ภาษาไทย

“รายา กีตา” มลายูมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทยกับพระมหากษัตริย์

ใน พ.ศ. 2554 มีงานวันเด็กจัดที่โรงเรียนลาเม็ง ในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา งานวันเด็กครั้งนี้มีกิจกรรมมากมาย ทั้งการละเล่น การแสดง การจับฉลากของขวัญ การแจกอาหารและขนม รวมทั้งพิธีมอบรางวัล นอกเหนือจาก “ของขวัญเป็นภูเขาเลากา” จากหน่วยงานรัฐหลายแห่งโดยเฉพาะกองทัพแล้ว กิจกรรมพิเศษของงานวันเด็กในปีนี้คือการร้องเพลง “รายอ กีตอ” (หรือ “รายา กีตา” ในภาษามลายูมาตรฐาน ซึ่งแปลว่า “กษัตริย์ของเรา”) เนื้อเพลงพรรณนาว่ากษัตริย์ทรงอุทิศพระองค์ทรงงานหนักอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อราษฎรและราษฎรรักเทิดทูนพระองค์เพียงไร การแสดงขับร้องเพลงนี้ในงานวันเด็กเป็นการสื่อสารว่าเด็กนักเรียนชาวมลายูมุสลิมมีความจงรักภักดีและรักกษัตริย์ไทยเช่นเดียวกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ ในประเทศนี้ ถึงแม้พวกเขาจะมีความแตกต่างด้านชาติพันธุ์และศาสนาก็ตาม บูซา บิดาของเด็กนักเรียน ป. 5 คนหนึ่ง กล่าวว่า ถึงแม้งานวันเด็กได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐอย่างมากนับตั้งแต่ปี […]

Issue 22 Sept. 2017

การไว้อาลัยอันประเสริฐและบริสุทธิ์ในจักรวาลสากลแบบไทย

ช่วงระหว่างวันที่ 22-26 กันยายน 2559 มีนิทรรศการหนึ่งถูกจัดขึ้นในพื้นที่การค้าเล็กๆ ระหว่างห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนกับศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ในย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ นิทรรศการนี้เน้นการจัดแสดงสินค้าจากโครงการหลวง อันเป็นโครงการพัฒนาที่ริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ รัชกาลที่ 9 ในช่วงตลอดเจ็ดสิบปีแห่งการครองราชย์ ภายใต้เต็นท์สีขาวขนาดใหญ่ พร้อมกับไอเย็นจากเครื่องปรับอากาศแบบเคลื่อนที่ นักช้อปที่มีกำลังซื้อมาก สามารถลิ้มรสความอร่อยกับอาหารราคาแพง อย่างเช่น แซนวิชไส้เห็ดย่างผัดชีสราดซอสราสเบอร์รี่ พร้อมกับดื่มด่ำไปกับบรรยากาศอันหรูหรารอบตัว บรรยากาศแบบขุนเขาถูกจำลองขึ้นมาพร้อมด้วยมวลดอกไม้ที่ปลูกลงดิน โต๊ะไม้ และสภาพแวดล้อมแบบชนบทที่จำลองขึ้นมากลายเป็นสถานที่ต้อนรับนักช้อปที่มองหาความอภิรมย์ทางรสสัมผัส พระบรมฉายยาลักษณ์ขนาดใหญ่สี่ภาพของในหลวง รัชกาลที่ 9 แขวนห้อยลงมาจากเพดานเบื้องบน ดูเป็นภาพที่เห็นกันอยู่ชินตา พระบรมฉายาลักษณ์ทั้งสี่แสดงภาพในหลวง รัชกาลที่ 9 ในขณะทรงอยู่ในวัยหนุ่ม ในภาพเหล่านั้นพระองค์ทรงชุดอย่างพลเรือนสามัญธรรมดาหรือไม่ก็ทรงชุดทหาร บางภาพเป็นพระบรมฉายาลักษณ์เดี่ยว บางภาพฉายร่วมกับสมเด็จพระราชินีหรือเจ้าฟ้าหญิง โดยมีฝูงชนห้อมล้อมแทบพระบาทอยู่เสมอ ในสมัยที่พระบรมฉายาลักษณ์เหล่านี้ถูกถ่าย […]

Issue 19 Mar. 2016

ทบทวน “ศาสนา” จากชายขอบ

เราได้ยินเรื่องความเสื่อมของพุทธศาสนาในประเทศไทยมานาน ส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับข่าวอื้อฉาวของพระที่พัวพันกับเงิน ไสยศาสตร์หรือเพศสัมพันธ์ มันเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ความเป็นจริงเหล่านี้มักถูกซัดทอดว่าเกิดจากความเป็นสมัยใหม่หรือโลกาภิวัตน์ อย่างไรก็ตาม ความเสื่อมของพระในฐานะคณะสงฆ์ที่รัฐรับรองอย่างเป็นทางการไม่จำเป็นต้องหมายถึงความเสื่อมของศาสนาโดยรวม อันที่จริงมันมีความหมายว่า ในส่วนของนักวิชาการมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจศาสนาต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างใส่ใจในรายละเอียดมากกว่าเดิม โดยย้อนกลับมาพิจารณาทบทวนการที่รัฐสร้างความเป็นสถาบันให้ศาสนาในช่วงกำลังเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ ตลอดจนมโนทัศน์เกี่ยวกับศาสนาเอง ศาสนา รัฐและมุมมองแบบศูนย์กลาง  ความเข้าใจที่เรามีต่อพุทธศาสนานิกายเถรวาท รวมทั้งต่อศาสนาโดยทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักถูกจำกัดด้วยม่านบังตาสองชั้นด้วยกัน ชั้นแรกคือคำว่า “ศาสนา” ที่มาจากตะวันตก คำคำนี้มีปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว โดยเฉพาะในสังคมที่ไม่ใช่ตะวันตก การใช้คำคำนี้สร้างปัญหาขึ้นมาอย่างกว้างขวางเพราะการที่มีต้นกำเนิดจากตะวันตกและมาพร้อมกับอคติของศาสนาคริสต์ยุคใหม่ (cf. Asad 1993) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มิใช่ข้อยกเว้น คำถามข้างต้นนำไปสู่การศึกษาเชิงวิพากษ์ทั้งในแง่ที่เอเชียนำมโนทัศน์ศาสนาของตะวันตกมาใช้และการเปลี่ยนแปลงของศาสนาในเอเชียภายใต้แรงกดดันจากตะวันตก ตรงกันข้ามกับการสร้างความมีเหตุมีผลและการเปลี่ยนไปสู่ฆราวาสนิยมในประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์ อันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองดังที่นักสังคมวิทยาศาสนาอย่างเวเบอร์และแบร์เกอร์อภิปรายถึงหลายครั้ง สังคมเอเชียมีลักษณะเฉพาะตรงที่ระบอบอาณานิคมหรืออำนาจรัฐที่กำลังก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ในยุคหลังอาณานิคมเป็นฝ่ายบังคับให้ศาสนาต้องเปลี่ยนไปสู่ความมีเหตุมีผล ความมีมาตรฐานและความเป็นสถาบัน ด้วยเหตุนี้ อำนาจรัฐจึงเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจศาสนาในภูมิภาคนี้ ม่านบังตาชั้นที่สองคือกรอบกระบวนทัศน์และมุมมองหลักในการเข้าใจพุทธศาสนานิกายเถรวาทมักได้มาจากประเทศไทยในระหว่างกระบวนการสร้างชาติ มันชี้นำวิธีการที่เราเข้าใจพุทธศาสนานิกายเถรวาทในหลายๆ […]

