สถาบันกษัตริย์ของมาเลเซีย : การต่อสู้เพื่อความชอบธรรม

Ahmad Fauzi Abdul Hamid and Muhamad Takiyuddin Ismail

         

สถาบันกษัตริย์ของมาเลเซีย : การต่อสู้เพื่อความชอบธรรม

ในช่วงที่ผ่านมา ความสนใจในด้านวิชาการเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ในประเทศมาเลเซียได้ หวนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากการตีพิมพ์ทางวิชาการเมื่อไม่นานมานี้ของกอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร  แอนโทนี่ มิลเนอร์ และ อาร์เมด ฟอร์ซีและมูฮัมหมัด ตะคียุดดิน ความสนใจในระลอกใหม่นี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นถ้าไม่มีปัจจัยที่มาจากสถาบันกษัตริย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่สถาบันกษัตริย์ได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากยิ่งขึ้นหลังสิ้นสุดยุคสมัยของ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรี (1981-2003)  หากมองจาก 2 ด้าน  จะทำให้เราเข้าใจพัฒนาการดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น

ประการแรก การวิจัยเกี่ยวสถาบันกษัตริย์ของมาเลเซียไม่ค่อยได้รับความสนใจ ในช่วงที่ผ่านมา  ผลงานเชิงวิพากษ์ (เกี่ยวกับเรื่องสถาบันกษัตริย์)ของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศมาเลเซียแทบจะไม่มี เพราะมีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกฟ้องในฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์จากรัฐธรรมนูญมาเลเซีย

ประการที่  2 การทำให้บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในสาธารณะกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งช่วยทำให้ประชาชนรุ่นใหม่ ของมาเลเซีย ได้รับรู้ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ ความยืดหยุ่น และพละพลังของราชวงศ์ของมาเลเซียในการปรับตัวให้เข้ากับช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป  ยิ่งได้มีโอกาสเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่า “การเมืองใหม่” ของประเทศ เช่น ความยุติธรรมในสังคม ความโปร่งใส และ การตรวจสอบประชาธิปไตย คนรุ่นใหม่ก็จะยิ่งมีมุมมองที่เป็นกลางต่ออนาคตทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ยิ่งขึ้น   นับตั้งแต่มกุฎราชกุมาร รัฐเปรัค ราชา นาซริน ชาห์ ได้ทรงแถลงต่อสาธารณชนในเดือนกรกฎาคม ปี 2004 เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น ซึ่งนั่นมาจากการที่สถาบันกษัตริย์หลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองล้าหลัง สมาชิกของราชวงศ์เริ่มที่จะปรับตัวเองต่อสาธารณชน อย่างต่อเนื่อง และนำเสนอตัวเองให้เป็น “ผู้ปกป้อง” ของประชาชน   นี่ถือเป็นการพัฒนาหลังจากสถาบันกษัตริย์ต้องตกเป็นเบี้ยล่างต่อนักการเมืองเป็นเวลานานในยุคของ ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด

จากผลการเลือกตั้งที่น่าตกใจในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่12 ของมาเลเซียในเดือนมีนาคม 2008 นั้น ได้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างโครงสร้างการเมืองการปกครองแบบศักดินากับโครงสร้างการปกครอง สมัยใหม่ พรรคอัมโน ( United Malays National Organisation) ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรหลักของพรรคแนวร่วม (BN หรือ Barisan Nasional ) พรรคอัมโนพยายามถอยกลับจากการเป็น “ผู้ปกป้องที่แท้จริง” ของชาวมาเลย์

ในความเป็นจริง กระบวนการได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ อับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี เข้ามาบริหารประเทศ (2003-2009) ในช่วงที่พื้นที่ทางการเมืองเปิดกว้างท่ามกลางบรรยากาศแห่งเสรีภาพที่มีอยู่ทั่วไป  อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการฟื้นตัวของสถาบันมหากษัตรยิ์กำลังอุดช่องว่างที่พรรคอัมโนซึ่งได้ถอยห่าง(จากการเป็นผู้คุ้มครองคนมาเลย์) ไปพิจารณาตนเองอยู่ อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของอุดมการณ์แบบมาเลย์อนุรักษ์นิยม  หรือ บางทีอาจจะถูกมองว่าเป็นความพยายามแอบแฝงเพื่อทวงอำนาจ ผ่านข้อเรียกร้องทางชาติพันธุ์ของพรรคอัมโน

