การจัดลำดับความสำคัญการปฏิรูปทางการเกษตรในพม่า

ฌอน เทอร์แนล และ ไวลี แบรดฟอร์ด

ภาคการเกษตรของพม่าถูกกดให้จมอยู่ยาวนานภายใต้กระบวนการกำหนดนโยบายรัฐที่ย่ำแย่และก้าวก่าย การขาดความน่าเชื่อถือที่เรื้อรัง โครงสร้างพื้นฐานที่ขาดแคลนและไร้ประสิทธิภาพ และการขาดความมั่นคงในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิทธิในทรัพย์สินของชาวนา ความทุกข์ร้อนนี้ที่ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพทางการเกษตรที่ยิ่งใหญ่ของพม่า ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความยากจนที่เลวร้ายที่อธิบายถึงลักษณะของชีวิตประชาชนในชนบท (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่) ของประเทศ

ภายใต้การบริหารจัดการของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) ได้มีการเจรจามากมายเกี่ยวกับการปฏิรูปภาคการเกษตรของพม่า อันดับแรก ได้มีการจัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติ” หลายครั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปฏิรูปเศรษฐกิจของพม่าที่ได้อุทิศให้กับภาคการเกษตรเป็นพิเศษ สิ่งนี้มาพร้อมกับคำแนะนำจำนวนหนึ่งที่ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่การผลิตที่เพิ่มขึ้น ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของชนบท การเข้าถึงวัตถุการผลิตที่มีราคาเหมาะสม และการเปิดให้มีการกู้ยืมที่กว้างขวางขึ้น (มุ่งเน้นไปที่การกู้ยืมในระดับจุลภาค) จากนั้น ได้มีการประชุมอื่นๆ ที่ทุ่มเทให้กับการเกษตร ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันในระดับพหุภาคี หน่วยงานด้านการพัฒนา และนักลงทุนต่างประเทศที่มีศักยภาพ มีประเด็นในการประชุมที่คล้ายคลึงกัน

การปฏิรูปที่หยุดชะงัก

แม้เงื่อนไขที่กล่าวข้างต้นยังคงอยู่ รวมถึงโวหารของรัฐบาลในการสนับสนุนการปฏิรูป แต่ในความเป็นจริง ความก้าวหน้าด้านการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมยังคงมีไม่มากนัก การเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทุกมิติของภาคเกษตรกรรมเป็นความต้องการอย่างเร่งด่วน ที่ต้องเริ่มต้นด้วยการกำจัดการบิดเบือนทางทางการตลาดที่ยังคงเป็นปัญหายาวนานของภาคการเกษตร อาทิ การควบคุมการผลิตของรัฐในหลายๆ สินค้า ข้อจำกัดด้านการส่งออกและการสั่งการจัดซื้อ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ แม้รัฐบาลยุคปัจจุบันจะเข้าใจว่าเป็นปัญหา แต่ก็ยังคงอยู่ต่อไปซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากรัฐบาลทหารในอดีต ความสำเร็จของพม่าในฐานะของผู้ส่งออกถั่วและเมล็ดพืชต่างๆ ในช่วงหลายปีนี้ (ปัจจุบันพม่าเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของสินค้ากลุ่มนี้) แสดงให้เห็นว่า ชาวนาชาวไร่และผู้ค้าที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที การค้าถั่วและเมล็ดพืชได้รับการเปิดเสรีไปเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา ต่างไปจากพฤติกรรมของรัฐในการเข้าแทรกแซงสินค้าอื่นๆ

แต่การยกเลิกข้อกำหนดและข้อจำกัดด้านการค้าแม้ว่าจะเป็นสิ่งจำเป็นกลับ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะฟื้นฟูภาคการเกษตรที่ไม่ได้รับความใส่ใจมานาน 1 ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารยุคก่อน พื้นที่ในชนบทมักถูกทอดทิ้งจนเรื้อรัง ดังนั้นผลสรุป โครงสร้างพื้นฐานในชนบทตกอยู่ในสภาวะด้อยพัฒนา และหมู่บ้านหลายแห่งไม่มีถนนที่ดีที่จะเชื่อมต่อพวกเขากับตลาดระดับชาติ (หรือแม้แต่ระดับภูมิภาค) ปุ๋ยและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการผลิตไม่มีสำหรับชาวไร่ชาวนาในหลายพื้นที่ ระบบชลประทานอยู่ในภาวะตื้นเขิน กาสรขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ สารกำจัดศัตรูพืช เครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงเชื้อเพลิงที่กลายมาเป้นสินค้าที่ชาวไร่ชาวนาไม่สามารถหาเงินมาซื้อได้ การเปิดเสรีทางการตลาดจะช่วยแก้ปัญหาบางส่วนนี้ได้ แต่ในช่วงเวลาระยะสั้นจนถึงปานกลาง ภาคการเกษตรของพม่าต้องการเงินทุนสาธารณะและการลงทุน โดยเฉพาะในการสร้างถนน สะพาน ระบบชลประทาน และไฟฟ้า เช่นเดียวกันกับการจัดระบบการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

