ปัญหาของการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ความเติบโตของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย เอื้อให้พลเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ง่ายขึ้นและลดต้นทุนของการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชนหลายล้านคน (Ahmed & Madrid-Morales, 2020; Gil de Zúñiga et al., 2012; 2014) อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากก็ยังไม่สนใจการเมืองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง (Ahmed & Gil-Lopez, 2022; Zhelnina, 2020) ความไม่สนใจการเมืองคือการขาดความสนใจต่อความเป็นไปทางการเมือง รวมถึงข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมทางการเมือง เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นักรัฐศาสตร์มองว่านี่เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง (Dean, 1965; Rosenberg, 1954) พลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการเมืองที่ทำงานได้ดี ระบอบประชาธิปไตยจะเติบโตได้ได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพลเมืองเข้ามาพัวพันในการเมืองประจำวันและการเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน ยิ่งกว่านั้น “การมีส่วนร่วมที่เอียงกะเท่เร่นำไปสู่การปกครองที่เอียงกะเท่เร่” (Griffin & Newman, 2005; p. 1206) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในระยะหลังหลายชิ้นรายงานถึงวัฒนธรรมความไม่สนใจการเมืองในหลายประเทศประชาธิปไตย (Manning & Holmes, 2013; Henn et al., 2007; Pontes et al., 2017; Zhang, 2022) ในกรณีแบบนี้ ระบอบประชาธิปไตยจะค่อยๆ มีความเป็นตัวแทนของทัศนะพลเมืองอย่างทั่วทุกกลุ่มน้อยลง แนวโน้มนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมีช่องว่างถ่างกว้างมากขึ้นระหว่างกลุ่มพลเมืองที่กระตือรือร้นและไม่กระตือรือร้นทางการเมือง (Griffin & Newman, 2005; Hansford & Gomez, 2010) ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่พึงต้องพยายามพลิกกลับแนวโน้มนี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ชะลอแนวโน้มนี้ลงให้ได้ มิฉะนั้นแล้ว ความเอียงข้างในการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองจะก่อให้เกิดการเป็นตัวแทนของประชาชนที่เอียงข้าง นำไปสู่การเลือกที่รักมักที่ชังและผลลัพธ์ที่ถือเอาพรรคพวกของตนเป็นใหญ่ (Griffin & Newman, 2005; Manning & Holmes, 2013)
ใครบ้างที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
หลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่า อายุและเพศมักเกี่ยวข้องกับความไม่สนใจการเมือง โดยชี้ว่า คนหนุ่มสาวอายุน้อย (Henn et al., 2007; Snell, 2010; Zhang, 2022) และกลุ่มประชากรเพศหญิงมีแนวโน้มไม่สนใจการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น (Abendschön & García-Albacete, 2021; Vochocová et al., 2015) กล่าวอีกอย่างหนึ่ง พลเมืองที่ไม่สนใจการเมืองมีสัดส่วนที่เป็นคนอายุน้อยและเพศหญิงมากเกินไป เรื่องนี้น่ากังวลอย่างมาก เพราะในขณะเดียวกันผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่เป็นคนอายุน้อยก็มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในสังคมของเราด้วย ยิ่งกว่านั้น การที่ผู้หญิงขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างเพศกับการมีบทบาททางการเมืองมีมากขึ้น ทั้งที่ช่องว่างนี้ก็มีการกล่าวถึงอยู่แล้วในหลายประเทศทั่วโลก (Abendschön & García-Albacete, 2021; Ahmed & Madrid-Morales, 2020; Vochocová et al., 2015)
