จุดเด่นและจุดด้อยของความเป็นผู้นำของเต็ง เส่ง

โยชิฮิโร นาคานิชิ

จุดเด่นและจุดด้อยของความเป็นผู้นำของเต็ง เส่ง

การเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ไม่ได้

ไม่มีใครที่จะสามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในพม่าได้  เดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 กลายมาเป็นจุดสิ้นสุดของ 23 ปีแห่งการปกครองโดยรัฐบาลทหารพม่า อดีตนายกรัฐมนตรีเต็ง เส่ง (Thein Sein) กลายมาเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ.2008 และรัฐบาล “พลเรือน” ที่ตั้งบนรัฐธรรมนูญได้เริ่มต้นขึ้น ในการสืบต่ออำนาจอย่างรวดเร็ว รัฐบาลใหม่ได้นำมาซึ่งการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ความสมานฉันท์เดินหน้าไปกับกลุ่มที่สนับสนุนประชาธิปไตย และในปี ค.ศ. 2012 การคว่ำบาตรจากตะวันตกได้ยุติลง นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นตาตื่นใจ และนำพวกเราไปสู่การตั้งคำถามว่าทำไมถึงไม่มีใครสามารถทำนายว่ามันจะเกิดสิ่งนี้ได้

มีเหตุผลมากมายและผู้เขียนต้องการที่จะให้เหตุผล 3 ประการที่เกี่ยวข้องกับการเมืองภายในประเทศ เหตุผลประการแรก ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะจินตนาการได้ว่า พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย (Than Shwe) จะสามารถถอนตัวออกจากการเมืองได้อย่างราบรื่น  นับตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ตาน ฉ่วย ได้เข้าครอบครองตำแหน่งสูงสุดของรัฐบาลทหาร และถูกมองว่าเป็นหนึ่งในนักเผด็จการในยุคของพวกเรา ความเป็นจริง ความเป็นผู้นำของเขายังถูกซ่อนไว้ให้เป็นปริศนา  อะไรคือสิ่งที่นักเผด็จการผู้นี้ต้องการทำกับพม่า ดูเหมือนว่า เขาไม่ได้มีวิสัยทัศน์ด้านการเมืองที่ชัดเจนและยึดติดกับอำนาจของตัวเองอย่างมาก ในปี ค.ศ.2011 มีข่าวลือมากมายที่เกิดขึ้นโดยตรงหลังจากการเปลี่ยนผ่านอำนาจ นั่นก็คือ ตาน ฉ่วย ได้ชักใยการเมืองอยู่เบื้องหลังในการเข้าไปจัดการระบบการบริหารจัดการผ่านทาง “รัฐสภาสูงสุด” แต่ข่าวลือเหล่านี้ไม่ได้มีมูลความจริง และ ตาน ฉ่วย ก็ไม่ได้มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจใดๆ ของ เต็ง เส่ง

เหตุผลประการที่สอง เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความคาดหวังทั้งหมด นั่นคือ ประธานาธิบดีคนใหม่ เต็ง เส่ง เป็นนักปฏิรูป  เขาซึ่งมีอายุน้อยกว่าตาน ฉ่วย 12 ปี และยังเป็นอดีตนายพลเช่นเดียวกัน ในช่วงเวลาที่เขาอยู่ใต้การบังคับบัญชาของตาน ฉ่วย เขาเป็นเลขานุการเอกของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ  (State Peace and Development Council  – SPDC) และมีตำแหน่งอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ซึ่งสนับสนุนระบอบการปกครองก่อนหน้านี้ ถึงแม้จะมีความสามารถในฐานะปัจเจกบุคคล แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะจินตนาการได้ว่า เขาจะเปลี่ยนนโยบายการปกครองโดยทหารโดยรากฐานได้โดยตรงหลังจากที่ได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ คนส่วนใหญ่คิดว่า เต็ง เส็ง น่าจะเกษียณตัวเองจากชีวิตสาธารณะในช่วงการเปลี่ยนแปลงไปยังการปกครองโดย “พลเรือน” เพราะต้องทนทุกข์ทรมานด้วยโรคหัวใจ  อย่างไรก็ตาม การที่ได้เป็นประธานาธิบดีแบบไม่ได้คาดคิดและการปฏิรูปที่ตามมา  ได้ทำให้ประชาชนทั่วโลกประหลาดใจ เท่าที่เราๆ รู้กัน เต็ง เส่งคือบุคคลที่เอาจริงเอาจังเป็นอย่างยิ่ง และดูเหมือนจะใสสะอาดกว่านายพลคนก่อนในแง่ของการทุจริต ในความเป็นจริงแล้ว ตามที่มีการรายงานข่าวในนิตยสารไทม์ (Time magazine) 1ล่าสุดกล่าวว่า เขาไม่เคยให้สิทธิพิเศษแก่คนในพื้นที่ของเขาทั้งๆ ที่มีอำนาจในฐานะของนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดี

เหตุผลประการสุดท้าย คือไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (the National League for Democracy – NLD) จะให้สัญญาที่จะร่วมมือกับรัฐบาลชุดนี้ ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2010 หรือ 6 เดือนก่อนที่จะมีจัดการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี พรรค NLD ได้ให้สัตยาบัน Shwegondaing (Shwegondaing Declaration) แก่รัฐบาลที่ปกครองโดยทหาร โดยระบุความต้องการไว้ว่า 1) นักโทษทางการเมืองทุกคน รวมทั้งผู้นำของพรรค NLD จะต้องถูกปล่อยโดยไม่มีเงื่อนไข 2) การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ.2008 ซึ่งไม่ได้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จะต้องได้รับการแก้ไข และ 3) การเลือกตั้งที่เป็นอิสระอย่างครอบคลุมและยุติธรรมจะต้องถูกจัดขึ้นภายใต้การดูแลของนานาประเทศ ในเวลานั้น ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่คิดว่า ความต้องการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้ผ่านการไตร่ตรอง ทหารที่ปกครองรัฐจะต้องเพิกเฉยมันและเดินหน้าต่อไปและจัดการเลือกตั้ง แต่ด้วยความพยายามในเชิงบวกของเต็ง เส่ง ในการสร้างความสมานฉันท์ และการประนีประนอมจากอองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) หลังจากการที่พวกเขาได้พบกันครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ.2011 นำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในช่วงเวลาแห่งการเผชิญหน้าทางการเมือง ซึ่งนั่นเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ ที่น่าทึ่ง

"Contrary to all expectations,  President Thein Sein is a reformer"
“Contrary to all expectations, President Thein Sein is a reformer”

เป็นที่ชัดเจนว่า การปฏิรูปที่เกิดขึ้นที่พม่าเกิดจากฉันทามติระหว่างผู้นำของรัฐบาลและขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตย  ที่ตั้งอยู่บนพลังของอิทธิพลที่แต่ละฝ่ายมีอยู่และสภาพความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ควรจะถูกมองเป็นชัยชนะของภาคประชาสังคม ในปี ค.ศ. 2007 การปฏิวัติผ้าเหลือง (Saffron Revolution) 2 ตามด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงของทหาร ซึ่งชี้ว่า รัฐบาลทหารไม่จำเป็นต้องอ่อนข้อแต่อย่างใด สถานะทางด้านการเงินของรัฐบาลยังคงมีความมั่นคง ผ่านการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลงจึงไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าไม่มีชนชั้นนำทางการเมืองที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และในกรณีพม่าก็มีจุดแตกร้าวเกิดขึ้นในชนชั้นนำ แต่ถูกกลบด้วยภาพลักษณ์ของพม่าที่แข็งแกร่ง ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ภาคสนามและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานให้กับหน่วยสืบราชการลับทางการทหาร แต่ความขัดแย้งเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

หนึ่งในคุณลักษณะที่กำหนดของการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้ คือการเปลี่ยนจากผู้นำสูงวัยไปสู่ผู้นำที่อ่อนวัยกว่า  สิ่งนี้เองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบจากเบื้องบน  แต่จากการสังเกต การขึ้นมามีอำนาจอย่างรวดเร็วของเต็ง เส่ง ในการเป็นประธานาธิบดี เป็นไปไม่ได้เลยที่การปฏิรูปที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันนี้จะมาจากแนวคิดของเขาเพียงลำพัง  แม้แต่ฉ่วย  มันน์ (Shwe Mann)  โฆษกของปีตูลุ๊ตดอ (Pyithu Hluttaw) (สภาผู้แทนราษฎร) ซึ่งมีความคิดที่ส่งเสริมการปฏิรูปเช่นกันและครั้งหนึ่งเคยถูกมองเป็นผู้แข่งขันอันดับต้นๆ ที่จะมาเป็นประธานาธิบดี ก็พบว่า แนวความคิดการปฏิรูปของเขาไม่ได้เป็นผลิตผลที่เพิ่งเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมทางการเมืองใหม่ เป็นไปได้มากที่นักปฏิรูปปัจจุบันส่วนใหญ่เดินรอยตามการนำของเต็ง เส่ง และแบ่งปันทัศนคติที่คล้ายคลึงกันต่อการปฏิรูป ดังนั้น การปฏิรูปในฐานะหนึ่งในทางเลือกทางการเมืองที่มีอยู่อย่างหลากหลาย อาจจะเกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลงระหว่างผู้นำสูงวัยและผู้นำที่อ่อนวัยกว่า

 ความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้น

ในปัจจุบัน มีความคาดหวังที่สูงมากมายเกี่ยวกับพม่า หนึ่งในสิ่งเหล่านี้คือ การพัฒนาประชาธิปไตย และอีกอย่างคือการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน พม่ากลับตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์จากตะวันตกในอดีต ใน ค.ศ.1993 อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน (Bill Clinton) ได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ สมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศที่ส่งเสริมการขยายขอบเขตประชาธิปไตย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การทูตสหรัฐฯ ตั้งอยู่บนการวิพากษ์ความไม่เป็นประชาธิปไตยของพม่า และผู้นำทหารพม่ากลายเป็นเป้าหมายในการวิพากษ์วิจารณ์นั้น ระหว่างการเข้ามาบริหารประเทศรอบที่ 2 ของประธานาธิบดีบุช (Bush) พม่าถูกติดป้ายที่น่าอับอายว่าเป็น “รัฐทรราชย์” และการคว่ำบาตรได้เริ่มขึ้นทีละน้อย 3 แต่ในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่มีการปฏิวัติ ไม่มีเลยสักครั้งที่รัฐบาลทหารจะล่มสลาย ด้วยเป้าหมายที่ต้องการปิดโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่า การคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม พวกเขากลับไม่ประสบผลสำเร็จในการนำมาซึ่งประชาธิปไตย

Pyidaungsu Hluttaw Complex, Naypyidaw (Parliament)
Pyidaungsu Hluttaw Complex, Naypyidaw (Parliament)

สหรัฐอเมริกาตระหนักถึงข้อจำกัดของการคว่ำบาตรต่างๆ และในปี 2009 รัฐบาลโอบามาได้ริเริ่มการเชื่อมความสัมพันธ์กับพม่าขึ้นใหม่ 4 มันเป็นเรื่องบังเอิญว่านโยบายที่ว่า นโยบายใหม่ของชาวยุโรปและชาวอเมริกันก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันที่ผู้นำพม่าเปลี่ยนแปลง 5 “ช่วงเวลา” มีความสำคัญอย่างมาก และในการคว้าโอกาสนี้ พม่าสามารถที่โน้มน้าวให้มีการยกเลิกการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 ปี การที่ประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในเอเชียสามารถที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศในอเมริกาและยุโรป นับเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่ง แน่นอนว่าความสำเร็จทางด้านการทูตนี้เกิดจากความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะปฏิรูปของเต็ง เส่ง และนอกเหนือไปจากนั้น บทบาทของซูจีที่มองเห็นในในเวทีโลก มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน พม่ามีเศรษฐกิจขนาดเล็ก และในปัจจุบัน ยังไม่ได้รวมตัวก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจโลก นโยบายของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปในอดีตที่มีต่อพม่ามีความเกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติต่อซูจี และถูกทำให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นในแต่ละโอกาสที่เธอถูกกักบริเวณไว้ในบ้านพัก นับเป็นเรื่องที่โชคดีที่การทูตที่ไม่เป็นธรรมนี้เริ่มแกว่งไปยังทิศทางตรงกันข้าม ความดึงดูดของซูจีที่มีต่อการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ท้ายที่สุดส่งผลให้เกิดความสำเร็จทางด้านการทูตสำหรับพม่า ในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อเดือนเมษายน  2012 หลังจากซูจีได้รับการเลือกตั้งและกลายมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ได้สนับสนุนการทูตของประธานาธิบดีเต็ง และกลายเป็นโฆษกหญิงที่ประกาศการปฏิรูปของการบริหารจัดการใหม่ ในเวลาเดียวกัน ประธานาธิบดีพม่าก็สามารถที่ตกลงกันได้กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันได้หันเหความสนใจไปยังนโยบายต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ความสำเร็จด้านการทูตเหล่านี้นำไปสู่ความคาดหวังครั้งใหญ่ทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มันได้ปรากฏว่า ความคาดหวังถูกวาดให้เกิดกว่าความจริง สำหรับประเทศที่มีประสบการณ์การปกครองโดยทหารตั้งแต่ปี 1962 และมีมาตรฐานเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันเป็นเรื่องยากที่จะกล่าวว่า พม่าจะได้รับประชาธิปไตยที่มั่นคงมาอย่างง่ายดาย และจะบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าอัศจรรย์ใจ ความคาดหวังในระดับโลกซึ่งกำลังเติบโตขึ้นมุ่งไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในปี  ค.ศ.2015 ที่กำลังจะมาถึง และมันเป็นการเร็วไปที่จะคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พวกเราสามารถกล่าวได้ก็คือ ถ้าพวกเรามองไปที่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย) ในแง่ของกระบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตย หลายประเทศต่างก็มีความยากลำบากที่หลากหลายแตกต่างกันไป  ไม่นับรวมกัมพูชา ประเทศอื่นๆ อีก 3 ประเทศ มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องเสรีภาพมากกว่าพม่า และความมั่นคงของรัฐก็อยู่ในระดับสูง พวกเราไม่สามารถคาดหวังได้ว่าพม่า ซึ่งปรากฏว่าถูกทำให้เป็นที่ตั้งของกองทหาร จะสามารถเป็นประชาธิปไตยได้โดยง่าย การพัฒนาทางด้านการเมืองไม่ได้เป็นกระบวนการแบบเส้นตรง ดังนั้น พวกเราไม่ควรที่จะคาดหวังมากนัก