Rice Cultivation, Chin State, Myanmar
Rice Cultivation, Chin State, Myanmar
 

การปฏิรูปและความคิดริเริ่มที่จำเป็นเพิ่มเติม

ร่างเค้าโครงโดยสรุปที่ปรากฏข้างล่างนี้เป็นบางส่วนของมาตรการที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนรูปโฉมของการเกษตรในพม่า มาตรการที่จำเป็นเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่ถือได้ว่าเป็น “หลักปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในระดับสากล” ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในพม่าโดยผ่านหลายๆ องค์กรของโลก (รวมทั้งธนาคารโลก องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ [United States Agency for International Development  – USAID] และองค์กรหลายแห่งที่อยู่ในกรอบขององค์การสหประชาชาติ) 2:

  • ยุติระบบการมอบใบอนุญาตในการส่งออกของพม่า ในปัจจุบัน ระบบนี้ได้สร้างข้อจำกัดให้กับตลาดในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตของเกษตรกรพม่า นอกจากนี้ยังจำกัดทางเลือกในการขายของเกษตรกรและเพิ่มความกดดันราคาหน้าฟาร์ม การผลิตสินค้าเกษตรให้กับตลาดโลกมีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของแรงจูงใจที่จะผลิตข้าวให้ได้มาตรฐานสูง ที่มีราคาที่ดีกว่าราคาของข้าวหักชนิดต่างๆ ที่พม่าส่งออกไปยังแอฟริกาขณะนี้
  • การกำจัดข้อจำกัดของภูมิศาสตร์ภายในด้านการตลาดและการค้าข้าวที่ยังคงเหลืออยู่ ข้อจำกัดเหล่านี้ปฏิเสธชาวนาชาวไร่พม่าถึงความสามารถของพวกเขาในการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปยังพื้นที่ที่ขาดแคลนข้าว (ที่ซึ่งราคาอยู่ในเกณฑ์สูง) และเพื่อการได้รับผลประโยชน์ที่ได้จากการค้าโดยทั่วไป ในด้านสาระสำคัญ ข้อจำกัดเหล่านี้ได้แบ่งพม่าออกเป็นตลาดเล็กๆ ที่หลากหลาย ที่ซึ่งราคามีความผันผวนและความมั่นคงทางอาหารอยู่ในภาวะเสี่ยง การถอนข้อจำกัดของการค้าภายในด้านผลิตภัณฑ์การเกษตรในพม่าอาจพิจารณาได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนในงานการปฏิรูปด้านเกษตรกรรมที่มีประโยชน์
  • การมอบสิทธิให้ชาวนาชาวไร่ของพม่าในด้านการผลิตอย่างสมบูรณ์ ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ชาวนา ชาวไร่พม่าถูกสั่งให้ผลิตสินค้าเฉพาะบางประเภท (ส่วนใหญ่เป็นข้าว) โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาวะท้องถิ่น สิ่งนี้มีผลกระทบต่อการลดลงของผลผลิตและลดรายได้ของชาวนาชาวไร่ลง การให้อิสระที่จะตัดสินใจเองว่า “อะไร อย่างไร และเมื่อไร” ในการผลิต จะเปิดโอกาสให้ชาวนาชาวไร่พม่าก้าวไปสู่การผลิตที่ได้ผลผลิตด้านพืชผลมากขึ้น และมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น (เช่น ความหลากหลายในการปลูกพืชสวน ปศุสัตว์ขนาดเล็ก การประมง และอื่นๆ) การยินยอมให้มี “สิทธิการผลิต” ในลักษณะนี้ในเวียดนาม (เพื่ออ้างอิงว่าเป็นว่าเป็นเพียงหนึ่งในต้นแบบสำคัญสำหรับพม่า) เป็นนโยบายที่สำคัญมากที่สุดนโยบายหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเวียดนามในฐานะของผู้ผลิตอาหารโลกที่มีความสำคัญ