การครอบงำอำนาจทางการเมืองของพรรคอัมโนโดยผ่านการใช้ประเด็นชาติพันธุ์ที่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสถาบันกษัตริย์

การโต้กลับของฝ่ายอนุรักษ์ที่มีต่อกลุ่มการเมืองที่ทันสมัยซึ่งยอมรับความหลากหลายของชาติพันธุ์ในมาเลเซีย ได้ถูกเน้นในช่วงของ นาจิบ ราซาก์เป็นนายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ปี 2009 ถึงปัจจุบัน) ซึ่งนโยบายของการสร้างความยิ่งใหญ่แบบมาเลเซียนี้ ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกลุ่ม อัมโน ในความพยายามครั้งสุดท้ายในสร้างหลักประกันให้กับการสนับสนุนกลุ่ม อัมโน ของชาวมาเลย์ระดับรากหญ้า กลุ่มอนุรักษ์นิยม และ กลุ่มเอ็นจีโอหัวอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว ก็เล่นเกม “ชาติพันธุ์” โดยการวาดภาพของสถาบันกษัตริย์ – สถาบันซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจมาเลย์- ว่ากำลังเสี่ยงต่อการถูกล้มล้างโดยกลุ่มผู้ต่อต้านอิสลามและกลุ่มที่นิยมการปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่ซ่อนตัวอยู่ในกลุ่มพรรคการเมืองหลักฝ่ายตรงกันข้าม

หากพวกเขาจัดตั้งรัฐบาลในปุตราจายาได้ภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ที่กำลังจะเกิดขึ้น –ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญอย่างมาก หรือ เรียกได้ว่าเป็นมารดาของการเลือกตั้งทั้งหมด (‘mother of all elections’)  พรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือพันธมิตรประชาชน (หรือในภาษามลายู Pakatan Rakyat หรือ PR)  ก็ต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากไม่เพียงแต่ การที่จะต้องร่วมงานกับฝ่ายราชการ ซึ่งไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับกลุ่มที่ไม่ได้มาจากแกนพรรคร่วมรัฐบาลอย่าง BN ในขณะเดียวกัน ก็ต้องวางตัวเป็นกลางระมัดระวัง เพื่อให้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อสถาบันกษัตริย์

วิกฤติรัฐธรรมนูญของรัฐเปรัค ช่วงปี 2009-10 เมื่อราชวงศ์ของเปรัคยอมรับการถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาลของพรรคพันธมิตรประชาชน (PR) ไปสู่พรรคร่วมรัฐบาลในแนวร่วมแห่งชาติ (BN) ตามมาด้วยการประกาศยกเลิกความจงรักภักดีของอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติของพรรคพันธมิตรประชาชน  (PR) ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังติดค้างในใจของผู้นำพรรคพันธมิตรประชาชน  (PR)  การสมรู้ร่วมคิดนำไปสู่การเสื่อมถอยลงของพรรคพันธมิตรประชาชน(PR) ในเปรัค ซึ่งถูกกล่าวหาด้วยการพิจารณาคดี เกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมายในการถ่ายโอนอำนาจ โดยปราศจากการลงมติจากสภานิติบัญญัติ  ปัจจัยสำคัญที่กำหนดผลลัพธ์ของเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น มาจากความเชื่อมั่นที่แสดงออกโดยสุลต่าน อัสลัน ชาห์ อดีตหัวหน้าคณะผู้พิพากษา ที่พรรคพันธมิตรประชาชน (PR) ได้เสียคะแนนเสียงส่วนใหญ่ไปในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงนำไปสู่การก่อตั้งพรรคแนวร่วมแห่งชาติ(BN)

สำหรับตัวละครเอกของการเมืองใหม่ ไม่ว่าจะเป็นนักปฏิรูป และผู้สนับสนุนของพรรคพันธมิตรประชาชน (PR) วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญของเปรัคเป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง เพราะได้ยืนยันให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่งนั้นมีส่วนพัวพันกับการเมืองระบบศักดินา กล่าวอย่างเย้ยหยันได้ว่าสุลต่านรัฐเปรัคเป็นผู้ทรงจุดประกายความพยายามต่างๆ ที่จะเผชิญหน้า กับ บทบาทใหม่ของสถาบันกษัตริย์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ร่วมสมัย วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดรอยแผลที่ยากจะลืมเลือนต่อราชวงศ์เปรัค

