บรูไน ดารุสซาลาม : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ รัฐสมัยใหม่

Naimah S Talib

         
บรูไน ดารุสซาลาม :  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ รัฐสมัยใหม่

บรูไนดารุสซาลาม (นครแห่งสันติสุข) เป็นประเทศขนาดเล็ก เป็นรัฐอิสระที่มีรูปแบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี  1984  สถาบันพระมหากษัตริย์ของบรูไนสามารถที่จะสร้างอำนาจทางการเมืองให้เข้มแข็ง เกือบเรียกได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาท้าทายการควบคุมอำนาจของรัฐได้ อะไรเป็นสิ่งที่จะช่วยอธิบายความยั่งยืนของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของบรูไน? บทความนี้ตั้งสมมติฐานว่า ความสำเร็จของราชวงศ์บรูไนในการรวมอำนาจศูนย์กลางไว้ที่องค์ที่สุลต่านขึ้นอยู่กับความสามารถในการได้มาซึ่งความชอบธรรมทางขนบธรรมเนียมดั้งเดิมและทางทางศาสนา นำไปสู่ความมีเสถียรภาพของระบบกษัตริย์ ตลอดจนความสามารถในการหลีกเลี่ยงความต้องการปฏิรูปการเมือง โดยการนำเอารายได้ของประเทศที่ได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มามอบให้กับประชาชนในรูปสวัสดิภาพที่มีเม็ดเงินจำนวนมาก สุลต่านของบรูไนได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัว และความยืดหยุ่นต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจัน

Naimah S Talib

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

เรื่องราวของเจ้าผู้ครองรัฐบรูไน (ยังดี เปอร์ตวน เนการ่า) เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สุลต่านที่มีความยาวนานกว่า 600  ปี ซึ่งเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ สุลต่านในปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์  ทรงเป็นสุลต่านลำดับที่ 29 ประเทศบรูไนมีประชากรเพียงประมาณ 400,000 คน ประกอบด้วยเชื้อสายมาเลย์ร้อยละ 66 และมีลักษณะภูมิประเทศที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่ถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักของประเทศมาเลเซีย หลังจากที่สถาบันกษัตริย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดของอำนาจในศตวรรษที่สิบหก ก็ตามด้วยจุดถดถอยลง และต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้า อาณาเขตของบรูไนก็ลดน้อยลงเนื่องจากอิทธิผลของตระกูล เจ้าผู้ครองรัฐซาราวัก  แต่การเข้ามาลักธิอาณานิคมอังกฤษในปี 1906 มีส่วนช่วยรักษาสถาบันกษัตริย์ของบรูไนไว้ ช่วงถึงช่วงปลายปี ค.ศ.1959 การนำเสนอการปกครองรูปบบใหม่ที่ให้อำนาจในการปกครองด้วยตัวเองแก่บรูไน มีส่วนในการฟื้นอำนาจทางการเมืองของสุลต่าน

รัฐธรรมนูญใหม่ที่ประกาศใช้ในปี 1959 ระบุไว้ถึงสภานิติบัญญัติที่สมาชิกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งพรรค Brunei Rakyat Party (PRB)  ก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามาทำงานในสภานิติบัญญัติแต่เพียงพรรคเดียว อย่างไรก็ตาม การต่อต้านด้วยอาวุธต่อการรวมตัวกับมาเลเซียในปี 1962 กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง การก่อจราจลที่เกิดขึ้นในปีนั้นได้ถูกปราบปรามโดยอังกฤษอย่างทันที นับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของบรูไน สะท้อนถึงความเปราะบางของระบบการเมืองภายใน ขณะเดียวกัน ก็เปิดโอกาสให้สุลต่าน โอมา อาลี ไซฟัดดิน ที่ 3 ประกาศภาวะฉุกเฉิน และเลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป รวมไปถึงให้ความชอบธรรมต่อสถาบันกษัตริย์ใมการปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับมาเลเซีย เพื่อที่จะปฏิเสธที่อยู่ถูกกดดันจากอังกฤษในแก้ไขรัฐธรรมนูญ สุลต่านได้ทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรส พระนามว่า ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ ขึ้นมาครองราชย์แทน อาจกล่าวไว้ว่า ระบบอาณานิคมของอังกฤษทำให้สถาบันกษัตริย์ที่มีความอ่อนแอและขาดเอกภาพได้ฟื้นตัวขึ้น เปิดโอกาสให้สถาบันกษัตริย์ปรับตัวจวกลายมาเป็นระบบการปกครองแบบรวมอำนาจ

