การฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กและเยาวชนชาวอินโดนีเซีย

อับดุล โรซากิ

      

การฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กและเยาวชนชาวอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นทุกๆปีอย่างเห็นได้ชัดเจน ปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายเริ่มมาเป็นที่สนใจของสาธาราณชนภายหลังจากปี ค.ศ.1998 ในรายงานประจำปีของ Komnas Anak (กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนแห่งชาติ อินโดนีเซีย) ระบุว่าช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม ครึ่งปีของ ปี 2012 มียอดการฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนถึง 20 ราย Arist Merdeka Sirait คณะกรรมการกองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนแห่งชาติ อินโดนีเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการฆ่าตัวตายทั้ง 20 รายว่า 8 รายมีสาเหตุมาจากมีปัญหาในเรื่องความรัก 7 รายประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ 4 รายมาจากปัญหาครอบครัว และอีก 1 รายมาจากปัญหาเรื่องการเรียน โดยอายุของเด็กที่ฆ่าตัวตายตํ่าสุดอยู่ที่ 13 ปีเท่านั้น 

มีแนวโน้มว่าปรากฎการณ์การฆ่าตัวตายจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงสิ้นปีนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีฐานข้อมูลระดับชาติใดๆที่ระบุได้อย่างชัดเจนถึงจำนวนการฆ่าตัวตายก็ตาม จำนวนการฆ่าตัวตายที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนี้ กลายมาเป็นที่สนใจของทุกฝ่าย ว่า..เกิดอะไรขึ้นกับโลกของเด็กและเยาวชนชาวอินโดนีเซียในเวลานี้? ทำไมปรากฎการ์ฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนชาวอินโดนีเซียสูงขึ้นเรื่อยๆ ? อะไรเป็นเหตุปัจจัย หรือ ตัวกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังการฆ่าตัวตาย? การวิเคราะห์ และสืบค้นถึงปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อที่จะให้ตอบคำถามเหล่านี้ บทความสั้นนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นถึงปรากฎการณ์การฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนภายใต้กรอบทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวอินโดนีเซีย และยังกล่าวถึงเขตกุนนุง กิดุล ในจังหวัดยอร์กจาร์การ์ตา 

ปุลุง กันตุง 

เขตกุนนุง กิดุล ในจังหวัดยอร์กจาร์การ์ตา ได้ชื่อว่าพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนสูงที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และค่อนข้างสูงมากตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา จากรายงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น มีการฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนทั้งหมด 28 รายตลอดปี 2011 ตามเนื้อความที่ระบุไว้ใน วารสาร Wahana Komunikasi Lintas Spesialis อัตราการฆ่าตัวตายในเขตกุนนุง กิดุล อยู่ที่ 9 รายในหนึ่งแสนคน เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการฆ่าตัวตายของเมืองหลวงจาการ์ต้าอยู่แค่เพียง 1.2 รายในหนึ่งแสนคน 

Pulung Gantungเมื่อกล่าวถึงการฆ่าตัวตายในเขตกุนนุง กิดุล จะมีคำศัพท์ในท้องถิ่นสำหรับการฆ่าตัวตายว่า “pulung gantung” หรือ “ปุลุง กันตุง” ซึ่งเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่กล่าวถึงสาเหตุของการฆ่าตัวตายว่า เหยื่อที่ฆ่าตัวตายได้รับ “pulung” หรือ “ปุลุง” เป็นลางบอกเหตุจากดวงดาวยามคํ่าคืน ซึ่งดาวดวงนี้จะมีลักษณะกลม มีแสงแดงเรื่อหรือค่อนข้างเหลือง พร้อมด้วยหางดาวที่มีสีฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดาวหาง ซึ่งจะตกลงมาจากฟากฟ้าอย่างรวดเร็วตรงไปยังบ้านหรือใกล้บ้านที่เหยื่ออาศัยอยู่ หลังจากนั้น เหยื่อก็จะฆ่าตัวตายด้วยกายแขวนคอตัวเอง นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “gantung” (กันตุง) ซึ่งหมายถึง “แขวน” 

“ปุลุง กันตุง” จะเป็นที่กล่าวขานกันปากต่อปากของคนในท้องถิ่นหลังจากเหตุการฆ่าตัวตายได้เกิดขึ้น ราวกับว่าเป็นการให้เหตุผลตามความเชื่อโดยที่ไม่มีคำอธิบายใดๆถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับสาเหตุหรือข้อเท็จจริง ของการฆ่าตัวตาย ซึ่งมาจากการที่เหยื่อไม่สามารถจัดการกับปัญหาส่วนตัวที่กำลังเผชิญอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาโรคร้ายที่ไม่ทางรักษา ปัญหาหนี้สิน การหมดโอกาสศึกษาต่อ หรือ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ที่เกิดจากคูรักหรือสามี-ภรรยา ก่อนที่จะตัดสินใจกระทำการฆ่าตัวตาย การให้เหตุผลตามความเชื่อตรงนี้เองกลายมาเป็นการรับรู้โดยทั่วๆไปของท้องถิ่น 