Issue 19 Mar. 2016

กรณีน่าสนใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของขบวนการพุทธศาสนาในสิงคโปร์

กิจกรรมทางสังคมของขบวนการพุทธศาสนาเป็นหัวข้อที่มีการอภิปรายกันมากพอสมควรในหมู่นักวิชาการ นักวางนโยบายและพุทธศาสนิกชนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักกิจกรรมชาวพุทธที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ต่างก็พยายามสนับสนุนให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม การรณรงค์เพื่อการปฏิรูปทางการเมือง ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปกป้องความศรัทธาของตนจากภัยคุกคามและคำสอนที่แตกต่างไปจากความเชื่อดั้งเดิม ในบริบทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเอ่ยถึงกิจกรรมทางสังคมของชาวพุทธ เรามักนึกถึงภาพการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของพระมหาโฆษนันทะและติช นัท ฮันห์ การเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคมของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ “การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์” (Saffron Revolution) ที่เกิดขึ้นในพม่าเมื่อ ค.ศ. 2007 อย่างไรก็ตาม กิจกรรมเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดสำหรับประเทศในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา กระนั้นก็ตาม ชุมชนชาวพุทธในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แวดล้อมด้วยทะเลก็มีกิจกรรมทางสังคมไม่น้อยหน้าเช่นกัน เมื่อเอ่ยถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แวดล้อมด้วยทะเล เรามักนึกถึงโลกมลายูอิสลามที่ในปัจจุบันประกอบด้วยประเทศบรูไน อินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมทั้งประเทศฟิลิปปินส์ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนสิงคโปร์ค่อนข้างแปลกแยกแตกต่างออกไปเพราะการมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน (ประมาณ 75%) และสิ่งที่คนจำนวนมากไม่ค่อยรู้ก็คือประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธด้วย จากการสำรวจสำมะโนประชากรของสิงคโปร์ในปี 2010 […]

Issue 19 Mar. 2016

การศึกษาศาสนาพุทธในเวียดนาม: ข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับแนวโน้มในปัจจุบันและอนาคต

ภายในสาขาการศึกษาเกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น ศาสนาพุทธในเวียดนามได้รับความสนใจน้อยเกินไปจากแวดวงนักวิชาการยุโรป-อเมริกัน ส่วนหนึ่งเกิดมาจากอคติทางวิชาการที่นิยมศึกษาศาสนาพุทธโดยรวมศูนย์อยู่ที่ตัวบทพระคัมภีร์มากกว่าการแสดงออกด้านวัตรปฏิบัติของพุทธศาสนาในชีวิตประจำวันจริงๆ อคติดังกล่าวนี้มีพื้นฐานมาจากวิธีการศึกษาทางวิชาการแบบเก่าที่ให้ความสำคัญแก่ตัวบทบางอย่างมากกว่า แล้วสร้างภาพของศาสนาขึ้นมาจากทัศนะดังกล่าว โดยมักละเลยการตีความและการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและวัฒนธรรมของศาสนิกชน วัฒนธรรมเชิงตัวบทของศาสนาพุทธในเวียดนามมิได้พัฒนาไปถึงระดับเดียวกับประเทศพุทธศาสนาอื่นๆ และได้รับความสนใจจากวงวิชาการค่อนข้างน้อย นอกเหนือจากนี้ ยังมีอุปสรรคหลายประการสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาวิจัยศาสนาในเวียดนาม ซึ่งยังถือเป็นหัวข้อที่อ่อนไหวภายใต้ระบอบการปกครองในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดสถานที่และการเข้าถึงบุคคลที่ต้องการสัมภาษณ์ การติดต่อกับระบบราชการที่ล่าช้าจุกจิกมากเพื่อเข้าถึงแหล่งเก็บเอกสารสำคัญ ปัญหาเหล่านี้อาจมีความยากลำบากมากกว่าในประเทศอื่นที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ถึงแม้มีข้อจำกัดดังกล่าว แต่ก็มีผลงานชั้นเยี่ยมที่ศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามและสร้างความกระจ่างแก่ประเด็นหลายอย่างในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและการปฏิบัติในปัจจุบัน กระนั้นก็ตาม ถึงแม้มีงานวิจัยที่โดดเด่นอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีช่องว่างไม่น้อยในประเด็นสำคัญๆ หลายประการภายในงานวิชาการที่ศึกษาศาสนาพุทธในเวียดนาม ประเด็นหนึ่งคือการเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธในที่อื่นๆ การวิจัยหัวข้อหนึ่งในหลายหัวข้อที่น่าศึกษาเกี่ยวกับศาสนาพุทธในเวียดนามก็คือการสำรวจตรวจสอบ “ความเป็นมหายาน” ของศาสนาพุทธในเวียดนามโดยเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธนิกาย “มหายาน” ในประเทศอื่นๆ รวมถึงเปรียบเทียบกับรูปแบบของพุทธศาสนาที่เรียกกันทั่วไปว่า “เถรวาท” ด้วย แนวคิดที่มีมายาวนานเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ใช้ในการจัดแบ่งนิยามนิกายและใช้กันซ้ำๆ ในพุทธศาสนานี้ยังคงใช้ได้หรือไม่? การนิยามศาสนาพุทธในเวียดนามว่าเป็นนิกาย “มหายาน” มีความเหมาะสมหรือเปล่า? […]