การสร้างรัฐดั้งเดิมในรูปแบบใหม่

นักวิชาการหลายๆท่านได้ตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นักทฤษฎีเรื่องความทันสมัย อย่างเช่น ฮันทิงตัน กล่าวว่า การปกครองโดยระบอบกษัตริย์นั้นไม่สามารถที่จะต้านทานหรือต่อสู้กับแรงกดดันจากการก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ได้    ราชวงศ์ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ฮันทิงตันหรือนักวิชาการหลายๆท่านเรียกว่า  “King’s dilemma” หรือทางสองแพ่งของกษัตริย์ กล่าวคือ ความทันสมัยได้ลดทอนอำนาจของกษัตริย์บังคับให้กษัตริย์จะต้องแบ่งปันอำนาจให้กับกลุ่มทางสังคมใหม่ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น กลุ่มคนเมืองชั้นกลางที่กำลังขยายตัว   ตามทฤษฎีความทันสมัย กลุ่มคนชั้นกลางผลักดันเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น และนี่เองก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบกษัตริย์

อย่างไรก็ตามราชวงศ์ในประเทศแถบตะวันออกกลางและบรูไนเองสามารถที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนตรงนี้ด้วยการพัฒนาตัวเองให้เป็นรัฐดั้งเดิมแบบใหม่ หรือ  neo-traditional states  สถาบันกษัตริย์ในประเทศเหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งความเป็นอนุรักษ์นิยม  มีลักษณะการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร และความเป็นเผด็จการที่ค่อนข้างสูงมาก  โดยใช้รูปแบบการปกครองที่อ้างอิงกับหลักของศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม และเพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาวะทางสังคมและเศรฐกิจ   การค้นหาความชอบธรรมยังรวมไปถึงนโยบายทางเศรฐกิจผ่านทางการมอบสวัสดิการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน

หลังจากที่ได้ประกาศเอกราชในปี 1984 ประเทศบรูไนได้เผชิญกับภาระที่หนักหน่วงในการสร้างสถาบันของประเทศ  แม้ว่าสุลต่านจะมีอำนาจเด็ดขาด แต่ขณะเดียวกัน ก็เข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาสถาบันทางการเมืองการปกครองอย่างแท้จริงที่จะเข้ามาช่วยตอบสนองต่อความต้องการในการบริการรัฐสมัยใหม่  รูปแบบของกระทรวงได้ถูกประกาศขึ้นในปี  1984 แต่สุลต่านก็ยังคงไว้ซึ่งพระราชอำนาจโดยการกำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาเรื่องทางสองแพ่ง หรือ “king’s dilemma”  สุลต่านได้รับเหล่าข้าราชการรุ่นใหม่ผู้มีการศึกษาสูงเข้ามาทำงานในรัฐบาล เพื่อที่จะช่วยลดความไม่พอใจที่อาจจะเกิดจากกลุ่มทางสังคมใหม่ๆ รวมถึงความสามารถในการลดการพึ่งพาผู้นำอื่นๆ ที่อยู่ในราชวงศ์ของสุลต่านเอง กลุ่มเทคโนแครดและผู้นำที่มีการศึกษาเหล่านี้ต่างได้รับตำแหน่งที่สำคัญๆในรัฐบาล    พระราชโอรสของสุลต่าน พระนามว่า  ฮาจิ อัล มุทะดี บิลลาห์ ได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารแห่งบรูไนเมื่อปี 1998 ก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโสในปี 2005   มกุฎราชกุมารแห่งบรูไนยังได้รับบทบาทที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาด้วย อาทิ โดยประกอบพระกรณียกิจแทนองค์สุลต่าน  เป็นประธานในสาณธารณะ ตลอดจนการต้อนรับแขกต่างประเทศเพื่อแสดงให้เห็นถึงความราบรื่นในช่วงของการส่งต่อพระราชอำนาจ  ตั้งแต่ได้เป็นประเทศเอกราชเป็นต้นมา สุลต่านและราชวงศ์ผู้ใกล้ชิดก็ได้รวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง โดยไม่มีความพยายามที่จะพัฒนาเกี่ยวกับผู้แทนของรัฐบาลแต่อย่างใด