  • การส่งเสริมความรู้ด้านการตลาด หนึ่งในนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรกรรมในโลกเกิดขึ้นจากการแพร่หลายในการใช้โทรศัพท์มือถือ และด้วยเหตุนี้ นำไปสู่การเข้าถึงของข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด ในแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน ที่ๆ โดยเฉพาะในความสามารถของชาวนาชาวไร่ในการเปรียบเทียบราคาสินค้าเกษตรในตลาดในแต่ละเมืองที่แตกต่างกัน รวมถึงการใช่เทคโนโลยีนี้ในการส่งผลผลิตไปสู่ตลาด ขณะนี้ การปฏิรูปภาคโทรคมนาคมของพม่าขณะนี้ยังอยู่ภายใต้การดำเนินการ แม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมายังคงไม่แน่นอน
  • การปรับเปลี่ยนระบบอัตราการแลกเปลี่ยนที่ดีขึ้นและนโยบายการนำเข้า หนึ่งในองค์ประกอบ “เศรษฐกิจมหภาค” ที่มีผลสำคัญต่อรายได้ของชาวนาชาวไร่พม่าคืออัตราการแลกเปลี่ยน 3  ในความเคลื่อนไหวที่ได้รับการตอบรับที่ดีเมื่อปีที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าได้ย้ายเงินจ๊าดพม่าไปสู่ระบอบที่เป็นแบบ “การลอยตัวที่มีการจัดการ” แต่การหมุนเวียนด้านทุนที่เข้มข้นขึ้นและการรายได้ที่พม่าได้รับจากทรัพยากรธรรมชาติส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินพม่าสูงขึ้นอย่างมาก (สูงมากเท่ากับ K850:USD1) สิ่งนี้มีผลกระทบของการลดลงของรายได้จากต่างประเทศของชาวนาชาวไร่พม่าใน 2 ทาง  ประการแรก มันทำให้การส่งออกหลักของพม่าแพงมากขึ้น และดังนั้น ทำให้สามารถที่จะแข่งขันกับผู้จัดหาอื่นๆ ได้น้อยลง (โดยเฉพาะกลุ่มที่มาจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังคงแข็งขันที่จะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ)  ประการที่สอง และส่วนที่เกี่ยวโยงกับการที่สินค้าเกี่ยวข้องมีกำกำหนดราคาและการชำระในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ มันจะมีส่วนในการลดลดรายได้ที่เป็นเงินจ๊าดของชาวนาชาวไร่ครั้นที่รายได้จากการส่งออกถูกกลับเข้าสู่ประเทศ ความใส่ใจต่อการกำหนดเป้าหมายด้านการบริหารจัดการอัตราการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะจึงเป็นเรื่องจำเป็น และจำเป็นต้องมีการใช้นโยบายที่ครอบคลุมสามารถที่จะถูกออกแบบให้สนับสนุนอัตราการแลกเปลี่ยนที่ทำให้การแข่งขันของพม่ามีมากขึ้น นอกจากนี้ การปฏิรูปที่จำเป็นจะต้องได้รับการนำมาปฏิบัติเพื่อเปิดเสรีระบบการอนุญาตนำเข้าของพม่า การเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จะมีส่วนลดมูลค่าของเงินจ๊าดได้ ในขณะที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคพม่าเข้าถึงสินค้าที่ถูกกว่าและมีคุณภาพดีกว่าได้ดีขึ้น (ทุนและผู้บริโภค) เช่นเดียวกันกับการเข้าถึงวัตถุการผลิตด้วย
