบ่งพวกทางการเมืองภายใต้เงื่อนไขของแยกขั้วที่ค่อนข้างอันตราย มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางมาแล้วว่า การชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2016 เป็น […]

Issue 36 Sept. 2023

“กลัวพลาดตกขบวน” กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์: กรณีสิงคโปร์

ปัญหาของการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง  ความเติบโตของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย เอื้อให้พลเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ง่ายขึ้นและลดต้นทุนของการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชนหลายล้านคน (Ahmed & Madrid-Morales, 2020; Gil de Zúñiga et al., 2012; 2014)  อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากก็ยังไม่สนใจการเมืองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง (Ahmed & Gil-Lopez, 2022; Zhelnina, 2020)  ความไม่สนใจการเมืองคือการขาดความสนใจต่อความเป็นไปทางการเมือง รวมถึงข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมทางการเมือง เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  นักรัฐศาสตร์มองว่านี่เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง (Dean, 1965; Rosenberg, 1954)  พลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการเมืองที่ทำงานได้ดี  ระบอบประชาธิปไตยจะเติบโตได้ได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพลเมืองเข้ามาพัวพันในการเมืองประจำวันและการเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน  ยิ่งกว่านั้น “การมีส่วนร่วมที่เอียงกะเท่เร่นำไปสู่การปกครองที่เอียงกะเท่เร่” […]

Issue 36 Sept. 2023

โอกาสและอุปสรรค: โครงสร้างทางโอกาสและผลพวงที่มีต่อขบวนการฝ่ายประชาธิปไตยในประเทศไทย

เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ทั่วโลกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนต่างกระตือรือร้นกับการใช้มันเป็นช่องทางเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น  ความคาดหวังนี้ยิ่งขยายตัวเมื่อแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียปรากฏขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เนื่องจากประชาชนคาดหวังว่าสื่อสังคมออนไลน์จะช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างขบวนการทางสังคม เอื้อให้ประชาชนก้าวข้ามอุปสรรคในการรวมตัวเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น รวมทั้งก่อให้เกิดปริมณฑลสาธารณะที่เข้มแข็งขึ้นในหลายๆ ด้าน ในประเทศไทย สังคมใช้ประโยชน์กันเต็มที่จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology—ICT) รวมทั้งดึงเอาโลกออนไลน์ที่แข็งแกร่งมาเติมเต็มเสริมสร้างการเคลื่อนไหวทางการเมือง  สถิติด้านดิจิทัลล่าสุดจาก DataReportal (2022) รายงานว่า ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีการเชื่อมต่อทางดิจิทัลมากที่สุดสังคมหนึ่งในเอเชีย  ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2565 ประชากรไทยประมาณ 78% สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเชื่อว่าแทบทั้งหมดเป็นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์  ระยะเวลาที่คนไทยใช้กับโลกออนไลน์จัดว่ามากพอสมควรทีเดียว  ค่าเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 9 ชั่วโมงบนเว็บไซต์ และ 3 ชั่วโมงเศษบนสื่อสังคมออนไลน์ (Leesa-nguansuk 2019)  ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา […]

Issue 35 Mar. 2023

จากความตายถึงการกำเนิด : ชีวประวัติ บริบททางศาสนา และการจดจำทิก กว๋าง ดึ๊กกับการเผาร่างพลีชีพ

วันที่ 11 มิถุนายน 1963 พระภิกษุอาวุโสชาวเวียดนามชื่อ ทิก กว๋าง ดึ๊ก เผาตัวเองจนมรณภาพตรงสี่แยกของถนนอันพลุกพล่านในเมืองไซ่ง่อน  การพลีชีพของพระภิกษุรูปนี้ได้จารึกภาพอันลบเลือนมิได้แก่สงครามเวียดนาม  ทั้งนี้ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากภาพถ่ายอันเป็นที่จดจำของมัลคอล์ม บราวน์ นักข่าวสำนัก Associated Press  ถึงแม้ภาพถ่ายชุดนี้ติดตามความตายอย่างใกล้ชิด แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าบันทึกภาพเปลวไฟที่เผาไหม้ร่างของพระภิกษุในศาสนาพุทธ  กระทั่งผ่านไปหนึ่งวัน เมื่อภาพถ่ายชุดนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับพระภิกษุรูปนี้ก็มีน้อยนิดมาก แทบไม่ต่างจากอ่านรายงานของตำรวจ  เดวิด ฮัลเบอร์สแตมเขียนไว้ในรายงานข่าวว่า  “พระภิกษุในศาสนาพุทธวัย 73 ปีประกอบอัตวินิบาตกรรมเพื่อยกระดับการประท้วงของชาวพุทธต่อนโยบายด้านศาสนาของรัฐบาล” ชีวประวัติ ไม่นานหลังจากการเผาร่างพลีชีพ องค์กรสหพุทธจักร (Unified Buddhist Church) แห่งเวียดนาม ได้ตีพิมพ์ชีวประวัติของทิก กว๋าง […]

