นักเวทย์ และการเมือง ในอินโดนีเซีย

Agus Trihartono

      

ราวกับว่าเป็นผู้แอบซ่อนในรถไฟทางการเมือง บทบาทของนักเวทย์ หรือ Shaman” มักจะไม่ถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนในการศึกษาเรื่องการเมืองหลังยุกปฏิวัตาการเมืองการปกครองของอินโดนีเซีย จากการศึกษาที่ผ่านๆมาจะเน้นไปในเรื่องของ หลักของเหตุผล และวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเมือง ในความจริง นักเวทย์ หรือ Shamanได้เข้ามามีมีส่วนเกี่ยวของกับการแข่งขันเพื่อช่วงชำอำนาจทางการเมืองของอินโดนีเซีย และมีบทบาทที่ไม่สามารถจะถูกละเลยได้ นักเวทย์ จะถูกว่าจ้าง เพราะความเชื่อที่ว่า นักเวทย์จะช่วยนำมาส่งโชคลาภ และความปลอดภัยให้กับผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้ง เพื่อที่ชิงอำนาจทางการเมือง 

เนื้อหาที่กําลังจะกล่าวต่อไปนี้ จะนำเสนอบทบาทของนักเวทย์ที่มีต่อการเมืองยุคใหม่ในอินโดนีเซีย แต่ไม่ได้มีเจตนาจะแสดงให้เห็นถึงให้เห็นถึงพลังอำนาจ ลี้ลับของนักเวทย์แต่อย่างใด ความตั้งใจของข้าพเจ้าคือ เพื่อจะชี้ให้เห็นบทบาทของนักเวทย์ในการแข่งขันทางการเมือง ที่กลายมาเป็นปรากฏการณ์ โดยไม่ได้คำนึงถึงการเติบโตของสำนักวิจัยโพลที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นบรรทัดฐานของประชาธิปไตยสมัยใหม่ของอินโดนีเซีย 

นักเวทย์ในยุคการปกครองสมัยใหม่ 

” หรือ ชามานนิซึ่ม เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ไม่ได้อยู่ไกลไปจากการดำรงชีวิตประจำวันของชาวอินโดนีเซีย บุคคลผู้ซึ่งถูกเชื่อว่ามีพลังอำนาจวิเศษ จะใช้เวทย์มนต์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์หรือเป็นไปตามที่ผู้ร้องของได้ขอไว้ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีทางในการช่วยเหลือ รักษา หรือต่อสู้เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวหรือความทุกทรมานกับเหยื่อ 

โดยทั่วไป นักเวทย์แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ นักเวทย์ขาว และ นักเวทย์ดำ การแบ่งนี้เป็นไปตามสภาพของสังคม โดยที่นักเวทย์ขาวจะหมายถึง นักเวทย์ที่วัตถุประส่งเพื่อก่อให้เกิดส่งดี เพื่อช่วยเหลือ หรือ รักษา ในขณะที่ นักเวทย์ดำนั้นหมาย นักเวทย์ที่จะทำให้เกิดความชั่วร้าย เพื่อที่จะทำร้าย หรือ ฆ่าเหยื่อ 

นักเวทย์อาจจะแบ่งออกได้ตามหน้าที่ ตัวอย่างเช่น prewangan shamaจะเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และวิญญาณ midwife shamaช่วยในเรื่องการขอบุตร siwer shamanช่วยเรื่องการขจัดภัยอัตราย susuk (charm needle เข็มเสน่ห์) shamanผู้ที่จะนำมาซึ่งความสวยงาม ชื่อเสียง และการสรรเสริญ โดยการฝังเข็มขนาดเล็กทำจากทอง เพชร หรือ แก้วเข้าไปในร่างกาย jampi shamanช่วยรักษาผู้ป่วยด้วยเวทย์มนต์และสมุนไพร santet/teluh/tenung (soothsayนักพยากรณ์) คนที่ใช้เวทย์ในการทำให้ศัตรูได้รับความทุกข์ทรมาน นอกจากนี้ในพื้นที่อื่นๆของอินโดนีเซียยังมีนักเวทย์อื่นๆอีก เช่น Leak Shaman ในบาหลี Minyak kuyang (นํ้ามั้นวิเศษ) sharman ในทางตอนใต้ของ Kalimantan 