เมื่อวันที่ 24 เดือนธันวาคม ปี2011 มีตัวอย่างรายหนึ่งของเด็กสาววัยเรียนระดับมัธยมศึกษาวัย 15 ปี ชื่อว่า ซีซีเลีย พุตรี (Cicilia Putri) เธอถูกพบว่าแขวนคอตายในห้องของเธอ เมื่อข่าวได้ถูกแพร่กระจายออกไป คนในท้องที่ต่างพากันเชื่อว่าเมื่อสองสามวันก่อน มีดาวหางตกลงไปใกล้บ้านของเธอ อย่างไรก็ตามพ่อและแม่ของเด็กสาวรายนี้ตั้งข้อสงสัยถึงสาเหตุการฆ่าตัวตายของลูกสาวว่า อาจจะมาจากภาวะความตึงเครียดหลังจากแฟนหนุ่มได้ทิ้งเธอไป 

สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า “ปุลุง กันตุง” (pulung gantung) เกิดขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งขอปรากฏการณ์ของวัฒนธรรมความเชื่อในสังคม ที่มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ นี่จึงกลายมาเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่มองว่าเป็น “การเตือนสติ” ในการแก้ปัญหาในชีวิต ที่เหนือไปกว่า ตรรกะ และจิตสำนึก 

วิกฤตการณ์ในชีวิต และการเมือง 

เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าสาเหตุของการฆ่าตัวตายนั้นไม่ได้มาจากปัญหาอย่างความกดดันในด้านเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยเพียงด้านเดียว ไม่จำเป็นเสมอไปที่เหยื่อที่ฆ่าตัวตายนั้นจะมาจากครอบครัวที่ยากจน มีการศึกษาน้อย หรือมากจากชนบท 

การฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนที่มีการศึกษา หรือแม้กระทั่ง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ก็ยังเกิดขึ้นในเขตเมือง ดังนั้น ฐานะทางเศรษฐกิจหรือแม้แต่ระดับการศึกษาไม่ได้ตัวกำหนดว่าคนเราจะปลอดจากสภาวะของความตึงเครียด หรือชี้วัดถึงความสามารถในการจัดการกับปัญหาในชีวิตที่เกิดขึ้นได้ 

แม้ว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจอาจจะสาเหตุหลักที่เป็นแรงกระตุ้นของการตัดสินใจฆ่าตัวตาย ดังที่กล่าวไปแล้ว การฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวขนกลับทำให้ต้องมองนอกถึงสาเหตุอื่นๆนอกเหนือไปจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจนี้อีกด้วย เด็กๆและเยาวชนถูกผลักดันให้ต้องเผชิญ สภาพแวดล้อมของความเป็นจริง ที่มีความซับซ้อน เกินไปกว่าความสามารถในการควบคุมอารมณ์และการจัดการกับปัญหาในชีวิตที่เกิดขึ้น เมื่อเขาเหล่านั้นนจนมุม เขาจึงคสั้นเพื่อหนีปัญหา ตรงนี้กลายมาเป็นปัญหาอย่างเด่นชัดของประเทศอินโดนีเซียในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองการปกครองตั้งแต่ปี 1998 

ด้วยระบบการกระจายอำนาจทางการเมือง ทำให้รัฐบาลในท้องถิ่นหันมาแข่งขันกันมากขึ้น จนไม่ได้คำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนตามที่สังคมคาดไว้ นอกเหนือจากนี้ ครอบครัวซึ่งควรจะให้การสนับสนุนเด็กๆ ก็ประสบปัญหาและความท้าทายทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการที่พ่อและแม่ไม่มีเวลาที่จะดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างที่เคยเป็น เด็กๆตกอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาส่วนตัวและความซับซ้อนของความท้าทายทางสังคมในชีวิตของพวกเขาที่กำหนดความความรุนแรง และ ความแตกแยกของความสัมพันธ์ ดังนั้น ความสามารถในการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลในด้านอารมณ์และตรรกะของเด็กและเยาวชนจึงเป็นความท้าทายของประเทศอิโดนีเซีย ในศตวรรษที่ 21 

Abdur Rozaki
Lecturer at UIN Sunan Kalijaga Yogyakarta/ Researcher at IRE (Institute for Research and Empowerment) 

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 12 (September 2012). The Living and the Dead