Issue 35 Mar. 2023

มนตรากับความทรงจำ: พินิจเรื่องราวชีวิตในศาสนาพุทธของหมอพเนจรสมัยสาธารณรัฐเวียดนาม

เมื่อต้องเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธสมัยสาธารณรัฐเวียดนาม ประสบการณ์ในชีวิตจริงของปัจเจกบุคคลอาจช่วยจุดประกายความเข้าใจได้มากขึ้นเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนที่ล้อไปกับเค้าโครงของเรื่องเล่าระดับที่ใหญ่กว่า  ในที่นี้ เราจะพินิจเรื่องราวเช่นนี้เรื่องหนึ่ง นั่นคือ ประวัติชีวิตของหมอพเนจรและพระอาจารย์ด้านพุทธศาสนา เหงวียน วัน กว๋าง (Nguyễn Văn Quảng, ประมาณ 1950-ปัจจุบัน)  ตามที่เขาเขียนเล่าอัตชีวประวัติของตนโดยมีโกสต์ไรเตอร์ชาวอเมริกัน Margorie Pivar ช่วยเรียบเรียงให้ในหนังสือชื่อ Fourth Uncle in the Mountain: A Memoir of a Barefoot Doctor in Vietnam (2004)  ในบันทึกความทรงจำเล่มนี้ กว๋างเล่าย้อนถึงชีวิตในเวียดนามภาคใต้ (Nam […]

Issue 33 Sept. 2022

‘อินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ’ และอนาคตของระบอบเผด็จการดิจิทัลในกัมพูชา

ถึงแม้มีการรับรองเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นในรัฐธรรมนูญ แต่กัมพูชากำลังก้าวเข้าสู่ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อควบคุมภูมิทัศน์ด้านดิจิทัลของประเทศพร้อมกับการเริ่มบังคับใช้ ‘อินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ’ (National Internet Gateway–NIG) ซึ่งเป็นเกตเวย์ของรัฐบาลที่มีอำนาจควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งหมด อันจะนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองอย่างหนักภายในประเทศและช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบรัฐพรรคเดียวในกัมพูชา  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและพื้นที่ประชาสังคมเพื่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่หลงเหลือแค่ริบหรี่กำลังตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามจากการเริ่มบังคับใช้ซิงเกิลเกตเวย์ (Single Gateway)  เดิมทีนั้นมีแผนการที่จะเริ่มใช้ในช่วงต้นปี 2022 แต่ถูกชะลอไปก่อน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกัมพูชาเพิ่มขึ้นจาก 0.53% ของประชากรในปี 2009 พุ่งขึ้นเป็น 52.6% ของประชากร (8.86 ล้านคน) ในปี 2021  ในปี 2021 มีบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ 5 ราย ให้บริการทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภาคพื้นดินและโทรศัพท์มือถือในกัมพูชา อันประกอบด้วย Viettel, Smart Axiata, […]

Issue 33 Sept. 2022

ธำรงการปกครองพรรคเดียวในสิงคโปร์ด้วยเครื่องมือเผด็จการดิจิทัล

สิงคโปร์เป็นรัฐพรรคเดียวโดยพฤตินัย โดยมีพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party–PAP) กุมบังเหียนมานับตั้งแต่การเลือกตั้งรัฐสภาครั้งแรกภายหลังประเทศได้รับเอกราชในปี 1968  องค์กร Freedom House มักจัดอันดับนครรัฐแห่งนี้อยู่ในกลุ่ม “เสรีบางส่วน” ตั้งแต่มีการจัดทำรายงานสถานการณ์ของประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกในปี 1973  ตั้งแต่ปี 2006 จนถึง 2013 แผนกวิจัยและวิเคราะห์ของสำนักข่าว The Economist ให้คำจำกัดความว่าสิงคโปร์เป็น “ระบอบพันทาง” และต่อมาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยแบบมีตำหนิ” (flawed democracy) (2014 ถึง 2021) เสรีภาพของสื่อถูกจำกัดอย่างรุนแรง จนองค์กร Reporters Without Borders […]

