การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสุสาน Bukit Brown
สุสาน Bukit Brown เป็นสถานที่ฝังศพขนาดใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ เปิดเมื่อปี คศ1922 โดยรัฐบาลที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ให้เป็นสุสานสาธารณะของคนจีน ต่อมาในปี คศ. พรรคกิจประชาชน หรือ ได้ลงมติยอมรรับ นโยบายเกี่ยวกับการฌาปณกิจ ว่าด้วยเรื่องการขาดแคลนพื้นที่ในสิงคโปร์ สุสาน Bukit Brown มีหลุมฝังศพประมาณ หลุมศพ แต่อนาคตของสุสานแห่งนี้กลับดูเลือนลางหลังยุคล่าอาณานิคมได้ผ่านพ้นไป
สุสาน Bukit Brown กลับมาเป็นประเด็นระดับชาติอีกครั้งในช่วง เดือนกันยายน คศ. 2011 เมื่อรัฐบาลประกาศโครงการก่อสร้างทางหลวงขนาดกว้าง ช่องจราจร ตัดผ่านพื้นที่ส่วนหนึ่งของสุสานแห่งนี้ เพื่อลดปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในพื้นที่ นั่นหมายความว่า หลุมฝังศพกว่า แห่งได้ถูกทำลายไป ในปัจจุบัน สุสาน Bukit Brown มีความสำคัญลดลงไปกว่าเมื่อครั้งอดีต เนื่องจำนวนครอบครัวที่เดินทางไปแสดงความเคารพบรรพบุรุษของพวกเขา ในช่วงเทศกาล Qing Ming ชิงหมิง) มีปริมาณลดลง ทำให้หลุมฝังศพหลายแห่งถูกละเลยและอยู่ในสภาพที่ไม่รับการบำรุงรักษา บทบาทที่ถดถอยลงเป็นส่วนหนึ่งทางประวัติศาสตร์ ของสุสานแห่งนี้
กลุ่มองค์กรประชาสังคมและสาธราณชนแสดงออกถึงความไม่พอใจ การตัดสินใจเกี่ยวกับสุสาน Bukit Brown นั้นปราศจากการพิจารณาที่เหมาะสม ผู้ให้การสนับสนุนด้านมรดก ไม่ว่าจะเป็นเครือขายประชาสังคมด้านมรดกของชาวสิงคโปร์ หรือ Singapore Heritage Society (SHS) ซึ่งเป็นกลุ่มเอ็นจีโอท้องถิ่น วิพากษ์วิจารณ์ว่า สุสานแห่งนี้ควรจะได้รับการ สงวนและรักษาไว้ เพราะเป็นสถานที่บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ ของชาวสิงโปร์ หรือแม้แต่ the Nature Society ซึ่งเป็นกลุ่มเอนจีโอทีทำงานด้านสิ่งแวดล้อมก็แย้งว่า การพัฒนาในพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสาน Bukit Brown จะทำให้พื้นที่เสี่ยงต่อภาวะนํ้าท่วม และเป็นภัยอันตรายต่อสัตว์ป่า ในเวลาต่อมาทั้งสององค์กรนี้และกลุ่มเอ็นจีโออื่นๆ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปรึกษาหารือให้กับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ในขณะเดียวกันนักเคลื่อนไหวด้านมรดก ต่างก็ช่วยกันกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจท่องเที่ยว ผ่านสื่อสาธาราณะ ให้พยายามรักษาสุสาน Bukit Brown
การโต้แย้งเกี่ยวกับสุสานแห่งนี้ค่อยๆเงียบลง ในขณะที่โครงการก่อสร้างทางหลวงยังคงดำเนินต่อไปเมื่อภาครัฐเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มประสังคมโดยพิจารณาโครงการควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของสุสาน
มรดกของชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ ประวัติศาสตร์ของอำนาจ และความมั่งคั่ง ทั้ง