ในส่วนของ นักเวทย์ทางการเมืองนั้น จะช่วยในเรื่องของการอำนวยผลประโยชน์และชัยชนะทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงสมัครรับเลือกตั้งทางตรงในระดับภูมิภาค ในขณะที่มีปรากกการณ์ทางการเมือง นักเวทย์ก็เข้ามามีบทบาทพร้อมๆกันกับการพัฒนาประชาธิปไตยยุคใหม่ในช่วงหลังการปฏิวัติของอินโดนีเซีย 

แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของนักเวทย์ที่มีต่อการเมืองในอินโดนีเซียมากนัก แต่นักเวทย์ทางการเมืองนั้นมีบทบาทอย่างยิ่งและกลายมาเป็นเสาหลักในการเมืองยุคใหม่นี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่านักการเมืองท้องถิ่นไม่ได้เล่นการเมืองเพียงคน หรือโดยลำพัง เช่นเดียวกันกับ ซูฮาร์โต ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น the big man

Suharto was the second President of Indonesia, having held the office for 31 years from 1967.
Suharto was the second President of Indonesia, having held the office for 31 years from 1967.

นักเวทย์ก็ยังคงเข้ามีบทบาทสำคัญถึงแม้ว่าการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งในช่วงปี คศ1998 จะมีแบบแผนที่เป็นไปตาม ABG (ABRI/Army, Bureaucrats, and the Golkar party) ในความเป็นจริง นักเวทย์อยู่ในตำแหน่งที่สำคัญแม้ว่าจะถูกซ้อนอยู่ก็ตาม ซึ่งมีคำกล่าวไว้ว่า เพื่อให้ได้รับการอำนวยพรจากผู้นำในการปกครอง ดังนั้น นักเวทย์จะมีส่วนช่วยให้งานของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นมีความราบรื่น เพื่อให้ได้รับการอำนวยพร โดยการหารูปแบบการทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในยุคของระบบการเมืองการปกครองสมัยใหม่ (สัมภาษณ์กับ Mbah Lim, คนทรงเจ้า, เมือง Sidoarjo, 17 มกราคม ) นักเวทย์ได้ชื่อว่าเป็น ผู้ส่งเสียงกระซิบทางการเมือง

การจ้างหรือใช้ นักเวทย์เป็นเรื่องปกติ เพื่อที่จะกําจัดศัตรูทางการเมืองหรือพันธมิตรที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นศัตรูทางการเมืองในอนาคต Ki Gendeng Pamungkas นักเวทย์ผู้มีชื่อเสียงยอมรับว่ามีนักการเมืองมากมายเข้ามาหาเพื่อให้เขาใช้เวทย์มนต์ เพื่อที่จะทำลายถึงขั้นเอาชีวิตจากนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม หรือพันธมิตรที่ไม่ซื่อสัตย์ 

ความเป็นผู้นำของซูฮาร์โต นั้น ก็มีส่วนมาจากอำนาจอันลี้ลับเป็นพื้นฐาน โดยในความเป็นจริงนั้น ความเป็นผู้นำของเขาขึ้นอยู่กับที่ปรึกษาผู้ซึ่งอำนาจลี้ลับและเวทย์มนต์ มีนักเวทย์ที่จงรักภักดีมากมายที่คอยช่วยเหลือและให้การระมัดระวังต่อความเป็นผู้นำของซูฮาร์โต(Liberty, 10 ) ทั่งประเทศมีนักเวทย์ราวแสนคนที่อยู่เบื้องหลังของซูฮาร์โต (Gelanggang Rakyat, 18 Oktober ) ไม่ว่าจะเป็น Romo Marto Pangarso, Romo Diat, Soedjono Hoemardani, Ki Ageng Selo, Soedjarwo, Darindrio, mbah Diran, และ Eyang Tomo ซึ่งเป็นส่วนน้อยที่เป็นที่รู้จัก ยิ่งไปกว่านั้น ตำแหน่งผู้นำของซูฮาร์โตนั้น ได้รับมาได้และมีผลทางกฎหมายก็เพราะการครอบครองเครื่องรางของขลัง ดาวนำโชค หรือ ปุลุง (heavenly light) และอำนาจลี้ลับ(Vatikiotis, ) มีการเล่าลือกันว่า ซูฮาร์โต มีเครื่องลางกว่า 113 ชิ้นที่มาจากแหล่งต่างทั่วประเทศ ที่ช่วยให้เขาดำรงในตำแหน่งผู้นำอยู่ได้ Ki Edan Amongrogo คนทรงเจ้ากล่าว ซูฮาร์โตมีเครื่องรางที่สำคัญ เช่น mirah delima ซึ่งเป็นหินสีทับทิมที่ช่วยเรื่องการทำงานของเขาในฐานะผู้นของประเทศ (Liberty, 10 ) เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า นักเวทย์ เครื่องราง และความเป็นผู้นำของซูฮาร์โต เป็นเงาของกันและกันซึ่งไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ 