Issue 33 Sept. 2022

โรคระบาดโควิด-19 กับวิวัฒนาการของระบบเผด็จการดิจิทัลในอินโดนีเซีย

เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานจาก Freedom House, IDEA และ Reporters Without Borders ที่ชี้ให้เห็นว่า ภายในโลกดิจิทัลของอินโดนีเซียนั้นมีปัญหาต่อเนื่องเกี่ยวกับพื้นที่ของภาคประชาสังคมที่หดตัวลง  รายงานเหล่านี้สอดคล้องกับรายงานระดับชาติจาก Indonesian National Human Rights Institution และการสำรวจความคิดเห็นประจำปี 2020 ของหนังสือพิมพ์รายวัน Kompas ที่แสดงให้เห็นว่า 36% ของประชากรอินโดนีเซียรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ การมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 204.7 ล้านราย (มกราคม 2022) หรืออย่างน้อย 73.7 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด อินโดนีเซียมีความเป็นอำนาจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ช่วงต้นของการเกิดโรคระบาดโควิด-19  รัฐบาลมักใช้คำศัพท์อย่างเช่น “ปกป้องความมั่นคงของชาติ” […]

Issue 32 Mar. 2022

ซ่อมสร้างความสัมพันธ์กัมพูชา-สหรัฐฯ : มุมมองจากฝั่งกัมพูชา

กัมพูชากับสหรัฐอเมริกาฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 70 ปีในปี 2020 ที่ผ่านมา  การฉลองวาระครบรอบนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่ไว้วางใจและความคลางแคลงที่พอกพูนขึ้นระหว่างสองประเทศ  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ความสัมพันธ์กัมพูชา-สหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวนขึ้นๆ ลงๆ สืบเนื่องจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน อันประกอบด้วยผลประโยชน์ด้วยภูมิศาสตร์การเมืองและยุทธศาสตร์ สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และในระยะหลังก็คือปัจจัยจีน (China Factor) อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ สายสัมพันธ์ทวิภาคียิ่งเสื่อมถอยลงเพราะการกล่าวหา การเผชิญหน้าและความไม่ไว้วางใจ  ในปี 2017  กัมพูชากล่าวหาสหรัฐฯ ว่าสมรู้ร่วมคิดกับพรรคสงเคราะห์ชาติ (Cambodia National Rescue Party–CNRP) ต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา  พรรคสงเคราะห์ชาติคือพรรคฝ่ายค้านพรรคใหญ่ของกัมพูชา ซึ่งตอนนี้ถูกยุบพรรคไปแล้ว  ในปี 2019 สหรัฐอเมริกากล่าวหากัมพูชาว่าลงนามในสัญญาลับกับจีน […]

Issue 32 Mar. 2022

พลวัตทางการเมืองและเศรษฐกิจของความร่วมมือ “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ระหว่างอินโดนีเซีย-จีน

การตรวจสอบสถานะของอินโดนีเซียบนเวทีระหว่างประเทศควรพิจารณาจากการตัดสินใจด้านนโยบายต่างประเทศที่เป็นรูปธรรม  ในบรรดาองค์ประกอบหลายประการของนโยบายต่างประเทศนั้น ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจัดเป็นจุดศูนย์ถ่วงที่สำคัญ  การที่ประธานาธิบดีโจโกวีให้ความสำคัญอันดับต้นแก่การตอบสนองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสะท้อนออกมาให้เห็นในลำดับความสำคัญด้านนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย นั่นคือ การส่งเสริม “การทูตด้านเศรษฐกิจ” ให้อยู่แถวหน้าสุดในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน  วาระการทูตด้านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียสอดคล้องต้องตรงกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ภายในประเทศ  ซึ่งหลักใหญ่ใจความคือการมุ่งสู่เป้าหมายระดับชาติที่จะยกระดับความเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  การตัดสินใจทางการทูตด้านเศรษฐกิจที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งของโจโกวีคือ ความร่วมมือ “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้น” ระหว่างอินโดนีเซีย-จีน (Indonesia-China Belt and Road Initiative  ต่อไปจะเรียกว่า BRI)  บทความนี้จะวิเคราะห์ความร่วมมือ BRI ของอินโดนีเซียและพลวัตทางการเมือง-เศรษฐกิจบางประการที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ จุดยืนและมุมมองของอินโดนีเซียต่อ BRI ระหว่างที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงมาเยือนอินโดนีเซียในปี 2013 เขาประกาศว่ารัฐบาลจีนมีความสนใจที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางทะเลผ่านกลไก “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Maritime Silk Road–MSR) […]