ในแง่ของการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น กิจกรรมทางการเมืองแบบออฟไลน์มักมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบออนไลน์ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมกิจกรรมแบบแรกอาจไม่น่าดึงดูดใจสำหรับพลเมืองส่วนใหญ่ ในขณะที่กิจกรรมแบบหลังอาจน่าดึงดูดใจมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ที่ขยายตัวมากขึ้นด้วย กล่าวง่ายๆ ก็คือ ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างใหญ่หลวงจากโอกาสเหลือเฟือในการมีปฏิสัมพันธ์กันเพราะช่องทางที่อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์มอบให้ ช่องทางรับข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารออนไลน์ที่ลื่นไหลไม่สะดุดยิ่งช่วยเอื้ออำนวยให้การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและดึงดูดพลเมืองที่ไม่สนใจการเมืองมาก่อน มีกิจกรรมทางการเมืองออนไลน์หลากหลายประเภทที่ผู้ใช้เข้าถึงได้ทันทีเพียงแค่แตะหน้าจอ ทั้งยังสามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคม-การเมืองได้ ( Gil de Zúñiga et al., 2012; Jost et al., 2018) ถึงแม้เราต้องยอมรับความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ เช่น การเข้าร่วมการประท้วง แต่การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออนไลน์ก็มีคุณค่าลึกซึ้งในตัวมันเองเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงระหว่างฐานเสียงกับนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เคยสะดวกง่ายดายเท่านี้มาก่อน (Keaveney, 2015)
บทบาทของ “ความกลัวพลาดตกขบวน”
นักวิชาการเคยถกเถียงกันมายาวนานเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่จะช่วยดึงพลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น “ความกลัวพลาดตกขบวน” ซึ่งเป็นประสบการณ์ทางจิตวิทยาที่สำคัญมาก สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในหมู่พลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ตามคำอธิบายของ Przybylski et al. (2013) ความกลัวพลาดตกขบวนคือ “ความหวั่นเกรงว่าคนอื่นอาจได้รับประสบการณ์ในทางที่มีคุณค่า ในขณะที่ตนเองไม่ได้อยู่ตรงนั้น” (p. 1841) และนำไปสู่ความปรารถนาที่จะตามให้ทันตลอดเวลาว่าคนอื่นกำลังทำอะไร ความรู้สึกนี้ผลักดันให้เกิดการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากเกินพอดี เพื่อเชื่อมต่อกับคนอื่น เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเพื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่างๆ (Przybylski et al., 2013) การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ในระยะหลังหลายชิ้นเกี่ยวกับประเด็นความกลัวพลาดตกขบวนกับใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมากระหว่างสองสิ่งนี้ (Fioravanti et al., 2021; Tandon et al., 2021) หากจะกล่าวให้เจาะจงลงไปกว่านั้น Przybylski et al. (2013) แสดงให้เห็นว่า “ความกลัวพลาดตกขบวนมีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการยุ่งเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ในระดับสูงขึ้น” (p. 1847)
จากภูมิหลังแบบนี้ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าประชาชนที่มีระดับความกลัวพลาดตกขบวนสูงก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองต่างๆ ในโลกออนไลน์ เช่น มีการสนทนาเรื่องการเมืองกับคนอื่น สนับสนุนเป้าหมายทางการเมืองบางอย่าง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง กลไกนี้สามารถอธิบายได้ว่า กลุ่มคนที่มีความกลัวพลาดตกขบวนสูงย่อมมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะติดตามอย่างใกล้ชิด (และยุ่งเกี่ยว) กับประเด็นและกิจกรรมทางการเมืองในเครือข่ายของตน เพื่อมิให้ตนพลาดกิจกรรมทางสังคมใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น (Skoric et al., 2018) กล่าวโดยสรุป ถึงแม้ผู้คนเข้ามายุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางการเมืองด้วยแรงจูงใจต่างกันไป แต่แรงจูงใจที่ถือเป็นแกนกลางประการหนึ่งน่าจะเป็นความกลัวพลาดตกขบวนที่ผลักดันให้พวกเขาเข้ามายุ่งเกี่ยว อันที่จริง ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความกลัวพลาดตกขบวนกับกิจกรรมการเมืองออนไลน์บางกิจกรรม (Ahmed, 2022; Skoric et al., 2018) อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์โดยตรงไม่ใช่จุดสนใจของงานเขียนชิ้นนี้ ยิ่งกว่านั้น มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า วัยและเพศมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นพิเศษกับความกลัวพลาดตกขบวน (Rozgonjuk et al., 2021; Przybylski et al., 2013) ด้วยเหตุนี้ ปฏิสัมพันธ์ของวัย เพศ และความกลัวพลาดตกขบวน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการอธิบายการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออนไลน์