อะไร (ยกตัวอย่าง เช่น) คือ สิ่งที่ถูกเตรียมการไว้เพื่อสนับสนุนและอาจนำไปสู่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์  นอกเหนือไปจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์เปรัค ยังคงมีข้อถกเถียงที่เกี่ยวกับเรื่องสถาบันกษัตริย์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เช่น  ศาสตราจารย์เอซิส บาริ (Aziz Bari) ที่โดดเด่นด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถูกถอดถอนจากตำแหน่งในมหาวิทยาลัยเนื่องจากไปวิจารณ์ สุลต่านรัฐเซลังงอร์ การที่ราชวงศ์แสดงความไม่พอใจเรื่องการแสวงหาการปฏิรูปการเลือกตั้ง ที่มีการประสานความร่วมมือกันเพื่อการเลือกตั้งที่สะอาดและยุติธรรม (The Coalition for Clean and Fair Elections – BERSIH ) และ อาชญากรรมที่ไม่ร้ายแรงที่สมาชิกในราชวงศ์ยะโฮร์ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำ

ภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์มัวหมองลงแล้ว เรื่องเกี่ยวกับสิทธิและความชอบธรรมทางกฎหมายของราชวงศ์ถูกตั้งคำถามว่าเป็นความตั้งใจที่ชัดเจนของราชวงศ์ที่จะยึดติดกับความเป็นจารีตของพรรคอัมโนสื่อกระแสหลัก  กลุ่ม NGO _ฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยม ตลอดจนข้าราชการพลเรือนของมาเลเซีย  การปกป้องตำแหน่งที่ศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ ภายใต้ระบบการปกครองที่พร้อมต่อสู้กันในมาเลเซียปรากฏออกมาในฐานะของการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง การปกป้องตำแหน่งของพระมหากษัตริย์ที่เคารพนับถือภายในรัฐธรรมนูญของมาเลเซียกลายเป็นหนึ่งในการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง

แง่มุมสำคัญที่สถาบันกษัตริย์จะต้องพิจารณาในการปรับตัวเองเข้ากับสภาพความเป็นจริงทางการเมืองในปัจจุบัน นั่นก็ คือ ความคาดหวังที่มีขอบเขตกว้างของประชาชน ซึ่งจะชื่นชมมากขึ้นในด้านค่านิยมสากล ที่อยู่เหนือขอบเขตด้านเชื้อชาติและศาสนา  ในเดือนพฤษภาคม ปี 2012, โมฮัมหมัด นีซาร์ (Mohammad Nizar) อดีตหัวหน้าคณะรัฐมนตรีรัฐเปรัค ถูกตำหนิอย่างรุนแรง จากการชูประเด็นเรื่องของความสิ้นเปลืองของสุลต่านยะโฮร์ที่ถูกกล่าวหาว่าประมูลหมายเลขทะเบียนรถด้วยมูลค่าสูงถึง 520, 000 ริงกิต

การชี้นำของผู้มีส่วนได้เสียของเจ้าหน้าที่รัฐ นซาร์(Nizar) ถูกจับภายใต้กฎหมายว่าด้วยการปลุกระดมยั่วยุ (the Sedition Act) ซึ่งเน้นย้ำแนวคิดของ พรรคอัมโน และ พรรคแนวร่วมแห่งชาติ(BN) ที่ต้องการให้จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในฐานะของสถาบันที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพนับถือ   ต่อจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2012, อาห์หมัด อับดุล จาลิ (Ahmad Abdul Jalil) เจ้าหน้าที่สำรวจปริมาณงาน (quantity surveyor) วัย 27 ปี ถูกจับกุมโดยไร้เหตุผล เพราะถูกกล่าวหาว่าเยาะเย้ยสุลต่านแห่งยะโฮร์ผ่านเครือข่าย Facebook ด้วยเหตุที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนั้น เป็นการกระตุ้นให้ความไม่สบายใจในสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นแผ่ขยายออกไป

The Malaysian Coat of Arms (Jata Negara)
The Malaysian Coat of Arms (Jata Negara)