Hassanal Bolkiah, Sultan of Brunei
Hassanal Bolkiah, Sultan of Brunei

นอกเหนือจากการรับเอาผู้มีการศึกษาสูงมาอยู่ในตำแหน่งผู้บริหาร และตำแหน่งทางราชการของรัฐบาลแล้ว  สุลต่านก็ได้รับความชื่นชมจากปราชาชนเป็นที่กว้างขวางโดยเฉพาะต่อแผนสวัสดิการต่างๆ เศรษฐกิจของบรูไนนั้นขึ้นอยู่กับทรัพยาการทางธรรมชาติ มากกว่าร้อยละ 90 ของรายได้จากการส่งออกมาจากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งมากกว่าครึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั้งหมด รัฐบาลบรูไนกลายมาเป็นสถาบันที่มีการจ้างงานมากที่สุด ปัจจุบันมีการจ้างงานชาวบรูไนกว่าร้อยละ 25 และรัฐบาลก็ยังยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงยิ่งขึ้น  ผลิตภัณฑ์ในประเทศต่อประชากร 1 คนอยู่ที่ 51,760 เหรียญสหรัฐ  ซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุดเท่าๆ กับบางประเทศในเอเชีย     อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ในปี 2011 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น  อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และไม่มีการเรียกเก็บภาษีบุคคลธรรมดา ความสามารถของสุลต่านในการจัดการแผนสวัสดิการเป็นปัจจัยที่นำมาซึ่งความชอบธรรมที่รัฐต้องการเป็นอย่างมาก ในสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ปราศจากตัวแทนทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

สภาพสังคมของบรูไนมีข้อจำกัดค่อนข้างสูง และยังมีการควบคุมสื่อ   การกำหนดกฏระเบียบที่มีความฉึกเฉินจะได้รับการพิจารณาทุกๆสองปี ถึงแม้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์ที่เป็นภัยอันตรายเกิดขึ้นกับราชวงศ์ก็ตามตั้งแต่ปี 1962  สิ่งท้าทายใดๆ จะถูกตอบโต้ด้วยมาตรการที่เด็ดขาดและรวดเร็ว หนึ่งในพรรคการเมืองในยุคแรกๆ ได้แก่พรรคการเมือง  Brunei National Democratic Party (BNDP) ซึ่งก่อตั้งในปี 1985 ภายใต้แกนนำของ อับดุล ลาทีฟ ชูชู ได้ถูกถอดถอนจากทะเบียนพรรคการเมืองในปี 1988 และนายอับดุลเองก็ถูกจับกุมตามประกาศสภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากมีการเรียกร้องให้จัดตั้งรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ยกเลิกกฎหมายฉุกเฉิน และการจัดให้มีการเลือกตั้ง ต่อมา มีพรรคการเมืองใหม่หลายๆ พรรคเกิดขึ้นแต่มีสมาชิกค่อนข้างน้อย  ซึ่งพรรคการเมืองเหล่านี้ต่างเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ในที่สาธารณะ แม้ว่าจะไม่มีการแสดงออกทางการเมืองมากนัก พรรคการเมืองเหล่านี้ก็ยังคงถูกถอดถอนจากทะเบียนพรรคการเมือง   โดยพรรคการเมืองเดียวที่ยังคงเหลืออยู่ในบรูไนในปัจจุบันคือ  National Development Party