กรณีของสิงคโปร์
เราทดสอบสมมติฐานของเราในบริบทของสิงคโปร์ ประเทศซึ่งมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ในระดับสูง ความไม่สนใจการเมืองในสิงคโปร์จัดอยู่ในอันดับสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก (Key, 2021; Ong, 2021) หลักฐานก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่า ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงแม้แต่การเข้าร่วมทางการเมืองที่มีต้นทุนต่ำ เช่น การลงชื่อในข้อเรียกร้อง (Caplan, 2008) รายงานชิ้นหนึ่งพบว่า ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ไม่สนใจการเมือง ถึงขนาดที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 4 จาก 10 รายไม่เคยพูดคุยเรื่องการเมืองกับเพื่อนเลย มากกว่าครึ่งคุยเรื่องการเมืองเป็นครั้งคราว และมีเพียง 7.1% เท่านั้นที่พูดคุยเรื่องการเมืองบ่อยๆ (Ong, 2021) จำนวนของชาวสิงคโปร์ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับปฏิบัติการทางการเมืองใดๆ เลยมีสูงมาก ชาวสิงคโปร์จำนวนมากไม่เข้าร่วมการคว่ำบาตร (79.1%) ไม่เข้าร่วมการประท้วงอย่างสันติ (74.2%) ไม่เข้าร่วมการประท้วงหยุดงานที่ไม่เป็นทางการ (88%) ไม่จัดกิจกรรมทางการเมือง (90%) (Ong, 2021) ไม่น่าประหลาดใจเลยที่สังคมสิงคโปร์มีอันดับความมีส่วนร่วมของพลเมืองในระดับต่ำกว่าสังคมตะวันตกอื่นๆ หลักฐานในระยะหลังยิ่งยืนยันว่า พลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองในสิงคโปร์ไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการมีส่วนร่วม และได้รับผลกระทบเชิงลบจากการรับรู้ข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ (Ahmed & Gil-Lopez, 2022) งานวิจัยอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า ความสนใจต่อข่าวสารการเมืองในระดับต่ำยิ่งทำให้ชาวสิงคโปร์บางส่วนไม่สนใจการเมือง (Zhang, 2022) ในบทความนี้ เราเสนอว่าควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากปัจจัยด้านจารีตประเพณี และสำรวจดูปัจจัยเชิงจิตวิทยาอื่นๆ ที่อาจช่วยให้พลเมืองที่ไม่สนใจการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
เราพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความกลัวพลาดตกขบวนกับการยุ่งเกี่ยวการเมืองในโลกออนไลน์ รวมทั้งลักษณะที่ความสัมพันธ์นี้แปรผันตามวัยและเพศ บนพื้นฐานของแนวคิดที่อภิปรายไปโดยสังเขปข้างต้น เราตั้งสมมติฐานว่า ความกลัวพลาดตกขบวนน่าจะมีความเชื่อมโยงเชิงบวกกับการถกเถียงพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งน่าจะเกี่ยวโยงไปถึงการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองทางโลกออนไลน์ เราลองทดสอบดูด้วยว่า กลไกนี้มีความคงเส้นคงวาในคนสิงคโปร์ทั้งหมด หรือว่าความสัมพันธ์นี้แตกต่างกันไปตามกลุ่มวัยและเพศ
ความกลัวพลาดตกขบวนเชื่อมโยงกับการถกเถียงพูดคุยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง
เราทำแบบสำรวจออนไลน์ในสิงคโปร์โดยใช้บริษัทสำรวจความคิดเห็นแห่งหนึ่ง ผู้เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลประชากรของตน อุปนิสัยในการใช้สื่อ การบริโภคข่าวทางสื่อสังคมออนไลน์ ความกลัวพลาดตกขบวน และพฤติกรรมทางการเมือง จากนั้นเราใช้ข้อมูลจากการสำรวจนี้เพื่อทำการวิเคราะห์การถดถอย (regression analyses) ทดสอบสมมติฐานของเรา
การวิเคราะห์ของเราชี้ให้เห็นว่า ความกลัวพลาดตกขบวนมีความเชื่อมโยงเชิงบวกกับการถกเถียงพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์ ยิ่งกว่านั้น การถกเถียงพูดคุยทางการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ยังเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความกลัวพลาดตกขบวนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์ด้วย โดยรวมแล้ว ผลลัพธ์ของการสำรวจชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนที่มีระดับความกลัวพลาดตกขบวนสูงมักเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพูดคุยถกเถียงและกิจกรรมทางการเมืองออนไลน์ในสิงคโปร์ ในที่นี้ การถกเถียงพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ด้วย
