มาร์ค พอฟเฟนเบอร์เกอร์ บรรณาธิการ
ผู้พิทักษ์ป่าไม้: ทางเลือกสำหรับการจัดรูปที่ดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เวสต์ ฮาร์ทฟอร์ด คอนเนติกัต สหรัฐอเมริกา/ สำนักพิมพ์ คูแมเรียน / 1990
เอ็ม วิคเตอร์, ซี แลง และ เจฟฟ์ บอร์นไมเออร์ บรรณาธิการ
วนศาสตร์ชุมชนบนทางหลายแพร่ง: ข้อคิดและทิศทางในอนาคตของการพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน
กรุงเทพฯ /รายงานของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชน (RECOFTC) ฉบับที่ 16 /1998
http://www.recoftc.org/pubs_interreports.html#Crossroads
ชาร์ มิลเลอร์ บรรณาธิการ
ความเป็นมาของป่าไม้ในเอเชีย
ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฉบับพิเศษ 6(2)/2001
[ ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นวารสารชั้นแนวหน้าระดับโลกสำหรับนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ ปฎิบัติงานที่ติดตามข่าวคราวพัฒนาการใหม่ ๆ ในศาสตร์ใหม่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งศาสตร์นี้ วารสารฉบับดังกล่าวเป็นวารสารราย 3 เดือน ซึ่งตีพิมพ์บทความจากทั่วโลกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และโลกธรรมชาติ และรวบรวมเนื้อหา สหสาขา อาทิ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ]
คริสโตเฟอร์ บารร์ และไอดา อาจู ปราด์นจา เรโซซูดาร์โม
การกระจายอำนาจการบริหารป่าไม้ในอินโดนีเซีย: นัยยะต่อความยั่งยืนของป่าไม้ การดำรงชีพของชุมชน และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
โบกอร์ อินโดนีเซีย / ศูนย์วิจัยวนศาสตร์นานาชาติ (CIFOR) วารสารรายสะดวก/กำหนดจะตีพิมพ์เร็วๆนี้
เป็นเวลาประมาณสามสิบปีมาแล้วที่มีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนว่าการดูแลป่าไม้เขตมรสุมในเอเชียควรเป็นหน้าที่ของใคร หน้าที่ดังกล่าวรวมถึงความรับผิดชอบรักษาให้ป่าอยู่ในสภาพที่ดี ตลอดจนสิทธิในการหาประโยชน์จากผลผลิตจากป่า ขณะที่ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าหน้าที่ดังกล่าวควรตกเป็นของชุมชนที่มีถิ่นฐานอยู่ในป่าหรือบริเวณใกล้เคียง อีกฝ่ายหนึ่งกลับไม่เห็นว่าเป็นการเหมาะสม บทความนี้จะสรุปที่มาและที่ไปของข้อถกเถียงดังกล่าวซึ่งเป็นสาระในบทความทั้งสี่บทความข้างต้น
ผู้สนับสนุนแนวคิดเรื่องวนศาสตร์ชุมชน เช่น องค์การนอกภาครัฐต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่าชุมชนซึ่งมีถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ห่างไกลของประเทศต่าง ๆ อาทิ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ได้มีการจัดการด้านป่าไม้มานานนับศตวรรษแล้ว ผู้เขียนบทความหลายคนได้ยกตัวอย่างกลวิธีการจัดการป่าไม้ในระดับชุมชนที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในยุคก่อนอาณานิคม ซึ่งในท้ายที่สุดก็ไม่อาจจะต้านกระแสการแสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้า ในยุคอาณานิคมนี่เองที่เริ่มมีการก่อตั้งกรมป่าไม้ต่าง ๆ ขึ้น ในปัจจุบันกรมป่าไม้เหล่านี้กลับเป็นผู้ที่คลางแคลงต่อการจัดการป่าไม้ของชุมชนในอดีต
รัฐบาลหลังยุคอาณานิคมโดยความสนับสนุนขององค์กรระหว่างประเทศยังคงเชื่อในวิธีการจัดการป่าไม้แบบสมัยใหม่และ แสวงหาประโยชน์ต่อไป จนกระทั่งเมื่อวาทกรรมการพัฒนาเริ่มตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับผลกระทบของความเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม พอในช่วงทศวรรษ 1980 ได้เกิดความคิดที่จะให้ชุมชนกลับไปมีส่วนรับผิดชอบต่อป่าไม้เขตร้อน เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ และการรักษาสภาพป่า พอถึงทศวรรษที่ 1990 ได้เกิดแนวคิดเรื่องวนศาสตร์ชุมชนขึ้นควบคู่ไปกับแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจการปกครอง แต่ผลที่เกิดขึ้นกับกลายเป็นการมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่งเพิ่งจะเข้ามารับผิดชอบและบรรดาผู้ที่มีอำนาจในหมู่บ้านต่างหวังผลประโยชน์จากสัมปทานป่าไม้และการทำไร่ปาล์มน้ำมัน
แม้จะมีตัวอย่างที่ดีให้เห็น ดังเช่นในประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งมีพื้นที่เกือบ สามล้านเฮ็คเตอร์ (ประมาณเกือบ 30,000 ตารางกิโลเมตร) อยู่ในความควบคุมของชุมชน ภาพที่เห็นส่วนใหญ่ก็คือเจ้าหน้าที่ส่วนกลางยังคงลังเลที่จะสละแหล่งรายได้ที่งดงาม หากจะยอมสละความรับผิดชอบให้กับส่วนท้องถิ่นก็มักจะในกรณีที่ป่าเสื่อมโทรมแล้ว ซึ่งกลายเป็นภาระให้กับชุมชนท้องถิ่นมากกว่าที่จะเอื้อประโยชน์ โครงการในอนาคตจำต้องตระหนักไว้ว่าขณะนี้ป่าไม้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีคนจำนวนมากขึ้นทุกทีที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นหากได้รับผลตอบแทน ชุมชนท้องถิ่นอาจจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูสภาพป่า ทว่าความซับซ้อนในเรื่องของสิทธิและผลประโยชน์เผยให้เห็นว่าอนาคตขึ้นอยู่กับการจัดการร่วม การต่อสู้จะเปลี่ยนเป้าหมายจากที่ว่าใครจะเป็นผู้ควบคุมมาเป็นทำอย่างไรให้การจัดการในระดับชุมชนได้ผลและเป็นที่สนใจของชุมชนต่างๆ โดยในขณะเดียวกันจะต้องสนองความต้องการของชุมชนอื่นด้วย
วิล ดี จง
Wil de Jong is a scientist at the Center for International Forestry Research in Bogor, Indonesia. He can be reached at w.de-jong@cgiar.org
Read the full unabridged article HERE
Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 2 (October 2002). Disaster and Rehabilitation