Issue 19 Mar. 2016

การช่วงชิงภูมิทัศน์ด้านมโนทัศน์ในการเมืองของพุทธศาสนา

การตีความเกี่ยวกับการระดมมวลชนชาวพุทธในเมียนมาระยะหลัง ทั้งที่เป็นการตีความในแวดวงวิชาการและโดยคนทั่วไป ชี้ให้เห็นประเด็นที่วิธีการเชิงทฤษฎีและเชิงวิเคราะห์มีผลต่อการศึกษาความเกี่ยวพันระหว่างพุทธศาสนากับการเมืองและสังคม การขยายตัวขององค์กรพระสงฆ์ชาตินิยมอย่าง MaBaTha และความพยายามขององค์กรนี้ที่จะผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่เข้มงวดและชี้นำการเลือกตั้งในเมียนมาที่เพิ่งเปลี่ยนสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อไม่นานนี้ ทำให้ประเด็นการเมืองของพุทธศาสนาและลัทธิชาตินิยมหวนกลับมาเป็นเป้าของการวิเคราะห์กันอย่างมากมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง ชื่อองค์กร MaBaTha มาจากคำขวัญของลัทธิชาตินิยมต่อต้านอาณานิคมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นั่นคือ “Amyo (Ma), Batha (Ba), Thathana (Tha)” หรือ เชื้อชาติ, ศาสนา/ภาษา และสาสน์ (sāsana หมายถึงระบบและคำสอนของพระพุทธเจ้า) ชื่อขององค์กรเองชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพัฒนาการในสมัยปัจจุบันกับการเคลื่อนไหวระดมมวลชนของชาวพุทธในพม่าเมื่อศตวรรษก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงก่อนนั้น กล่าวคือ การวิเคราะห์ที่มีมากมายเกี่ยวกับการขยายตัวของ MaBaTha กับลัทธิชาตินิยมและบรรยากาศการต่อต้านมุสลิมในเมียนมา มักอ้างว่าต้นกำเนิดของปรากฏการณ์นี้มาจากชาวพุทธที่ใช้ศาสนาเพื่อเป้าหมายทางการเมือง หรือจากลัทธิชาตินิยมที่มีมายาวนานและความเกลียดกลัวคนต่างชาติที่ฝังอยู่ในศาสนาพุทธของพม่า ข้ออ้างทั้งสองประการนี้ต่างก็ผิดพลาด ไม่เพียงเพราะเป็นการตีขลุมสรุปที่หยาบง่ายเกินไป แต่เพราะมันสะท้อนถึงวิธีการที่มีปัญหาในการคิดเกี่ยวกับพุทธศาสนา […]

Issue 19 Mar. 2016

นาฏกรรมของศาสนาฮินดูในมหานครกรุงเทพฯ: เทศกาลพิธีกรรมและพหุนิยมทางศาสนาในสภาพแวดล้อมทางสังคมไทยพุทธของเมืองใหญ่

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ชาวไทยพุทธหันไปนับถือเทพเจ้าในศาสนาฮินดูมากขึ้น โดยยึดถือเป็นแหล่งพึ่งพิงทางใจที่จะช่วยดลบันดาลปาฏิหาริย์ที่เป็นคุณแก่ตนและเครื่องยึดเหนี่ยวทางศรัทธา ภายในมหานครกรุงเทพฯ ยุคปัจจุบัน มีสถานที่สาธารณะจำนวนมากช่วยกระตุ้นความสนใจที่มีต่อเทพเจ้าฮินดูและการสักการบูชา หรืออาจรวมถึงศาสนาฮินดูเองด้วย มีศาสนสถานฮินดูหลายแห่งที่แรกเริ่มเดิมทีนั้น ผู้อพยพชาวอินเดียก่อตั้งขึ้นเพื่อรับใช้ชุมชนพลัดถิ่น เช่น วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) วัดเทพมณเฑียร วัดทุรคามณเฑียรและวัดวิษณุ มีอีกหลายวัดที่ชาวไทยพุทธเองสร้างขึ้นเพื่อสักการะเทพเจ้าฮินดู เช่น เทวสถาน (โบสถ์พราหมณ์) ที่สร้างขึ้นสำหรับพราหมณ์ประจำราชสำนักตั้งแต่ต้นราชวงศ์จักรี หรือวิหารพระศิวะขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราก็เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมานี้ นอกจากนี้ยังมีภูมิสถาปัตยกรรมแบบขยายพื้นที่รอบแท่นบูชาสาธารณะที่ตั้งโดดๆ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่รูปปั้นเทพเจ้าฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นโดยบุคคล สถาบันเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล ศาลพระพรหมเอราวัณน่าจะเป็นตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดของภูมิสถาปัตยกรรมประเภทนี้ แม้ว่าจะมีศาลอื่นๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระอินทร์ พระนารายณ์ พระลักษมี พระตรีมูรติและพระพิฆเนศ ตั้งอยู่ใกล้ๆ ในระยะเดินถึงได้จากสี่แยกราชประสงค์ก็ตาม ในประการสุดท้าย รูปปั้นและศาลบูชาเทพเจ้าฮินดูองค์ต่างๆ สามารถพบเห็นได้ง่ายทั้งในวัดพุทธศาสนาและตามเทวสถานแบบหลายศาสนาที่มีอยู่ทั่วไปในมหานครกรุงเทพฯ […]

Issue 18 Sept. 2015

ความเกลียดกลัวคนข้ามเพศในครอบครัว และความเป็นเครือญาติของ “คนเปิดตัว” ในเมียนมาร์

ในเมียนมาร์ มีศัพท์ภาษาท้องถิ่นและคำศัพท์ที่ยืมจากภาษาอังกฤษหลายคำสำหรับใช้บ่งชี้เพศสภาพและการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของอัตบุคคล (subject position) ของชนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี การกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของอัตบุคคลของเพศชายโดยหลัก ๆ แล้วประกอบด้วย apwint (“คนเปิดตัว”) apôn (“คนซ่อนตัว”) homo (โฮโม) และ thu nge (“ชายแท้”) คนเปิดตัวคือชายที่วางตัวและปรากฏตัวในฐานะหญิง สำหรับ คนเปิดตัว การกินฮอร์โมนเพศหญิงที่นำเข้าจากประเทศจีนเป็นพิธีกรรมของการเปลี่ยนผ่านที่พบได้ทั่วไปแต่ไม่ใช่ทุกคน พร้อม ๆ กับที่พวกเขามักย้ายออกจากครอบครัวตามเพศดั้งเดิมไปเป็นสมาชิกของชุมชนคนข้ามเพศที่แปลงเพศจากชายเป็นหญิง ตลาดการแพทย์ของเมียนมาร์ยังไม่มีศัลยกรรมแปลงเพศ แต่คนเปิดตัวจำนวนหยิบมือหนึ่งที่มีเงินทุนสามารถเข้าถึงศัลยกรรมแปลงเพศได้ในต่างประเทศ คนซ่อนตัวและโฮโมคือชายที่ดูภายนอกเหมือนผู้ชายทั่วไป ชายแท้หรือบางครั้งเรียกกันว่า “straight” ในหมู่ชาวพม่าที่พูดภาษาอังกฤษ คือชายที่มีเพศวิถีตามเพศสภาพและเป็นวัตถุดึงดูดด้านกามารมณ์อันดับแรกสุดในหมู่คนเปิดตัว และในระดับที่น้อยลงมาสำหรับคนซ่อนตัว ในขณะที่คนซ่อนตัวมีตำแหน่งแห่งที่เชิงภาษาศาสตร์จากการที่ “ซ่อน” […]

