มุมมองบนหลัก “ความไม่มั่นคง 3 ประการ” ของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง

หม่อง ซาร์นี

มุมมองบนหลัก “ความไม่มั่นคง 3 ประการ” ของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงในพม่ามากกว่า 3 ปีที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ชวนให้มึนงงอย่างแท้จริง การดูคร่าวๆ ไปยังจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้สามารถโน้มน้าวผู้ที่ข้องใจเกี่ยวกับความจริงของการเปลี่ยนผ่านประเทศ  อย่างไรก็ตาม คำถามก็คือ การเปลี่ยนผ่านจะไปยังที่ใด และเราจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร

หลังจากการเยือนพม่า โทมัส คาโรเธอร์ส และลาร์รี่ ไดมอนด์ (Thomas Carothers and Larry Diamond) สองนักวิชาการชั้นนำด้านการศึกษาประชาธิปไตยของโลก ได้ข้อสรุปที่คล้ายคลึงกันคือ เป้าหมายของเนปิดอว์ (Naypyidaw) คำนิยามและวิธีการทำงานของ “ประชาธิปไตย” ยังคงขัดแย้งกับเนื้อแท้ของรัฐบาลที่ตั้งผู้บบระบบตัวแทนประชาชน

คาโรเธอร์ส 

เปรียบเทียบการปฏิรูปของพม่ากับการปฏิรูปแบบบนลงล่างของผู้นำอาหรับในช่วงทศวรรษก่อนจะถึงความรุนแรงของ Arab Springs (คลื่นการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.2010  มีทั้งการเดินขบวน การประท้วงและสงคราม) โดยได้กล่าวว่า “มาตรการของรัฐบาลอาหรับไม่ใช่การปฏิรูปที่ทำให้เกิดประชาธิปไตย แต่เป็นมาตรการความพยายามที่ดำเนินอย่างระมัดระวังเพื่อที่จะเริ่มการพัฒนาประชาธิปไตยโดยพยายามลดความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล” 1  ไดมอนด์ พูดตรงกว่านั้นว่า “ผมคิดว่าการเปลี่ยนผ่านนั้นยังคงอยู่ในขั้นที่เพิ่งเริ่มต้นมากๆ และมันไม่ค่อยชัดเจนว่าในจุดนี้ ประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งจะเป็นผลลัพธ์ของมันเอง หรือประชาธิปไตยที่มาจาการเลือกตั้งนั้นเป็นผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้” 2

Dollars-Jigsaw-แต่ทำไมประชาคมระหว่างประเทศถึงได้ร่วมมือกับอดีตนายพลและนายพลในปัจจุบันของประเทศ และได้มอบ “ความช่วยเหลือ” ให้แก่เนปิดอว์ ซึ่งมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลล่าร์ในนามของประชาชน  การปฏิรูปและการเปลี่ยนผ่านด้านประชาธิปไตย?  ในเวลาเดียวกัน ถ้อยคำของการยกย่องจากนานาชาติและความช่วยเหลือสำหรับนักปฏิรูปพม่าเหล่านี้ ได้เปิดโปงเรื่องการกวาดล้างชาวโรฮิงญา (Rohingya) และอาชญากรรมที่ขัดต่อหลักมนุษยธรรม ความรุนแรงวงกว้างที่ต่อต้านมุสลิมโดยกลุ่ม “การรณรงค์แนวพุทธแบบ neo-Nazi” (neo-Nazi Buddhist campaign) 3 การเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดของผู้อพยพจากสงครามคะฉิ่น  (Kachin War)  และรายงานเรื่องการร่วมกระทำผิดและความรับผิดชอบต่อความรุนแรงเหล่านั้นในมือของรัฐบาลพม่า 4