  • การส่งเสริมการประกันทางการเกษตร ในประเทศอื่นๆ รายได้ของชาวนาชาวไร่ได้รับความคุ้มครองจากกรณีที่ราคาที่สูงเกินความจำเป็นและการชะลอตัวของผลผลิต (และภัยธรรมชาติต่างๆ) ผ่านโครงการการประกันภัยทางการเกษตร  สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในบริบทนี้ก็คือ การจัดการด้านประกันภัยที่ขึ้นกับดัชนีชี้วัด ภายใต้โครงการเหล่านี้ ชาวนาชาวไร่ได้รับค่าเสียหายเมื่อผลผลิตในพื้นที่ตกลงต่ำกว่ามูลค่าที่กำหนดโดยดูจากค่าเฉลี่ยของการดำเนินการระยะยาว (หรือเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ ตามความเหมาะสม) การใฃ้ประโยชน์ของโครงการการประกันภัยประเภทดังกล่าวหมายรวมถึง “ความไม่ซับซ้อนของการประกันภัย” (เช่น การไม่เรียกร้องให้มีการประเมินในทุกๆ ฟาร์ม) และความโปร่งใส (ข้อมูลเปิดเผยและเข้าถึงได้อย่างเสรี) โครงการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้ในสหรัฐอเมริกา อินเดีย แคนาดา มองโกเลีย และอีกหลายๆ ประเทศ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการรับรองจากธนาคารโลก ทางเลือกทางหนึ่งด้านนโยบายอยู่ที่การจัดระดับเป็นระดับของเบี้ยประกันถูกเรียกเก็บที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล หลายประเทศเข้าร่วมการประกันดังกล่าวและได้ให้เงินค้ำจุนแก่ชาวไร่ชาวนา
  • แน่นอนว่า หนึ่งในค่าเสียหายที่สำคัญที่ชาวนาชาวไร่พม่าต้องประสบ มาจากการขาดแคลนเงินทุนชนบทที่เป็นทางการ การให้กู้เงินอย่างเป็นทางการในปริมาณที่เพียงพอ ไม่มีให้แก่ชาวนาชาวไร่พม่าที่อยู่ภายนอกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบรรษัทขนาดใหญ่ หมายความว่า ผู้ให้กู้ยืมเงินกลุ่มเล็กๆ กลุ่มนี้เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ชาวนาส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บโดยกลุ่มผู้ให้กู้นี้สูงถึงร้อยละสิบต่อเดือนซึ่งถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป ผลลัพธ์ของการขาดเงินทุนทำให้ชาวนาชาวไร่ในพม่ามักจะประกอบการเพาะปลูกโดยปราศจากปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มผลผลิต เช่น ปุ๋ย หรือหันไปใช้วิธีการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งก็จะเป็นการลดผลผลิตลงไปด้วย ขณะเดียวกัน ชาวนาชาวไร่ที่มีหนี้ก้อนใหญ่ ถูกดักให้ติดกับแห่งเกลียวหนี้จนท้ายที่สุดมักจะจบลงด้วยการสูญเสียสิทธิในการใช้ที่ดินของพวกเขาเองและยากจนมากยิ่งขึ้น
  • การสร้างระบบการธนาคารชนบทในพม่าที่สามารถปฏิบัติการได้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งนั้น ควรจะเป็นสิ่งที่สำคัญลำดับแรก โดยเริ่มด้นด้วยการปฏิรูปแบบฉับพลันที่สามารถเริ่มต้นการไหลเวียนของเงินทุน สิ่งเหล่านี้ รวมถึงการถอดถอนข้อจำกัดของธนาคารเอกชนของพม่าในการให้ชาวนาชาวไร่กู้ยืมเงิน  (ให้สินเชื่อ) การกำจัดเพดานอัตราดอกเบี้ยที่ใช้กับธนาคารทุกแห่ง การขยายหลักประกันต่อความเสียหายที่อาจเกิดกับสนค้าเกษตรทุกชนิดที่ธนาคารต้องรับผิดชอบ การอนุญาตการเข้าถึงของธนาคารระดับโลกที่ได้รับการยอมรับ ด้วยการเชื่อมต่อของห่วงโซ่อุปทาน(ความต้องการขาย) ของสินค้า ความต่อเนื่องในการสนับสนุนการเติบโต (อย่างรอบคอบ) ของภาคการเงินจุลภาค (microfinance) ในพม่า การปฏิรูปและการระดมทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรแห่งพม่า (Myanmar Agricultural Development Bank – MADB) ที่มีอยู่