นักเวทย์ ในฐานะที่ ที่ปรึกษาทางการเลือกตั้ง 

การหมดยุคของซูฮาร์โตในปี คศตามมาด้วยการเปิดกว้างในการรับสมัครผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทางตรงในปี 2004 และการเลือกตั้งผผู้นำในระดับภูมิภาค ในปี 2005 ทั้งสองเหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นประชาธิปไตย ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพานักเวทย์ 

การเลือกตั้งทางตรงเปิดโอกาสให้คนธรรมดาได้ออกเสียงและใช้สิทธิ์ ซึ่งเป็นครั้งแรกทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการคำนวณเสียงทางการเมือง ในขณะเดียวกัน สำนักวิจัยโพลก็ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานอ้างอิงในกระบวนการรับสมัครผู้ลงรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองทั้ง5 พรรค ซึ่งได้แก่ Golkar, PDIP, PAN, Partai Demokrat และ PKS ต่างก็เห็นความสำคัญจากผลโพลที่ได้จากการอ้างอิง ในการส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้ง 

ตั้งแต่ปี คศ1998 เป็นต้นมา นักการเมืองจำนวนมาก มองว่าโพลเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวัดความคิดเห็นของประชาชน และพฤติกรรมของผู้ลงคะแนนเสียง ในการแข่งขันทางการเมือง ผลโพลมีส่วนช่วยผู้สมัครที่จะได้รับขัยชนะจากการเลือกตั้ง ช่วยระบุถึงระดับการสนับสนุนทีเขาจะได้รับจากสังคม และช่วยระบุถึงความคาดหวังของสังคมที่มีต่อพวกเขา โพลยังคงมีส่วนช่วยผู้สมัครในการกอบโกยอำนาจ ในยุคประชาธิปไตยสมัยใหม่ของอินโดนีเซีย 

เมื่อการแข่งขันทางการเมืองเน้นไปในเรื่องของพื้นฐานของเหตุผลและวัตถุประสงค์ นั่นหมายความว่าบทบาทของนักเวทย์จึงไม่มีอีกต่อไป อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงนั้น นักเวทย์ยังคงมีบทบาทสำคัญในการแข่งขันทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งทางตรงของผู้นำในระดับภูมิภาค มากไปกว่านั้นรองรัฐมนตรีกระทรวงศาสนาได้เตือนว่า การใช้นักเวทย์เข้ามามีบทบาทในกระบวนการเลือกตั้งนั้นจะเป็นตัวที่ทำให้ค่านิยมทางศาสนาเสื่อมลงไป (http://www.kemenag.go.id/index.php?a=berita&id=86648 in Indonesian). 