อย่างไรก็ตามความเข้มงวดดังกล่าวไม่ได้หยุด กำแพงแห่งความไม่พอใจที่มีต่อรัฐโดยการนำของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ  (BN) และสถาบันกษัตริย์ในช่องทางต่างๆ ของสื่อทางเลือก เว็บบล็อกและเว็บไซต์ที่มีรายละเอียดของเรื่องรื่นเริงและเรื่องพฤติกรรมที่ดูไม่ค่อยดีของราชวงศ์ สามารถพบได้ง่ายในโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ (cyberspace)   ด้วยความก้าวหน้าของข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร ในขณะที่มีการจัดหาสื่อให้ราชวงศ์ได้ใช้สื่อสาร โดยตรงกับประชาชน  พร้อมกันนั้นก็เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย และ พฤติกรรมที่ขาดความยั้งคิดต่างๆ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นสิ่งที่ผิดปกติสำหรับพวกเขาในฐานะของผู้นำที่มียศของศาสนาอิสลามในรัฐของตน

ชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายมาเลย์ กลุ่มซึ่งสถาบันกษัตริย์เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตทางการเมืองของพวกเขา  กำลังประสบปัญหาจากความจริงอันน่าอายที่ว่าเบื้องหลังประตูของราชวังที่สร้างด้วยงบประมาณของรัฐนั้นกลับมีกิจกรรมที่ต่ำกว่ามาตราฐานของศาสนาอิสลามเกิดขึ้น ในมุมมองของข้อแก้ต่างที่มีอย่างต่อเนื่องจากสถาบันกษัตริย์และผู้สนับสนุน ในการดำรงไว้ซึ่งสถาบัน ที่เปรียบเสมือนเครื่องป้องกันของความเป็นมาเลย์ และชาตินิยมมาเลเซีย   ความรับผิดชอบนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาบันในการพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถเข้าถึงได้ร่วมแบ่งปันความรู้สึกของประชาชน  และ การไม่ถูกมองว่าเป็นปรปักษ์กับประชาชน

สุลต่าน มูฮัมหมัดที่ 5 ของรัฐกลันตัน : สถาบันกษัตริย์สายพันธุ์ใหม่

ท่ามกลางภาพอันมืดมนทั่วไปที่อยู่รายรอบความมีชื่อเสียงของสถาบันกษัตริย์ การมองในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตของสถาบันถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเดือนกันยายนปี 2010 พร้อมๆ กับการแต่งตั้ง  เตงกู ฟาร์ริส เพตรา (Tengku Faris Petra ) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งสุลต่าน โมฮัมหมัดที่5 แห่งกลันตันแทนที่พระราชบิดาซึ่งไร้ความสามารถของเขา คือ สุลต่าน อิสมิล เพตรา (Sultan Ismail Petra)

ในเดือนธันวาคม 2011, พระองค์ทรงได้รับตำแหน่งรองประมุขแห่งรัฐของสหพันธรัฐมาเลเซีย ครั้งที่ 2 เมื่อ สุลต่านอับดุล  ฮาลิม มูอัสซัม ชาห์(Sultan Abdul Halim Muazzam Shah) ทรงรับตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของสหพันธรัฐมาเลเซีย    หากจะเปรียบเทียบกับที่ผ่านมา พระองค์ทรงมีพระชนมายุไม่มาก และมาจากรัฐแห่งหนึ่งที่ถูกปกครองมาอย่างยาวนานจากฝ่ายตรงกันข้าม, สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 ได้ถ่ายทอดพลังไปยัง สถาบันกษัตริย์ด้วยวิถีชีวิตเรียบง่าย ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเป็นมิตร  และการหลีกเลี่ยงการโต้เถียงต่างๆ ที่อยู่รายล้อมราชวงศ์กลันตัน

เป็นที่เล่าลือกันอย่างแพร่หลายว่าพระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์ ทรงสนับสนุนที่จะให้พระอนุชาของพระองค์ คือ เตงกู ฟากรี่ เพตรา (Tengku Fakhry Petra )สืบทอดบัลลังก์ต่อ  แต่เนื่องจากการที่เตงกู ฟากรี่ ทรงใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ชื่อเสียงในด้านที่ไม่ดีเกี่ยวกับการอภิเษกสมรสที่จบลงด้วยการหย่าร้างที่ยุ่งยากกับนางแบบวัยรุ่นชาวอินโดนีเซียที่ชื่อ มาโนฮาร่า (Manohara) ทำให้พระองค์ (เตงกู ฟากรี่ เพตรา (Tengku Fakhry Petra )ดูไม่เหมาะสมที่จะได้รับตำแหน่งนี้ในสายตาผู้ใหญ่ของวังกลันตัน รวมทั้งสายตาของสาธารณชน