ทั้งผู้สนันสนุนด้านมรดก และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่างมองเห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสุสาน Bukit Brown เพราะว่าเป็นสถานที่ฝังศพของบุคคลสำคัญและมีชื่อเสียง แม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยของหลุมฝังศพทั้งหมดก็ตาม เครือขายประชาสังคมด้านมรดก ระบุว่า กว่า10,000 หลุมฝังศพในสุสานแห่งนี้เป็นผู้อพยพ คนธรรมดาได้สละเลือดเนื้อ หยาดเหงื่อ และลำบากตรากตรำ ในการพัฒนาเมืองท่าแห่งนี้ พวกเขาเหล่านั้นยังคงได้ชื่อว่าเป็น บุคคลนิรนาม เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่ส่งผลในทางรูปธรรมต่อความพยายามในการรักษาสุสานแห่งนี้ ผู้สนับสนุนด้านมรดกได้ใช้ความพยายามในการขุดหลุมฝังศพของบุคคลผู้มีชื่อเสียง และได้นำเสนอรูปภาพความสวยงามของแผ่นหินจารึกหน้าหลุมฝังศพ โดยหลุมฝังศพทั้งหมดเป็นชาวจีนที่มีความสำคัญและมีเชื่อเสียง ตลอดจนการเกษตรกรรมที่เป็นตัวบ่งบอกถึงมรดกทางวัฒนธรรมและพิธีกรรมการฝังศพ แต่ในส่วนของ ชนขั้นวรรณะ เชื้อชาติและเพศ ไม่ได้ถูกนำเสนอ การบรรยายในครั้งนี้กล่าวถึงเรื่องราวของความเข้มแข็งและความเป็นวีรบุรุษของสิงคโปร์ ผลงานล่าสุดที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพรรคกิจประชนมีชื่อเรื่องว่า Men in White ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ไม่เคยมีการบอกเล่าเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่มีอำนาจในสิงคโปร์
มรดกควรจะเป็นสิ่งที่มากกว่า การบันทึกเหตุการณ์ของบุคคลสำคัญ ผลงานชิ้นเอกของ คาร์ล ทร๊อกกี้ และ เจมส์ วาเรน ชี้ให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของขุนนางชาวจีน ในเรื่องของการพัฒนา เมืองท่าของสิงคโปร์ในยุคของการล่าอาณานิคม ซึ่งขุนนางเหล่านั้นมีความมั่งคั่งและสถานะได้ภายใต้ระบบจักรวรรดิทุนนิยมของอังกฤษ ในศตวรรษที่ 19 เหล่าขุนนางมีรายได้จากการควบคุมไร่ฝิ่นและการผลิตสุรา พวกเขาใช้ฝิ่น การพนัน การค้าประเวณี และอั้งยี่ ในการล่อลวงและบีบบังคับ บุรุษชาวจีนผู้ยากไร้ sinkehsที่เพิ่งอพยพย้ายเข้ามาใหม่ให้เป็นชนชั้นแรงงาน ซึ่งความเหนื่อยยากในการทำงานของกลุ่มคนเหล่านี้มีส่วนช่วยในการสนับสนุนธุรกิจและการค้าขายของสิงคโปร์ การใช้สารเสพติด และการร่วมประเวณีเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้กลุ่มแรงงานทำงานอย่างถึงที่สุด ต่อมาในปี คศ. เมื่อ อั้งยี่ถูกประกาศว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำให้ความแตกต่างระหว่างพ่อค้า และกลุ่มผู้นำนั้นหายไป
การให้ความสำคัญกับบุคคลผู้มีชื่อเสียงไม่ได้เป็นแค่ปัญหาของสุสาน Bukit Brown แต่ยังมีความสำคัยที่เห็นได้จากการใช้ชื่อของชาวจีนตามอาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ที่มีความสำคัญในสิงคโปร์ ซึ่งแสดงให้ออกถึงความรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นคนชั้นยอด และความสำเร็จ ที่ยังคงหยั่งรากฝังลึกในจิตวิญญาณและความเป็นเอกลักษณ์ของชาวสิงคโปร์