บทบาทของนักเวทย์ทางการเมือง ไม่ว่าจะมาจากการเชื้อเชิญผู้ลงสมัครหรือพรรคก็ตามนั้น จะคล้ายๆกับเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง อย่างไรก็ตามยังคงมีความแตกต่างกันระหว่าง สถาบันวิจัยโพล ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้คำปรึกษาทางการเมืองผ่านรูปแบบการทำวิจัย กับบทบาทของนักเวทย์ ในขณะที่สถาบันวิจัยโพลคำนวณเรื่องความนิยมและการยอมรับ แต่นักเวทย์จะใช้การพยากรณ์ สำนักวิจัยโพลใช้การลงคะแนนเสียง แต่นักเวทย์จะใช้ความมีเสน่ห์ และบารมีของผู้สมัคร สถาบันวิจัยโพลวางแผนเรื่องพฤติกรรมในการลงคะแนนเสียง ในขณะที่นักเวทย์เน้นเรื่องความสัมพันธ์ภายในกลุ่มโดวยการระบุว่าใครไม่ซื่อสัตย์หรือ น่าเชื่อถือ ในขณะที่สถาบันวิจัยโพลจะเปิดเผยผลสำรวจเพื่อเป็นวิธีการที่จะก่อให้เกิด bandwagon effect หรือ พฤติกรรมที่คนสังคมปฏิบัติตามกันเหมือนเห็นคนอื่นๆได้ทำ โดยที่ไม่คำนึงถึงความเชื่อของตนเอง แต่นักเวทย์ใช้วิธีการสวดมนต์ขอพรเพื่อจะก่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆ สถาบันวิจัยใช้การสุ่มสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างโดยมีวิธีการหลายขั้นตอน อีกทั้งยังมีการสัมภาษณ์เพื่อเป็นการหาข้อมูล แต่นักเวทย์จะสวดมนต์เรียกเทวดาเพื่อพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต สถาบันวิจัยโพลจะช่วยเป็นที่ปรึกษาและวางแผนกลยุทธ์ให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่นักเวทย์จะใช้การฝังเข็มเพื่อสร้างบุญบารมีและมหาเสน่ห์ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะให้ความสำคัญกับผลสำรวจและคำปรึกษาจากสถาบันวิจัยโพล เขาเหล่านั้นก็ยังคงให้ความเคารพต่อคำแนะนำของนักเวทย์เช่นกัน 

นักเวทย์วัย 62 ปีจากเมือง Sidoarjo ชวาตะวันออก นามว่า mbah Lim ได้ยอมรับว่าลูกค้าของเค้าส่วนใหญ่เป็นนักการเมือง ซึ่งตัวเขาเองนั้นเป็นนักเวทย์ผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งระดับผภูมิภาค ไม่ใช่เพียงแต่ในชวาตะวันออกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาคกลางและทางภาคใต้ของชวา 

นักเวทย์ Mbah Lim กล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขอร้องให้ช่วยปกป้องตัวของผู้สมัครเอง ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวให้ห่างจากเวทย์มนตร์คาถาและการรบกวนจากฝ่ายตรงข้ามเช่นกัน ตั้งแต่ช่วงที่มีการเลือกตั้งระดับภูมิภาค ตัวเขาเองยุ่งมาตลอดจึงทำให้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นทำงานในองค์กรของรัฐวิสาหกิจ เพราะได้รับคำร้องของให้มาเป็นที่ปรึกษาในการเลือกซึ่งในความเป็นจริงก็สามารถทำรายได้มากกว่า ในช่วงของการเลือกตั้งระดับภูมิภาคในภาคใต้ เขาได้ประกอบพิธีกรรมที่เขา Galunggung เป็นเวลากว่า วัน นำตั้งแต่วันที่มีการหาเสียงเลือกตั้งจนกระทั่งวันสิ้นสุดของการเลือกตั้ง (สัมภาษณ์เมื่อ 17 มกราคม 

An elections rally in 2004. A time considered as the starting point for popular democratization. Yet this did not necessarily sterilize politics from shamanism.
An elections rally in 2004. A time considered as the starting point for popular democratization. Yet this did not necessarily sterilize politics from shamanism.

