พิพิธภัณฑ์ในฐานะสัญลักษณ์แห่งชนชาติ การสร้างกลุ่มสังคมชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียในยุคโพสต์ ซูฮาร์โต้

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

งานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนกระบวนการและวิธีการแสดงตัวตนให้ปรากฎของชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ ผ่านการพิจารณาถึงแผนการก่อสร้างสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย (Taman Budaya Tionghoa Indonesia) ซึ่งดำเนินการโดยสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลอินโดนีเซีย (Paguyuaban Sosial Marga Tionghoa Indonesia:PSMTI ในบทความจะใช้ชื่อย่อว่า PSMI) หนึ่งในสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซีย สวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียเป็นสถานที่ที่ได้มีการเตรียมการที่จะจัดสร้างขึ้นภายในสวนสาธารณะอินโดนีเซียอันน่ารื่นรมย์ (Taman Mini “Indonesia Indah” ในบทความจะใช้ชื่อว่า Taman Mini) ชานกรุงจาการ์ตา ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์เพื่อจุดประสงค์ในการจัดแสดงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซีย

ในการพิจารณาถึงแผนดังกล่าวแนวความคิดของคลิฟฟอร์ดเรื่อง [พิพิธภัณฑ์ในฐานะของContact zone]นั้นเหมาะในการอธิบายในเรื่องนี้ได้อย่างดี คลิฟฟอร์ดได้บ่งชี้ถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ผ่านการวิเคราะห์พิพิธภัณฑ์4แห่งที่ทำการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาวอินเดียนแดงชนกลุ่มน้อยในคาบสมุทรอเมริกาเหนือ ไว้ในหน้งสือ “Travel and Transition in the Late Twentieth Century” ว่า “บทบาทหน้าที่พิพิธภัณฑ์ที่ผ่านมาเป็นสถานที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ของวัฒนธรรมของชนชั้นต่ำซึ่งถูกปกครองแต่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ได้กลายเป็นสถานที่สำหรับสร้างเอกลักษณ์(Identity) ของชนกลุ่มน้อย(Minority)ในสังคม และกลายเป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อกันระหว่างชนกลุ่มน้อยและคนส่วนใหญ่ในสังคม (contact zone) 1

โดยเนื้อหาในงานฉบับนี้จะหยิบยกถึงเนื้อหาโดยคร่าวๆของแผน,ผู้เสนอแผนฯ,สถานที่ตั้ง,สถานการณ์ในปัจจุบัน,ประเด็นปัญหาของแผนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวจีนโพ้นทะเลซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยบางส่วนในสังคมอินโดนีเซีย และนำเสนอถึงประเด็นพิพิธภัณฑ์ในฐานะของContact zoneระหว่างชนกลุ่มน้อยกับความเป็นรัฐ, การสร้างกลุ่มชุมชนทางเชื้อชาติซึ่งถูกแสดงออกในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์กับขั้นตอนของการแสดงตัวตนให้ปรากฎ

การแสดงตัวตนให้ปรากฎของชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติในประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มคนหลายชาติพันธ์อย่างอินโดนีเซียนั้น จัดทำในหลายสถานที่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการประดับประดาตามห้างร้านสรรพสินค้า, สัญลักษณ์ตามมุมเมืองหรือแม้แต่ในสิ่งของที่แจกจ่ายในกิจกรรมการเลือกตั้งต่างๆเป็นต้น การแสดงตัวตนให้ปรากฎของชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติเพื่อสนองตอบต่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นในการค้าหรือการเมืองนั้นได้มีการดำเนินการในหลายรูปแบบและถูกใช้เป็นสาร ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็มีสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียซึ่งเป็นสถานที่ที่ชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียใช้เป็นสถานที่ใช้ส่งสารติดต่อไปยังสังคมชาติอินโดนีเซียที่จะได้กล่าวถึงฉบับนี้รวมอยู่ด้วยนั่นเอง

อนึ่งในงานฉบับนี้จะใช้คำเรียกแทนกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียว่า “คนเชื้อสายจีน” 2 ตามเสียงอ่านในภาษาฮกเกี้ยน และคำศัพท์ที่หมายถึง Sukpansa หรือ Sukในภาษาอินโดนีเซียในที่นี้หมายถึง ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ 3 สำหรับชื่อในภาษาจีนแต่ละแบบนั้นจะใช้ตัวอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นแทนอักษรจีน

ปูมหลัง

สำหรับคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียเดือนพฤษภาคมปี2541จะมีความหมายสองแง่นั่นคือ ในแง่ที่สดใสจะหมายถึงการปลดปล่อย แต่ในแง่ที่มืดหม่นจะหมายถึงความหวาดกลัว สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ขยายตัวไปทั่วประเทศซึ่งเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมในปีดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นจุดชนวนของการปลดปล่อยชาวจีนออกจากการถูกควบคุมโดยตัวบทกฎหมายอันเนื่องมาจากการล่มสลายของระบอบการปรกครองโดยประธานาธิบดีซูฮาร์โตซึ่งยาวนานต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 32ปี ในขณะเดียวกันการที่คนเชื้อสายจีนต้องกลายเป็นเป้าหมายของความรุนแรงโดยตรงทำให้เกิดความหวาดกลัวในการคงอยู่ในฐานะของคนเชื้อสายจีนและกลายเป็นวิกฤตของการอยู่ร่วมกัน

ในขณะที่การเคลื่อนไหวของนักศึกษาเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองของซูฮาร์โตซึ่งก่อให้เกิดสภาวะปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจและค่าเงินในช่วงครึ่งปีหลังของพ.ศ. 2540กำลังขยายไปยังทุกพี้นที่ของประเทศนั้นได้มีหลายคนยิงปืนขึ้นท่ามกลางการประชุมประท้วงรัฐบาลที่จัดขึ้นณ.มหาวิทยาลัยTrisakti ทางตะวันตกของจาการ์ตาเมื่อวันที่12พฤษภาคมพ.ศ.2540 เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีนักศึกษาเสียชีวิต4คนและเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นชนวนก่อให้เกิดความรุนแรงขนาดใหญ่รุกลามขยายตัวไปทั่วประเทศโดยเริ่มที่จาการ์ตา,มาดัง,โซโล,ปาเรนบังและทำให้มียอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 1100 คน จากการความรุนแรงเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองของรัฐบาลซูฮาร์โตได้ขยายกลายเป็นความรุนแรงเพื่อต่อต้านคนเชื้อสายจีนซึ่งกุมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจภายใต้การปกครองของซูฮาร์โต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจาการ์ตา ได้มีการกระทำรุนแรงต่อหญิงสาวเชื้อชาติจีนหรือเผาร้านค้าของชาวจีน ในเขตGlodok ที่มีชาวจีนตั้งรกรากอยู่อย่างหนาแน่น

จากผลที่เกิดขึ้น ประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้ลาออกเมื่อวันที่21พฤษภาคม หลังจากนั้นก็รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีเมกะวาตี ซูการ์โนบุตรีเข้ามาปกครองแทนที่เรื่อยมาจนถึงประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุดโดโยโนในปัจจุบัน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดังกล่าวทำให้การปรับปรุงกฎหมายในแง่ที่เกี่ยวกับคนเชื้อสายจีนนั้นเปลี่ยนแปลงด้วยความรวดเร็วอย่างยิ่ง สำหรับลำดับทางประวัติศาสตร์ของกฎหมายที่เกี่ยวกับคนจีนนั้นได้มีการกล่าวถึงที่มาไว้โดยละเอียดในSuryadinata2003และ Lindsey2005 ณ.จุดนี้จะระบุหรือการปราศจากข้อจำกัดเกี่ยวกับภาษา,ศาสนาและวัฒนธรรมซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลของประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มานวาฮิดในช่วงเดือนตุลาคมปีพ.ศ.2542-2544 4 และกฎหมายมาตราที่12ฉบับพ.ศ. 2549: กฎหมายว่าด้วยเรื่องสัญชาติใหม่ ซึ่งร่างขึ้นเมื่อวันที่1 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นกฎหมายฉบับล่าสุดที่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยงแปลง 5

จากสภาพการณ์ที่ได้เริ่มมีความเท่าเทียมกันทางกฎหมายในฐานะหนึ่งชาติรัฐในอินโดนีเซียดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นและการถูกปลดปล่อยจากข้อจำกัดในการแสดงออก ทำให้สภาพแวดล้อมที่จะแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์(Identity) ของชนกลุ่มน้อยในสังคม(Minority)ในฐานะคนเชื้อสายจีนนั้นเริ่มมีอิสระมากยิ่งขึ้น โดยปรกติแล้วการที่เริ่มมีอิสระทางการแสดงออกนั้นคือการที่กิจกรรมส่วนตัวถูกส่งกลับคืนมาโดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกลุ่มเชื้อชาติหรือ ความเป็นเอกลักษณ์ของการเป็นคนกลุ่มน้อย แต่ในกรณีของคนจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียนั้นมีความจำเป็นต้องจัดตั้งกลุ่มชุมชนในฐานะกลุ่มหนึ่งภายในกรอบของสังคมที่รายล้อมไปด้วยกลุ่มคนหลายเชื้อชาติอย่างในกรณีของอินโดนีเซีย

ประสบการณ์จากเหตุการ์เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2541 ทำให้เกิดความจริงประการหนึ่งปรากฎเด่นชัดขึ้นมานั่นคือ ความเป็นเอกลัษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับตัวบุคคลนั้นซึ่งเปลี่ยนไปตมความแตกต่างของช่วงเวลาในการโอนสัญชาติ, หรือปูมหลังทางครอบครัว, ลักษณะอาชีพและถิ่นกำเนิดที่ผ่านมานั้นหากมองจากกลุ่มคนภายนอก ก็เป็นเพียงแค่การผันแปรอยู่ภายใต้กรอบของคำว่า“คนเชื้อสายจีนเท่านั้น “คนเชื้อสายจีน”ในนัยยะที่คนจากภายนอกมองนั้นเป็นกลุ่มที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศ และกลายเป็นเป้าหมายของความรุนแรงแม้นว่า จะไม่ใช่เป็นกลุ่มชาติพันธ์พื้นเมืองของอินโดนีเซียก็ตาม

การกำจัดภาพลักษณ์ที่มีต่อกลุ่มชุมชนภายหลังจากที่ได้รับการตระหนักในฐานะของกลุ่มที่เป็นภาพลักษณ์ของความเป็นคนเชื้อสายจีนที่คนกลุ่มอื่นมอง ถือได้ว่าน่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่จะไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์อันหน้าเศร้าใจซ้ำขึ้นอีกเฉกเช่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2540ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่นโจษย์ในเรื่องของการป้องกันและทำให้เกิดความถูกต้องของการมีตัวตนของ“คนเชื้อสายจีน”ในฐานะกลุ่มเชื้อชาติหนึ่ง โดยใช้วิธีการเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการมาแล้วในกลุ่ม“ชนพื้นเมืองอินโดนีเซีย”อย่าง ชาวชวา หรือ ชาวซุนดาเป็นต้น ซึ่งการจัดการกับการทำให้ศาสนา, ภาษา, ประเพณีทางวัฒนธรรมต่างๆมีความเป็นทางการและแบบแผนโดยอาศัยความตระหนักต่อสภาวะการณ์ข้างต้นเป็นเบื้องหลังนั้น ก็จะทำให้การแสดงออกทางเชื้อชาตินั้นเด่นชัดมากขึ้น

ผู้เสนอแผนการดำเนินการ― สมาคมคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซีย และ PSMTI―

สวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียจัดตั้งเมื่อใดและใครเป็นผู้ริเริ่มโครงการนั้นไม่ปรากฎข้อมูลชัดเจนแต่ ณ.ปัจจุบันโครงการได้รับการสานต่อในฐานะโครงการของ PSMTI, สมาคมคนเชื้อสายจีนซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในจาการ์ตา ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม ลำพังในกรุงจาการ์ตาเองก็มีสำนักงานมากกว่าหนึ่งร้อยแห่ง เราจะมาดูกันว่าในจำนวนสมาคมมากมายเหล่านั้นสมาคมPSMTIนั้นมีลักษณะเฉพาะและมีจุดเป้าหมายอย่างไร

ก่อนอื่น หากเราพิจารณาถึงชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียโดยรวมแล้ว จะสามารถแบ่งออกเป็น5 ประเภท ได้แก่ 1.สมาคมคนร่วมภูมิลำเนาเดียวกัน เช่นสมาคมฮกเกี้ยน, หย่งชุนเป็นต้น, 2. กลุ่มสมาคมร่วมชื่อแซ่สกุลเดียวกัน เช่นตระกูลหลิน,ตระกูลสวี่เป็นต้น, 3.สมาคมศาสนาพุทธและลัทธิขงจื้อ, 4.สมาคมโรงเรียนสอนภาษาจีนซึ่งถูกปิดก่อนปี 2509, 5.สมาคมอาชีพหรือบริษัทในลักษณะเดียวกัน โดยที่สมาคมต่างๆเหล่านั้นจะมี PSMTI และ สมาคมคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซีย (Perhimpunan Indonsia Tionghoa:INTI โดยต่อไปในบทความจะใช้ชื่อเรียกแทนว่า INTI) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่จาการ์ตา ทำหน้าที่เป็นผู้ที่ทำการรวบรวมสมาคมชาวจีนต่างๆทั้งหลายเข้าด้วยกันในลักษณะคล้ายร่ม 6 ลำดับต่อไปจะนำเสนอแนวความคิดของกลุ่ม PSMTI โดยเปรียบเทียบกับ INTI

เดิมที PSMTIและ INTIนั้นเป็นสมาคมเดียวกัน, ระหว่างเหตุความรุนแรงเมื่อเดือนพฤษภาคม2540ที่ผ่านมานั้นไม่มีกลุ่มเครือข่ายทางสังคมในระดับชาติที่จะคอยช่วยเหลือชาวจีน จึงได้มีการจัดตั้งสมาคมเพื่อคอยช่วยเหลือชาวจีนขึ้นเมื่อวันที่28 กันยายนในปีเดียวกัน โดยตัวแทนในการจัดตั้งในช่วงแรกคืออดีตนายทหารบกชื่อ เทดดี้ ยูซุฟ(Tedy Jusuf), ต่อมาในเดือน มกราคม 2542 ได้มีการจัดตั้งเป็น INTIโดยแยกตัวเป็นเอกเทศน์จาก PSMTI ด้วยการนำโดย เอ็ดดี้ เล็มบอง(Eddy Lembong) ประธานบริษัทผลิตยาPharos จากการรวบรวมคำพูดของผู้เกี่ยวข้องของสมาคม PSMTI และINTI ได้ความว่า เหตุผลใหญ่ที่แบ่งแยกออกเป็นสองสมาคม เนื่องมาจากการที่คนจีนซึ่งไม่เคยได้รับการอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมใดๆในช่วงการปกครองของรัฐบาลซูฮาร์โตนั้นไม่คุ้นเคยกับการรวบรวมความคิดเห็นและการมีความเป็นผู้นำนั่นเอง

หากเราเปรียบเทียบระเบียบของ PSMTI และINTIแล้วจะพบว่า ทั้งสองสมาคมนั้นมีวัตถุประสงค์หลักร่วมกันคือ การทำให้การแบ่งแยกเหยียดชนชั้นที่มีต่อชาวจีนในสังคมอินโดนีเซียหมดไป แต่ก็มีความแตกต่างกันระหว่างแนวความคิดและวิธีการปฎิบัติของทั้งสองสมาคมอยู่เช่นกัน 7 ในแง่ของอุดมการณ์นั้น PSMTI นั้นเน้นความมั่นคงของชาวจีนในแง่ของชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติโดยมีสิทธิอำนาจทัดเทียมกับชนกลุ่มน้อยอื่นๆในสมาคมแห่งชาติอินโดนีเซีย (Integrasi)ซึ่งอ้างอิงจากหลักการการรวมกันเป็นหนึ่งในความหลากหลาย (Bhnneka Tunggal Ika) ที่ได้มีการประกาศสัตยาบรรณกันในปีพ.ศ. 2471 แต่สำหรับ INTI จะเน้นเรื่องการอุทิศต่อชาวจีนไปสู่การปฎิรูปอินโดนีเซียโดยรวมซึ่งมีฐานมาจากรัฐธรรมนูญในปี 2488 และปัจาสีระ 8แทน

สำหรับแง่ของวิธีการดำเนินการนั้น PSMTI เป็นกลุ่มเพื่อชาวจีนโดยชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับการสร้างเสิรม “ความเป็นจีน” ซึ่งอัดแน่นอยู่ในวัฒนธรรม,การศึกษาและสังคม แต่สำหรับ INTI นั้น เน้นการสร้างรัฐชาติอินโดนีเซีย จึงดำเนินการเน้นการแก้ไขปัญหาของคนจีนและคณะกรรมการหรือสมาชิกก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจีน ประเด็นที่ว่าเป็นกลุ่มที่กำหนดให้เฉพาะคนเชื้อสายจีนเท่านั้นหรือว่าไม่จำกัดนั้นถือได้ว่าเป็นความแตกต่างที่เด่นชัด และประเด็นนี้เองก็ปรากฎอย่างชัดเจนในภาษาที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในทั้งสองสมาคม บทความในทุกฉบับของวารสาร PSMTI Bulletinซึ่งเป็นวารสารของสมาคม PSMTI นั้นจะมีบทความภาษาจีนล้วนตีพิมพ์อยู่ด้วย และรายชื่อสมาชิกคณะกรรมการในรายงานประจำปีต่างๆก็จะมีชื่อภาษาจีนที่เขียนด้วยอักษรจีนกำกับอยู่ที่ชื่อภาษาอินโดนีเซียด้วย ส่วนใน วารสาร “เสียงใหม่” (Suara Baru)ซึ่งเป็นวารสารของ INTIนั้น แทบไม่มีภาษาจีนปรากฎให้เห็นเลย

กล่าวโดยสรุปคือ ในขณะที่ PSMTI คำนึงถึงวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดกันแบ่งเชื้อชาติชาวจีนในสังคมอินโดนีเซีย ด้วยการเสริมสร้าง “ความเป็นจีน” ในฐานะชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติหนึ่งในชาติรัฐหลากหลายวัฒนธรรม แต่ INTI ไล่ตามการแก้ไขปัญหาการกีดกันแบ่งแยก ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติกลุ่มอื่นนอกเหนือจากชาวจีน โดยกำหนดความเสียหากในการปฎิวัติรัฐอินโดนีเซีย เปรียบเทียบกันแล้ว กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่เน้นการสร้างเสริมเอกลักษณ์ของการเป็นชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ โดยหาความเป็นไปได้ในการที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วยการกำหนดบทบาทของตัวเองให้แข็งแกร่ง แต่สำหรับฝ่ายหลังจะเน้นหนักที่การแก้ไขปัญหาการกีดกันแบ่งแยกเชื้อชาติในแง่ของตัวบทกฎหมาย โดยที่สมาคม PSMTI นั้นยังไม่สามารถที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันระหว่างคนเชื้อสายจีนกับคนเชื้อชาติอื่นได้แต่ สำหรับ INTIนั้น สามารถอยู่ได้ในฐานะที่มีส่วนร่วมกันอยู่แล้ว

ด้วยความแตกต่างทางแนวความคิดของทั้งสองสมาคมนี้เอง เราสามารถที่จะกำหนดตำแหน่งของแนวความคิดของคนเชื้อสายจีนในความเป็นชาติรัฐอินโดเนีย (Indonesia nationalism) ได้ด้วยการเปรียบเทียบแนวความคิด “เรื่องการรวมเป็นหนึ่งเดียว” หรือ “การกลายเป็นส่วนหนึ่ง” ของคนเชื้อสายจีนที่ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ในช่วงยุคก่อนรัฐบาลซูฮาร์โต้ได้ 9

สำหรับแนวคิดในส่วนรายละเอียดของกิจการของทั้งสององค์กรนั้น ในปัจจุบัน PSMTIจะจับจุดไปที่การจัดตั้งสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย ส่วน INTI จะอยู่ในฐานะที่ปฎิเสธการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันโดยที่สมาคมจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วม 10 จุดโฟกัสของกิจกรรมของ INTI นั้นจะเน้นที่การเสริมจิตสำนึกของชาวจีนที่มีต่อสังคมและการเมือง, อันได้แก่การศึกษาในแต่ละแขนงและการสัมมนาเป็นต้น

ต่อไปจะมาพิจารณากันว่า ผู้ที่สนับสนุน PSMTI นั้นมีลักษณะพิเศษอย่างไร จำนวนสมาชิกของ PSMTI นับถึงเดือนสิงหาคม 2549 นั้น มีจำนวนอยู่ที่ประมาณ 560 คน โดยที่ผู้สนับสนุนกิจกรรมในความเป็นจริงนั้น คาดว่าอาจมีจำนวนมากกว่าสมาชิกถถาวร โดยที่รายละเอียดต่อจากนี้จะเสนอถึงลักษณะพิเศษของสมาชิก, เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของผู้สนับสนุน PSMTI

ก่อนอื่นจะพิจารณาถึง อายุของผู้สนับสนุนสมาคมก่อน ดังข้อมูลที่ปรากฎในตารางที่ 1 แล้วว่า สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคม คือชายในช่วงอายุ 50-60ปี ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เราสามารถสันนิษฐานได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่สมาชิกส่วนใหญ่ของ PSMTIนั้นจะเป็นผู้ที่เคยผ่านการศึกษาในโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ถูกปิดไปเมื่อก่อนปีพ.ศ.2509 ในแง่ของการกระจายตัวของสมาชิกนั้นจะเป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ที่เกาะชวาโดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ จาการ์ตา เป็นจำนวนมากกว่า 40เปอร์เซ็นของสมาชิกทั้งหมด ดังที่ปรากฎในตารางที่ 2 และโดยมากกว่าร้อยละ90 จะเป็นผู้ที่มีกิจการหรือสายงานเดียวกันโดยส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้ประกอบการค้าและกิจการส่วนตัว 11

จากข้อมูลที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น กลุ่ม PSMTI มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นองค์กรระดับประเทศได้คล้ายกับร่ม แต่ผู้ที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อโครงการจัดสร้างสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย นั้นจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กลุ่มชายกลางคนที่เคยศึกษาในโรงเรียนสอนภาษาจีนและพำนักอยู่ที่จาการ์ตาบนเกาะชวาเป็นส่วนใหญ่

ส่วนใน INTI นั้นมีจำนวนสมาชิกราว 3000คน โดยทั้งประธานสมาคมสมัยแรกคือ Eddy Renbong และประธานคนปัจจุบัน Rachman Hakim นั้นเป็นนักธุรกิจ เป็นที่น่าเสียดายที่ณปัจจุบันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของสมาชิกของกลุ่มที่ชัดเจน แต่หากพิจารณาจากผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาของกลุ่มอย่างเหนียวแน่นซึ่งคนหนุ่มในช่วงอายุ 20, 30 ปี นั้นทำให้สามารถกล่าวได้ว่า สมาชิกของกลุ่ม INTI นั้นไม่มีความเน้นเอียงเนื่องจากกลุ่มอายุเมื่อเทียบกับกลุ่ม PSMTI