Issue 17 Mar. 2015

ความไม่เท่าเทียมกับประชาธิปไตยในอินโดนีเซีย

ในช่วงหลายปีก่อนที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โตจะสิ้นอำนาจเมื่อ ค.ศ. 1998 ในสื่อของอินโดนีเซียมีการถกเถียงวิวาทะสาธารณะมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า kesenjangansosial –หรือช่องว่างทางสังคม—ที่เพิ่มมากขึ้น มาตรการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ 1980 ส่งผลให้เกิดความเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคการผลิตและภาคบริการการเงิน รวมทั้งสัญญาณบ่งบอกความมั่งคั่งของชนชั้นกลางเริ่มเห็นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเมืองต่างๆในอินโดนีเซีย ประชาชนเริ่มตระหนักรับรู้ถึงความเติบโตของชนชั้นนักธุรกิจอภิมหาเศรษฐีมากขึ้นด้วย คนเหล่านี้มักเป็นลูกหลานหรือสมาชิกในครอบครัวของเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูง เสียงเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคมช่วยเติมเชื้อไฟความไม่พอใจที่มีต่อระบอบซูฮาร์โต กระทั่งปะทุอย่างกราดเกรี้ยวเป็นการประท้วงและจลาจลบนท้องถนนของกรุงจาการ์ตาและเมืองใหญ่ๆที่เกิดขึ้นทั้งก่อนหน้าและพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน ค.ศ. 1998 ชาวอินโดนีเซียจำนวนมากหวังว่ายุค reformasi จะไม่เพียงเป็นจุดเริ่มต้นของการเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตยและเปิดกว้างมากขึ้นเท่านั้น แต่รวมถึงความเท่าเทียมทางสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย ทว่าความหวังนั้นไม่กลายเป็นความจริง นับตั้งแต่อินโดนีเซียเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี 1998 ความไม่เท่าเทียมด้านความมั่งคั่งกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ยิ่งกว่านั้น ช่องว่างทางสังคมที่หยั่งรากลึกลงมีความเชื่อมโยงกับความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตระหนกของกลุ่มอภิมหาเศรษฐี ตลอดจนความเติบโตของรายได้ในหมู่พลเมืองยากจนก็อยู่ในภาวะชะงักงัน อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะต่อสู้กับปัญหาความไม่เท่าเทียมในชีวิตทางการเมืองของอินโดนีเซียก็ค่อนข้างสะเปะสะปะไร้ทิศทาง ถึงแม้มีการสืบทอดหลักการความเสมอภาคถ้วนหน้าฝังลึกในวัฒนธรรมการเมืองของอินโดนีเซีย อีกทั้งยังมีขบวนการสังคมนับไม่ถ้วนที่มีฐานมวลชนอยู่ในหมู่ประชากรยากจน แต่ระบบพรรคการเมืองก็ไม่ได้มีการจัดโครงสร้างที่แบ่งแยกตามชนชั้นและไม่เคยมีการเสนอโครงการปรับการกระจายความมั่งคั่งอย่างเป็นระบบ ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงการริเริ่มจากฝ่ายรัฐบาล […]

Issue 17 Mar. 2015

การเกาะกลุ่มของความไม่เท่าเทียมกับแรงกดดันเพื่อการเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตยในเวียดนาม

Social and political conflicts are on the rise almost everywhere in Southeast Asia. In several countries, both economic inequalities and the political inequalities they foster are today challenged by public protest movements, even in countries […]

Issue 17 Mar. 2015

การระดมมวลชนด้วยประเด็นความไม่เท่าเทียมในมาเลเซียและสิงคโปร์

ทั้งข้อมูลจากการสำรวจและผู้สันทัดกรณีต่างชี้ว่าการได้จำนวนที่นั่งมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของฝ่ายค้านในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในสิงคโปร์ (2011) และมาเลเซีย (2013) มีสาเหตุรากฐานมาจากด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความกลัวว่าโอกาสทางเศรษฐกิจจะลดลง รวมทั้งการตระหนักรับรู้ถึงช่องว่างที่ถ่างกว้างมากขึ้นระหว่างกลุ่มคนที่มั่งคั่งล้นเหลือกับกลุ่มคนที่ขัดสนไม่เพียงพอ ถึงแม้ผลการเลือกตั้งในทั้งสองประเทศสะท้อนถึงความวิตกด้านเศรษฐกิจ แต่ก็เห็นชัดด้วยว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเข้มข้นนอกเหนือการเลือกตั้งกำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกันและอาจสั่นคลอนเสถียรภาพของระบอบการปกครอง มาเลเซียและสิงคโปร์เป็นตัวอย่างของระบอบการปกครอง “แบบลูกผสม” ที่มีรายละเอียดแตกต่างกันไปสองรูปแบบ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือรูปแบบการปกครองที่ผสมผสานคุณลักษณะของระบอบการปกครองแบบเสรีนิยมกับไม่ใช่เสรีนิยมเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ระบอบอำนาจนิยมแบบมีการแข่งขันและระบอบอำนาจนิยมแบบมีการเลือกตั้งที่พรรคการเมืองเดียวครองความเป็นใหญ่ตามลำดับ ในทั้งสองประเทศ พรรคการเมืองเดียวหรือแนวร่วมพรรคการเมืองเดิมครองอำนาจมาตั้งแต่ได้รับเอกราช โดยชนะการเลือกตั้งทุกครั้งด้วยปัจจัยผสมผสานของความชอบธรรมที่น่าเชื่อถือ (ส่วนใหญ่แล้วพิจารณาจากประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ) การให้สิ่งจูงใจแก่กลุ่มเป้าหมาย และการปรับเปลี่ยนสนามเลือกตั้งให้ตอบสนองผลประโยชน์ของตน ทว่าในระยะหลัง มีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นและสั่นคลอนดุลยภาพ ในด้านหนึ่ง สื่อออนไลน์ใหม่ๆ นับตั้งแต่เว็บไซต์ข่าวจนถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้ขยายพื้นภูมิของวาทกรรมทางการเมืองออกไป เปิดพื้นที่การเมืองใหม่ๆ ที่รัฐเข้าไปแทรกแซงได้ยากขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง ผลกระทบภายนอกที่เกิดจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบชี้นำ ทั้งความไม่เท่าเทียมทางรายได้และความมั่งคั่งที่เพิ่มมากขึ้น การอพยพเข้าออกเนื่องจากการจ้างงาน […]