คำตอบที่ห้วนๆ ก็คือ “ทุนนิยมระดับโลก” นายพลพม่าเห็นชอบที่จะผลักดัยการเปลี่ยนแปลงของประเทศที่มีต่างชาติช่วยเหลือ เพื่อกู้ระบบเศรษฐกิจการเมืองตามแนวทางของตลาดเสรี เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเข้าถึงเศรษฐกิจชายแดน  (frontier economy) ที่ร่ำรวยซึ่งเกิดขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญก็คือความจริงที่ว่า การเข้าร่วมครั้งใหม่แบบสมบูรณ์ของพม่าในโลกตะวันตกเสรีนิยมนี้ยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของพม่าเองเท่านั้น ที่แตะเพียงการยอมแก้ไขบางสิ่ง ซ่อมแซมบางอย่างเท่านั้น 5

อันที่จริงแล้วหากมองผ่านมุมมองทั่วไปของนายทุนนิยมระดับโลก พม่าเป็น “แหล่งทรัพยากร” ที่สำคัญ เป็น “ตลาดชายแดน” ที่ร้อนแรงมากที่สุด 6และเป็นสลักสำคัญทางยุทธศาสตร์ของแต่ละ “กลยุทธ์ที่ยิ่งใหญ่” ในเกมการแข่งขันของมหาอำนาจ ชุมชนของมนุษย์ในฐานะการเป็น “ตลาด” และ “แหล่งที่มาของทรัพยากรและแรงงาน” กลายเป็นมุมมองที่อยู่กับเรามานาน ในการมองว่าประเทศใดๆ บนโลกต่างมีที่ดิน ทรัพยากรและแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงด้านทุนนิยมที่ถูกผลักดันโดยเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อน

จากจุดนี้ เราลองก้าวกระโดยไปสู่การจัดเวทีเศรษฐกิจโลกใน เนปิดอว์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 จะเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ประชาธิปไตย” ที่นำโดยชนชั้นนำ เกี่ยวกับ “ประชาสังคม” ที่มีทักษะ และ “ตลาดเสรี” ที่ได้รับการช่วยจากองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม แต่ในสาระสำคัญ นโยบายต่างประเทศที่มีต่อพม่าถูกออกแบบให้คัดสรรและแย่งชิงสิ่งที่ดีที่สุดมาจากตลาดชายแดนที่เหลือเพียงไม่กี่แห่งของโลก อีกที่ก็คือ เกาหลีเหนือ

Thein Sein, President of Myanmar since March 2011, at the World Economic Forum
Thein Sein, President of Myanmar since March 2011, at the World Economic Forum

ในเดือนมิถุนายนนี้ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เมดิลีน  อัลไบรท์ (Madeline Albright) โชว์การดื่มโค้กจากขวดพลาสติกขนาดใหญ่ที่งานพิธีเปิดตัวบริษัท โคคา โคล่า (Coca Cola)ในย่างกุ้ง ซึ่งเป็น หนึ่งในลูกค้าองค์กรของ Albright-Stonebridge Consulting Firm 7 เปิดโรงงานบรรจุขวดแห่งแรกในพม่า 8 ในฐานะประธานของสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (the US National Democratic Institute) หน้าที่อัลไบรท์ในการเยือนพม่าน่าจะอยู่ที่การส่งเสริมประชาธิปไตย การสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน และการเอื้อมถึง “ประชาชนผู้ซึ่งไม่เคยได้จิบ” โค้ก แต่ชาวอเมริกันไม่ได้เป็นเพียงชาติเดียวที่ทำเช่นนี้

ท่ามกลางการเปิดโปงการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาและกลุ่มมุสลิมอื่นๆ และการร่วมกระทำผิดของเข้าหน้าที่ระดับสูงของพม่า 9 รัฐอิสลามแห่งการ์ต้า (the Islamic state of Qatar) ไม่ได้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการลงนามในสัญญาการโทรคมนาคมที่มีมูลค่าจำนวนหลายพันล้านดอลล่าร์ร่วมกับพม่าและนอร์เวย์ ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยทางสันติภาพในออสโล (Oslo) สามารถลงนามในสัญญาโทรศัพท์ที่มีมูลค่ามหาศาลสำหรับ Telenor (ผู้นำระบบการคมนาคมในยุโรป) แห่งชาติร่วมกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) ผู้อาจได้รับการเสนอชื่อให้ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี ค.ศ. 2012  ขณะที่ชาวคะฉิ่น (the Kachins) ชาวกระเหรี่ยง (the Karens) ชาวฉาน (the Shan) ชาวกะเหรี่ยงแดง (the Karenni) และชาวมอญ (the Mon) ยังคงรอคอยผลลัพธ์จากการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อสันติภาพของออสโล (Oslo’s peace mediation) 10 แต่สัญญาโทรศัพท์มาก่อนสันติภาพ! Telanor เพื่อสันติภาพ !