นอกจากนั้น เราค้นพบด้วยว่า กลไกนี้แปรผันตามวัยและเพศ บ่งชี้ว่าความสัมพันธ์นี้มีมากขึ้นในหมู่พลเมืองอายุน้อยและชาวสิงคโปร์เพศหญิง โดยที่ผลกระทบมากที่สุดของความกลัวพลาดตกขบวนเป็นที่สังเกตเห็นได้ในกลุ่มคนเพศหญิงอายุน้อย
ข้อสรุป
มีการตั้งคำถามกันมานานถึงหนทางแก้ไขความไม่สนใจการเมือง ถึงแม้เราไม่มีข้อเสนอทางออกที่ครอบคลุมเด็ดขาด แต่เราก็แสดงให้เห็นว่า ความกลัวพลาดตกขบวนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดึงให้กลุ่มที่ไม่สนใจการเมืองเข้ามามีส่วนร่วม ในกรณีของเรา เราพบหลักฐานที่สนับสนุนสมมติฐานว่า ความกลัวพลาดตกขบวนสามารถเป็นแรงจูงใจให้เกิดการถกเถียงพูดคุยและการมีส่วนร่วมในหมู่พลเมืองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนอายุน้อยเพศหญิงในสิงคโปร์ แม้ว่าบางคนเรียกการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ว่าเป็นแค่ clicktivism (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า slacktivism) โดยวิจารณ์ว่ากิจกรรมออนไลน์แบบนี้ไม่แปรไปสู่ปฏิบัติการในโลกออฟไลน์และไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือการเมืองอย่างถึงรากถึงโคนในชีวิตจริง (เช่น Christensen, 2011; Hindman, 2009; Shulman, 2004) กล่าวอีกอย่างหนึ่ง พวกเขาวิจารณ์ว่า กิจกรรมทางการเมืองออนไลน์ ซึ่งใช้แค่คีย์บอร์ดกับการคลิกเมาส์ ควรนับว่ามีความชอบธรรมทางการเมืองและเป็นปฏิบัติการของพลเรือนที่มีความหมายจริงๆ หรือไม่ (Harlow & Guo, 2014)
อย่างไรก็ตาม เราขอแย้งว่า การยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออนไลน์ขั้นต่ำที่สุด เช่น การพูดคุยถกเถียงและการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ จะช่วยเพิ่มความตระหนักและความรู้ทางการเมืองของพลเมือง ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสังคมการเมืองและรากฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งช่วยส่งเสริมการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองออฟไลน์ในระยะยาวได้ในที่สุด มีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่มากทีเดียวของกิจกรรมการเมืองออนไลน์ (เช่น Halupka, 2014, 2017; Karpf, 2010) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีหลักฐานบางประการสนับสนุนว่า กิจกรรมการเมืองออนไลน์มีความเกี่ยวโยงกับปฏิบัติการทางการเมืองออฟไลน์ในประเทศสิงคโปร์ (Skoric & Zhu, 2015) โดยรวมแล้ว การยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออนไลน์แสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางการเมืองของพลเมือง มันเป็นดัชนีที่ไว้ใจได้ในการชี้วัดว่าประชากรมีความกระตือรือร้นทางการเมืองแค่ไหน และมันมีศักยภาพมากพอสมควรที่จะแปรไปสู่การยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในโลกออฟไลน์ ยิ่งกว่านั้น นอกจากผลกระทบด้านลบของความกลัวพลาดตกขบวนที่ปรากฏอยู่ในงานเขียนต่างๆ แล้ว (Blackwell et al., 2017; Yin et al., 2021) เราพบเห็นข้อดีบางอย่างที่ความกลัวนี้อาจช่วยเป็นแรงขับดันให้เกิดพลเมืองที่สนใจการเมืองในประเทศสิงคโปร์
Saifuddin Ahmed
Nanyang Technological University, Singapore
Muhammad Masood
City University of Hong Kong
References
Abendschön, S., & García-Albacete, G. (2021). It’s a man’s (online) world. Personality traits and the gender gap in online political discussion. Information, Communication & Society, 24(14), 2054–2074. https://doi.org/10.1080/1369118x.2021.1962944
Ahmed, S. (2022). Disinformation sharing thrives with fear of missing out among low cognitive news users: A cross-national examination of intentional sharing of deep fakes. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 66(1), 89–109. https://doi.org/10.1080/08838151.2022.2034826
Ahmed, S., & Gil-Lopez, T. (2022). Incidental news exposure on social media and political participation gaps: Unraveling the role of education and social networks. Telematics and Informatics, 68, 101764.