Issue 17 Mar. 2015

ความไม่เท่าเทียมและการเมืองในประเทศไทย

ในนิพนธ์ชื่อ Democracy in America นั้น อเล็กซิส เดอ ท็อกเกอร์วิลล์เสนอแนวคิดอันโด่งดังว่า “ความเท่าเทียมของเงื่อนไขโดยรวม” คือรากฐานของประชาธิปไตยแบบอเมริกัน สำหรับประเทศไทยนั้นตรงกันข้าม เพราะคำนิยามของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ก็คือ ความไม่เท่าเทียมของเงื่อนไขโดยรวม หากปรับถ้อยคำของท็อกเกอร์วิลล์มาใช้ เราอาจกล่าวได้ว่า ความไม่เท่าเทียมของประเทศไทยมีอิทธิพลอย่างล้นเหลือและขับเคลื่อนวิถีทั้งหมดของสังคม มันเป็นตัวชี้นำทิศทางให้อุดมการณ์รัฐและสร้างความหมายเฉพาะแก่กฎหมาย ให้คติพจน์แก่กลุ่มอำนาจที่ปกครองประเทศและแบบแผนความประพฤติแก่ผู้อยู่ใต้การปกครอง อิทธิพลของความไม่เท่าเทียมแผ่ออกไปพ้นการเมืองและกฎหมาย มันสร้างความคิดเห็น ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก ชี้แนะกิจวัตรประจำวันของชีวิตและปรับเปลี่ยนอะไรก็ตามที่มันไม่ได้สร้างขึ้นเอง ความไม่เท่าเทียมของเงื่อนไขในประเทศไทยคือความจริงพื้นฐานที่เป็นต้นตอของทุกสิ่ง ความยากจน รายได้และความไม่เท่าเทียม ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศไทยเป็นเงื่อนไขที่เสริมกำลังให้กันและกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผลประโยชน์ของความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตกอยู่ในเงื้อมมือของชนชั้นนำ การหวงแหนรักษาอภิสิทธิ์เหล่านี้ไว้ก่อให้เกิดโครงสร้างทางการเมืองที่มีลักษณะกีดกันและถูกครอบงำจากชนชั้นนำอำนาจนิยม เกือบตลอดช่วงเวลาที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา ระบอบการปกครองแบบอำนาจนิยมครอบงำประเทศ ส่งเสริมระบบทุนนิยมและฟูมฟักชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกลาง ในขณะเดียวกันก็จำกัดสิทธิทางการเมือง […]

Issue 17 Mar. 2015

“ขบวนการร่ม” ในฮ่องกง : จากประเด็นปัญหาด้านเศรษฐกิจถึงการปฏิเสธลัทธินิยมวัตถุ

ในช่วงปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ประชาชนหลายพันคนเริ่มยึดท้องถนนสายหลักในฮ่องกงและการยึดพื้นที่ยืดเยื้อต่อไปกว่าสองเดือน กลุ่มผู้ประท้วงปฏิบัติการตามเสียงเรียกร้องของขบวนการ Occupy Central with Love and Peace ซึ่งขู่ว่าจะปฏิบัติการดื้อแพ่งของพลเมืองหากรัฐบาลจีนไม่ยอมมอบระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงให้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม คณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติของจีนได้มีมติจำกัดการใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปในการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง หลังจากหยุดเรียนประท้วงหนึ่งสัปดาห์ ในที่สุด กลุ่มนักเรียนนักศึกษาก็เริ่มประท้วงด้วยการปิดถนน เมื่อผู้ประท้วงอย่างสันติต้องเผชิญกับแก๊สน้ำตา ชาวฮ่องกงหลายหมื่นคนจึงอดรนทนไม่ได้จนต้องออกสู่ท้องถนนเพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุต่อนักเรียนนักศึกษาและนักกิจกรรม เนื่องจากผู้ประท้วงใช้ร่มในการป้องกันตัว จึงได้รับการขนานนามว่า “ขบวนการร่ม” (Umbrella Movement) ถึงแม้การปะทุของกิจกรรมการประท้วงอย่างมุ่งมั่นครั้งล่าสุดได้รับอิทธิพลจากประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจคล้ายกับการประท้วงที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ขบวนการกลับมีประเด็นหลักอยู่ที่การต่อต้านลัทธินิยมวัตถุ โดยหันไปเน้นการเสียสละเพื่อสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปที่แท้จริง ฮ่องกงมีความไม่เท่าเทียมทางรายได้สูงสุดในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้วในโลก และเรื่องที่น่าเป็นห่วงก็คือความเหลื่อมล้ำนี้ยิ่งถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ค่าสัมประสิทธิ์จีนีซึ่งเป็นตัวชี้วัดความไม่เท่าเทียมก็มีตัวเลขที่น่าวิตกถึง 0.52 แล้วใน […]