ถ้าคาร์ล มาร์ก ยังมีชีวิตอยู่ เขาจะต้องให้คำจำกัดความกระบวนการที่พม่ากำลังดำเนินการอยู่ ว่าเป็นการฉกชิงที่ดินทุกหนทุกแห่ง ระบบเศรษฐกิจบูดเบี้ยว คนที่มีงานทำแต่รายได้น้อย สภาวะแรงงานที่โสมม การอพยพที่ถูกบีบบังคับ ความขัดแย้งที่รุนแรง การนำเข้าเทคโนโลยี สายกระบวนการผลิตแบบใหม่ เงินทุนผสม โครงการการพัฒนาขนาดใหญ่ และอื่นๆ  – ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบที่ยึดเงินเป็นฐานที่ถูกลากผ่านไปยังกระบวนการที่ไร้ความปราณีซึ่งเขาเรียกว่า “การสะสมทุนแบบป่าเถื่อน”

ณ จุดนี้ ผู้เขียนขอเสนอว่าวิธีการใหม่ของการวิเคราะห์พม่า ที่สะท้อนว่าทำไม พม่าศึกษาถึงเป็นการมองจากเลนส์ความเป็น “ตะวันออกศึกษา” ที่ล้าหลัง (Orientalist backwater) และการทำการประเมินใหม่และปรับปรุงวิธีการแบบBraudellian (Braudellian approach) ซึ่งวิกเตอร์  ลีเบอร์แมน (Victor Lieberman) ได้สนับสนุนให้ใช้สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 11 พวกเราต้องการพุ่งความสนใจไปที่กระบวนการของโลกที่กำลังดำเนินอยู่อย่างสืบเนื่อง กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงทุนนิยมของพม่าในฐานะตลาดชายแดน เพราะว่าขั้นตอนนี้สำคัญกว่าปัจจัยอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อวัตถุประสงค์การวิจัยของเราซึ่ง ก็คือ ทั้งประชาชนและตัวงานวิจัยของเราเองด้วย มุมมองที่ผู้เขียนค้นพบซึ่งตรวจสอบได้ในเชิงประจักษ์และมีความเหมาะสมที่สุดที่จะอธิบายลำดับของการเปลี่ยนแปลงที่น่ามึนงงมากที่สุด ก็คือ มุมมองที่ตั้งบน “ความมั่นคง” ที่ถูกเรียกที่นี่ว่าเป็น “มุมมองบนความไม่มั่นคง 3 ประการ” กล่าวคือ ความไม่มั่นคงของชาติ (แบบดั้งเดิม)  ความไม่มั่นคงของโลก และความไม่มั่นคงของมนุษย์

ประการแรก ความไม่มั่นคงของชาติ หมายถึง (อย่างตรงไปตรงมา) ความรู้สึกที่ถาวรของความไม่มั่นคงของรัฐชาติ ซึ่งโดยคร่าวๆ ที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในประเด็นของ “ความอยู่รอดของระบอบการปกครอง” ประการที่สอง ความไม่มั่นคงของโลก ถูกนิยามว่าเป็นความรู้สึกโดยรวมของความไม่มั่นคงและความอ่อนแอของการจัดระเบียบด้านเศรษฐกิจและการเมืองของโลก ซึ่งจะถูกจัดวางอยู่บนความมั่นคงของรัฐชาติที่มีส่วนในการสร้างเศรษฐกิจการเมืองของโลก ประการที่สาม ความมั่นคงของมนุษย์หมายถึง การขาด “ความมั่นคงของปัจเจกและชุมชนที่ซึ่งเขาหรือเธอสามารถที่จะอาศัยอยู่ที่ไม่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐและเขตแดนต่างๆ” 12