สุสาน : ประวัติศาสตร์ของกฎระเบียบและการต่อสู้
ประวัติศาสตร์ของสุสาน Bukit Brown เป็นการบันทึกเรื่องราวความพยายามของการล่าอาณานิคมในการควบคุมการฝังศพของชาวจีนซึ่งนำมาสู่ในการโต้เถียงในที่สุด จากจุดเริ่มที่เจ้าหน้าที่ระบุให้มีการลงทะเบียนการฝังศพ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวน รูปแบบ ขนาด ความลึก ตลอดจนค่าธรรมเนียมของแต่หลุมฝังศพ จากการสังเกตของ เบรนด้า โย้ว การควบคุมพิธีการฝังศพเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของอาณานิคม ที่ทำให้สังคมค่อยๆซึมซับความเป็นสมัยนิยม หรือ Anglocentric” ในการจัดรูปแบบสังคมแทนที่การปฏิบัติตามธรรมเนียมจีน
อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำชุมชนชาวจีนยังมีการโต้แย้ง และต่อสู้อย่างต่อเนื่องกับนโยบายนี้ สถานที่ตั้งของสุสาน Bukit Brown ซึ่งอยู่บนเนินเขาสูงนั้นเป็นความต้องการของชาวจีนซึ่งชาวอังกฤษนั้นไม่เข้าใจว่าเหตุใดคนจีนถึงต้องฝังศพไว้บนเนินเขา ในขณะที่ชนชั้นแรงงาน ต้องอยู่ในพื้นที่ที่แออัดกลางหุบเขา การต่อสู้และโต้แย้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจของกลุ่มชุมชนพ่อค้าชาวจีน ซึ่งขนาดของหลุมฝังศพนั้น ชนชั้นสูงสามารถสร้างเป็นสองเท่าของขนาดธรรมดา นี่เป็นมรดกตกทอดที่อยู่เนินเขา Bukit Brown
หมู่บ้าน : การใช้ชีวิตกับความตาย
งานบรรยายด้านประวัติศาสตร์ของฉันในเอกสารกับผู้ร่วมงานทำให้ฉันได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้สุสานแห่งนี้ ตั้งแต่แรกเริ่ม จนกระทั่งพวกเขาต้องย้ายมาอาศัยอยู่ในบ้านที่ภาครัฐได้จัดหาให้ในปี คศและต้น คศทำให้ฉันทราบว่า หมู่บ้าน Kheam Hock Road, Lorong Halwa หรือ แม้แต่Kampong Kubor ล้วนแต่มีส่วนช่วยในภาคธุรกิจและการบริการให้กับสุสานแห่งนี้ ผู้ชายในหมู่บ้านบางคนเป็นคนทำหลุมฝังศพ บางคนเป็นผู้ทำศิลาจารึกหน้าหลุมฝังศพ ในขณะที่บางคนรับเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลหลุมฝังศพ อีกทั้งยังมีการขายอาหารและเครื่องดื่มให้กับผู้มาเยี่ยมเยือน ณ สุสานแห่งนี้ด้วย
ประวัติศาสตร์ทางสังคมนี้ ขัดแย้งกับประวัติการณ์ของผู้บุกเบิก เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดสิงคโปร์ในปัจจุบันนี้ที่การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางและวัฒนธรรมการทำงานแบบเต็มเวลา แต่นี่ก็ไม่เป็นสิ่งแปลกที่ประวัติศาสตร์ทางสังคมจะเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นในการบอกเล่าเรื่องราวของวีรบุรุษ