Issue 16 Sept. 2014

คำนำ: การศึกษาการ์ตูนช่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นับแต่เปลี่ยนสหัสวรรษใหม่ การ์ตูนช่องได้รับความสนใจในเชิงวิพากษ์และวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง เห็นได้ชัดว่าปรากฏการณ์นี้มีภูมิหลังจากกระแสที่ใหญ่กว่าสามประการคือ ประการแรก การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจตลาดอย่างแทบไร้การควบคุม รวมทั้งลัทธิบริโภคนิยมและ “วัฒนธรรมป๊อบ” ที่เกี่ยวเนื่องกัน ประการที่สอง กระบวนการโลกาภิวัตน์ทำให้ผลงานบางอย่าง อาทิเช่น มังงะและอนิเมะของญี่ปุ่นที่แพร่หลายไปทั่วโลกมีลักษณะเป็นผลงานเฉพาะกลุ่มน้อยลง แต่กลายเป็นแบบจำลองของวัฒนธรรมอุตสาหกรรมที่สังคมอื่นรับมาเป็นของตัวเองได้ ดังที่มีอธิบายไว้ในงานเขียนของ Shiraishi Saya (2013: 236-237) และประการที่สาม ความเฟื่องฟูของสังคมสารสนเทศ ซึ่งทำให้รูปแบบวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมและปรับเปลี่ยนได้ก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าสุด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น แฟนอาร์ต คอสเพลย์ และบริการเครือข่ายสังคมเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น เรื่องที่น่าสังเกตอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ การ์ตูนช่องได้รับการยอมรับจากสาธารณชนในช่วงเวลาเดียวกับที่อัตลักษณ์ของการ์ตูนช่องที่เคยถูกกำหนดรูปลักษณ์พื้นฐานจากความเป็นสื่อสิ่งพิมพ์กำลังจะสิ้นสุดลงพอดี กระแสทั้งสามข้างต้นช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ์ตูนช่องในภาควิชานิเทศศาสตร์ มานุษยวิทยาวัฒนธรรม สังคมวิทยา รวมถึงภาควิชาอื่นๆนอกเหนือจากนี้ คำนำของหนังสือรวมบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมป๊อบในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งข้อสังเกตอย่างภาคภูมิใจในประเด็นนี้ว่า “บรรทัดฐานหนึ่งที่บ่งบอกความชอบธรรมของหัวข้อศึกษาในโลกวิชาการก็คือเมื่อนักเศรษฐศาสตร์กับนักรัฐศาสตร์เริ่มสนใจหัวข้อนั้นอย่างจริงจัง” […]

Issue 16 Sept. 2014

การ์ตูนช่องเพื่อการศึกษา: มุมมองที่เปลี่ยนไป

การ์ตูนช่อง (Komiks) เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฟิลิปปินส์มายาวนานทีเดียว อัมเบธ โอคัมโปและเดนนิส วีเญกาสเคยชี้ว่าโฮเซ่ ริซัลคือหนึ่งในคนฟิลิปปินส์รุ่นแรกสุดที่วาดการ์ตูนช่อง(Villegas, 2011) (Ocampo, 1990) จอห์น เอ. เลนท์เชื่อว่า ชาวฟิลิปปินส์ชื่นชอบภาพวาดการ์ตูนช่องมานมนาน ตั้งแต่สมัยที่นิตยสารตีพิมพ์ภาพการ์ตูนในยุคอาณานิคมสเปน (Lent, 2004)ผู้สันทัดกรณีระบุว่า ทศวรรษ 1930 เป็นจุดเริ่มต้นของการ์ตูนช่องในฟิลิปปินส์เมื่อมีการตีพิมพ์การ์ตูนช่องเรื่อง “Mga Kabalbalan ni Kenkoy” ของโทนี เวลาสเกซ ด้วยเหตุนี้ เวลาสเกซจึงได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการ์ตูนช่องฟิลิปปินส์” (Roxas & Arevalo, 1985) อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าการตีพิมพ์หนังสือของเวลาสเกซ […]

Issue 16 Sept. 2014

การ์ตูนช่องในเวียดนาม: การเล่าเรื่องรูปแบบใหม่

มโนทัศน์เกี่ยวกับการ์ตูนช่องในเวียดนาม การ์ตูนช่องในเวียดนามถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนสืบเนื่องจากความเข้าใจที่มีต่อคำว่า “การ์ตูนช่อง” (comics)  คำว่า “การ์ตูนช่อง” ในภาษาเวียดนามคือ “truyen tranh”  คำว่า “truyen” แปลว่า “เรื่องราว” ส่วน “tranh” แปลว่า “ภาพ”  คนรุ่นเก่าจึงเข้าใจว่าหมายถึงเรื่องราวที่มีภาพประกอบสำหรับเด็ก  อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่จะเข้าใจคำว่า “การ์ตูนช่อง” ในความหมายเดียวกับมังงะของญี่ปุ่น ในฐานะ “เรื่องราวที่มีภาพประกอบ” การ์ตูนช่องไม่ได้รับการยอมรับมากนักในสังคม สืบเนื่องจากอิทธิพลยาวนานของลัทธิขงจื๊อจากประเทศจีน ซึ่ง “เรื่องราว (truyen)” ต้องมีคุณค่าด้านการศึกษาและคติศีลธรรมในเนื้อหา  จนกระทั่งทศวรรษ 1990 การ์ตูนช่องก็ยังมีโครงเรื่องเดิม ๆ เกี่ยวกับภูมิปัญญาและอุดมคติ  […]

Issue 16 Sept. 2014

แนวโน้มของการ์ตูนช่องในสิงคโปร์ยุคปัจจุบัน: เมื่ออัตชีวประวัติกลายเป็นกระแสหลัก

ถ้าใช้รางวัลเป็นเครื่องบ่งชี้ ก็ดูเหมือนการ์ตูนช่อง (comics) ของสิงคโปร์กำลังประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 การ์ตูนช่องเรื่อง Ten Sticks and One Rice ที่เขียนเนื้อเรื่องโดยโอยงฮวีและวาดภาพโดยโก๊ะฮงเติงเพิ่งได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจาก International Manga Awardรางวัล International Manga Awardเป็นการแจกรางวัลที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นริเริ่มขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ศิลปินมังงะที่มีคุณูปการส่งเสริมมังงะในต่างประเทศ การแจกรางวัลของ International Manga Award ครั้งที่ 7 มีผู้เข้าร่วมประกวด 256 รายจาก 53 ประเทศ การ์ตูนช่องเรื่อง Ten Sticks and […]