ภายใต้เปลือกแข็งที่หุ้มอยู่ การเสนอ “มุมมองบนความไม่มั่นคง 3 ประการ” นี้มีสมมุติฐานว่า หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็น ทุนนิยมโลกได้นำชุมชน สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และเศรษฐกิจการเมืองของชาติ ให้กลายมาเป็นสิ่งเดียวที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ จากจุดนี้ วาทกรรม 3 ประการของความมั่นคง ต่างช่วงชิงพื้นที่ในกระบวนการกำหนดนโยบานของรัฐและการนำนโยบานไปปฏิบัติ ในขณะที่มีการพูดถึงเกี่ยวกับระเบียบสากลที่คาดการณ์ได้และตั้งอยู่บนกฎเป็นพื้นฐาน ทุกๆ รัฐชาติจะต้องเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น สงคราม การถูกขับเคลื่อนด้วยความรู้สึกของความไม่มั่นคงจากภายในและภายนอกนี้เอง แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกายังถูกพบว่าได้เข้าไปสืบความลับจากพันธมิตร ประชาชน และศัตรู ดังเช่นเรื่องอื้อฉาวที่ถูกเปิดเผยล่าสุดในกรณี PRISM (โครงการของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) ที่ทำงานร่วมกับบริษัท Verizon ใช้ PRISM  Program ในการสอดแนมข้อมูลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคน)

ในขณะที่ทั้ง 3 ประการนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่แยกจากกัน ประเด็นของเรื่องเปราะบางต่างๆ เช่น ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ และการว่างงาน ต่างถูกจัดวางไว้เป็นสิ่งสำคัญอันดับท้ายๆ ความมั่นคงและการอยู่ดีกินดีของปัจเจกชนและชุมชนถูกเหยียบย่ำอย่างเห็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมุมมองเรื่องความไม่มั่นคงอีก 2 ประการ คือ ความไม่มั่นคงระดับชาติและระดับโลก ได้ร่วมกันก่อรูปและอยู่ร่วมกันเพื่อแย่งพื้นที่ในกระบวนการคำนวณทางกลยุทธ์และความได้เปรียบทางการเมือง สิ่งนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมคนถึงมักจะอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติของรัฐ 13 ความร่วมมือ หน่วยงานพหุภาคี และสถาบันทางการเงินต่างประเทศ ว่าร่วมกันทำให้เกิดความเสียหายแก่ชุมชนชายขอบและประชาชนที่ไม่มีหน้ามีหน้าตาในสังคม ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของพวกเขา การเข้าถึงวิถีชีวิตของพวกเขา ความปลอดภัยเสรีภาพในการเคลื่อนไหว การสมาคม และอื่นๆ

The developing Yangon pictured at night
The developing Yangon pictured at night

ผู้เขียนเชื่อว่าข้อเสนอ “มุมมองบนความไม่มั่นคง 3 ประการ” อธิบายได้ดีที่สุดเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในพม่า (เช่นเดียวกันกับกรณีอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันที่เกิดในระดับชาติ) และสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่สามารถตรวจสอบได้ของประเทศ มันยังได้จับวางการศึกษาของพม่าและเหตุการณ์ของประเทศภายใต้บริบทของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทุนนิยมที่ประเทศนี้ (พม่า) อยู่ในฐานะของ “ตลาดชายแดน” กำลังก้าวผ่าน

การมองโดยผ่านแท่งแก้วปริซึมของความไม่มั่นคงนี้จะพบว่า การปฏิรูปประชาธิปไตยแบบบนลงล่างของประเทศนี้ ยังดูจะไม่ค่อยเกี่ยวกับการทำให้พม่าเป็นประชาธิปไตยเท่าใด แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับชนชั้นปกครองของประเทศที่ทำสัญญากับพลังของทุนนิยมระดับโลก ในขณะที่เปลี่ยนภาพไปสู่การสร้างชนชั้นทางสังคมของตนเองซึ่งก็คือทุนนิยมที่สนิทชิดเชื้อกับทหาร ในข้อตกลงนี้ ประชาชนต้องเปิดกว้างตลาดชายแดนของตัวเองในการแลกเปลี่ยนกับสภาวะปกติ การได้รับการยอมรับ ความถูกต้องชอบธรรม การเข้าถึงเงินทุนและตลาดโลก และเทคโนโลยี รัฐบาลเนปิดอว์ได้เปิดประเทศไปสู่เงื่อนไขที่ตกลงกันได้และเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ซึ่งก็คือ ทหารและระบอบของทหารที่มักตั้งอยู่บนความไม่มั่นคง ในกระบวนการนี้ แม้แต่นักการเมืองที่มีอิทธิพล และยังเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นสัญลักษณ์ระดับโลกมากที่สุดอย่างอองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ก็พบว่าตัวเธอเองก็อยู่บนเวทีของระบบทุนนิยมโลก เวทีที่เธอไม่สามารถที่จะควบคุมบท ฉาก ทำนองหรือแม้แต่เนื้อร้องใดๆ ได้เลย