สิ่งที่สำคัญมากกว่าสำหรับสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 คือ พระองค์ทรงได้รับการปลูกฝังให้ทรงมีความเข้าใจอันดีกับ Nik Aziz Nik Mat หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของกลันตันผู้มีประสบการณ์ จาก พรรคอิสลามมาเลเซีย หรือ PAS   ความเคร่งครัดในศาสนาของพระองค์เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยราบรื่นระหว่างพระองค์กับพระราชบิดา ผู้ซึ่งถูกมองว่าได้รับการสนับสนุนโดยพรรคอัมโน UMNO

พระองค์ทรงพยายามหลีกหนีจากเรื่องราวจากข่าวซุบซิบในสังคม พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในฐานะผู้นำของศาสนาอิสลามในรัฐกลันตัน โดยทรงเป็นผู้นำของำผู้ที่มาชุมนุมสวดมนต์ ทรงเข้าร่วมพิธีกรรมการฆ่าสัตว์ในช่วงเทศกาลประจำปีของผู้เสียสละในฤดูกาลแสวงบุญฮัจญ์ และเปลี่ยนคำทักทาย(ของประชาชนที่มีต่อ)กษัตริย์จาก ‘Daulat Tuanku’ (Long Live My Sovereign – ขอกษัตริย์เราทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน) เป็น “Allahu Akbar” (God is Great  – พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่)

สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 ทรงช่วยทำให้หัวใจที่แสวงหาความยุติธรรมของชาวกลันตันอบอุ่นขึ้นด้วย การสนับสนุนข้อเรียกร้องจากรัฐบาลกลันตันในการการบริหารจัดการสิทธิการเก็บภาษีส ในการสกัดน้ำมันแถบชายฝั่งของกลันตัน ด้วยความสนใจส่วนพระองค์ในประเด็นเกี่ยวกับการเมืองของกลุ่มข้ามชาติพันธุ์ใหม่และธรรมาภิบาล   มีซึ่งได้รับการรับรองว่าพระองค์ได้ทรงผ่านการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการบริหารจัดการรัฐ ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่อยู่ที่อ๊อกฟอร์ด (Oxford) ทั้งหมดช่วยให้กระแสความนิยมของพระองค์เพิ่มสูงขึ้นทั้งในกลุ่มของคนที่ไม่ใช่มุสลิมและกลุ่มมุสลิมหัวก้าวหน้า

ในช่วงที่มีการประชุม International Bar Association’s Third Asia-Pacific Regional Forum ในเดือนพฤศจิกายน 2012  พระองค์ได้ทรงเตือนนักวิชาชีพด้านกฎหมายและเหล่าตุลาการอย่างเจ็บแสบ ว่า “อย่าได้ถอยหลังกลับสู่ยุคมืดในประวัติศาสตร์ของประเทศเรา” และทรงเน้นย้ำให้เห็นวิกฤตตุลาการของมาเลเซียในช่วงปี  1988 เมื่อครั้งที่หัวหน้าคณะตุลาการ  Salleh Abbas ถูกไล่ออกจากตำแหน่งโดยทันทีที่ โดยการยืนกรานของ ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัดในฐานะของผู้บริหารระดับสูง

นอกเหนือจากการฟื้นฟูชื่อเสียงสถาบันกษัตริย์โดยทั่วไปและพระราชอำนาจของสุลต่านรัฐกลันตัน สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5  ได้ทรงปรากฏพระองค์บนเวทีการเมืองระดับชาติ ซึ่งช่วยจุดประกายความหวังขึ้นมาใหม่สำหรับการทำให้โครงสร้างที่ทันสมัย​​ของรัฐบาลและสถาบันศักดินาซึ่งเต็มใจที่จะอดทนต่อการเปลี่ยนผ่านสอดรับกับช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปประสานงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในขณะที่นักการเมืองพรรคพันธมิตรประชาชน ( PR) อาจจะมีความหวัง;ที่จะให้ประมุขแห่งรัฐของสหพันธรัฐมาเลเซีย (Yang diPertuan Agong )ทรงเห็นพ้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่พระองค์จะได้สืบบังลังก์ตลอดระยะเวลา 4 ปี  แต่ดูเหมือนกับว่าพระองค์จะทรงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายว่าจะเป็นผู้ปกครองที่ไม่สนใจด้านการเมือง  สิ่งนี้คือความเป็นกลางที่สุลต่านบางองค์ทรงทำแต่ล้มเหลวในอดีต    ซึ่งนั่นจะเป็นการเพิ่มแรงผลักดันสำหรับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้และอาจยังเพิ่มความชอบธรรมของการปกครองโดยสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของมาเลเซีย

Ahmad Fauzi Abdul Hamid
Associate Professor of Political Science at the School of Distance Education
Universiti Sains Malaysia (USM), Penang, Malaysia

 and, Muhamad Takiyuddin Ismail
Senior Lecturer at the School of History, Politics and Strategy
Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM), Bangi, Selangor, Malaysia

 แปลจากภาษาอังกฤษเป็ นภาษาไทยโดย ณัฐฐิญา รัตนบัณฑิตย์

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 13 (March 2013). Monarchies in Southeast Asia

References

Ahmad Fauzi Abdul Hamid and Muhamad Takiyuddin Ismail. 2012. The Monarchy and Party Politics in Malaysia in the Era of Abdullah Ahmad Badawi (2003–09): The Resurgence of the Role of Protector”, Asian Survey, vol. 52, no. 5, pp. 924-948.
Ahmad Fauzi Abdul Hamid and Muhamad Takiyuddin Ismail, The Monarchy and Party Politics in Malaysia in the Era of Abdullah Ahmad Badawi (2003–09): The Resurgence of the Role of Protector”, Asian Survey, 52, no. 5 (2012), pp. 924-928.
Chandra Muzaffar. 1992. Pelindung? Penang: ALIRAN.
Chandra Muzaffar, Pelindung? (Penang: ALIRAN, 1992), pp. 92–93.
Chun, Michele. 2012. “Sultan: Judiciary needs men of integrity”, The Sun Daily, 30 November 2012 http://www.malaysianbar.org.my/legal/general_news/sultan_judiciary_needs_men_of_integrity.html (accessed 21 December 2012)
Kamal Hisham Jaafar, 2012. ‘Ahmad is not “Safe”’, Malaysia Today, 7 November 2012. http://malaysia-today.net/mtcolumns/letterssurat/52600-ahmad-is-not-qsafeq (accessed 21 December 2012)
Kamal Hisham Jaafar, ‘Ahmad is not “Safe”’, Malaysia Today, 7 November 2012. http://malaysia-today.net/mtcolumns/letterssurat/52600-ahmad-is-not-qsafeq  (accessed 21 December 2012)
Kobkua, Suwannathat-Pian.  2011. Palace, Political Party and Power: A Story of the Socio-Political Development of Malay Kingship. Singapore: National University of Singapore Press.
Kobkua Suwannathat-Pian, Palace, Political Party and Power: A Story of the Socio-Political Development of Malay Kingship (Singapore: National University of Singapore Press, 2011).
Milner, Anthony. 2012. ““Identity Monarchy”: Interrogating Heritage for a Divided Malaysia”, Southeast Asian Studies, vol. 1, no. 2, pp. 191–212.
Raja Nazrin Shah. 2004. The Monarchy in Contemporary Malaysia. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.
Milner, Anthony. 2012. “Identity Monarchy”: Interrogating Heritage for a Divided Malaysia”, Southeast Asian Studies, vol. 1, no. 2, pp. 191–212.
Raja Nazrin Shah, The Monarchy in Contemporary Malaysia (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2004).
Wong Chin Huat, “Maintaining the Monarchy”, The Nut Graph, 19 November 2012. http://www.thenutgraph.com/uncommon-sense-with-wong-chin-huat-maintaining-the-monarchy  (accessed 13 December 2012).
Wong Chin Huat. 2012. “Maintaining the monarchy”, The Nut Graph, 19 November 2012. http://www.thenutgraph.com/uncommon-sense-with-wong-chin-huat-maintaining-the-monarchy
Michele Chun, “Sultan: Judiciary needs men of integrity”, The Sun Daily, 30 November 2012. http://www.malaysianbar.org.my/legal/general_news/sultan_judiciary_needs_men_of_integrity.html  (accessed 13 December 2012).