ในขณะที่บรูไนกำลังเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และค่อยๆ พัฒนามาเป็นชาติที่สมบูรณ์ ชาวบรูไนก็ยังคงคาดหวังถึง การจัดให้มีการเลือกตั้งและโอกาสที่จะได้มีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี  2004 กลับยิ่งทำให้อำนาจสุลต่านเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าระบบเดิมที่เปิดโอกาสให้สภานิติบัญญัติบางส่วนมาจากการเลือกตั้งได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปี 2004 แต่สมาชิกทั้งหมดกลับได้รับการแต่งตั้ง ประกอบไปด้วย สุลต่าน พระเชษฐา  (เจ้าชายมูฮัมหมัด โบลเกียห์)  คณะรัฐมนตรี สมาชิกอาวุโสจากภาคเอกชน และตัวแทนจากที่มาจากหลายๆ เขต การฟื้นสภาพของสถานิติบัญญัติมีหน้าที่ในความเห็นชอบต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2004 รวมไปถึง การออกกฎหมายให้สุลต่านมีอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ และการอยู่เหนือกฎหมายทั้งในเรื่องทางราชการและเรื่องส่วนตัว นอกจากนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เพื่อลดบทบาทของสภานิติบัญญัติ   ถึงแม้ว่าจะกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ที่ผ่านมา สภาก็มักจะให้ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีการจัดประชุมสภาเพียงหนึ่งครั้งในเดือนมีนาคม เพื่อที่จะปรึกษาหารือเรื่องงบประมาณและปัญหาเกี่ยวกับการบริหารการปกครองที่เกี่ยวข้องกับประชาชน

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี  1959 สภามีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษา และให้ความเห็นชอบก่อนที่จะมีการออกกฎหมายใดๆ แต่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขในปี 2004 กลับไม่ได้ให้ความสำคัญในจุดนี้ ดูเหมือนว่า สภานิติบัญญัติจะเป็นเพียงแค่ “meaningless rubber stamp chamber” หรือ “ตรายางของสภาซึ่งไร้ความสำคัญ”    แนวโน้มที่สมาชิกของสภาที่จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงในอนาคตนั้นดูเป็นไปได้ยาก เตย์กล่าวว่าว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2004 นี้ ทำให้ สุลต่านกลายมาเป็นรากฐานของระบบกฎหมายของบรูไน  ฮอร์ตันกล่าวไว้ว่า  การแก้ไขรัฐธรรมนูญแสดงถึงความปรารถนาที่จะห่อหุ้มประเทศไว้ด้วยประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ซึ่งไม่ได้มีการนำไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง

การสนับสนุนอุดมการณ์แห่งชาติ

Emblem of Brunei
Emblem of Brunei

หลังจากที่ได้รับเอกราช สุลต่านก็ได้ส่งเสริมและสนับสนุนอุดมการณ์ราชาธิปไตยอิสลามมลายู  หรือ (Malay Islamic Monarchy or MIB) เพื่อสร้างความจงรักภักดีของประชาชนในชาติ อุดมการณ์นี้ได้กลายมาเป็นพื้นฐานสำคัญของความชอบธรรมของสุลต่าน โดยการเชิดชูให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิของประชาชนชาวบรูไนเชื้อสายอิสลาม ตลอดจนการให้ความชอบธรรมต่อรูปแบบการปกครองโดยสถาบันกษัตริย์ที่ยังมีการสืบทอดอำนาจทางสายโลหิต อุดมการณ์นี้ทำให้สถาบันกษัตริย์กลายมาเป็นผู้พิทักษ์ศาสนาอิสลาม