กรณีเปิดโปงที่ยังคงดำเนินอยู่เกี่ยวกับการกวาดล้างมุสลิมโรฮิงญา ได้นำเสนอตัวเองว่าเป็นกรณีทดสอบเชิงประจักษ์ สำหรับมุมมองแห่งความไม่มั่นคง 3 ประการ แม้ว่าความยากจนที่เลวร้ายจะแพร่กระจายไปทั่วในรัฐยะไข่ (Rakhine) ที่ซึ่งโรฮิงญาอยู่อาศัยร่วมกับชาวพุทธยะไข่ แต่เมื่อเร็วๆ นี้เรื่องนี้กลับถูกทำให้มีตำหนิโดยคลื่นความรุนแรงของมวลชน พื้นที่นี้ได้กลายเป็นกลยุทธ์และความมั่งคั่งของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เพิ่งเกิดขึ้นของพม่า  ซึ่งนั่นก็คือ ท่าเรือน้ำลึก ที่ดินทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์พร้อมด้วยศักยภาพสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการประมง พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่มีมูลค่านับพันล้านดอลล่าร์ และ สถานที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดของท่อส่งก๊าซและน้ำมันแบบคู่ของประเทศจีน

ในสงครามกลางเมืองระหว่างปากีสถานตะวันออกและตะวันตกใน ค.ศ. 1971 นายพลติกก้า (Tikka Khan) แห่งปากีสถานตะวันตกได้ประกาศคำสั่งที่สุดเย็นยะเยือกไปยังกองทัพของเขาว่า “ข้าพเจ้าต้องการแผ่นดิน ไม่ใช่ประชาชน” 14 ในเวลานี้ อาจเปรียบได้กับพม่าตะวันตก ที่ซึ่งระบอบที่ตั้งบนความมั่นคงแห่งชาติอาจมีเพียงแค่การเข้ายึดดินแดนเพียงอย่างเดียวอีกครั้ง โดยปราศจากผู้คน (ชาวโรฮิงญา)

หากไม่ได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพม่าให้ถูกต้อง ตามเส้นใยที่พันยุ่งเหยิงของทฤษฎีความไม่มั่นคง 3 ประการ ความเข้าใจของพวกเราเกี่ยวกับการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลงและการทำให้เป็นประชาธิปไตยก็จะยังคงอ่อนหัดอยู่ต่อไป ซึ่งจะไม่อ่อนหัดไปกว่าประชาธิปไตยที่อยู่ระหว่างการก่อร่างสร้างตัว โดยระบอบการปกครองที่ตั้งบนไม่มั่นคงแห่งชาติของรัฐบาลเนปิดอว์และทุนนิยมที่ไม่มีความมั่นคงในระดับโลก

หม่อง ซาร์นี (Dr. Maung Zarni) 
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาลายาและ London School of  Economics

แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย จารุณี  สุวรรณรัศมี และ ชินสึเกะ  ฮินะตะ
Kyoto Review of Southeast Asia . Issue 14 (September 2013). Myanmar

Issue14_banner)small

Notes:

  1. Interview with Thomas Carothers, Irrawaddy, 7 May 2012 <http://www.irrawaddy.org/archives/3706> (accessed 1 July 2013).
  2. Interview with Larry Diamond, Irrawaddy, 24 July 2012 <http://www.irrawaddy.org/archives/9883> (accessed 1 July 2013).
  3. Kosak Tuscangate, “Burmese neo-Nazi Movement Rising against the Muslims”, Asia Sentinel, 22 March 2013 <http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=5276&Itemid=409>  (accessed 1 July 2013). Also see, Maung Zarni, “Myanmar’s Neo-Nazi Buddhists Get Free Rein”, Asia Times, 3 April 2013 <http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/SEA-01-090413.html> (accessed 1 July 2013).
  4. “Special Report: Myanmar Gives Official Blessing to Anti-Muslim Monks”, Reuters, 27 June 2013 <http://www.reuters.com/article/2013/06/27/us-myanmar-969-specialreport-idUSBRE95Q04720130627> (accessed 1 July 2013).
  5. หากต้องการอ่านการวิเคราะห์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของนโยบายตะวันตกต่อพม่า โปรดอ่าน Maung Zarni, Burma/Myanmar: Its Conflicts, Western Advocacy, and Country Impact, The World Peace Foundation, The Fletchers School of Law and Diplomacy, Tufts University, 25 March 2013  <http://sites.tufts.edu/reinventingpeace/2013/03/25/burmamyanmar-its-conflicts-western-advocacy-and-country-impact/> (accessed 2 July 2013.)
  6. ในการเผยแพร่การเสวนาโต๊พกลมทางอินเตอร์เน็ทเกรายวกัยเศรษฐกิจของพม่า ณ ที่ประชุม World Economic Forum on East Asia iณ กรุงเนปิดอว์ เดือนมิถุนายน 2013 ประธานของการประชุม Shangri-La Dialogue และ CEO ของ London-based International Institute of Strategic Studies ได้กล่าวอย่างห้วนๆ ว่า พม่าเป็นแค่เพียงตลาดชายแดนที่ซึ่งบริษัทต่างชาติยังต้องการข้อมูลเกี่ยวกับประเทศและกิจการภายในมากกว่าที่ได้รับจากสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ
  7. ดูที่ Albright-Stonebridge Group at <http://www.albrightstonebridge.com/> (accessed 1 July 2013).
  8. “Coca-Cola Opens Myanmar Bottling Plant”, Associated Press, 4 June 2013 <http://www.komonews.com/news/business/Coca-Cola-opens-Myanmar-bottling-plant-210090851.html> (accessed 1 July 2013).
  9.  สำหรับมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มต้านต้านมุสลิมเหยียดศาสนาและบทบาทของรัฐ ดูที่ Maung Zarni, “Buddhist Nationalism in Burma”, Tricycle, Spring 2013 <http://www.tricycle.com/feature/buddhist-nationalism-burma> (accessed 1 July 2013).
  10. “Burma Awards Lucrative Mobile Contracts”, BBC, 27 June 2013 <http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-23078620> (accessed 1 July 2013).
  11.  Liam C. Kelley, “Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800-1830, Volume I: Integration on the Mainland (Review)”, Journal of World History, vol. 17, no. 1 (March 2006), pp. 102-104 <http://muse.jhu.edu/journals/jwh/summary/v017/17.1kelley.html> (accessed 1 July).
  12. See, <http://www.lse.ac.uk/internationalDevelopment/research/CSHS/Home.aspx> (accessed 1 July 2013).
  13. ความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ในการถกประเด็นเรื่องสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อมและการคอร์รับชั่นในต่างประเทศ จำเป็นต้องได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องมาจากว่าเป็นแนววิธีแบบใหม่ที่ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มบรรษัทของสหรัฐฯ และสมาคมการค้าสหรัฐฯ ดูที่ “U.S. Companies Investing in Myanmar Must Show Steps to Respect Human Rights”, New York Times, 30 June 2013 <http://www.nytimes.com/2013/07/01/world/asia/us-companies-investing-in-myanmar-must-show-steps-to-respect-human-rights.html?_r=0> (accessed 1 July 2013).
  14. “Interview of Major General Rao Farman Ali AKA: The Butcher of Bengal”, 13 March 2010   <http://etongbtong.blogspot.com/2010/03/interview-of-major-general-rao-farman.html> (accessed 1 July 2013).