การปฏิรูปที่ดิน

หนึ่งในอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคการเกษตรของพม่าคือความจริงที่ว่า ที่ดินในชนบททั้งหมดมีรัฐเป็นเจ้าของอย่างเป็นทางการ  ในช่วงท้าย ค.ศ.2011 ร่างกฎหมายใหม่ 2 ฉบับได้ผ่านรัฐสภา เพื่อจุดมุ่งหมายในการให้ความมั่นคงทางด้านการครอบครองทรัพย์สินและสิทธิในการค้าขายที่ดินแก่ชาวนาชาวไร่ ร่างกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่ในการเพาะปลูก (the Farmland Bill) และร่างกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินที่ว่างเปล่า ที่ดินที่พักจากการเกษตร และที่ดินที่ยังไม่เคยทำการเกษตรมาก่อน (the Vacant, Fallow and Virgin Lands Bill) ตามจริง ร่างกฎหมาย 2 ฉบับนี้กลับให้โอกาสที่ดูเหมือนจะไม่มากนักแก่ชาวนา แต่กลับไปช่วยพรรคพวกของธุรกิจทางการเกษตรขนาดใหญ่ได้ “ฉกฉวย” ที่ดินผืนใหญ่จากชาวนาชาวไร่ได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกฏที่ระบุในกฏหมายที่ปฏิเสธชาวนาชาวไร่เกี่ยวกับสิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะทำการเกษตร “อะไร เมื่อใด และอย่างไร”  สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในกฏหมายเหล่านี้คือการให้สิทธิกลุ่มผู้บริหารกลุ่มใหม่ (นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและการชลประทาน) ในการตัดสินขอบเขตของที่ดินที่จะใช้ “สิทธิในการฉกฉวยที่ดิน” (eminent domain) ซึ่งในอดีตก็เคยถูกนำไปใช้ในการย้ายที่ดินให้ห่างไกลจากชาวนาชาวไร่รายย่อย

Woman selling vegetables at the local market
Woman selling vegetables at the local market

การให้กรรมสิทธิ์เหนือที่ดินแก่เกษตรกรพม่าและมั่นคงในการครอบครองทรัพย์สิน จะต้องเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับสูงสุดของรัฐบาล ในช่วงระยะเวลาเฉพาะหน้านี้ สิ่งนี้ต้องทำคือการทบทวนกฎหมายข้างต้น พร้อมๆ ไปกับการเลื่อนชำระหนี้ในระยะสั้นสำหรับการโอนที่ดินขนาดใหญ่ในชนบท นอกจากการกระทำโดยฉับพลันทันทีเหล่านี้ พม่าควรที่จะศึกษาประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ด้วย คำถามทั้งหมดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินในสถานการณ์ที่เปลี่ยนผ่านนั้นเป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆ ได้ต่อสู้ดิ้นรนมานานกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และตลอดเส้นทาง ได้เกิดวิธีแก้ไขปัญหาแบบใหม่ๆ (ไม่ว่าจะเป็นการใช้กลวิธีทางด้านจุลภาคแบบแบบสากล หรือวิธีที่หลากหลายของธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับการครอบครองทรัพย์สิน

บทสรุป

ภาคการเกษตรของพม่ามีความสำคัญต่อประชาชนส่วนใหญ่ และยังคงเป็นภาคที่นำรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (Gross Domestic Product -GDP) ในระยะยาวและในบริบทการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารโลก ความต้องการสินค้าเกษตรของประเทศเพื่อนบ้าน และความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำของพม่า ปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของพม่าได้ ภาระหน้าที่ของรัฐบาลปัจจุบันของพม่าคือการทำให้ศักยภาพนี้เป็นที่ประจักษ์ และในการทำให้พม่าเป็นแหล่งของสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชีย

ฌอน เทอร์แนล และ ไวลี แบรดฟอร์ด
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม็คควารี่ ออสเตรเลีย

แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย จารุณี  สุวรรณรัศมี และ ชินสึเกะ  ฮินะตะ
Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar
 

Notes:

  1. Steven Haggblade et alA Strategic Agricultural Sector and Food Security Diagnostic for Myanmar, Report for USAID, 2013 <http://fsg.afre.msu.edu/Burma/> (accessed May 12, 2013).
  2. ดูที่ Haggblade et al (2013) op.cit; and, World Bank (2013), Myanmar – Interim Strategy Note for the Period FY 13-14, 30 October 2012 <http://www-wds.worldbank.org/external/default/WDSContentServer/WDSP/IB/2012/10/12/000386194_20121012024925/Rendered/PDF/724580ISN0IDA00Official0Use0Only090.pdf> (accessed May 20, 2013).
  3. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการสูงเพิ่มขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนพม่า ดูที่  David Dapice, Myanmar: Negotiating National Building, Ash Center, Harvard Kennedy School, 31 May 2012 <http://www.ash.harvard.edu/extension/ash/docs/nationbuilding.pdf> (accessed May 19, 2013).