Issue 16 Sept. 2014

Wanara กับการพร่าเลือนเส้นแบ่งกลุ่มของการ์ตูนช่องในอินโดนีเซีย

จำนวนพิมพ์ครั้งแรกสำหรับการ์ตูนช่องที่แปลมาสูงกว่าหนังสืออื่นถึงห้าเท่า (15,000 ฉบับต่อเรื่อง) (Kuslum, 2007; Indonesia Today, 2012) การ์ตูนช่องที่แปลจากญี่ปุ่นยึดครองตำแหน่งหนังสือขายดีในอินโดนีเซีย (Kuslum, 2007) อย่างไรก็ตาม จำนวนการ์ตูนช่องที่เขียนและตีพิมพ์ในอินโดนีเซียกลับมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการ์ตูนช่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ Elex Media Komputindo (EMK) เป็นสำนักพิมพ์การ์ตูนช่องรายใหญ่ ในหนึ่งเดือนสำนักพิมพ์นี้ตีพิมพ์การ์ตูนช่องที่แปลจากญี่ปุ่น 52 เล่มต่อการ์ตูนช่องท้องถิ่น 1 เล่ม M&C สำนักพิมพ์การ์ตูนช่องรายใหญ่อีกบริษัทหนึ่งยอมรับว่า ร้อยละ 70 ของหนังสือที่ตีพิมพ์เป็นการแปลจากภาษาญี่ปุ่น (Kuslum, 2007) ความนิยมในการ์ตูนช่องที่แปลจากญี่ปุ่นได้รับการส่งเสริมจากยุทธศาสตร์สื่อผสมผสานด้วย สภาพการณ์นี้ก่อให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับการ์ตูนช่องท้องถิ่นขึ้นมาในหมู่ชาวอินโดนีเซีย (Ahmad.et.al, 2005: 1, […]

Issue 15 Mar. 2014

การจัดการด้านความมั่นคงในทะเลจีนใต้: จาก DOC ถึง COC

ถึงแม้ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea -DOC) ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมุดหมายสำคัญระหว่างชาติอาเซียนกับประเทศจีนที่ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 2002 แต่ทว่าปฏิญญาฉบับนี้ก็ยังไม่บรรลุภารกิจในการสร้างความไว้วางใจมากขึ้นระหว่างรัฐที่อ้างสิทธิ์เหนือดินแดน และป้องกันมิให้ข้อพิพาทบานปลายไปกว่านี้ ปฏิญญาฉบับนี้ทำได้เพียงบทบาทของการเรียกร้องให้คู่กรณีมีความยับยั้งชั่งใจต่อกัน  อย่างไรก็ตาม เราอาจโต้แย้งได้ว่า อย่างน้อยที่สุด ปฏิญญาฉบับนี้ก็ยังมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นบรรทัดฐานอ้างอิงเมื่อเกิดปัญหาและความตึงเครียด รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาโดยถือเป็นระเบียบปฏิบัติ (Code of Conduct – COC) อย่างเป็นทางการ ในเมื่อขณะนี้กลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศจีนได้เริ่มต้นกระบวนการ COC แล้ว เรื่องสำคัญสำหรับทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็คือการแก้ไขช่องโหว่ของ DOC […]

Issue 14 Sept. 2014

การจัดลำดับความสำคัญการปฏิรูปทางการเกษตรในพม่า

ภาคการเกษตรของพม่าถูกกดให้จมอยู่ยาวนานภายใต้กระบวนการกำหนดนโยบายรัฐที่ย่ำแย่และก้าวก่าย การขาดความน่าเชื่อถือที่เรื้อรัง โครงสร้างพื้นฐานที่ขาดแคลนและไร้ประสิทธิภาพ และการขาดความมั่นคงในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิทธิในทรัพย์สินของชาวนา ความทุกข์ร้อนนี้ที่ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพทางการเกษตรที่ยิ่งใหญ่ของพม่า ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความยากจนที่เลวร้ายที่อธิบายถึงลักษณะของชีวิตประชาชนในชนบท (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่) ของประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) ได้มีการเจรจามากมายเกี่ยวกับการปฏิรูปภาคการเกษตรของพม่า อันดับแรก ได้มีการจัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติ” หลายครั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปฏิรูปเศรษฐกิจของพม่าที่ได้อุทิศให้กับภาคการเกษตรเป็นพิเศษ สิ่งนี้มาพร้อมกับคำแนะนำจำนวนหนึ่งที่ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่การผลิตที่เพิ่มขึ้น ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของชนบท การเข้าถึงวัตถุการผลิตที่มีราคาเหมาะสม และการเปิดให้มีการกู้ยืมที่กว้างขวางขึ้น (มุ่งเน้นไปที่การกู้ยืมในระดับจุลภาค) จากนั้น ได้มีการประชุมอื่นๆ ที่ทุ่มเทให้กับการเกษตร ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันในระดับพหุภาคี หน่วยงานด้านการพัฒนา และนักลงทุนต่างประเทศที่มีศักยภาพ มีประเด็นในการประชุมที่คล้ายคลึงกัน การปฏิรูปที่หยุดชะงัก แม้เงื่อนไขที่กล่าวข้างต้นยังคงอยู่ รวมถึงโวหารของรัฐบาลในการสนับสนุนการปฏิรูป แต่ในความเป็นจริง ความก้าวหน้าด้านการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมยังคงมีไม่มากนัก การเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทุกมิติของภาคเกษตรกรรมเป็นความต้องการอย่างเร่งด่วน […]

Issue 14 Sept. 2014

จุดเด่นและจุดด้อยของความเป็นผู้นำของเต็ง เส่ง

จุดเด่นและจุดด้อยของความเป็นผู้นำของเต็ง เส่ง การเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ไม่ได้ ไม่มีใครที่จะสามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในพม่าได้  เดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 กลายมาเป็นจุดสิ้นสุดของ 23 ปีแห่งการปกครองโดยรัฐบาลทหารพม่า อดีตนายกรัฐมนตรีเต็ง เส่ง (Thein Sein) กลายมาเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ.2008 และรัฐบาล “พลเรือน” ที่ตั้งบนรัฐธรรมนูญได้เริ่มต้นขึ้น ในการสืบต่ออำนาจอย่างรวดเร็ว รัฐบาลใหม่ได้นำมาซึ่งการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ความสมานฉันท์เดินหน้าไปกับกลุ่มที่สนับสนุนประชาธิปไตย และในปี ค.ศ. 2012 การคว่ำบาตรจากตะวันตกได้ยุติลง นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นตาตื่นใจ และนำพวกเราไปสู่การตั้งคำถามว่าทำไมถึงไม่มีใครสามารถทำนายว่ามันจะเกิดสิ่งนี้ได้ มีเหตุผลมากมายและผู้เขียนต้องการที่จะให้เหตุผล 3 ประการที่เกี่ยวข้องกับการเมืองภายในประเทศ เหตุผลประการแรก ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะจินตนาการได้ว่า พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย […]