Elma Tara Elbaar นักมานุษยวิทยาเกี่ยวกับศาสตร์ของเวทย์มนต์ บทบามของนักเวทย์ในการแข่งขันทางการเมืองนั้นค่อนข้างมีมาก พอกับสถาบันวิจัยโพล ในการเลือกตั้งระดับภูมิภาคหลายครั้ง สี่ปีที่ผ่านมาการเลือกตี้งที่เขต Gunung Mas regency ทางตอนใต้ของ Kalimantan นักเวทย์ได้ประกอบพิธีกรรม ณ สถาบันวิจัยโพล ในวันที่มีการเลือกตั้งนั้น เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัย KPPS ได้จัดเตรียมการเลือกตั้งและการประกาศผลโพล นักเวทย์ก็ได้ประกอบพิธีกรรมเพื่อหวังผลจะใช้เวทย์มนต์คาถาเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงผลโพล 

ในคืนก่อนที่จะมีการประกาศผลโพล นักเวทย์ก็ได้ไปโปรยข้าวสารสีเหลือง เกลือ และเทเลือดของไก่ที่มีขนสีดำและยังมีการปักมีด ที่เรียกว่า ลงบนพื้นของสถานที่ประกาศผลโพล เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่านักเวทย์ได้เป็นคนควบคุมสถาบันวิจัยโพลนั้นไว้แล้ว (สัมภาษณ์กับ Elma Tara Elbaar เมื่อ สิงหาคม สิ่งที่น่าสนใจคือ คนในสังคมดูเหมือนว่าจะให้การยอมรับและเข้าใจในบทบาทของนักเวทย์ในการประกอบพิธีกรรมที่เกิดขึ้น ม้ว่านักเวทย์จะได้รับการยอมรับจากสังคม แต่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งและพรรคก็ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใดว่าเขาเหล่านั้นได้ใช้หรือคำปรึกษาจากนักเวทย์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง เพราะว่าต้องการที่จะรักษาภาพลักษณ์ของนักการเมืองให้ปราศจากการนับถือหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์ ความไม่มั่นใจ หรือแม้กระทั่งแต่การถูกควบคุมด้วยสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าสาธารณชนจะไม่สามารถทำอะไรได้เรยหากปราศจากนักเวทย์เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง สิ่งหนึ่งที่จะทำให้รู้ได้ว่า นักเวทย์เข้ามามีบทบาทในขัยชนะทางการเมืองหรือไม่นั้นดูได้ จาก ผู้ที่ได้รัรับชัยชนะนั้นจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเป็นการแก้บน 

บทสรุป 

เวทีทางการเมืองนั้นเปิดกว้างสำหรับนักการเมืองให้ลงมาแข่งขันเพื่อชิงอำนาจ ในปรเทศอินโดนีเซีย มีการแข่งขันอย่างรุนแรงเพื่อให้ได้รับชัยชนะด้วยวิธีต่างรวมไปถึงการเข้ามามีบทบาทของนักเวทย์เช่น ซึ่งระดับการเข้ามามีบทบาทของนักเวทย์ที่มีต่อการเลือกตั้วทางตรง โดยเฉพาะการเลือกตั้งระดับภูมิภาคนั้น มาจาก 3 เหตุผลหลักดังนี้ 

หนึ่ง การแข่งขันที่ค่อนข้างสูงและความซับซ้อนของการเลือกตั้ง สอง ระดับความน่าเชื่อถือของผู้สมัครและพรรคที่มีน้อยในคณะผู้จัดการเลือกตั้ง (ตัวอย่างเช่น KPU คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะผู้ดูแล KPPS และเจ้าหน้าจากสถาบันวิจัยโพล) สาม นักเวทย์ได้รับการยอมรับจากสังคมมา และเข้ามามีบทบาทางการเมืองมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม 

ดังนั้น การพูดถึงการแข่งขันทางการเมืองของอินโดนีเซียนั้นควรจะมองในหลายๆปัจจัยไม่ว่าจะเป็นทางขนบธรรมเนียม หรือแม้กระทั่งแต่ปัจจัยที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีเหตุผลก็ตาม การที่ใช้นักเวทย์เข้ามาแอบแฝงอยู่ในรถไฟทางการเมืองของอินโดนีเซียในยุคการเมืองสมัยใหม่นั้น 

Agus Trihartono

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 12 (September 2012). The Living and the Dead

Reference 

Vatikiotis, Michael. Farewell to the Smiling General Reflections on Soeharto,” Global Asia, vol. 3, no. 1, Spring 2008