ชาวบ้านไม่มีความกลัวในการใช้ชีวิตใกล้สุสาน เพราะวัฒนธรรมของชาวจีนในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าคนจีนจะให้ความเคารพนับถือผู้ตายและฝังผู้ตายไว้บนที่สูง ในทางตรงกันข้ามชาวบ้านกลับได้รับโอกาสและประโยชน์จากการใช้ชีวิตกับผู้ตาย ผู้ให้สัมภาษณ์รายหนึ่งมีความเห็นว่า ชาวบ้านเป็นมิตรที่ดีกับวิญญาณ รัฐบาลภายใต้อาณานิคมของอังกฤษมีความกังวลในเรื่องสุขอนามัย จึงกำหนดให้หลุมฝังศพจะต้องตั้งอยู่ห่างจากแหล่งนํ้าอย่างน้อย 20 ฟุต แต่ชาวบ้านก็ดื่มนํ้าที่ไหลมาจากเนินเขาและมีความเชื่อว่านํ้าดื่มที่มาจากศพนี้ ‘si lang chap’ เป็นนํ้าที่สะอาดและบริสุทธิ์
เศรษฐกิจ
งานและชีวิตทางสังคมในหมู่บ้านแห่งนี้เกิดขึ้นในรูปแบบเศรษฐกิจที่เรียบง่าย ไม่มีพิธีรีตรอง งานสร้างหลุมฝังศพและการแกะสลักหินจารึกเป็นงานที่ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการ ในขณะที่การดูแลรักษาหลุมฝังศพนั้นเป็นงานตามฤดูกาล ด้วยลักษณะงานแบบนี้เองทำให้ชาวบ้านสามารถหาช่องทางสร้างรายได้จากแหล่งอื่นๆได้ตามความต้องการ โดยเฉพาะอย่างคนวัยหนุ่มสาวทำงานรับจ้างเป็น แคดดี้ในสนามกอล์ฟที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับสุสาน Bukit Brown หรือคนขายผลไม้หาบเร่ ซึ่งทุเรียนเป็นผลไม้ที่หาง่ายในพี้นที่นี้
ในอีกแง่มุมหนึ่ง หมู่บ้าน Bukit Brown มีความแตกต่างจากหมู่บ้านอื่นๆในสิงคโปร์ เพราะว่าคนที่ทำหลุมฝังศพและแม้แต่คนที่แกะสลักหินจารึกหน้าหลุมฝังศพนั้นมีทั้งทักษะและวัฒนธรรมอยู่ในงานที่เขาทำ พวกเขาเหล่านี้มีความเป็นอยู่ท่ค่อนข้างดี และอาศัยอยู่ในบ้านหลังค่อนข้างใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย คนที่ทำหลุมฝังศพนั้นจะมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับผู้ส่งออกหินจากจีนและมาเลเซีย เพราะว่าหินที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น มีคุณภาพตํ่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกใช้กับคนชั้นแรงงาน ชาวบ้านที่แกะสลักหินจารึกซึ่งก็อาจจะเป็นลูกของคนทำหลุมฝังศพจะได้เรียนการแกะสลักตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งงานแกะสลักนี้จำเป็นต้องใช้ความคล่องแคล่วของนิ้วมือ ความพยายามอย่างสูงและการฝึกฝนหลายชั่วโมง เพื่อที่จะแกะสลักหินแต่ละชิ้น
สำหรับคนที่ดูแลหลุมฝังศพซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย พวกเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่คนตัดหญ้า แต่ยังต้องทำความสะอาดหลุมฝังศพ และทาสีใหม่ให้กับหลุมฝังศพในกรณีที่สีของตัวอักษรได้จางลงไป ทักษะและความชำนาญของพวกเขามาจากมุมมองทีมีต่อวิญญาณ หนึ่งในผู้ดูแลหลุมฝังศพอธิบายว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะได้เงิน เพราะพวกเขาจะต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อวิญญาณก่อนที่จะลงมือกำจัดวัชพืช หรือตัดต้นไม