Issue 14 Sept. 2014

การประเมินนโยบาย “เปิดกว้าง” ของพม่า

การประเมินนโยบาย “เปิดกว้าง” ของพม่า การประกาศใช้การปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบกว้างๆ โดยประธานาธิบดีเต็ง  เส่ง (Thein Sein) ของพม่าเมื่อ ค.ศ.2011 ได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้สังเกตการณ์ชาวต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งต่างก็สงสัยในความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ ค.ศ.2010 ขณะที่นักวิจารณ์และนักวิเคราะห์จำนวนมากตั้งข้อสงสัยในระยะแรก แต่เราไม่อาจปฏิเสธว่า อัตรา (ความเร็ว) และขอบเขตของความคิดริเริ่มในการปฏิรูปของรัฐบาลชุดนี้ได้เริ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกฏหมายใหม่ๆ ได้เริ่มที่จะลดทอนบทบาทของรัฐในบางภาคของชีวิตทางสังคมและการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับคู่ค้าต่างประเทศใหม่ๆ ได้มีขึ้นและการออกกฏหมายส่งเสริมการลงทุนที่อนุญาตให้บริษัทต่างประเทศและหน่วยงานที่สนับสนุนด้านเงินทุนเข้ามาในประเทศ การเปลี่ยนแปลงในภาพรวมของรัฐบาล ซึ่งมักถูกเรียกว่าเป็นการเปิดประเทศของพม่า ได้สร้างความประหลาดใจไว้มากมาย เพราะแทบจะไม่มีคนที่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายในรัฐบาลพลเรือนที่ถูกสร้าง พัฒนาและนำมาใช้โดยผู้อำนาจทางการทหารคิด มีบางคนข้อสงสัยว่าสิ่งที่พวกเขาได้มองเห็นในพม่าขณะนี้ จะคล้ายคลึงกับซึ่งที่เรียกว่า Glasnost หรือ การเปิดกว้าง และกระบวนการต่างๆ ที่เป็นคุณสมบัติของการเปลี่ยนแปลงของสหภาพโซเวียตในช่วยท้ายของสงครามเย็นหรือไม่ รูปแบบสงครามเย็นและการเปิดประเทศของพม่า […]

Issue 14 Sept. 2014

พัฒนาการในพม่า: อนาคตของความยิ่งใหญ่ของกองทัพ

ทฤษฎีและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการปกครองแบบตะวันตกสมัยใหม่ได้กำหนดเงื่อนไขของการเป็น “รัฐบาลที่ดี” ไว้ว่า จะต้องเป็นรัฐบาลที่การทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน  แม้แต่ในรัฐระบอบคอมมิวนิสต์ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะต้องรับบทบาทการนำด้านการปกครอง ทหารก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามและยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งรัฐ แม้ว่าสิ่งนั้นเป็นดูเหมือนเป็นเรื่องเพ้อฝันมากกว่าความเป็นจริง ในบางประเทศที่ไม่ได้อยู่ในโลกตะวันตก แนวคิดเรื่องบทบาทดังกล่าวยังคงถูกยึดมั่นเอาไว้ บ่อยครั้ง มักจะเกิดขึ้นหลังจากได้ผ่านประสบการณ์อันขมขื่น เช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ใน ค.ศ.1989 แม้แต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (Myanmar National League for Democracy – NLD) ก็สนับสนุนการที่พลเรือนมีอำนาจเหนือกองทัพทหารพม่าซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของพรรค ทั้งนี้ กองทัพพม่าสามารถเข้าครอบงำทางการเมืองได้ตั้งแต่ ค.ศ.1962 อย่างไรก็ตาม วิธีการมองเรื่องนี้ที่แยกเป็นสองขั้วที่สุดโต่ง คือแยกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารที่ต่างคอยเอาชนะกัน นับเป็นวิธีการที่ทำให้เรื่องซับซ้อนได้เข้าใจได้ง่าย และเป็นชุดเชื่อมต่อของความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างฝ่านทหารและพลเรือน อย่างไรก็ตาม […]

Issue 13 Mar. 2013

บรูไน ดารุสซาลาม : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ รัฐสมัยใหม่

          บรูไน ดารุสซาลาม :  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ รัฐสมัยใหม่ บรูไนดารุสซาลาม (นครแห่งสันติสุข) เป็นประเทศขนาดเล็ก เป็นรัฐอิสระที่มีรูปแบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี  1984  สถาบันพระมหากษัตริย์ของบรูไนสามารถที่จะสร้างอำนาจทางการเมืองให้เข้มแข็ง เกือบเรียกได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาท้าทายการควบคุมอำนาจของรัฐได้ อะไรเป็นสิ่งที่จะช่วยอธิบายความยั่งยืนของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของบรูไน? บทความนี้ตั้งสมมติฐานว่า ความสำเร็จของราชวงศ์บรูไนในการรวมอำนาจศูนย์กลางไว้ที่องค์ที่สุลต่านขึ้นอยู่กับความสามารถในการได้มาซึ่งความชอบธรรมทางขนบธรรมเนียมดั้งเดิมและทางทางศาสนา นำไปสู่ความมีเสถียรภาพของระบบกษัตริย์ ตลอดจนความสามารถในการหลีกเลี่ยงความต้องการปฏิรูปการเมือง โดยการนำเอารายได้ของประเทศที่ได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มามอบให้กับประชาชนในรูปสวัสดิภาพที่มีเม็ดเงินจำนวนมาก สุลต่านของบรูไนได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัว และความยืดหยุ่นต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจัน ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวของเจ้าผู้ครองรัฐบรูไน (ยังดี เปอร์ตวน เนการ่า) เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สุลต่านที่มีความยาวนานกว่า 600  […]

Issue 13 Mar. 2013

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในกัมพชู า

          อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในกัมพชู า สถาบันกษัตริย์แบบดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่ว่าจะได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีของศาสนา ฮินดู พุทธ หรืออิสลาม อาจจะถูกทำลายไปหรือไม่ก็ดำรงไว้โดยมหาอำนาจอาณานิคมที่ยิ่งใหญ่ มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างราชวงศ์ของพม่าก็ยังถูกทำลาย ส่วนราชวงศ์อื่นๆ ก็ได้มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด รวมถึงราชวงศ์ของสยามเช่นกัน    พระเจ้าธีบอ (Thibaw)  พระมหากษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย (ครองราชย์ระหว่าง 1 ตุลาคม 1878 ถึง 29 พฤศจิกายน 1885) ถูกเนรเทศออกไปนอกบอมเบย์ ในขณะที่ จักรพรรดิโมกุลของอินเดีย พหาทุระ ชาห์ ซาฟาร์ (ครองราชย์ระหว่าง 28  กันยายน […]