ต่อไปจะมาดูกันต่อไปว่า ตัวสถานที่ Taman Mini ซึ่งทางกลุ่มที่มีลักษณะพิเศษอย่างกลุ่ม PSMTI เลือกที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นั้น เป็นสถานที่อย่างไร   

ตารางที่ 1: แสดงอายุ และช่วงอายุของสมาชิก PSMTI (ณ เดือน กันยายน 2549 ที่มาของข้อมูล: สนับสนุนข้อมูลโดย PSMTI ทำการรวบรวมโดยผู้เขียน
ตารางที่ 2: แสดงการกระจายของสมาชิก PSMTI ในรัฐต่างๆ (ณ เดือน กันยายน 2549 ที่มาของข้อมูล :สนับสนุนข้อมูลโดย PSMTI ทำการรวบรวมโดยผู้เขียน

ที่ตั้ง : Taman Mini เป็นสถานที่อย่างไร

Taman Mini เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อกลยุทธ์ทางวัฒนธรรมของซูฮาร์โต โดยที่บทบาทของTaman Miniในแง่ของกลยุทธ์ทางวัฒนธรรมของซูฮาร์โตนั้นได้มีการวิเคราะห์เอาไว้อย่างละเอียดโดย Pemberton (2537), Katoh (2536) ซึ่งเราจะได้พิจารณากันโดยละเอียดในลำดับต่อไป

Pemberton ได้กล่าวว่า ประธานาธิบดีซูฮาร์โตและภริยา ได้เริ่มลงแรงในการสร้าง ความเป็นแบบแผนดั้งเดิม และวัฒนธรรมในแง่ของการเมือง โดยใช้เครื่องมืออย่าง Taman Mini เพื่อลบล้างความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารโหดและนองเลือด ตั้งวันในวันที่ 30 กันยายน 12 ในช่วงเริ่มต้นของปี1970 โดยที่ Pembertonได้วิเคราะห์ไว้ว่า เหตุที่มาของการจัดสร้าง “ความเป็นแบบแผนดั้งเดิม” ของซูฮาร์โตนั้น คือการหวลกลับไปหาชวาในยุคอาณานิคมหลังจากที่ได้ห่างหายไประยะหลังตั้งแต่ก่อนครึ่งหลังของช่วงปี 1960 โดยPemberton ได้พูดถึงเอาไว้ในบทที่ว่าด้วยพิธีการแต่งงานแบบชวาของ สิตี เฮตีอาร์ตี บุตรีคนที่สองของซูฮาร์โตซึ่งจัดที่หอประชุมของ Taman Mini เมื่อปี 2526 กับการจัดตั้งตำหนักสุราการุตา เอาไว้ในบทเดียวกัน

ส่วน Katou ได้มองในแง่ของ Taman Miniกับความสำคัญในฐานะของ โครงการสร้างบันทึกรวมถึงการทำให้การเป็นความทรงจำในจังหวัดต่างๆ27จังหวัดทั่วอินโดนีเซียโดยกระทรวงศึกษาและวัฒนธรรมในช่วงปี2520-2521ในการสร้างเสริมแพกเกตของชนกลุ่มน้อยหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งจัดทำโดยรัฐบาลส่วนกลาง นอกจากนี้ Katou ยังได้ระบุเกี่ยวกับเรื่องประเด็นของการที่โครงการทั้งสองโครงการทำให้เกิดการรวมกันเป็นหนึ่งของมวลชนที่ถูกปกครองโดยหน่วยปกครองท้องถิ่น, จังหวัดไม่ใช่หน่วยของกลุ่มเชื้อชาติที่มีความหลากหลายของชาติที่ประกอบด้วยประชาชนหลายเชื้อชาติ และผลดังกล่าวทำให้คนเชื้อสายจีนที่ไม่ได้รวมกันอยู่ในห่วนปกครองพิเศษการกลายเป็นกลุ่มทางเชื้อชาติที่ไม่สามารถปรากฎตัวได้

หากพิจารณาจากทั้งสองประเด็นที่ได้นำเสนอนั้น ทำให้เราได้ทราบว่า Taman Mini คือระบบที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันของความทรงจำใหม่เกี่ยวกับ “ความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม”ของกลุ่มชนกลุ่มน้อยชาติพันธ์ในแต่ละกลุ่มในฐานะของรัฐชาติโดยการทำให้เป็นแพกเกตด้วยรัฐบาลส่วนกลาง เพื่อใช้ลบล้างความทรงจำในอดีตที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลของซูฮาร์โตนั่นเอง ในลำดับต่อไปเราจะมาเข้าสู่รายละเอียดของ Taman Mini

ความคิดในเรื่องการจัดตั้ง Taman Miniนั้นถูกประกาศจัดสร้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2514ในฐานะของโครงการของกองทุน Harapan Kita (ความหวังของเรา) ซึ่งมีนางTien Soeharto(1923-1996)ภริยาของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นประธานกรรมการ ที่มาเกี่ยวกับความคิดนี้นั้นสามารถสันนิษฐานได้หลายกรณี แต่ตัวนางซูฮาร์โตเองกล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจจากดิสนีย์แลนด์ แต่ก็มีความเป็นได้สูงที่ว่า อาจจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสวนสันทนาการที่ได้มีการเปิดที่ไทยและฟิลิปปินส์ไปแล้วในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน 13

ไม่ว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของโครงการนี้จะคืออะไรก็ตาม โครงการนี้ก็ได้กำหนดพื้นที่และเริ่มจัดสร้างในพื้นที่ถึง 100 เอเคอร์ในเขต Pandok Gede ซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินฮาริมซึ่งเป็นสนามบินแห่งชาติในช่วงนั้นเพียง 5กิโลเมตร ในช่วงของการกำหนดพื้นที่ใจการก่อสร้างโครงการในช่วงดังกล่าวได้เกิดปัญหาการขับไล่ที่เจ้าของที่เดิม และการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านโครงการดังกล่าวของเหล่านักเรียนนักศึกษา (Anderson1973) โดยมีการบอกกล่าวในทำนองว่า Taman Miniไม่ใช่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียวแบบดิสนีย์แลนด์

Guide map of Taman Mini

จุดประสงค์ในการจัดตั้งสถานที่แห่งนี้ที่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2518 ล้วนทำให้สถานะของ Taman Mini ในกลยุทธ์ทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียในยุคซูฮาร์โตนั้นแจ่มชัดขึ้น ในเอกสารฉบับดังกล่าวยังได้สรุปรวมอีกว่า Taman Mini คือสถานที่ทำให้สภาพความเป็นจริงของความรัฐและประชาชนของอินโดนีเซียแจ่มชัดขึ้นโดยอาศัยความบันเทิง นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดดังนี้ 1 สร้างและเสริมความรักชาติ,2 การรวมคนในชาติให้กลายเป็นหนึ่งเดียว,3 ประเมินและขยายวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดกันมายาวนาน, 4วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันของแต่ละเชื้อชาติ, 5 สร้างเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว, 6 แรงสนับสนุนอันแข็งแกร่งในแผนห้าปีของรัฐบาลโดยการนำเสนอสถานที่สำหรับนันทนาการที่ให้ความรู้[Taman Mini “Indonesia Indah”1978:46-47]

 ต่อไป จะอธิบายถึง รายละเอียดโดยสังเขปของสถานที่ดังกล่าว บริเวณตรงกลางของสวนมีทะเลสาบที่สร้างขึ้นขนาดราว8.4เฮกเตอร์โดยมีรูปหมู่เกาะอินโดนีเซียจำลองตั้งแต่สุมาตราจนถึงปาปัวลอยอยู่กลางทะเลสาบดังกล่าวและมีหอพาวิลเลี่ยนของ27จังหวัดของอินโดนีเซียในขณะนั้นก็ถูกสร้างเอาไว้ 14, ส่วนด้านรอบนอกนั้นรายล้อมไปด้วยพิพิธภัณฑ์,มัสยิด, โบสถ์คริสต์, สวนกล้วยไม้,สวนนกและอื่นๆอีกมากมาย ในส่วนของหอพาวิลเลี่ยนของแต่ละจังหวัดจัดสร้างเป็นอาคารในลักษณะพื้นเมืองดั้งเดิมของแต่ละชนเผ่าที่เป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด โดยภายในหอจัดแสดง เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ใช้ในงานพิธีกรรมต่าง, ตลอดจนถึง, เครื่องดนตรี และผลงานทางศิลปะต่างๆอีกด้วย นอกจากนี้ ในวันหยุดสัปดาห์ ก็ยังมีการแสดงดนตรี,การละเล่นพื้นเมืองในแต่ละพาวิลเลี่ยนอีกด้วย

ในจำนวนของสถานที่ต่างๆในสวนวัฒนธรรมนั้น ตัวอาคารที่ได้มีการจัดสร้างในช่วงแรกที่มีการจัดสร้างสวนเมื่อปี2518นั้น จะมีเพียงหอพาวิลเลี่ยนของแต่ละจังหวัดทั้ง 26 จังหวัดที่ไม่รวมจังหวัดติมอร์ตะวันออก, สถานที่สำคัญทางศาสนา, รูปจำลองของหมู่เกาะอินโดนีเซีย, พิพิธภัณฑ์ปัญจาสีระ, และสวนกล้วยไม้เท่านั้น ส่วนพิพิธภัณฑ์ต่างๆนั้นได้มีการจัดสร้างขึ้นเพิ่มเติมหลังปี 2523แล้ว สรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่าหัวใจสำคัญของสวนTaman Miniก็คือหอพาวิลเลี่ยนของแต่ละจังหวัด นอกเหนือจากทะเลสาบซึ่งตั้งอยู่กลางสวน นั่นเอง [Taman Mini “Indonesia Indah”2006b]

 หลังปี2518เป็นต้นมาได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพิ่มเติมในสวนวัฒนธรรมฯ นอกเหนือจากพิพิธภัณฑ์แสตมป์และพิพิธภัณฑ์อินโดนีเซียแล้วพิพิธภัณฑ์อื่นๆโดยส่วนใหญ่จะเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์หรือพลังงานซึ่งแสดงถึงอิทธิพลจากนโยบาย [นโยบายที่เน้นการพัฒนา] ของยุครัฐบาลซูฮาร์โตอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเราไม่สามารถพบเห็นลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนถึงสังคมชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติในสังคมที่เป็นมากกว่าการเป็นหน่วยงานของรัฐได้ในสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย Taman Mini แห่งนี้ได้เลย

หากพิจารณารายละเอียดโดยสังเขปของสวน Taman Mini แล้ว ก็อาจจะมองได้อีกประเด็นหนึ่งว่า ถ้าจะให้เหมาะสมในแง่ของการที่สวนคือสัญลักษณ์สะท้อนความเป็นสังคมชนกลุ่มน้อยก็คือ การลดลำดับความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ โดยการจัดสร้างเป็นหอพาวิลเลี่ยนแม้นว่าจะแยกออกจากความเป็นหน่วยงานของรัฐบาลนั่นเอง แต่สำหรับผู้รับผิดชอบฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ PSMTI กลับเห็นแตกต่างกัน โดยที่ได้ให้ทรรศนะว่า พิพิธภัณฑ์นั้นมีความสำคัญมากกว่าหอพาวิลเลี่ยน นอกจากนี้ยังให้ความเห็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ชนเชื้อสายจีนภายในTaman Miniซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงวัฒนธรรม,เชื้อชาติของอินโดนีเซียถูกจัดประเภทให้เป็นพิพิธภัณฑ์ และรู้สึกภูมิใจที่มีการอนุญาตให้กับคนเชื้อสายจีน (ไม่ใช่จังหวัดชวาซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล) แม้นว่าต้องการพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่หอพาวิลเลี่ยนก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้ว กลับรู้สึกภูมิใจต่อการอนุญาติต่อคนเชื้อสายจีน แม้นว่าจังหวัดต่างๆซึ่งมีอำนาจมากๆอย่างจังหวัดชวานั้น จะต้องการพิพิธภัณฑ์มากกว่าหอพาวิลเลี่ยนก็ตาม 15