หลักปรัชญาการปกครองราชาธิปไตยอิสลามมลายู หรือ MIB ถูกร่างขึ้โดยเจ้าหน้าที่ที่มีความใกล้ชิดกับสุลต่าน สะท้อนความพยายามที่จะสร้างอัตลักษณ์ของชาติให้มีความเชื่อมโยงกับหลักของศาสนาอิสลาม    วัฒนธรรมมลายู และความจงรักภักดีต่อสุลต่าน เปฮิน ฮะจ์ อับดุล อาซิส อูม่า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงหลักปรัชญาการปกครอง ราชาธิปไตยอิสลามมลายู หรือ MIB ไว้ว่า รูปแบบการปกครองที่มีมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า  600 ปี เป็นเอกลักษณ์ของโลกมุสลิม และอำนาจของสุลต่านเป็นสิ่งที่เด็ดขาด หลักของ MIB ยังพูกวาดให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ต่างไปจากแนวความคิดของชาวตะวันตกเกี่ยวกับประชาธิปไตย โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่พิเศษและใกล้ชิดระหว่างสุลต่านและประชาชน  สุลต่านได้ประกาศว่าอุดมการณ์นี้เป็น “พระประสงค์ของพระเจ้า” แต่อย่างไรก็ตามกลับมีข้อโต้แย้งว่า อุดมการณ์นี้มีความพยายามที่จะทำให้ประชาชนบรูไนยอมรับในขนบธรรมเนียมและค่านิยมที่เกี่ยวกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

สถาบันกษัตริย์ของบรูไนมีทั้งลักษณะของปิตุลาธิปไตยและมีความเป็นส่วนตัวมากๆ สุลต่านถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ของชาติตลอดจนและเน้นที่ความจงรักภักดีของประชาชนในประเทศ พระองค์ทรงมีความเป็นห่วงและให้ความสนใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลเพื่อที่ทอดพระเนตรความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาด้านต่างๆ พระองค์เสด็จไปยังมัสยิดทั่วประเทศเพื่อที่จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทุกๆวันศุกร์เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของพระองค์และพระเจ้า และความยึดมั่นของพระองค์ต่อศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม สุลต่านต้องได้รับการยกเว้นจากการวิจารณ์เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นเพียงแค่เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครองเท่านั้น แต่ยังเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีศีลธรรม ความคาดหวังของประชาชนต่อการมีรัฐบาลที่ดีและใสสะอาดยังรวมถึงความคาดหวังที่มีต่อสมาชิกของราชวงศ์ด้วย พฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับสมาชิกราชวงศ์นั้นเป็นจุดสนใจของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่เกี่ยวข้องกับพระเชษฐาองค์เล็กของสุลต่านพระนามว่า เจ้าชาย เจฟฟรี่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ยักยอกเงินของรัฐมูลค่ากว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปลายปี 1990   สุลต่านได้ประณามการกระทำของพระเชษฐา เพื่อเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการรักษาความชอบธรรม และได้พยายามนำทรัพย์สินของรัฐกลับคืนมาตามกระบวนการขั้นตอนและพิจารณาตามกฎหมาย

ก้าวแห่งอนาคตของบรูไน

ในการสร้างรัฐดั้งเดิมในรูปแบบใหม่ บรูไนได้แสดงความสามารถในการจัดการกับความต้องการสมัยใหม่ของประชาชนในประเทศ ตลอดจนการสร้างความมีเสถียรภาพและความปลอดภัยให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 21  ในขณะบรูไนกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็น “รัฐชาติ” ที่สมบูรณ์แบบ แรงกดดันและข้อจำกัดในการสร้างความเป็นรัฐที่ทันสมัยนั้นก็กลายมาเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน  ความระมัดระวังของสุลต่านเกี่ยวกับความสามารถของรัฐในการบริการประชาชนนั้นก่อให้เกิดความกดดันซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ   รายได้ของบรูไนนั้นก็ยังคงมาจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ  แม้ว่าจะมีความพยายามในการขยายและเปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจ แต่ผลที่ได้รับก็ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก ประเทศมีความเสี่ยงต่อการผันผวนของราคาก๊าซและน้ำมันตลอดจนการผลิต สิ่งที่ท้าทายของสถาบันกษัตริย์บรูไรในปัจจุบันคือ ความสามารถในการจอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและการคงไว้ซึ่งมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ที่สูง สุลต่านต้องมีความระมัดระวังว่า จำเป็นที่ผู้สนับสนุนระบอบการปกครองของพระองค์ที่มาจากชนชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่มาจากพระราชวงศ์เองและกลุ่มชนชั้นกลาง จะยังคงให้การสนับสนุนระบอบนี้อยู่ต่อไป หากขาดความร่วมมือจากพวกเขา สุลต่านก็คงต้องทรงงานหนักเพื่อให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของประชาชนทั้งที่อยู่ในเขตเมืองและชนบท เพื่อที่จะสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจว่า พระองค์ทรงเป็น นักปกครองที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตาและพระกรุณาธิคุณ

Naimah S Talib
Adjunct Fellow, Political Science Department
University of Canterbury

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 13 (March 2013). Monarchies in Southeast Asia

References

Anderson, Lisa, 1991. “Absolutism and the Resilience of the Monarchy in the Middle East”, Political Science Quarterly, vol.1, no.1.
Braighlinn, G. 1992. Ideological Innovation under Monarchy: Aspects of Legitimation Activity in Contemporary Brunei, Comparative Asian Studies no.9.
Cooke, Kieren, “Brunei Darussalam: Diversifying is hard to do”, Global: The International Briefing <http://www.global-briefing.org/2012/07/diversifying-hard-to-do/> (accessed 10 December 2012.)
Davidson, Christopher M. 2009. “The United Arab Emirates: Prospects for Political Reform”, Brown Journal of World Affairs, vol.15, no.2.
Freedom House website <http://www.freedomhouse.org/report/freedom-world/2011/brunei> (accessed 30 November 2012).
Government of Brunei website <http://www.gov.bn/bm/Pages/About-Brunei.aspx> (accessed on 3 December 2012).
Horton, A.V.M. 2005. “Window-Dressing an Islamizing Sultanate,” Asian Survey, vol.45, no.1.
Hussainmiya, B. A. 1995. Sultan Omar Ali Saifuddin III and Britain: The Making of Brunei Darussalam, Kuala Lumpur: Oxford University Press.
Huntington, Samuel P. 1968. Political Order in Changing Societies, New Haven and London: Yale University Press.
Koh Wee Chian. 2011. “A Macroeconomic Model of Brunei Darussalam”, CSPS Strategy and Policy Journal, vol 2, July.
Leake, David. 1990. Brunei: The Modern Southeast Asian Islamic Sultanate, Forum, Kuala Lumpur.
Menon, K.U. 1987. “Brunei Darusslama in 1985: In Search of the Political Kingdom”, Southeast Asian Affairs 1987, Singapore: ISEAS.
Mohd Yusop Hj Damit, Hj. 2004. “Brunei Darussalam: Steady Ahead”, Southeast Asian Affairs 2004, Singapore: ISEAS.
_____. 2007. “Brunei Darussalam: Towards a New Era”, Southeast Asian Affairs 2007, Singapore: ISEAS.
Pehin Orang Kaya Hj Awang Abdul Aziz bin Begawan Pehin Udana Hj Awang Umar. 1992. “Melayu Islam Beraja sebagai Falsafah Negara Brunei Darussalam”, in Sumbangsih UBD: Esei-esei Mengenai Negara Brunei Darussalam, edited by Hj Abu Bakar bin Hj Apong, Brunei: Universiti Brunei Darussalam.
Roberts, C. and Lee, Poh Onn. 2009. “Brunei Darussalam: Cautious on Political Reform, Comfortable in ASEAN, Pushing for Economic Diversification”, Southeast Asian Affairs 2009, Singapore: ISEAS.
Saunders, Graham. 1994. A History of Brunei, Kuala Lumpur: Oxford University Press.
Talib, Naimah S. 2002. “A Resilient Monarchy: The Sultanate of Brunei and Regime Legitimacy in an Era of Democratic Nation-states”, New Zealand Journal of Asian Studies, vol.4, no.2.
Tey Tsun Hang. 2007. “Brunei’s Revamped Constitution: The Sultan as Grundnorm?”, Australian Journal of Asian Law, vol. 9, no. 2.
World Bank website <http://www.data.worldbank.org> (accessed 26 November 2012).