The Myanmar Lower House, Parliament, Naypyidaw
The Myanmar Lower House, Parliament, Naypyidaw

นี่คือการพัฒนาประชาธิปไตยจริงหรือ?

การปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของพม่า ถูกแทนที่ผ่านทางสมดุลทางการเมืองที่อ่อนไหวอย่างยิ่ง และโครงสร้างอำนาจปัจจุบันถูกประกอบด้วยชั้นที่แยกออกจากกัน 3 ชั้น ชั้นแรก คือ ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และคณะรัฐมนตรี – ที่ก่อตัวมาจากอดีตทหารระดับนายพล ผู้ซึ่งสนับสนุนเขา สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของรัฐบาลทหารที่ผ่านมา ลำดับต่อไปคือ พรรคฝ่ายรัฐบาล ซึ่งก็คือพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party – USDP) พรรคนี้ถูกก่อตั้งขึ้นจากนักธุรกิจและอดีตข้าราชการจำนวนมาก พร้อมด้วยกลุ่มพลเรือนอื่นๆ แกนหลักของมันถูกก่อตัวจากประชาชนผู้ซึ่งโดยรากฐานแล้วสนับสนุนรัฐบาล พวกเขาทำให้อำนาจของประธานาธิบดีมั่นคงในขณะที่มีส่วนสร้างความเป็นพหุนิยมทางการเมือง 1 ใน 4 ของสมาชิกรัฐสภาถูกแต่งตั้งโดยกองทัพซึ่งอิทธิพลของกองทัพยังถูกคงไว้ตามรัฐธรรมนูญ  ในช่วงการปกครองโดยทหาร พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party – USDP) เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนมวลชน และในสาระสำคัญคือนำไปสู่อิทธิพลที่เข้มแข็งทั้งของประธานาธิบดีและกองกำลังทหาร การแก้ไขรัฐธรรมนูญใดๆ ต้องการฉันทามติจากอีก 3 ส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการมีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นทหารมีศักยภาพเพียงพอที่จะหยุดใครก็ตามที่จะเข้ามาแทนที่ สิ่งสุดท้ายก็คือขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตย กลุ่มของฝ่ายค้านทั้งหมดยึดที่นั่งในรัฐสภาได้น้อยกว่าร้อยละ 20  และไม่ได้มีพลังมากพอในกระบวนการจัดทำกฎหมาย หากมองผ่านการมีอยู่ของฝ่ายค้าน ประธานาธิบดีสามารถที่จะแสดงให้สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเห็นว่า ความหลากหลายทางด้านการเมืองที่มีอยู่โดยทั่วไปนั้น มีอยู่ในระบบการเมืองของพม่า ดังนั้น ความมั่นคงในระดับหนึ่งจะเป็นหลักประกันจนกว่าจะถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป

The state seal of Myanmar
The state seal of Myanmar

อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเราพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ก็สามารถมองเห็นว่า ความเป็นผู้นำของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง นั้นถูกทำให้มีความสมดุล แต่แม้ว่าเสถียรภาพของโครงสร้างสถาบันได้สนับสนุนความเป็นผู้นำของเขา กลไกสนับสนุนระบอบการปกครองยังคงอ่อนแอ รัฐธรรมนูญปี 2008 ได้ถูกทำต้นแบบมาจากของอินโดนีเซียในยุคสมัยของซูฮาร์โต ภายใต้ยุคการปกครองของซูฮาร์โต ระบอบเผด็จการได้ถูกตั้งขึ้นอย่างแยบยล มีอำนาจประธานาธิบดีที่เกี่ยวกับการออกกฎหมายที่เข้มแข็ง บทบาทในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางการเมืองให้เหมาะสมของพรรคโกลค่า (Golkar) ตำแหน่งที่เกี่ยวกับสภานิติบัญญัติสำหรับบุคลากรทางการทหาร และข้อได้เปรียบภายในระบบการเลือกตั้งที่ถูกจัดตั้งขึ้นของพรรคที่มีอำนาจในการปกครอง หากแต่โครงสร้างประเภทนี้ไม่ได้จัดวางไว้ในพม่า พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party – USDP) ตั้งขึ้นบนดการรวมนักการเมืองอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ยากที่จะกล่าวว่าความจงรักภักดีของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สนับสนุนพรรคนั้นอยู่ในระดับที่สูง นอกจากนี้ ในสถานการณ์โลกในปัจจุบัน การแทรกแซงทางการเมืองมักนำไปสู่การประณามในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ พัฒนาการของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการล้มเลิกระบบการตรวจสอบนำความโปร่งใสมาสู่กระบวนการทางการเมืองของพม่า ทำให้รัฐบาลไม่สามารถโกงการเลือกตั้งได้ง่าบ ยิ่งไปกว่านั้น ระดับความนิยมที่มีมากในตัวซูจีเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา แต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy – NLD) ยังเป็นขององค์กรที่ยังคงอ่อนแอ แต่ก็ได้ปักหมุดความคาดหวังไว้ที่พลังแห่งชัยชนะของเธอในการเลือกตั้ง การได้มาซึ่ง 4 ที่นั่งในรัฐสภาต้องผ่านการต่อสู้ฟาดฟันในการเลือกตั้งซ่อมที่จัดขึ้นที่เมืองหลวงเนปิดอว์เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.2011 ผลลัพธ์นี้เองได้ทำลายความหวังของสมมติฐานที่ว่า ข้าราชการและครอบครัวของพวกเขา ซึ่งเป็นคนส่วนมากในเมือง จะต้องสนับสนุนการบริหารงานในปัจจุบันและลงคะแนนเสียงให้กับพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party – USDP)

จนกว่าจะถึงการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2015 เต็ง เส่ง และพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party – USDP) จะสามารถที่จะเอาชนะจุดด้อยนี้ได้หรือไม่ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย   (National League for Democracy – NLD) จะกลายเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ หรือทั้ง 2 พรรคจะร่วมกันในการทำข้อตกลงทางการเมือง ในอีก 3 ปี ข้างหน้าของกระแสทางการเมืองจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับพวกเราในการทำนายอนาคตของการพัฒนาประชาธิปไตยและการเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่า

โยชิฮิโร  นาคานิชิ
มหาวิทยาลัยเกียวโต

แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย จารุณี  สุวรรณรัศมี และ ชินสึเกะ  ฮินะตะ
Kyoto Review of Southeast Asia . Issue 14 (September 2013). Myanmar

Notes:

  1. ”Inside Man” Time (January 21, 2013)
  2. คำนี้ถูกนำไปใช้ทางการเมือง แต่ผู้เขียนเชื่อว่า การใข้คำว่า “ปฏิวัติ” นั้น ไม่เพียงพอที่จะอธิบาบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนี้ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของพวกด้วย .
  3. ดูที่ Michael F. Martin “U.S. Sanctions on Burma” CRS Report for Congress (January 11, 2011)
  4. “Remarks With Indonesian Foreign Minister Noer Hassan Wirajuda, Jakarta, Indonesia (February 18, 2009) “ (http://www.state.gov/secretary/rm/2009a/02/119424.htm)
  5. Robert Taylor for an overview of the relationship between the U.S.’s policy change and Myanmar’s internal politics. Taylor, Robert. “Myanmar: From Army Rule to Constitutional Rule,” Asian Affairs Vol.43, No.2, pp.223-224

1 Comment

Comments are closed.