หน้าที่และบทบาทที่Taman Miniทำได้สำเร็จภายในช่วงยุคสมัยซูฮาร์โต นอกเหนือจากการทำให้ความเป็นชุมชนกลุ่มน้อยกลายเป็นแพคเกจและการที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐแล้ว ยังมี เรื่องของความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลกันระหว่างอำนาจของซูฮาร์โตกับ Taman Mini ในฐานะของการเป็นสถานที่ที่สร้างและดำรงเอาไว้ซึ่งความเป็นแบบแผนดั้งเดิม ซูฮาร์โตได้มอบอำนาจอันชอบธรรมให้กับ Taman Mini ด้วยการที่ซูฮาร์โตจัดทำงานพิธีการราชการต่างๆเช่นงานแต่งงานของบุตรีคนที่สองเป็นต้น, และTaman Mini ก็เป็นตัวเสริมเรื่องความเป็นแบบแผนดั้งเดิมทางวัฒนธรรมของซูฮาร์โตนี้เองทำให้ตำแหน่งของซูฮาร์โตในวัฒนธรรมอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการมีความแข็งแกร่งด้วยเช่นกัน

 จึงทำให้สามารถสรุปได้ว่า อำนาจของซูฮาร์โตในด้านวัฒนธรรมที่ได้มีการนำเสนอใน Taman Mini รวมถึง แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมขอชนกลุ่มน้อยต่างๆซึ่งได้ถูกทำให้เป็นแพคเกจเหล่านี้ได้ถูกเผยแพร่ไปสู่คนจำนวนมากผ่านทางการศึกษาในโรงเรียนหรือ การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ [Katou1993, Pemberton 1994],และแน่นอนว่าจำนวนผู้เข้าชมสวนฯก็ย่อมเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนผู้เข้าชมหลังช่วงปี 80นั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ,ก่อนที่รัฐบาลของซูฮาร์โตจะล่มสลายในปี 2540มียอดจำนวนผู้เข้าชมสวนฯปีละมากกว่า เจ็ดแสนสองหมื่นคนเลยทีเดียว และหลังปี 2540แล้วก็ตามจากการที่ยอดของผู้เข้าชมมีมากกว่าสี่แสนคนในแต่ละปีทำให้เห็นได้ว่าอิทธิพลของ Taman Miniก็ไม่ได้ลดลงเลย

กราฟ 1: ความเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมTaman Mini (1995-2005)

Source: Based on the data provided Taman Mini Public Information Office, drawn up by the author

เมื่อเราพิจารณาถึงความหมายของ Taman Mini ที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นจะพบว่า แท้ที่จริง สวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียซึ่งจะจัดสร้างในTaman Mini นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตือนให้ทราบเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ จากความเป็นรัฐชาตินั้นได้ทำการเลือกสถานที่แล้วนั่นเองดังนั้นจึงสามารถยึดคำกล่าวของ คลิฟฟอร์ด ได้ว่า พิพิธภัณฑ์ในนัยยะของการเป็นคนกลุ่มน้อยนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เรียกว่า การแสวงหาการตระหนักร่วมกันในขอบเขตที่กว้างขึ้น หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งที่เป็นท้องถิ่นหรือสิ่งที่เป็นความเป็นมวลชนนั่นเอง [Clifford 2002], นั่นก็คือ PSMTI คิดว่า การสร้างพิพิธภัณฑ์ในTaman Minis หมายถึงการเสริมสถานะของความเป็นกลุ่มชนเชื้อสายจีนในความเป็นรัฐอินโดนีเซียนั่นเอง 16

แต่ ความเป็นรัฐอินโดนีเซียที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้แสดงถึงรัฐบาลในปัจจุบันแต่กลับแสดงถึงระบอบการปกครองแบบซูฮาร์โต สัญลักษณ์ความเป็นรัฐของระบอบซูฮาร์โตสำหรับ PSMTI นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจากการใช้รูปที่ซูฮาร์โตเข้าร่วมในพิธีการที่เกี่ยวข้องกับสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียพร้อมกับ ดีดี้ ยูซุฟ ขึ้นเป็นปกวารสารรายปีของสมาคม ดังที่ปรากฎในภาพที่ 1 นั่นเอง

ภาพ 1: หน้าปกรายงานของ PSMTI ฉบับเดือน พฤษภาคม ปี 2548 (ซ้าย) ดีดี้ ยูซุฟ,(กลาง) ซูฮาร์โต

แผนการสร้างสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียได้แสดงให้เห็นถึงการล่มสลายของระบบควบคุมชนกลุ่มน้อยโดยการจัดให้เป็นส่วนพื้นฐานในจังหวัดที่ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบเดียวกันนี้ พร้อมๆกับการที่กฎระเบียบการต่างๆทางกฎหมายที่ได้มีการควบคุมสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของความเป็นจีนและกิจกรรมทางวัฒนธรรมของคนเชื้อสายจีนได้หมดไปเนื่องมาจากการล่มสลายของระบอบการปกครองแบบซูฮารโต อีกด้านหนึ่ง อำนาจโดยชอบธรรมของ Taman Minic และวิธีการสร้างวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มเชื้อชาติให้กลายเป็นแพกเกจ ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่กำหนดขึ้นโดยซูฮาร์โต ไม่ว่าจะเป็น อาคารสิ่งก่อสร้าง, ชุดแต่งกายในงานพิธีกรรม หรือการฟ้อนรำต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการสืบต่อโดยจิตสำนึกของPSMTIและผู้ให้การสนับสนุนมาจนถึงปัจจุบันโดยปราศจากการทดแทนด้วยสิ่งอื่น สวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความพยายามที่จะทำให้คนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไปพร้อมๆกันกับทำให้เสื่อมถอยไปกับนโยบายชนกลุ่มน้อยของอินโดนีเซียในยุคซูฮาร์โตเช่นเดียวกัน

ความเป็นมาของโครงการสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย

โครงการสวนฯเริ่มปรากฎในสิ่งตีพิมพ์ของ PSMTI ที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโครงการดังกล่าว ในบทความจดหมายข่าว (news letter) ในวารสารฉบับที่ 4 ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2544 โดยในบทความดังกล่าวได้นำเสนอแผนที่ว่าให้ทำการย้าย Candra Naya ซึ่งเป็นอาคารที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ของคนเชื้อสายจีนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของจาการ์ตามาไว้ใน Taman Mini และใช้อาคารนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยที่ชื่อของพิพิธภัณฑ์ในขณะนั้น คือ Thionghoa Museum

รายละเอียดของ Candra Naya นั้นจะได้มีการกล่าวถึงในภายหลัง แต่ว่าในบทความดังกล่าวถือได้ว่าเป็นแผนหลักของโครการจัดตั้งอาคารพิพิทธภัณฑ์ของคนเชื้อสายจีนโดย PSMTI เมื่อปี 2544 และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ Candra Naya มีอยู่ สำหรับการย้าย Candra Nayaไปไว้ที่ Tamin Miniนั้นท้ายที่สุดได้ถูกยกเลิกไปโดย Sutiyosoผู้ว่าราชการพิเศษจังหวัดจาการ์ตาในช่วงนั้น อันเนื่องมาจากคำร้องจากกรุ๊ปโมเดริ์น(Group Modern)บริษัทธุรกิจของคนเชื้อสายจีนซึ่งถือกรรมสิทธิ์ในตัวอาคารดังกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมปี2546 โดยได้มีการจัดสร้างตัวอาคารจำลองขึ้นแทนใน Taman Mini 17

แผนการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ของคนเชื้อสายจีนที่เสนอโดยPSMTIที่ไม่ได้เกี่ยวข้องปัญหาการย้ายChandra Nayaนั้น ถูกนำเสนอต่อ กองทุนความหวังของเรา ในเดือนพฤศจิกายนปี2545 โดยที่แผนในขณะนั้นใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซีย (Museum Budaya Tionghoa Indonesia) และต่อมาได้กลายมาเป็นโครงการสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย หรือที่เรียกว่า โครงการพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันนั่นเอง และอดีตประธานาธิบดีซึ่งเป็นตัวแทนคนปัจจุบันของกองทุนดังกล่าวได้อนุมัติให้มีการเช่าสถานที่ขนาด 2 เฮกเตอร์ภายในสวนTamin Miniเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2546

ในวารสารรายงานประจำปีซึ่งออกโดย Taman Mini เองได้ตีพิมพ์เรื่องราวของแผนการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวนี้ เป้นครั้งแรกในรายงานฉบับที่ 29ประจำปี 2546 โดยที่มีคำพูดของ Ali SadikinL (2570-ปัจจุบัน) นายทหารยุคซูฮาร์โตและผู้ว่าราชการจังหวัดพิเศษจาการ์ตาซึ่งก่อตั้ง Taman Miniในช่วงนั้น ได้กล่าวว่า “ผมยินดีต้อนรับการดำเนินการก่อตั้งสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย เพราะว่าคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซีย นั้นเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนอินโดนีเซียนั้นเอง” 18 ตามด้วยภาพแผนผังของสถานที่ในขณะนั้นและภาพของ การเชิดสิงห์โตบาลอนไซที่มีการจัดขึ้นภายใน Taman Mini การประกอบกันระหว่างภาพถ่ายของสิ่งก่อสร้างและการเต้นรำทางวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็นลักษณะเดียวกันกับการอธิบายถึงการประชาสัมพันธ์หอพาวิลเลี่ยนของแต่ละจังหวัดนั่นเอง

ผู้รับผิดชอบฝ่ายประชาสัมพันธ์ของTaman Miniได้กล่าวว่าแผนการก่อสร้างสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียนั้นแรกเริ่มเดิมทีเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยทาง Taman Mini เอง โดยเป็นแผนที่ทาง Taman Mini จะทำการสร้างพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มของลูกหลานของคนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อสายอาหรับ,คนเชื้อสายอินเดีย,คนอินโดนีเซียเชื้อสายจีน ต่างหากนอกเหนือไปจากหอพาวิลเลี่ยนของแต่ละจังหวัด โดยที่พิพิธภัณฑ์เหล่านี้มีกลุ่มทางเชื้อชาติอย่างเช่น PSMTI เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการไม่ใช่จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ 19 ในส่วนของโครงการที่เกี่ยวกับคนเชื้อสายอาหรับ,และเชื้อสายอินเดียนั้นยังไม่ได้ถูกทำให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน แต่สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนเชื้อสายจีนนั้น ได้คืบหน้าไปอย่างราบรื่นเนื่องจากสามารถทำให้สอดคล้องกับความต้องการของ PSMTI ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไรไม่ปรากฎชัดเจน แต่เราก็อาจกล่าวได้ว่า การที่ทางTaman Mini หรือกล่าวคือ ฝ่ายรัฐบาล ออกมาเสนอตัวว่าเป็นแกนหลักในการนำเสนอโครงการจัดสร้างสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในท่าที่ของรัฐบาลอินโดนีเซียที่มีต่อกลุ่มเชื้อชาติต่างๆในประเทศนั่นเอง