ชาวจีนและชาวมาเลกลุ่มเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้สุสาน Bukit Brown อยุ่รวมกันเป็นหนึ่ง ต่างก็ได้รับประโยชน์ ผู้ชายชาวมาเลบางคนทำงานเป็นผู้ดูแลหลุมฝังศพชาวจีน ตามห้วยก็จะมีหญิงสาวชาวมาเลและชาวจีนซักผ้าด้วยกัน ชาวมาเลบางคนสามารถพูดภาษาฮกเกี๊ยนได้ ในขณะเดียวกันชาวจีนก็สามารถพูดภาษามาเลได้เช่นกัน นี่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของหมู่บ้าน Bukit Brown
นอกเหนือจากการปาฐกถาเรื่องมรดก
ตามที่ ลอร์ราเจน สมิทธ์ ได้อธิบายไว้ว่า การปาฐกถาเรื่องมรดก มักจะถูกเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อเอามาเป็นประเด็น ในความพยายามที่จะรักษาสุสาน Bukit Brown ผู้ให้การสนับสนุนกล่าวว่าไม่มีความตึงเครียดระหว่างเรื่องมรดกและการพัฒนา ซึ่งทางออกของพวกเขาเน้นให้ความสำคัญไปที่สุสานมากกว่าทางหลวง มีการเสนอความเห็นที่น่าสนใจจากเครือขายประชาสังคมด้านมรดกของชาวสิงคโปร์ว่าให้จัดสถานที่ที่เป็นมรดกของสาธาราณะ เหมือนกับสินค้าสาธาราณะอื่นๆเช่น ถนนหนทาง อีกทั้งยังได้นำเสนอถึงเรื่อง zerosum game โดยที่ผู้ใช้ถนนหนทางไม่ถูกนำมาพิจารณา อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความจำเป็นในการสร้างทางหลวงและได้ชี้ให้เห็นว่า ความแออัดของการจราจรนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น
ผู้สนับสนุนได้นำครอบครัวและเพื่อนฝูงมาร่วมกิจกรรมและการเยี่ยมชมต่างๆ ตลอดจนการแบ่งรูปภาพบนเฟสบุ๊ค แต่ก็ไม่มีความพยายามในการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นในกลุ่มคนที่ไม่ได้มีความสนใจในสุสาน Bukit Brown บางคนนำเสนอมุมมองที่ผู้สนับสนุนไม่ได้กล่าวถึง มีจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งไปยังผู้สื่อข่าวในหัวข้อ เสียงข้างน้อย” กล่าวว่าผู้สนับสนุนเพิกเฉยต่อความต้องการที่อยู่อาศัยของคู่หนุ่มสาว เพราะพื้นที่สุสานนั้นสามารถเป็นสถานที่อยู่อาศัยได้ในระยะยาว) กลุ่มประชาสังคมผู้ซึ่งขาดแคลนเรื่องทุนทรัพย์และแรงงานยังคังอ่อน ณ จุดนี้เพราะคำอธิบายนั้นยังไม่เพียงพอ ตรงนี้เองทำให้การความรำคาญในกลุ่มคนที่ตำหนิว่านักอนุรักษ์มีความคิดที่แคบ และความพยายามในการรักษาสุสาน Bukit Brown นั้นเป็นนโยบายด้านเดียว
สิ่งที่น่าผิดหวังสำหรับนโยบายในการอนุรักษ์นี้ก็คือ การไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมของผู้ที่อาศัยใกล้สุสานแห่งนี้ คนสร้างหลุมฝังศพแนะว่าการรักษาหลุมฝังศพบางแห่งจะช่วยกอบกู้ความรู้สึกด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ สำหรับคนอื่นๆนั้นนี่เป็นการยอมจำนนต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้ดูแลหลุมฝังศพคนหนึ่งกว่าการรักษาสุสานแห่งนี้อาจจะทำได้ยากเนื่องจากเงินลงทุนที่รัฐบาลได้ใช้จ่ายไปกับโครงการก่อสร้างทางหลวง
