“ป่าไม้ชุมชน” และสังคมชนบทไทย

Fujita Wataru

        

อนันต์ กาญจนพันธ์
หน่วยควบคุมที่ดินและป่าไม้ประจำท้องที่: มิติทางวัฒนธรรมของการจัดการทรัพยากรทางตอนเหนือของประเทศไทย
เชียงใหม่ / ศูนย์สังคมศาสตร์และการพัฒนาแบบยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / 2000

ชิเกะโทะมิ ชินอิชิ
การจัดระบบหมูบ้านเพื่อการพัฒนาชนบทในประเทศไทย
โตเกียว / สถาบันเศรษฐศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนา / 1996
ฉบับภาษาอังกฤษ: ความร่วมมือและชุมชนในชนบทของประเทศไทย: การวิเคราะห์ระบบการพัฒนาชนบทแบบมีส่วนร่วม
โตเกียว / สถาบันเศรษฐศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนา / 1998

การอภิปรายถกเถียงเรื่องการใช้ป่าไม้เชิงอนุรักษ์ในประเทศไทยได้เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากกรมป่าไม้ องค์การนอกภาครัฐ และชุมชนในท้องถิ่นต่าง ๆ มีความคิดแตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ชุมชนซึ่งได้ริเริ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ยังคงไม่มีผลบังคับใช้ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังมีความซับซ้อนเนื่องจากผลกระทบจากสิ่งที่จอห์น เอ็มบรีเรียกว่า ลักษณะโครงสร้างแบบสองฝ่ายของสังคมไทย

ชิเกะโทะมิ ชินอิชิเสนอความคิดว่าการแทรกแซงของนักลงทุนไม่ได้ทำให้สังคมขาดความเป็นเอกภาพ หากแต่เอื้อให้มีช่วงต่อจากความสัมพันธ์แบบสองฝ่ายมาเป็นการให้ความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายในชุมชนซึ่งเป็นการปรับให้เข้ากับเศรษฐศาสตร์ตลาด หมู่บ้านทางตอนเหนือของประเทศไทยได้มีการพัฒนาองค์กรซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายขึ้นมา เช่นกลุ่มแลกเปลี่ยนแรงงาน สหภาพงานฌาปนกิจศพ และสหภาพเงินออม ชิเกะโทะมิมีความเห็นว่าความพยายามเหล่านี้จะนำไปสู่การก่อตั้งองค์กรในระดับท้องถิ่นซึ่งจะจัดการทรัพยากรป่าไม้ในโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐบาลและองค์การนอกภาครัฐ ชิเกะโทะมิยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมาโครงการเหล่านี้ประสบความสำเร็จเมื่อเกิดขึ้นที่หมู่บ้านตามธรรมชาติที่ตั้งอยู่รอบวัดในพุทธศาสนาหรือพิธีกรรมในการปกป้องคุ้มครองต่างๆ อย่างไรก็ตาม องค์กรซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายเหล่านี้ไม่ใช่สถาบันศาสนาอีกต่อไปแต่เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นโดยมีพื้นฐานบนแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ

อนันต์ กาญจนพันธ์แย้งว่าสังคมชนบทซึ่งพึ่งตนเองและมีรากฐานอยู่บนระบบเครือญาติหรือชุมชนได้ถูกทำลายลงจากการแทรกแซงของนักลงทุนและสถาบันกฎหมายของรัฐสมัยใหม่และข้อบังคับว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ความพยายามที่จะฟื้นฟูป่าไม้ชุมชนจึงจำเป็นต้องฟื้นฟู “ชุมชน” และค่านิยมทางศีลธรรมของชุมชนขึ้นมาก่อน อนันต์เสนอว่าการพิจารณาข้อบังคับเกี่ยวกับที่ดิน ป่าไม้ และชุมชนที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะทางด้านทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้นแต่ควรคำนึงถึงว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในชุมชนในภาพรวมด้วย อนันต์ยังได้เสนอด้วยว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์จะไม่อาจคาดหวังให้เกิดขึ้นได้หากไม่มีการตระหนักถึงสิทธิที่คนในท้องถิ่นทุกคนมีในการจัดการทรัพยากร

ในขณะที่ชิเกะโทะมิมองเห็นช่วงต่อจากความสัมพันธ์แบบสองฝ่ายมาเป็นการให้ความร่วมมือในระดับชุมชน อนันต์มองว่าเอกภาพของชุมชนได้จัดการทรัพยากรของชุมชนมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามผู้วิจารณ์ต้องการชี้ให้เห็นว่าประเพณีในชุมชนในลักษณะดังกล่าวมีการถือปฏิบัติน้อยลงและชุมชนไม่มีความแข็งแกร่งพอที่จะยังคงจัดการทรัพยากรด้วยตนเอง จากการค้นคว้าของผู้วิจารณ์ และของชิเกะโทะมิชี้ให้เห็นว่าการจัดระบบชุมชนที่ประสบความสำเร็จมักจะขึ้นอยู่กับผู้นำซึ่งมีความสามารถพิเศษและชี้นำชาวบ้านในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

ในท้ายที่สุด การยื่นมือเข้ามาของหน่วยงานรัฐไม่จำเป็นเป็นต้องนำไปสู่ความขัดแย้งเสมอไป  ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เจ้าหน้าที่ป่าไม้ทำงานร่วมกับนักอนุรักษ์ขององค์กรเอกชนและผู้นำชุมชนเพื่อเป็นตัวกลางระหว่างรัฐและชุมชนและดำเนินการจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม

ฟูจิตะ วาตะรุ
Fujita Wataru is Junior Research Fellow at the Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University. 

Read the unabridged version of this article HERE

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 2 (October 2002). Disaster and Rehabilitation

issue_2_banner_small