 เกี่ยวกับแบบแปลนของสวนวัฒนธรรมฯในช่วงแรกนั้น ใช้แบบแปลนที่ออกแบบขึ้นโดยมหาวิทยาลัย Parahyangan ในเมืองบันตัน 20 ซึ่งแผนการโดยรวมได้เริ่มทะยอยก่อสร้างตัวอาคารต่างๆตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2546 และเริ่มเปิดให้เข้าชมบางส่วนในเดือนเมษายนปี2547 สวนทั้งหมดสร้างแล้วเสร็จเมือเดือนมกราคมปี2548 แต่เนื่องจากการที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนวางเอาไว้ในช่วงแรกเป็นอย่างมากทั้งการเปลี่ยนผู้รับเหมาเป็นบริษัทเซี่ยเหมินของจีนจนทำให้เกิดความยุ่งยากในการระดมทุน แต่ท้ายที่สุดก็ได้ทำการประดับสิงห์โตที่ซุ้มประตูทางเข้าซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีนได้ในที่สุดเมื่อเดือนสิงหาคมปี2549 จากรายละเอียดของข่าวที่เสนอในข่าวนครหลวงทางสถานีโทรทัศน์ภาษาจีนเมื่อวันที่ 13เดือน กรกฎาคม 2549 ได้ระบุว่า สามารถระดมทุนได้เพียงร้อยละ 18 ของค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เท่านั้น

สาเหตุของความลำบากในการระดมทุนนั้นมีด้วยกันหลายข้อ ซึ่งสาเหตุหลักก็คือ การประชาสัมพันธ์ที่จำกัดอยู่เฉพาะในหนังสือพิมพ์ฉบับท้องถิ่นในเขตจาการ์ตา,รายงานประจำปีของ PSMTI, และสื่อภาษาจีนเท่านั้น จึงทำให้ไม่สามารถระดมทุนก้อนใหญ่ได้ นอกจากนี้ ยังมีความเห็นส่วนใหญ่ที่ว่า แผนในขั้นสุดท้ายที่จะดำเนินการนั้น ไม่ค่อยได้นำเสนอความเป็นจีนและวัฒนธรรมของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียเท่าที่ควร, และคนที่สนับสนุนแนวความคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เห็นด้วยกับโครงสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียซึ่งดำเนินการโดย PSMTIนัก

แน่นอนว่ามีความคิดเห็นที่ต่อต้านโครงการสวนฯนี้ แต่ประเด็นที่สำคัญคือ ไม่ได้มีการนำเสนอโครงการอื่นที่จะมาทดแทน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการนำเสนอความเป็นคนเชื้อสายจีนที่เด่นชัดในปัจจุบันนั่นเองแม้นว่าจะรู้สึกขัดกับแผนของ PSMTI ก็ตามแต่ก็ไม่มีการตกลงร่วมกันว่า สิ่งใดคือสิ่งที่จะสะท้อนถึงความเป็นจีน หรือ ลักษณะของเชื้อสายจีน, หรือความเป็นอินโดนีเซียเชื้อสายจีน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ายังอยู่ในช่วงของการมองหาวิธีการที่จะนำเสนอลักษณะของการเป็นคนเชื้อสายจีน ในสังคมอินโดนีเซียนั่นเอง 

ภาพโดยรวมทั้งหมดของโครงการพิพิธภัณฑ์

ต่อไปเราจะมาพิจารณาถึงรายละเอียดโดยสังเขปของตัวอาคารในปัจจุบันต่อแนวคิดเรื่องของพิพิธภัณฑ์ที่เห็นได้จากโครงร่างที่จัดแสดงอย่างเป็นทางการโดย PSMTIดังรูปข้างล่าง เพื่อดูถึงรายละเอียดโดยสังเขปของพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเป็นคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียที่ถือกำเนิดโดย PSMTI ว่ามีรายละเอียดอย่างไร

ส่วนประกอบของเอกสารแนะนำโครงการที่จัดทำโดยPSMTIนั้นประกอบไปได้วย 1.จดหมายระดมเงินบริจาค, 2.ร่างจดหมายโครงการที่นำเสนอต่อกองทุน “ความฝันของเรา”,3.รายละเอียดโดยสรุปถึงวัตุประสงค์ของการจัดสร้างTaman MiniโดยนางTien Soeharto,4.ความเป็นมาของโครงการ,5.วัตถุประสงค์,6.รายละเอียดโดยสังเขป,7.แผนผังของTaman Mini,8.กำหนดการก่อสร้าง,9.งบประมาณ,10.โครงสร้างของคณะกรรมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์,11.รายชื่อของคณะกรรมการชุดดังกล่าว,12.ชื่อโครงการ,13.แบบฟอร์มบริจาค โดยเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์นั้นปรากฎอยู่ในส่วนของ 4.ความเป็นมาของโครงการ,5.วัตถุประสงค์,6.รายละเอียดโดยสังเขป

เนื้อหาในส่วนของความเป็นมา กล่าวถึงความเป็นมาของอินโดนีเซียว่าเกิดขึ้นจากกลุ่มคนหลายเชื้อชาติจากหลากหลายพื้นที่ในแต่ละส่วนของโลก,และมีภูมิหลังทางวัฒนธรรม,ศาสนาที่แตกต่างกัน และตามด้วยเนื้อหาถึงความเป็นมาเกี่ยวกับชนชาติจีน(ที่เขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียตามเสียงภาษาจีนว่าTionghoa)ที่ได้มีการอพยพเข้ามาตั้งรกรากในอินโดนีเซียเมื่อ500ปีก่อนหน้านี้และปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนหลายเชื้อชาติในสังคมอินโดนีเซียโดยที่เนื้อหาที่ได้มีการเน้นย้ำอย่างชัดเจนก็คือความเป็นคนเชื้อสายจีนในฐานะกลุ่มชุมชนหนึ่งในสังคมอินโดนีเซียที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธ์นั่นเอง

 สำหรับเนื้อหาในส่วนที่เป็น วัตถุประสงค์ ได้มีการระบุถึงความเป็นมาของคนเชื้อสายจีนว่าย้ายมาอย่างไร,และจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของสังคมอย่างไรและจะปฎิสัมพันธ์กับสังคมอื่นๆอย่างไร และการแสดงถึงความคิด,แนวคิด,ความยากลำบากจากอดีตจนถึงปัจจุบันของการเข้าร่วมในสงครามประกาศอิสรภาพของอินโดนีเซีย ปรากฎอยู่ในส่วนของบทความที่ไม่มีชื่อเรื่องและตอนท้ายสุดก็ได้มีเนื้อหาที่ปฎิเสธว่า พิพิธภัณฑ์ที่กำลังจะจัดสร้างขึ้นนี้ไม่ใช่เป็นพิพิธภัณฑ์ของจีนหรือสถานที่ทางศาสนาแต่อย่างใด นอกจากนี้ในส่วนของรายละเอียดโดยสังเขปนั้นยังได้ระบุว่าเป็นการรวมแนวคิดเรื่องของการส่งเสริมและสร้างความถูกต้องของกลุ่มชุมชนภายในอินโดนีเซีย ซึ่งมีคนเชื้อสายจีนเป็นส่วนหนึ่งอีกด้วย

 สิ่งที่เรารู้ได้อย่างหนึ่งจากรายละเอียดโดยสังเขปนี้นั้น คือ การที่พยายามจะหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดภาพลักษณ์ของความเป็นจีนโดยตรงในตัวเนื้อหาในส่วนของการแสดงตัวตนของความเป็นคนเชื้อสายจีน, ผ่านทางความทรงจำจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปี 2541, และการกีดกันทางเชื้อชาติภายใต้การปกครองระบอบซูฮาร์โต

ในอีกด้านหนึ่ง สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นจีนได้ถูกใช้ในการจัดสร้างตัวอาคารดังที่จะเห็นได้จากแบบแปลน โครงสร้างโดยรวมของสวนฯในปัจจุบันจะประกอบไปด้วยตัวอาคารหลักๆจำนวน6อาคารได้แก่1.จดีย์ทรงแปดเหลี่ยมสูงเจ็ดชั้น,2.Chandora Nayaจำลอง,3.พระราชวังต้องห้ามจำลอง,4.ซุ้มประตูางเข้าซึ่งทำจากวัสดุที่นำเข้ามาจากประเทศจีน,5.เรือสำเภา,6.ตลาดจำลองชุมชนชาวจีนในแต่ละพื้นที่ของอินโดนีเซีย ซึ่งรายละเอียดนั้นแตกต่างจากแผนซึ่งออกแบบโดยมหาวิทยาลัยปาริเฮียนกันในช่วงแรกค่อนข้างมาก โดยที่มีแผนในช่วงแรกนั้นจะเป็นบ้านเรือนแบบจีนไม่ใช่พระราชวังต้องห้ามและในส่วนการออกแบบเจดีย์ นอกจากนี้ตำแหน่งของตัวอาคารสิ่งก่อสร้างทั้งหมดนั้นก็แตกต่างจากแปลนที่วางเอาไว้ในช่วงแรก ส่วนรายละเอียดอื่นๆนั้นยังเหมือนเดิม

 

ภาพที่2:แผนผังของสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย ที่มา : ปฎิทินปี 2549จัดทำโดยPSMTI

ในจำนวนสิ่งก่อสร้างทั้งหมดในสวนวัฒนธรรมฯนอกเหนือจาก2.Chandora Naya, และ6.ไชน่าทาว์นแล้ว สิ่งก่อสร้างอื่นนอกเหนือจากนั้นเป็นอาคารที่แสดงความเป็นจีนทั้งหมดโดยเฉพาะในส่วนของซุ้มประตูและพระราชวังต้องห้ามแล้วนั้น สามารถกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึง ปักกิ่ง หรือ ศูนย์กลางของการปกครองโดยรัฐบาลจีนก็ว่าได้ นอกจากนี้ สำหรับตัวซุ้มประตูดังที่ปรากฎในรูปที่ 3,4 นั้นก็มีต้นแบบมาจากสุสานชิงซีหลิงหรือชิงตงหลิงที่ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ทางอำนาจของราชวงศ์ชิงของจีนเช่นกันแม้นว่าอาจจะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับพระราชวังต้องห้ามก็ตาม สำหรับกรณีดังกล่าวนี้ PSMTI ได้กล่าวว่า ได้มีการร้องขอให้ทำการเปลี่ยนรูปแบบของซุ้มประตูจากรูปทรงแบบจีนเป็นปัญจะศีระ(เสาห้าต้น)ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอินโดนีเซียเช่นกัน 21 แต่ก็เป็นการยากที่จะนึกถึงภาพเสาปัญจะศีระแทนซุ้มแบบจีนดังที่ปรากฎในการออกแบบในปัจจุบัน

 

ภาพ3:ซุ้มประตูของสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย ที่มา:ปฎิทินปี 2549จัดทำโดยPSMTI ภาพ4:สุสานชิงตงหลิง ที่มา:เวปไซด์เครือข่ายของวัฒนธรรมต้าจี้หยวน URL:http://www.epochtimes.com(เข้าสู่เวปไซด์เมื่อวันที่10เดือนกันยายนปี พศ2549)

ภูมิลำเนาของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียส่วนใหญ่นั้นแม้นว่าจะเป็นมลฑลทางตอนใต้ของจีนอย่างเช่นมลฑลฮกเกี้ยนหรือมลฑลกวางตุ้งก็ตามหรือแม้นแต่สำนักงานผู้ดูแลในเรื่องการจัดสร้างสวนวัฒนธรรมฯจะมีภูมิลำเนาจากมลฑลฮกเกี้ยนก็ตาม แต่ก็ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่จะสะท้อนให้รู้สึกถึงความเป็นจีนทางตอนใต้เลย สิ่งที่เห็นได้จากแบบแปลนเหล่านี้คือ สิ่งที่สะท้อนความเป็นจีนได้อย่างชัดเจนและง่ายดายที่สุดนั่นก็คือ คนจีน=รัฐบาลกลาง = ปักกิ่ง นอกจากนี้ ตัวพระราชวังต้องห้ามจำลองนั้นก็ยังมีโครงการที่จะกลายเป็น “อาคารจัดแสดงนิทรรศการหลัก” หรือกล่าวคือเป็นจุดศูนย์กลางของพิพิธภัณฑ์ อีกด้วยนั่นเอง

 การที่จัดวางตำแหน่งของพระราชวังต้องห้ามจำลองเอาไว้ในฐานะส่วนกลางของพิพิธภัณฑ์นั้น สามารถตีความได้3 ประเด็นดังต่อไปนี้ หนึ่งคือ การตีความทางการเมืองในแง่ที่ว่าการทดลองจัดวางอำนาจที่ปักกิ่งมีอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซีย , สองคือ การตีความในแง่ที่ว่า การเลือกเอาสัญลักษณ์ของความเป็นจีนอย่างเช่นพระราชวังต้องห้ามซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและง่ายที่สุดสำหรับชาวอินโดนีเซียรวมถึงคนเชื้อสายจีนเองอีกด้วย 22, และสาม คือ การตีความในแง่ที่ว่า ในสังคมจีนเอง สัญลักษณ์ของความเป็นชนกลุ่มน้อยอย่างมลฑลกวางตุ้งหรือ มลฑลฮกเกี้ยนก็ตามก็ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นกลุ่มชนหนึ่งของประชาชนจีน กล่าวคือ แนวความคิดที่ว่าการที่ชนกลุ่มน้อยอื่นๆจะต้องการแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในสังคมจีนนั้นก็จำเป็นจะต้องใช้วัฒนธรรมดั้งเดิมด้วยวัฒนธรรมชาวฮั่นซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของชนชาติจีนนั่นเอง และแนวความคิดนี้นั้นก็สะท้อนให้เห็นในกรณีที่กลุ่มคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียรวมกลุ่มกันอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ตัวคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียเองแม้นว่าประกาศว่าจะมีประวัติศาสตร์ไม่ต่ำกว่า500ปีก็ตาม แต่ก็ไม่มีสิ่งก่อสร้างศูนย์กลางที่จะใช้แสดงลักษณะของวัฒนธรรมให้ปรากฎได้ สิ่งก่อสร้างสิ่งเดียวที่สามารถบอกกล่าวได้ถึงประวัติศาสตร์ของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียเพียงสิ่งเดียวกก็คือ Chandora Nayaเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในลำดับต่อไปเราจะมาดูถึงรายละเอีดยของ Chandora Naya 

Chandora Naya

Chandora Nayaตั้งอยู่บนถนนกาจา มาดา ทางตะวันตกของจาการ์ตาเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถบอกได้ถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรมของชาวจีนโพ้นทะเลในยุคอาณานิคมฮอลันดา Chandora Naya เป็นคฤหาสถน์ที่ประกอบไปด้วยอาคารสามหลังต่อเนื่องกันซึ่งสร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่19โดยบุตรชายสามคนของ Khouw Tian Sek ชาวจีนเจ้าของพื้นที่ และสุดท้ายได้กลายเป็นที่พำนักของ Khouw Kim An(1879-1945) ข้าราชการคนสุดท้ายของเขตปกครองชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในยุคอาณานิคมฮอลันดา โดยตัวอาคารเป็นรูแปบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางตอนใต้ของจีนที่ตั้งอยู่ในบาตาเบียในยุคอาณานิคมฮอลันดานั่นเอง

สำหรับบทบาทและความเป็นมาของการพัฒนาระบอบการปกครองชาวจีนในเขตการปกครองยุคอาณานิคมฮอลันดานั้น[Lohanda1994]ได้ทำการวิเคราะห์ในแง่ของประวัติศาสตร์ไว้ว่า Khouw Kim An คือเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้รับการศึกษาภาษาดัตช์และเป็นหัวหน้ากลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในช่วงเวลาดังกล่าวโดยได้รับมอบหมายให้เป็นMajoorซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการเชื้อสายจีนเป็นเวลาถึงสองวาระคือ ตั้งแต่ปี 1919-1918 และ 1927-1942 หลังจากที่Khouw Kim Anเสียชีวิตลงในสถานกักกันของทหารญี่ปุ่นในปี 1945 Chanora Naya ก็ได้ถูกใช้งานต่อโดย Sin Ming Huiสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี1946และในช่วงปี1950ก็ได้กลายเป็นตัวอาคารโรงเรียน Chandora Naya ซึ่งเกิดจากการรวมกันระหว่างโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมปลาย

Chandora Naya ซึ่งมีประวัติข้องเกี่ยวในฐานะสถานที่สำหรับกิจกรรมทางการเมืองและสังคมของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียมาเป็นเวลามากกว่าหนึ่งศตวรรษนั้นได้กลายเป็นเป้าหมายในการเคลื่อนย้ายไปยัง Taman Mini หรือไม่ก็ทำการรื้อถอนไปหลังจากที่ได้ถูกขายต่อไปยัง Modern group กลุ่มธุรกิจในเครือข่ายของคนจีนเมื่อปี 1992 ข้อถกเถียงในการย้ายChandora Nayaไปปลูกสร้างในสถานที่แห่งใหม่และการรื้อถอนนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในชุมชนคนเชื้อสายจีนเท่านั้น แต่ยังถูกตีพิมพ์อยู่ในบทความหลายชิ้นในหนังสือพิมพ์ชั้นนำอย่าง Jakarta Postและ Kompas เป็นต้นอีกด้วย แม้นว่ามีบทความในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับก็ตามแต่ประเด็นที่สื่อทั้งสองฉบับหยิบยกขึ้นมานำเสนอนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย

ในบทความที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องใน Kompas เมื่อปี2003 ได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับปัญหาในโครงสร้างของรัฐบาลและ PSMTI เกี่ยวกับความจริงที่นำเสนอความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยของสมาชิกคณะกรรมการสวัสดิการเขตปกครองพิเศษจาการ์ตา Komisi E DPRD DKI) อันได้แก่ อาว์ดี ทัมบูนัน (Audi Tambunan) ที่มีต่อข้อเสนอของ สุตีโยโซผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตา ในการที่จะย้าย Chandora Nayaจากที่ตั้งเดิมไปยัง Taman Mini

ส่วนทางด้านหนังสือพิมพ์ Jakarta Post ได้ตีพิมพ์บทความต่อเนื่องที่มีชื่อว่า [เพราะเหตุใดChandora Nayaจึงถือได้ว่าเป็นสมบัติของชาติ?] (วันที่ 23 เมษายน 2003) ซึ่งเป็นบทความที่นำเสนอถึงความสำคัญในแง่ของวัฒนธรรมของ Chandora Naya ที่เป็นมากกว่าความเป็นเสี้ยวประวัติศาสตร์หนึ่งของคนเชื้อสายจีน หรือตัวอย่างเช่น บทความซึ่งตีพิมพ์ในวันที่29เมษายนได้มีทำการกล่าวถึงเกี่ยวกับการที่ Chandora Naya เป็นสถานที่ใช้จัดงานพิธีการใหญ่ๆอย่างเช่นสมาคมแบดมินตันแห่งอินโดนีเซีย เมื่อปี 1957 และได้มีการอ้างอิงคำกล่าวของIma Hatsumiภาควิชาโบราณคดีมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียที่ว่า “หลังการทำรัฐประหารเมื่อปี2508สถานที่นี้ได้ถูกใช้เป็นฐานของกิจกรรมของนักศึกษาที่มีอุดมการณ์ต่อต้านระบบสังคมนิยม, นอกจากนี้ยังเป็นฐานในการจัดหากองทุนเพื่อการพัฒนาเมืองหลวงในช่วงระหว่างที่อาลีซาดีคินดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตาในช่วงนั้นอีกด้วย(1966-1977) นอกจากนี้ยังได้มีการหยิบยกความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากมายรวมถึงนักข่าวต่างๆที่ไม่ได้มีเชื้อสายจีนอีกด้วย

นอกจากนี้ บทความในหนังสือพิมพ์Jakarta Postยังได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยทำการอ้างอิงคำกล่าวของDavid Kwa ผู้ชำนาญการด้านโบราณสถานชื่อดังว่า“เราสามารถพบเห็นเส้นสายที่ไม่ได้เป็นลักษณะจีนในสิ่งก่อสร้างจีนแห่งนี้, ส่วนที่เป็นร่องน้ำฝนหรือลักษณะของหน้าต่าง, พี้นหินขัด,ประตูลมที่ทำจากแก้ว, สิ่งประดับที่ทำจากโลหะหล่อต่างๆเล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบอินโดนีเซียตะวันออกที่เด่นชัดทั้งสิ้น”(วันที่29พฤษภาคม2546) และยังระบุอีกว่าChandara Nayaแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็น Melting pot ของสังคมบาตาเบียอีกด้วย    

จากการที่ได้นำเสนอให้เห็นถึงข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย Chandora Naya ในหลายแง่มุมไปแล้วนั้น Kusnoได้นำเสนอนัยยะของChandora Nayaที่มีต่อสังคมคนเชื้อสายจีนหลังการเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวานเมื่อเดือนพฤษภาคมปี2541ที่ผ่านมาไว้หลายข้อด้วยกัน[Kusno2001] โดยที่Kusnoได้กล่าวว่าChandora Naya เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะภายนอกที่มีความเป็นจีนที่รับประกันการนำเสนอของคนเชื้อสายจีนในเขต Glodok ซึ่งอยู่ห่างจากที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ที่มากที่สุดในระยะไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตร นอกจากนี้ Chandora Naya ยังเป็นสิ่งที่ทำให้ระลึกถึงการมีตัวตนอยู่ของรูปแบบของการปกครองคนเชื้อสายจีนในสังคมอินโดนีเซียในยุคอาณานิคมฮอลันดาที่ได้ถูกทำลายลงในช่วงยุคของซูฮาร์โตเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนพฤษภาคมปี2541 หรือกล่าวคือ Chandora Naya นั้นเป็นสถานที่คุณค่าในฐานะสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างอดีตและอนาคตของคนเชื้อสายจีนในสังคมอินโดนีเซียนั่นเอง

จากข้อโต้แย้งของKusno ทำให้เราได้เห็นว่าการที่แผนการในช่วงแรกของPSMTI ที่คิดจะเคลื่อนย้ายตัวอาคารนี้ไปก่อตั้งใหม่ใน Taman Mini, และจบลงที่การคัดลอกแบบตัวอาคารนี้ไปก่อสร้างใหม่หลังจากที่ความพยายามที่จะเคลื่อนย้ายไม่สำเร็จนั้น มีปูมหลังเนื่องมาจากการที่Chandora Naya เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและมีนัยยะมากกว่าลักษณะของรูปแบบของสิ่งก่อสร้างนั่นเอง

การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์กับแผนของกิจกรรม

และสุดท้ายนี้จะเข้าสู่ประเด็นเกี่ยวกับแผนของกิจกรรมและรายละเอียดของการจัดแสดงในสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียที่เห็นได้จากเอกสารแนะนำโดยสังเขป รูปแบบของการออกแบบตัวอาคารต่างๆที่จัดสร้างขึ้นในสวนวัฒนธรรมฯนั้นล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมทั้งสิ้น นอกจากนี้ ตัวเนื้อหารายละเอียดของกิจกรรมและการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เองก็แบกรับบทบาทของการแสดงตัวตน,การสร้างคุณค่า,การคงไว้ของตัววัฒนธรรมอีกด้วย ดังที่ได้เกริ่นเอาไว้แล้วในข้างต้นว่า การนำเสนอแผนเมื่อตอนเริ่มจัดทำเอกสารแนะนำโครงการและแผนปัจจุบันที่แตกต่างกันนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งเดียวกันกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่โดยพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงอยากจะกล่าวถึงตัวเอกสารดังกล่าว

ภายในสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียมีโครงการที่จะจัดทำเวทีหลักสามแห่งที่จะใช้จัดแสดงการเต้นรำหรือการเชิดสิงห์โต,ห้างร้านต่างๆอันได้แก่ร้านอาหารหรือร้านค้าขายของที่ระลึก, และหอหลักสำหรับใช้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในจำนวนสิ่งก่อสร้างต่างๆหอหลักที่ใช้สำหรับจัดแสดงพิพิธภัณฑ์นั้นมีตั้งแต่1.ประวัติของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซีย,2.การจัดแสดงนิทรรศการประจำเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมและศิลปะของคนเชื้อสายจีนในแต่ละพื้นที่ของอินโดนีเซีย,3.การจัดแสดงพิเศษ,4.ข้าราชการระดับสูงหรือวีรบุรุษในช่วงความยุ่งยากของคนเชื้อสายจีน, 5.หอสมุด รวมอยู่ด้วย

สำหรับในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดแสดงนั้นจำเป็นต้องรอดูถึงความเปลี่ยนแปลงต่อจากนี้ไป กับโจทย์ที่ว่า ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนเชื้อสายจีนในฐานะของความเป็นตัวตนของกลุ่มเชื้อชาติหนึ่งในประวัติศาสตร์และสังคมของอินโดนีเซียในปัจจุบันและอนาคตนั้นจะถูกจัดวางเอาไว้ในฐานะอย่างใด

สรุปความ

บทความฉบับนี้ได้ทำการพิจารณาถึงรายละเอียดของโครงการสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย, ซึ่งโครงการนี้นั้นเป็นพาราด็อกซ์ของความพยายามที่จะนำเสนอลักษณะของความเป็นชนกลุ่มน้อยของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียซึ่งเคยถูกควบคุมการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้การปกครองของซูฮาร์โตได้ใช้โครงสร้างของนโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยของรัฐบาลซูฮาร์โตเองที่แสดงออกมาในรูปTaman Miniสภาพการณ์ในปัจจุบันนั้น ยังคงไม่มีความคิดเห็นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชุมชนคนเชื้อสายจีนเองเกี่ยวกับแง่ของวัฒนธรรมของคนเชื้อสายจีนในอินโดนีเซียที่ควรจะนำเสนอต่อสังคมภายนอก โดยที่ยังอยู่ในช่วงของการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นตัวตนของคนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติของคนเชื้อสายจีนเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าขณะนี้อยู่ในขั้นของการหาหลักฐานของความเป็นเอกลักษณ์,การกลับไปสู่นัยยะทางประวัติศาสตร์ในช่วงก่อนการปกครองของรัฐบาลซูฮาร์โตเช่นช่วงที่อยู่ที่แผ่นดินใหญ่หรือช่วงที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของฮอลันดาเป็นต้นด้วยการทบทวนถึงความจำเป็นของการสร้างลักษณะของความเป็นชนกลุ่มน้อยหลังจากที่ถูกควบคุมและจำกัดการแสดงออกมาเป็นระยะเวลายาวนานถึง32ปี การสร้างลักษณะของความเป็นชนกลุ่มน้อยโดยผ่านทางโครงการสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซียนั้นคือเรื่องราวของสร้างรูปร่างมาจากการโหยหารากเหง้าทางประวัติศาสตร์โดยอยู่บนพื้นฐานของความจำเป็นจากภายนอก

ผู้เขียนจึงต้องการที่จะทำการพิจารณาอย่างต่อเนื่องในประเด็นที่ว่า ต่อจากนี้ไป โครงการสร้างสวนวัฒนธรรมฯดังกล่าวว่าจะดำเนินการไปในลู่ทางใด, และการสร้างลักษณะของความเป็นชนกลุ่มน้อยของคนเชื้อสายจีนภายใต้แง่มุมอื่นที่นอกเหนือจากการสร้างพิพิธภัณฑ์นั้นจะมีการดำเนินการในรูปแบบอย่างใดต่อไป นอกจากนี้ยังต้องการทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการหาคำจำกัดความของคำว่า “ความเป็นจีน”, “ความเป็นคนเชื้อสายจีน”, “ความเป็นคนอินโดนีเซียเชื้อสายจีน” ซึ่งได้ปรากฎในบทความฉบับนี้ว่าจะทำได้หรือไม่ และในกรณีที่สามารถหาคำจำกัดความได้แล้วคำเหล่านั้นจะมีรากเหง้ามาจากอะไร โดยเปรียบเทียบกับกรณีศึกษาอื่นๆต่อไป

Yumi Kitamura
CSEAS, Kyoto University

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 8-9 (March 2007). Culture and Literature

This article was first published in Gensha Vol.1 (2007)

เอกสารอ้างอิง
[เอกสารภาษาญี่ปุ่น]

Bibliography
[Japanese]

青木葉子.2006.「インドネシア華僑・華人研究史」『東南アジア研究』43(4):397-418.
加藤剛.1990.「「エスニシティ」の概念の展開」『東南アジアの社会』矢野暢(編),215-245ページ所収.東京:弘文堂.
———.1993.「飼育されるエスニシティ」『地域研究のフロンティア』矢野暢(編), 153-192ページ.所収.東京:弘文堂, 182-189ページ.
加納啓良.2001.『インドネシア繚乱』文春新書 163.東京:文藝春秋.
クリフォード,ジェイムズ.2002『ルーツ-20世紀後期の旅と翻訳』毛利嘉孝他(訳).東京:月曜社.(Clifford, James. Travel and Transition in the Late Twentieth Century. 1997) 
土屋健治.1994.『インドネシア思想の系譜』東京:勁草書房.

 [English and Indonesian]

Anderson, Benedict R. O’G. Notes on Contemporary Indonesian Political Communication. Indonesia 16(1973):  38-80.
Badan Koodinasi Masalah Cina-BAKIN. 1979. Pedoman Penyelesainan Masalah Cina di Indonesia. Vol.1. Jakarta: BAKIN.
Kusno, Abidin.  Remembering/Forgetting the May Riots: Architecture, Violence, and the Making of “Chinese Culture” in Post-1998 Jakarta.  Public Culture 15(1): 149-180.
Lindsey, Tim. 2005.  Reconstituting the Ethnic Chinese in Post-Soeharto Indonesia: Law, Racial Discrimination, and Reform. In Chinese Indonesians: Remembering, Distorting, Forgetting, edited by Tim Lindsey and Helen Pausacker, pp. 14-40.  Singapore: ISEAS.
Lohanda, Mona. 1994. The Kapitan Cina of Batavia 1836-1942. Jakarta: Penerbit Djambatan.
Pemberton, John. 1994. On the Subject of “Java”.  Ithaca: Cornell University Press, pp.148-196.
Paguyuban Sosial Marga Tionghoa Indonesia. Apa Perbedaan PSMTI-INTI, Buletin PSMTI. No4 (Juli): 5-6.
Suryadinata, Leo. 1997. Political Thinking of the Indonesian Chinese 1900-1995: A Sourcebook.  Singapore: Singapore University Press.
———————-.  2004.  Indonesian State Policy towards Ethnic Chinese: From Assimilation to Multiculturalism? In Chinese Indonesians: State Policy, Monoculture and Multiculture, edited by Leo Suryadinata, pp. 1-16. Singapore: Times Centre.
Taman Mini “Indonesia Indah”. 1978. What and Who in Beautiful Indonesia I.  Jakarta. Taman Mini “Indonesia Indah”.
 ————————————-. 2004.  20 April 1975-20 April 2004 Taman Mini Indonesia Indah: Pentas Damai Budaya Nusantara.
Tan , Mely G. 2004.  Unity in Diversity: Ethnic Chinese and Nation Building in Indonesia.  In Ethnic Relations and Nation Building in Southeast Asia, edited by Leo Suryadinata,  pp. 20-44. Singapore : ISEAS.
Zon, Fadli. 2004. The Politics of the May 1998 Riots. Jakarta, Solstice Publishing. 

[Indonesian (unpublished materials)]

Perhimpunan Indonesia Tionghoa. 2006. Undang-Undang Republik Indonesia Nomor 12 Tahun 2006 Tentang Kewarganegaraan Republik Indonesia.
Paguyuban Sosial Marga Tionghoa Indonesia. 2004. Proposal Pembangunan Museum Budaya Tionghoa Indonesia Taman Mini Indonesia Indah Jakarta.  Jakarta: Paguyuban Sosial Marga Tionghoa Indonesia.
——————————————————–. 2005. Panitia Pembangunan Taman Budaya Tionghoa Indonesia Taman Mini Indonesia Indah.  Laporan Relaksaan Pembangunan Taman Budaya Tionghoa Indonesia Taman Mini Indonesia Indah.

Taman Mini “Indonesia Indah”, Bagian Humas. 2006. Data Jumlah Pengunjung Taman Mini “Indonesia Indah” Tahun 1975 S/D 2005.
———————————————————–. [2006] Daftar Proyek-Proyek: List of Projects Taman Mini “Indonesia Indah”.

 [Newspaper (Internet edition)]

The Jakarta Post URL:http://www.theThe Jakarta Post.com
Candra Naya Escapes Wrecker’s Ball. January 29, 2000.
Candra Naya: A Heritage Alredy Forgotten? April 23, 2003.
Candra Naya Relocation Rejected. April 25, 2003.
Sutiyoso Advised to Protect Candra Naya Building. May 13, 2003.
Candra Naya Relocation is Legal Violation. May 24, 2003.
Candra Naya, Test of Commitment to Preservation. May 29, 2003.
Council Supports Candra Naya. June 02, 2003.
Chinese in Taman Mini. April 19,2007.
Kompas URL:http://www.kompas.com
Dinas Museum: Candra Naya Tak Boleh Dibongkar. Mei 12, 2003.
Soal Candra Naya, Pemprov DKI Berpegang pada Peraturan. Mei 22, 2003.
DPRD: Gedung Candra Naya Jangan Dibongkar. Mei 29, 2003.
Marco Kusumawijaya. Pemeliharaan Candra Naya Tak Perlu Ditawartawarkan. Juni 19, 2003.
Proyek Taman Mini Budaya Tionghoa Kesulitan Dana. Juli 26, 2006.