Ahmed, S., & Madrid-Morales, D. (2020). Is it still a man’s world? Social media news use and gender inequality in online political engagement. Information, Communication & Society, 24(3), 381–399. https://doi.org/10.1080/1369118x.2020.1851387
Blackwell, D., Leaman, C., Tramposch, R., Osborne, C., & Liss, M. (2017). Extraversion, neuroticism, attachment style and fear of missing out as predictors of social media use and addiction. Personality and Individual Differences, 116, 69-72.
Christensen, H. S. (2011). Political activities on the Internet: Slacktivism or political participation by other means?. First Monday, 16(2). https://doi.org/10.5210/fm.v16i2.3336
Dean, D. G. (1965). Powerlessness and political apathy. Social Science, 40(4), 208–213. http://www.jstor.org/stable/41885108
Fioravanti, G., Casale, S., Benucci, S. B., Prostamo, A., Falone, A., Ricca, V., & Rotella, F. (2021). Fear of missing out and social networking sites use and abuse: A meta-analysis. Computers in Human Behavior, 122, 106839. https://doi.org/10.1016/j.chb.2021.106839
Gil de Zúñiga, H., Jung, N., & Valenzuela, S. (2012). Social media use for news and individuals’ social capital, civic engagement and political participation. Journal of Computer-Mediated Communication, 17(3), 319–336. https://doi.org/10.1111/j.1083-6101.2012.01574.x
Gil de Zúñiga, H., Molyneux, L., & Zheng, P. (2014). Social media, political expression, and political participation: Panel analysis of lagged and concurrent relationships. Journal of communication, 64(4), 612-634.
Griffin, J. D., & Newman, B. (2005). Are voters better represented? The Journal of Politics, 67(4), 1206–1227. https://doi.org/10.1111/j.1468-2508.2005.00357.x
Halupka, M. (2014). Clicktivism: A systematic heuristic. Policy & Internet, 6(2), 115–132. https://doi.org/10.1002/1944-2866.poi355
Halupka, M. (2017). The legitimisation of clicktivism. Australian Journal of Political Science, 53(1), 130–141. https://doi.org/10.1080/10361146.2017.1416586
Hansford, T. G., & Gomez, B. T. (2010). Estimating the electoral effects of voter turnout. American Political Science Review, 104(2), 268–288. https://doi.org/10.1017/s0003055410000109
Harlow, S., & Guo, L. (2014). Will the revolution be tweeted or facebooked? Using digital communication tools in immigrant activism. Journal of Computer-Mediated Communication, 19(3), 463–478. https://doi.org/10.1111/jcc4.12062
Henn, M., Weinstein, M., & Hodgkinson, S. (2007). Social capital and political participation: Understanding the dynamics of young people’s political disengagement in contemporary Britain. Social Policy and Society, 6(4), 467–479. https://doi.org/10.1017/s1474746407003818
Hindman, M. (2009). The myth of digital democracy. Oxford: Princeton University Press.
