Cheah Boon Kheng (เจีย บุน เคง)
Malaysia: The Making of a Nation
(มาเลเซีย: การสร้างชาติ)
Singapore / ISEAS / 2002
Farish A. Noor (แฟริช เอ นัวร์)
The Other Malaysia: Writings on Malaysia’s Subaltern History
(อีกด้านหนึ่งของมาเลเซีย: รวมบทความด้านประวัติศาสตร์ผู้ด้อยโอกาสของมาเลเซีย)
Kuala Lumpur / Silverfishbooks / 2002
เจีย บุน เคงอธิบายถึงการที่ความเป็นชาติของมาเลเซียก่อตัวและวิวัฒน์ขึ้นในทางปฏิบัติอย่างไร โดยเน้นการศึกษาไปที่การเมืองในระบบเลือกตั้ง บทบาทของนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา และนโยบายระดับประเทศ เจียวิเคราะห์มาเลเซียผ่านมุมมองของ “การให้และการรับ” โดยศึกษาความตึงเครียดที่ดำรงอยู่ ระหว่างแนวคิดชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ของชนเชื้อสายมาเลย์ กับแนวคิดชาตินิยมมาเลเซีย ประเด็นข้อถกเถียงหลักที่เจียเสนอ คือ นายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาทั้ง 4 คน ล้วน “เริ่มต้นจากการเป็นนักชาตินิยมมาเลย์ที่กีดกันคนเชื้อสายอื่นออกไป แต่ในที่สุดก็กลับกลายมาเป็นนักชาตินิยมมาเลเซียที่รวมกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน” การที่เป็นเช่นนี้ถึงสี่ครั้งในประวัติศาสตร์ของชาติ ย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐชาติมาเลเซียได้พัฒนาตรรกะของตนเองขึ้น ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า เกตัวนัน เมลายู หรือ การครอบงำทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์มาเลย์นั้น จะยังดำรงอยู่ตลอดไป แต่จะถูกจำกัดด้วยตรรกะดังกล่าว หนังสือของเจียเสนอความจริงด้านหนึ่งของมาเลเซีย ที่มีความหลากหลายและความอดกลั้นทางวัฒนธรรม
มาเลเซียของเจีย บุน เคง เป็นชาติที่พยายามรวมเอาความแตกต่างไว้ด้วยกันด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเองและต่างกลุ่มด้วย ส่วนแฟริช นัวร์ ไม่เห็นว่ามาเลเซียมีอัตลักษณ์ที่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียว และกลับเห็นความหลากหลาย ซึ่งเขาพยายามเรียกคืนกลับมาจากอดีต และต้องการทำให้เกิดความชอบธรรมขึ้นในสังคมปัจจุบัน
ดอนนา เจ อะโมโรโซ
(Translated by Darin Pradittatsanee, with assistance from Somporn Puttapithakporn and Chalong Soontravanich.)
Read the full unabridged version of this article in English HERE
Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 3: Nations and Other Stories. March 2003