Notes:

  1. คลิฟฟอร์ดยืมเอาแนวความคิดเกี่ยวกับ[contact zone] มาจาก Imperial Eyes: Travel Writing and Transculturationของ Mary Louise Pratt (Pratt,1992) (คลิฟฟอร์ด 2002:220)
  2. คำที่ใช้เรียกคนเชื้อสายจีนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ จีน่า (Cina) เป็นคำที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด,แต่คำว่า จีน่า สำหรับคนเชื้อสายจีนเองกลับเป็นคำที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ได้มีการฟ้องให้มีการเปลี่ยนแปลงคำดังกล่าวที่มีการใช้ในเอกสารที่เป็นทางการมาเป็นคำว่าTionghoa แทน
  3. คำศัพท์เหล่านี้ ดูรายละเอียดใน Katou [1990]ประกอบ
  4. ในปีพศ. 2542 ประธานาธิบดีฮาบิบิในขณะนั้นได้สั่งการให้ยกเลิกการกีดกันเชื้อชาติคนเชื้อสายจีนภายในองค์กรของรัฐบาลทุกหน่วยงาน, ประธานาธิบดีวาฮิตได้มีการประกาศยกเลิก กฎหมาย Instruksi Presiden Republik Indonesia Nomor 14: Tahun 1967 Tentang Agama, Kepercayaan dan Adat Istiadat Cina (คำสั่งประธานาธิบดีปี 1967ฉบับที่ 14ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจกรรมดั้งเดิม,ความเชื่อ,ศาสนาของจีน)เมื่อปี 2543 ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการห้ามการแสดงสิ่งที่เป็นประเพณีแบบจีน,พิธีกรรมจีนแบบดั้งเดิม, หรือการจัดพิธีกรรมทางศาสนาในที่สาธารณะชน นอกจากนี้ ประธานาธิบดีเมกะวาตีซูการ์โนบุตรีได้กำหนดให้ วันตรุษจีนของชาวจีน เป็นวันหยุดแห่งชาติตั้งแต่ปี 2546เป็นต้นไป ตามประกาศของประธานาธิบดีฉบับที่ 19 พ.ศ.2545
  5. กฎหมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้มีการยกเลิกใบรับรองสัญชาติ Surat Bukti Kewarganegaraan Republik Indonesia : SBKRI)ซึ่งคนเชื้อสายจีนทุกคนมีหน้าที่ต้องพกติดตัวแม้นว่าบุคคลนั้นจะถือสัญชาติอินโดนีเซียก็ตาม
  6. ทัน [ Tan 2004: 33-39] จัดแยกประเภทของกลุ่มต่างๆดังนี้ โดยถือว่าPSMTI เป็นกลุ่มช่วยเหลือ,ส่วนINTIเป็นกลุ่มล๊อบบี้ สำหรับบทความฉบับนี้จะถือว่าองค์กรทั้งสองเป็นองค์กรประเภทเดียวกันโดยมีบทบาทเป็นองค์กรณ์ร่มที่มีโครงสร้างทั่วประเทศ
  7. หลักการของสมาคมทั้งสองสมาคมนั้นถูกเขียนขึ้นเพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกสังกัดโดยอธิบายถึงความแตกต่างของสมาคมทั้งสอง โดยใช้คำว่า “Anggaran Dasar dan Anggaran Rumah Tangga Paguyuban Sosial Marga Tionghoa Indonesia”และ,”Anggaran Dasar dan Anggaran Rumah Tangga Perhimpunan Indonesia Tionghoa” ดูรายละเอียดใน “Apa Perbedaan PSMTI-INTI”,Buletin PSMTI. No4 (Juli): 5-6 ประกอบ
  8. แนวคิดเรื่องความเป็นชาติอินโดนีเซียที่ได้มีการระบุไว้ใน [รัฐธรรมนูญสาธารณะรัฐอินโดนีเซีย ปี 1945]ซึ่งได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมในปีเดียวกัน โดยมีหลักการมาจากการปฎากถาในหัวข้อเรื่อง [การกำเนิดปัญจะสีระ]ซึ่งประธานาธิบดีซูการ์โนได้เป็นผู้กล่าวณ.การประชุมสำรวจความพร้อมในการประกาศอิสรภาพภายใต้การปกครองโดยกองทัพญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1เดือนมิถุนายนปี 1945 ,ปัญจะสีระมีความหมายว่า เสาห้าต้น อันหมายถึง ความศรัทธาต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียว ,ความเป็นผู้ที่มีคุณธรรมที่ปรากฎต่อสาธารณะชน,ความเป็นหนึ่งอันหนึ่งอันเดียวกันของอินโดนีเซีย ระบอบประชาธิปไตยซึ่งนำมาซึ่งภารดรภาพ อันเนื่องมาจากระบบรัฐสภา, ความถูกต้องของสังคมที่มีต่อประชาชนทั้งปวง, รายละเอียดเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของปัญจะสีระกับความเป็นชาติอินโดนีเซียอยู่ใน Tuchiya [1994: 264-308]
  9. Aoki [2006:309] ได้สรุปความเกี่ยวกับทฤษฎีการรวมเป็นหนึ่ง,และการกลายเป็นส่วนหนึ่งในยุคปี 1950 โดยมีภูมิหลังจากการวิจัยคนเชื้อสายจีน,คนจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียในช่วงก่อนปี1965 โดยAokiได้กล่าวว่า “การรักษาวัฒนธรรมหรือ แบบแผนของความเป็นคนเชื้อสายจีนในฐานะหนึ่งในกลุ่มเชื้อชาติ(สุกุ) ,โดยการที่ได้ตำแหน่งที่ทัดเทียมกันกับกลุ่มคนกลุ่มน้อยอื่นๆในฐานะคนอินโดนีเซียถือได้ว่าเป็น การรวมกันเป็นหนึ่ง, ส่วนการที่ ถูกซึมซับเข้าไปในสังคมคนพี้นเมืองอินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์แบบโดยผ่านการได้รับสัญชาติหรือการสมรสนั้น คือการกลายเป็นส่วนหนึ่ง , รายละเอียดของปูมหลังทางประวัติศาสตร์และค่านิยมทางความคิดของคนเชื้อสายจีนนั้นปรากฎอยู่ใน Political Thinking of the Indonesian Chinese 1900-1995: A Sourcebook [Suryadinata 1997], บทความฉบับนี้จะนำเสนอเฉพาะรายละเอียดของกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของวิธีการปฎิบัติเท่านั้น จึงจะไม่ทำการวิเคราะห์ถึงแนวคิดในนัยยะของประวัติศาสตร์อุดมการณ์
  10. จากการสอบถาม ดิดี้ ยูซุฟ เมื่อวันที่ 13มีนาคม ,และวันที่28กรกฎาคมปี 2549, การสอบถามผู้รับผิดชอบฝ่ายประชาสัมพันธ์ของINTIเมื่อวันที่ 16 มีนาคม
  11. ดูในข้อมูลจาก PSMTIประกอบ
  12. คดีลักพาตัวและสังหารนายพล6 คนซึ่งเป็นหัวหน้ากองกำลังยานิ ซึ่งสั่งการโดยนายพลอุนตุนผู้ ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองทหารองครักษ์ประธานาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 30เดือนกันยายนถึงวันที่ 1ตุลาคม ปี 1965 ซึ่งดำเนินการโดยซูฮาร์โตซึ่งเป็นผู้บังคับการทหารสำรองทหารบกในช่วงเวลาดังกล่าว, ซูฮาร์โตมีส่วนร่วมอย่างมากต่อกลยุทธ์กวดล้างพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งต่อเนื่องมาจากคดีดังกล่าว, ในคำสั่งเมื่อวันที่ 3มีนาคมได้มอบอำนาจสิทธิ์ขาดให้กับซูฮาร์โตเมื่อเดือนมีนาคม 1966 ขึ้นดำรงค์ตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีเมื่อเดือนมีนาคม 1966 และเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของสาธารณรัฐเมื่อเดือนมีนาคมปี 1968
  13. แอนเดอร์สัน[ Anderson1973] ได้ระบุว่า ภริยาประธานาธิบดีมีโอกาสที่ได้แรงบันดาลในจาก Timland ซึ่งเป็นสวนสันทนาการลักษณะเดียวกัน เมื่อครั้งเดินทางเยือนกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมปี 2513และบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ของอิทธิพลของเครือข่ายระหว่างภริยาประธานาธิบดีเหมือนกันอีกด้วย, แพมเบอร์ตันจับประเด็นเรื่อง การที่ อิมัลด้า มาร์กอสภรรยาอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ มาร่วมงานพิธีเปิด Taman Mini ซึ่งจัดขึ้นในวัน Carthini day)เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2518[Pemberton 1994], หากพิจารณาถึง การที่ สวนสันทนาการ นายัง ฟิลิปิโน(Nayong Pilipino) เปิดในฟิลิปปินส์เมื่อเดือน มิถุนายนปี 2513 แล้วจะพบว่า ในเครือข่ายของภรรยาประธานาธิบดีของประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แล้ว อาจมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการร่วมใช้แนวความคิดเรื่องการสนับสนุนนโยบายทางการเมืองด้วยการสร้างสถานที่สันทนาการ
  14. หลังจากที่ติมอร์ตะวันออกประกาศตัวเป็นอิสระภาพเป็นประเทศสาธารณะรัฐติมอร์ตะวันออกเมื่อปี 2545, หอดพาวิลเลี่ยนของติมอร์ตะวันออกนั้น ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีเพียงป้ายเท่านั้นที่ถูกเขียนใหม่เป็น “พิพิธภัณฑ์” แต่ตัวอาคารดังกล่าวไม่ได้รับการดูแล ระหว่างที่ผู้เขียนไปเยือนเมื่อเดือนกันยายนปี 2549 พบเห็นความทรุดโทรมของตัวอาคาร , สำหรับหอพาวิลเลี่ยนของจังหวัดใหม่ที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายปกครองตนเองส่วนท้องถิ่น(บังคับใช้เมื่อปี 2001)ตามกฎหมายป้องกันตัวเองของส่วนกลางและส่วนภูมิภาค( มาตราที่ 25ปี 1999) ,กฎหมายปกครองตนเองส่วนภูมิภาค (มาตรา 22 ปี 1999) อันได้แก่จังหวัดบันเตน, จังหวัดโกรอนตาโล,จังหวัดบังกา บีลาตุง,จังหวัดโมลุกกะเหนือ นั้น ยังไม่ได้มีการก่อสร้าง
  15. จากการสอบถามจากผู้รับผิดชอบด้านประชาสัมพันธ์ของ PSMTI เมื่อวันที่ 13 และ15มีนาคม 2549 ในวงเล็บคือผู้เขียน
  16. อ้างอิงจาก การสอบถามจากผู้รับผิดชอบฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของ INTI เมื่อวันที่ 16 มีนาคมและการสอบถามจาก ดีดี้ ยูซุฟ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม และวันที่ 28 กรกฎาคม ปี 2549
  17. ดูบทความต่อเนื่องที่ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ Jakarta Postและ Kompas ประกอบ
  18. อาลี ซาดิคิน ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพิเศษจาการ์ตา ในปี 2509-2520 เป็นบุคคลที่ทุ่มเทให้กับการพัฒนาเมืองจาการ์ตาสู่ความเป็นสมัยใหม่ ไม่ใช่เฉพาะ Taman Mini เท่านั้น
  19. จากการสอบถามผู้รับผิดชอบฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Taman Mini เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม 2549
  20. จากการสอบถามนาย Z ศาสตราจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัย ทารุมานุการะ ผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอนุรักษ์ Chandora Naya เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549
  21. จากการสอบถามกับสำนักงานของสวนวัฒนธรรมจีนอินโดนีเซีย ภายใน Taman Mini เมื่อ เดือน สิงหาคม ปี2546
  22. ตัวอย่างเช่น หาพิจารณาจากแผ่นป้ายตัวอักษรจีนที่เขียนไว้ว่า พระราชวังต้องห้ามที่ติดเอาไว้ที่ สิ่งก่อสร้างใกล้ทางเข้า กันปองจีนา ,ร้านค้าขายของที่ระลึกแบบไชน่าทาวน์ภายใน Kota Wisata , เขตที่พักอาศัยนอกเมืองจาการ์ตา แล้ว ทำให้คาดได้ว่า พระราชวังต้องห้ามนั้น ถูกเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของสิ่งก่อสร้างแบบจีน