Jost, J. T., Barberá, P., Bonneau, R., Langer, M., Metzger, M., Nagler, J., Sterling, J., & Tucker, J. A. (2018). How social media facilitates political protest: information, motivation, and social networks. Political Psychology, 39, 85–118. https://doi.org/10.1111/pops.12478
Karpf, D. (2010). Online political mobilization from the advocacy group’s perspective: Looking beyond clicktivism. Policy & Internet, 2(4), 7–41. https://doi.org/10.2202/1944-2866.1098
Keaveney, P. (2015). Online lobbying of political candidates. In Frame, A., & Brachotte, G. (Eds.), Citizen participation and political communication in a digital world (pp. 220-234). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315677569-21
Key, T. K. (2021, April 21). Are Singaporeans really politically apathetic?. Institute of Policy Studies. https://lkyspp.nus.edu.sg/ips/publications/details/are-singaporeans-really-politically-apathetic
Manning, N., & Holmes, M. (2013). ‘He’s snooty ‘im’: Exploring ‘white working class’ political disengagement. Citizenship Studies, 17(3–4), 479–490. https://doi.org/10.1080/13621025.2013.793082
Ong, J. (2021, July 2). Most Singaporeans politically apathetic, not keen on activism: IPS. The Straits Times. https://www.straitstimes.com/singapore/most-singaporeans-politically-apathetic-not-keen-on-activism-ips
Pontes, A. I., Henn, M., & Griffiths, M. D. (2017). Youth political (dis)engagement and the need for citizenship education: Encouraging young people’s civic and political participation through the curriculum. Education, Citizenship and Social Justice, 14(1), 3–21. https://doi.org/10.1177/1746197917734542
Przybylski, A. K., Murayama, K., DeHaan, C. R., & Gladwell, V. (2013). Motivational, emotional, and behavioral correlates of fear of missing out. Computers in Human Behavior, 29(4), 1841–1848. https://doi.org/10.1016/j.chb.2013.02.014
Rosenberg, M. (1954). Some determinants of political apathy. Public Opinion Quarterly, 18(4), 349. https://doi.org/10.1086/266528
Rosenberg, M. (1954). Some determinants of political apathy. The Public Opinion Quarterly, 18(4), 349–366. http://www.jstor.org/stable/2745968
Rozgonjuk, D., Sindermann, C., Elhai, J. D., & Montag, C. (2021). Individual differences in Fear of Missing Out (FoMO): Age, gender, and the Big Five personality trait domains, facets, and items. Personality and Individual Differences, 171, 110546.
Shulman, S. W. (2004). The internet still might (but probably won’t) change everything: Stakeholder views on the future of electronic rulemaking. I/S: A Journal of Law and Policy for the Information and Society, 1 (1), 111-145
Skoric, M. M., & Zhu, Q. (2015). Social media and offline political participation: Uncovering the paths from digital to physical. International Journal of Public Opinion Research, 28(3), 415–427. https://doi.org/10.1093/ijpor/edv027
Skoric, M. M., Zhu, Q., & Lin, J. H. T. (2018). What predicts selective avoidance on social media? A study of political unfriending in Hong Kong and Taiwan. American Behavioral Scientist, 62(8), 1097–1115. https://doi.org/10.1177/0002764218764251
Snell, P. (2010). Emerging adult civic and political disengagement: a longitudinal analysis of lack of involvement with politics. Journal of Adolescent Research, 25(2), 258–287. https://doi.org/10.1177/0743558409357238
Tandon, A., Dhir, A., Almugren, I., AlNemer, G. N., & Mäntymäki, M. (2021). Fear of missing out (FoMO) among social media users: A systematic literature review, synthesis and framework for future research. Internet Research, 31(3), 782–821. https://doi.org/10.1108/intr-11-2019-0455
Vochocová, L., Štětka, V., & Mazák, J. (2015). Good girls don’t comment on politics? Gendered character of online political participation in the Czech Republic. Information, Communication & Society, 19(10), 1321–1339. https://doi.org/10.1080/1369118x.2015.1088881
Yin, L., Wang, P., Nie, J., Guo, J., Feng, J., & Lei, L. (2021). Social networking sites addiction and FoMO: The mediating role of envy and the moderating role of need to belong. Current Psychology, 40(8), 3879-3887.
Zhang, W. (2022). Political disengagement among youth: A comparison between 2011 and 2020. Frontiers in Psychology, 13, 809432. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.809432
Zhelnina, A. (2020). The apathy syndrome: How we are trained not to care about politics. Social Problems, 67(2), 358-378.