การทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมาย – ความเป็นมาและบทเรียนจากประเทศอินโดนีเซีย

Yuichi Sato

         

บทความนี้กล่าวถึงความเป็นมาในอดีตอันใกล้ของการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายในประเทศอินโดนีเซียและบทเรียนบางประการที่อาจเรียนรู้ได้จากประสบการณ์นี้  ในระหว่างปี 1999-2000 มีรายงานหลายฉบับซึ่งทำให้เล็งเห็นความสำคัญของการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายในประเทศอินโดนีเซียและพยายามแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบใหญ่หลวงที่การทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายนี้มีต่อธรรมชาติแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และเศรษฐกิจ ในรายงานและวิดีโอขององค์การตรวจสอบสิ่งแวดล้อมและองค์กรเตลาปักที่ชื่อ “การตัดครั้งสุดท้าย” และรายงานฉบับต่อเนื่องทำให้เกิดมีการรณรงค์ในระดับนานาชาติเพื่อต่อต้านการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายในประเทศอินโดนีเซียซึ่งส่งผลสำคัญบางประการ รวมถึงการที่รัฐบาลอินโดนีเซียทบทวนการห้ามการส่งออกซุงในปี 2002 และการขึ้นทะเบียนพันธุ์ไม้เขตร้อนที่ใกล้สูญพันธุ์ในสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าพันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ระหว่างประเทศ ภาคผนวก 3 ปี 2001  รายงานอื่น ๆนั้นพยายามที่จะกล่าวถึงปัญหานี้ในเชิงปริมาณทั้ง ๆ ที่ข้อมูลที่มีทำได้เพียงแค่ประมาณการเท่านั้น   ในรายงานของสก็อตแลนด์และคณะ  เมื่อปี 1999  ประเมินว่าในปี 1998 ปริมาณการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายที่สงสัยว่าเกิดขึ้นคิดเป็น 57 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น 16 ล้านลูกบาศก์เมตรจากปี 1997  ส่วนในรายงานของวัลทั่นเมื่อปี 2543 ได้ประเมินอัตราการตัดไม้ทำลายป่า (สูงถึง 2.7 ล้านเฮคเตอร์/ปี) และคาดการณ์ว่าป่าไม้ในพื้นที่ต่ำของสุลาเวสี สุมาตรา และกาลิมันตันจะหมดไปภายใน 10 ปี ผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรวมถึงระดับหนี้ที่สูงของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้ การขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเทียบเท่ากับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในหนึ่งปีงบประมาณ (ประมาณ 6.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และการว่างงานที่อาจเพิ่มสูงขึ้น (ส่งผลกระทบโดยทางตรงและทางอ้อมต่อคน 20 ล้านคน) ในขณะที่ถ้ารัฐบาลลดปริมาณการทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมาย ผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นความไม่สงบทางสังคม

บทเรียนที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เขียนขณะที่ทำงานในกระทรวงป่าไม้ของประเทศอินโดนีเซีย (1998-2001) มีดังนี้ การทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นในช่วงต่อที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตยและการกระจายอำนาจ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับระดับความพร้อมในเชิงกฎหมาย ทรัพยากรบุคคล และการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นในปัจจุบัน ปัญหาของประเทศอินโดนีเซียไม้ได้เกิดขึ้นในประเทศนี้เท่านั้น ประเทศจีน บราซิล รัสเซีย และประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาน่าจะได้รับทราบและเรียนรู้จาก บทเรียนเหล่านี้ นอกจากนี้ การทำป่าไม้อย่างผิดกฎหมายยังไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงปัญหาเดียวแต่เป็นเรื่องที่อาจได้รับประโยชน์จากการวางนโยบายป่าไม้และอุตสาหกรรมไม้ร่วมกัน ในท้ายที่สุดมาตรการป้องกันต่าง ๆ ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจากระดับภาคสนามสู่ระดับส่วนกลางและนานาประเทศ รวมถึงความร่วมมือระหว่างผู้รับประโยชน์ทุกฝ่ายและการใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพในการวางนโยบาย

ซาโตะ ยูอิชิ

Read the full unabridged article by Yuichi Sato (in English) HERE

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 2 (October 2002). Disaster and Rehabilitation

issue_2_banner_small