ด้วยจำนวนหลุมฝังศพที่มีอยู่กว่า หนึ่งแสนแห่ง ในสุสาน Bukit Brown จึงเป็นการยากที่จะกล่าวถึงมุมมองของครอบครัวของผู้เสียชีวิต กลุ่มหนึ่งอย่างเช่น ลูกหลานของนักธุรกิจ ชอร์ บุน เลย์ ก็ให้การสนับสนุนในการรักษาสุสานแห่งนี้ไว้ บางมุมมองของความรู้สึกของสาธารณะ ถูกประเมินด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า น้อยกว่าเหนึ่งในสามหรือ ประมาณ 1,005 ของหลุมศพทั้งหมดได้รับการการยืนยันจากญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี สาเหตุที่ตัวเลขค่อนข้างน้อยอาจเป็นเพราะหลุมศพที่มีอายุนานหลายปีกําลังถูกละเลยจากลูกหลานและทายาท อย่างไรก็ตามยีงมีกลุ่มคนอีกจำนวมมากที่เป็นพลังเงียบที่อยู่นอกเหนือจากบทสนทนาระหว่างภาครัฐและกลุ่มผู้สนับสนุนในการรักษามรดก
ประวัติศาสตร์ ของ มรดก
หากยึดตามที่ เบน แอนเดอร์สัน กล่าวไว้ มรดกถูกมองในมุมมองเดียวกันกับความเป็นชาติ มีแต่ผู้เชี่ยวชาญและนักคิดที่จะตัดสินว่าอะไรมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และอะไรควรถูกเก็บรักษาไว้ ผู้เชี่ยวชาญตรงนี้ไม่ได้หมายชนชั้นสูงแต่อย่างใด ผู้สนับสนุนมรดก สุสาน Bukit Brown มาจากคนในชุมชน หรือแม้แต่ผู้ซึ่งญาติพี่น้องของพวกเขาถูกฝังไว้ ณ ที่แห่งนี้ ในที่นี้กำลังกล่าวถึง การเปลี่ยนประวัติศาสตร์ไปสู่มรดก และให้ความสำคัญกับมรดกมากกว่าการพัฒนา
ในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ อดีตถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเรา การพัฒนาทึ่เป็นไปอย่างรวดเร็วนั้นจะส่งผลกระทบและทำให้ภูมิทัศน์ที่คุ้นตลอดจนวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เป็นอะไรที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนที่จะต้องใช้การศึกษา เพื่อที่จะสร้างเรื่องราวและสามารถก่อให้เกิดการจินตนาการทางสังคม ประวัติศาสตร์มักจะเป็นข้อปาฐกถาระหว่างผู้เชี่ยวชาญและนักคิด เรื่องราวทางประวัติศาสตร์หลายๆเรื่องเป็นเรื่องการเฉลิมฉลอง ถึงเวลาแล้วที่มุมมองทางประวัติศาสตร์จะต้องถูกรวมเข้ากับเรื่องราวของมรดก
ในขณะที่มรดก มีลักษณะเฉพาะตัว ชัดเจน ประณีต ประวัติศาสตร์กลับให้มุมมองและข้อโต้แย้งที่มากกว่า นักประวัติศาสตร์หลายๆท่านยอมรับว่าพวกเขาได้ให้แต่คำอธิบายเกี่ยวกับอดีต ประวัติศาสตร์มีร่องรอยผ่าน กาลเวลาและพื้นที่ว่าง ส่วนวัตถุทางมรดกจะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นและหายไปในประวัติศาสตร์ สถานที่ที่มีอายุยาวนานอาจจะก่อให้เกิดความทรงจำที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ในขณะที่สิงคโปร์มีสภาวะการต่อสู้ทางการเมืองที่มากขึ้นภายหลังการเลือกตั้งปีการสนับสนุนด้านมรดกจะได้รับการแสดงความคิดเห็นอย่างแพร่หลาย ประวัติศาสตร์ของสุสาน Bukit Brown จะมีความน่าสนใจมากไปกว่าการเป็นแค่เพียงการเป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนผู้มีชื่อเสียง
Loh Kah Seng
Kyoto University
Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 12 (September 2012). The Living and the Dead