Amir Muhammad
“Perforated Sheets,” (คอลัมน์หนังสือพิมพ์)
Kuala Lumpur / New Straits Times / 2 กันยายน 1998 – 3 กุมภาพันธ์ 1999
Sabri Zain
Face Off: A Malaysian Reformasi Diary (1998–99)
(การประจันหน้า : บันทึกการปฎิรูปมาเลเซีย 1998-99)
Singapore / Options Publications / 2000
Shahnon Ahmad
SHIT@Pukimak@PM (Novel Politik Yang Busuk Lagi Membusukkan)
(SHIT@Pukimak@PM : กลิ่นเหม็นจากนิยายการเมืองเหม็นๆ)
Kubang Krian, Kelantan, Malaysia / Pustaka Reka / 1999
ในช่วงปี 1989-99 รัฐบาลมาเลเซียภายใต้นายกรัฐมนตรี มหาธีร์ โมฮัมหมัดถูกสั่นสะเทือนจากแรงต่อต้านทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นหลังจากที่ นายกรัฐมนตรี มหาธีร์ สั่งปลด นาย อันวาร์ อิบราฮิม รองนายกรัฐมนตรี สื่อมวลชนที่ถูกรัฐบาลควบคุมต่างก็พากันออกมาใส่สีตีไข่”สาเหตุ” ของการตกจากเก้าอี้ของอันวาร์ อันเกิดจากหลักฐานที่ชวนให้เชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปกติของอันวาร์นั่นคือการร่วมเพศทางทวารหนักอันถือเป็นการล้ำเส้น “สัญญาประชาคม” ของผู้นำที่ปราศจากความละอาย กลุ่มงานเขียนแนว “ปฏิรูป” ไม่ได้แค่ส่งผลทางการเมืองเท่านั้นแต่ยังถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม เป็นงานเขียนที่วิพากษ์, ท้าทาย และ มีผลทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลมาเลเซีย งานเขียนแนว “ปฏิรูป” เหล่านี้ ยืนยันต่อสู้เพื่อทางเลือกในการแสดงออกและการถกเถียงทางความคิด โดยไม่ยี่หระต่ออำนาจการเซ็นเซอร์จากรัฐบาล บทความนี้ เสนอ”การอ่านทางเมือง” จากงานเขียนคอลัมน์ทางหนังสือพิมพ์, บันทึกประจำวัน และ นวนิยาย ที่เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ระส่ำระสายนี้
อามีร์ มูฮัมหมัด เป็นนักวรรณกรรมและนักวิจารณ์ภาพยนตร์คนหนุ่มที่มีเก่งกาจ งานเขียนคอลัมน์วิจารณ์ที่ทั้งจิก กัด ประชดประชันในหน้าหนังสือพิมพ์ของเขานั้นแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างชีวิตกับศิลปะ ในคอลัมน์ชุดนี้เขาเขียนถึงหน้าปกของสื่อต่างๆที่แสดงความลำเอียงออกมาอย่างเห็นได้ชัด, การถูกควบคุมโดยรัฐอย่างสิ้นเชิง, การรักประเทศชาติอย่างบ้าคลั่ง, และ การใส่ร้ายป้ายสีผู้บริสุทธิ์อย่างปราศจากหลักฐาน ข้อเขียนอันเสียดเย้ยในคอลัมน์ของอามีร์ส่งให้รัฐบาลตกอยู่ในสภาวะที่แลดูน่าขบขัน ราวกับได้ปรุรูลงบนความชอบธรรมของรัฐบาลจนพรุน อย่างไรก็ดี เขายังรักษาน้ำเสียงสุภาพ เรียบร้อยเอาไว้ในงานของเขา
งานของ ซาบรี เซน เป็นงานเขียนจากท้องถนน อันเนื่องมาจากการเข้าร่วม “ขบวนการปฏิรูป” และ การเผยแพร่ข่าวสารทางเลือกผ่าน “บันทึกการปฏิรูป” ออนไลน์ของเขาในช่วงเวลาที่ไม่มีใครเชื่อถือข่าวสารจากสื่อกระแสหลักอีกต่อไป บันทึกประจำวันของเขาได้เขียนถึงเรื่องราวการประจันหน้าระหว่างสามัญชนที่เข้าร่วมประท้วงรัฐบาลอย่างสันติโดยปราศจากอาวุธ กับกลุ่มตำรวจต้านจลาจลที่มีอาวุธครบมือ เขาได้บันทึกถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านทัศนคติทางการเมืองและสังคมที่นำไปสู่การเกิดสำนึกร่วมกันในการเสาะหาความยุติธรรม
ส่วนนวนิยายที่มีเนื้อหารุนแรงของนักเขียนผลงานระดับชาติของมาเลเซีย ชาช์นน อาหมัดนั้นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในลำไส้ของมนุษย์ ที่บรรดา “ขี้” ที่อยู่ภายใต้การนำของหัวหน้าขี้ที่ชื่อ “นายกฯ” เกิดอาการคั่งค้างปั่นป่วนไม่ยอมปล่อยตัวเองออกมาภายนอก “ลำไส้” ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง ความเหม็น และ การสร้างระบบการบริหารเหม็นๆนั้นนำไปสู่ระบบลูกขุนพลอยพยักที่คอยเลียแข้งเลียขาผู้เป็นใหญ่และเฝ้าแต่พูดคำว่า “ขอรับ ขี้” ท่ามกลางความขยะแขยงในหมู่ประชาชน นวนิยายเรื่องนี้ได้เปิดเผย ภาพการร่วมเพศทางทวารหนัก อสุจิ และการช่วยตัวเองอย่างโจ่งแจ้ง บางทีนี่อาจจะเป็นความตั้งใจในการเสนองานศิลปะในรูปแบบที่น่าขยะแขยงที่สุดเพื่อการผ่อนคลายเชิงวัฒนธรรมให้กับสังคมมาเลเซียที่ถูกกดดันอย่างรุนแรงจากแนวคิดเกี่ยวกับ “ความละอาย”
Read the full unabridged article HERE
Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 1 (March 2002). Power and Politics