Site icon Kyoto Review of Southeast Asia

เรื่องราวเกี่ยวกับอมนุษย์ ในพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

       

 หากจะพูดถึงเรื่องราวของอมนุษย์ ภูตผีปีศาจ หรือศากศพ เรื่องเล่าที่ดีที่สุดคือ เรื่อง เวตลาปกรณัม (ซึ่งเป็นนิทานสุภาษิตที่รวมเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์และ ภูตผีปีศาจ) 

เวตาลปกรณัม เป็นส่วนหนึ่งของประชุมปกรณัมหรือหนังสือที่รวบรวมนิทานสุภาษิตที่มีลักษณะเป็นนิทานซ้อนนิทาน ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามหลักฐานที่ได้ถูกบันทึกไว้ช่วงศตวรรษที่ 15 เรื่องราวที่น่าสนใจในประชุมปกรณัมประกอบไปด้วย เวตาลปกรณัม (หนังสือรวมนิทานที่เวตาลเล่าไว้) เวตาลปกรณัม (เรื่องราวเกี่ยวกับวัวที่ชื่อนนทกที่เอาใจออกจากนาย ซึ่งมีทั้งได้รับการแปลเป็นภาษาอินเดีย ภาษาชวา ภาษาทมิฬ และภาษาลาว) มัฑุกปกรณัม (เป็นนิทานเกี่ยวกับกบ) ปีศาจปกรณัม (รวมเรื่องเล่าเกี่ยวภูตผีปีศาจและผู้วิเศษ) ปักษีปกรณัม ( หนังสือรวมนิทานที่ตัวละครเป็นนก) หรือบางครั้งมีชื่อว่า สกุณาปกรณัม (คำว่า “ปักษี” และ “สกุณา” เป็นภาษาสันสฤต มีความเหมือนกัน แปลว่า “นก”) เหล่านี้ มีลักษณะเป็นนิทานขนาดสั้นมีลักษณะเป็นนิทานซ้อนนิทานมากมาย มีตัวละครเป็น ภูตผีและสัตว์ต่างๆ ในบางกรณีชื่อเรื่องที่ถูกนำมาใช้นั้นเป็นการรวมเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ไม่ว่านะเป็นการก่อร่างสร้างเมือง การเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งเรื่องราวของปกรณัมจะมีลักษณะคล้ายๆกับ Setsuwa ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับภูติผี ปีศาจของญี่ปุ่นในยุคกลาง หรือ เรื่อง Zhiguai ของประเทศจีน ซึ่งจะแตกต่างกับ เรื่องเล่าหรือนิทานวรรณคดีของตะวันตกซึ่งจะพูดถึงเรื่องสัตว์ประหลาดและความมหัศจรรย์ ประชุมปกรณัมไม่มีการแบ่งเรื่องราวของสัตว์อย่างเช่น นก หรือ กบ ว่ามีความแตกต่างจากเรื่องของภูตผีปีศาจ นิทานสุภาษิตที่อยู่ในประชุมปกรณัมนี้มีพื้นฐานมาจากวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ เรื่องปัญจตันตระ เรื่องหิโตปเทศวัตถุปกรณัม เรื่องกถาสาริตสาครของโสมาเทวะ และเรื่องอื่นๆที่มาจากประเทศอินเดีย แม้ว่าประชุมปกรณัมจะมีต้นกําเนิดมาจากอินเดีย แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างจากต้นฉบับ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวในปักษีปกรณัมนั้นมีความแตกต่างไปจากปัญจตันตระ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิทานรื่องที่สามของปักษีปกรณัม ประชุมปกรณัมเป็นนิทานสุภาษิตที่ถูกเผยแพร่ในยุคแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ชวา ตอนเหนือของประเทศไทย รัฐฉานของพม่า และกัมพูชา โดยมีที่มาคือ ปัญจตันตระ ฉบับตันโตรปาขยานะ (ซึ่งเรื่องนางตันไตรปรากฏอยู่ใน นนทุกปกรณัม ชื่อของนางถูกเรียกแตกต่างกันไป ลาว มุน-ทันไต ไทย นิทานนางตันไตร ชวา ตันไตร กา-มัน-ทะ-กะ หรือ ตันไตร เด-มุง) 

Keterangan gambar: Lukisan mural di Wat Sommanat (Bangkok)

ต้นฉบับปกรนัมของอินเดียนั้นถูกค้นพบกลุ่มชนเมโสโปเตเมีย ช่วงปี ค.ศ.1031 ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาสันสกฤตและนักอักษรศาสตร์ภาษาอินเดียตอนใต้ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบที่แตกต่างกันของอักขระในภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษากันนาดา ภาษามาลายาลัม จากบทประพันธ์ของ Vasubhāga, Viṣṇuśarman, และ Durgasiṃha ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวเกี่ยวกับนักปราชญ์จากศาสนาเชนชื่อ Pārvanātha แต่งโดย Bhāvadevasūri ปกรนัมเป็นที่รับรู้อย่างแพร่หลายในแบบฉบับภาษาอาหรับ ยกตัวอย่างเช่น The Pahlavi (เดอะ พาวะลี) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของปัญจตันตระในแบบฉบับภาษาเปอร์เซียน ที่เรียกว่า Kalilah and Dimnah หรือ the Fables of Bidpai หรือ ‘The Lights of Canopus’ ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับนก คล้ายกับปักษีปกรณัม ซึ่งในเวลาต่อมาแปลไปเป็นภาษาละติน ภาษาฮีบรู ภาษากรีก และภาษาอื่นๆในยุโรป บทประพันธ์ของ Farid ud-Din Attar ที่กล่าวถึงเรื่องการชุมนุมของฝูงนก หรือที่ในภาษาเปอร์เซียนเรียกว่า Manteq at-Tair มีโครงเรื่องและตัวละครของนกค่อนข้างจะใกล้เคียงกับปักษีปกรณัม 

อาจารย์ สยาม ภัทรานุประวัติ และ ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี ได้มีการศึกษาค้นคว้าวรรณคดีจากอินเดียและนำมาเปรียบเทียบกับนิทานของชวา(แต่ไม่ได้มีการเปรียบเทียบกับเรื่องราวทางพุทธประวัติ) แม้ว่า ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี จะเน้นศึกษาเรื่อง นนทกปกรณัม ท่านยังแสดงให้เห็นว่า คำว่า ปักษี มัณฑุกะ และปีศาจ ได้รับการเผยแพร่ในภาคเหนือของประเทศไทยในช่วงกลางศตวรรษที่ 1400 และอาจจะมีที่มาจากเรื่อง วายุพักตร์ ส่วนคำว่า ปักษี นั้นมาจากเรื่องเกี่ยวกับพระวิษณุ ในบางกรณีนั้นภาษาสันสกฤตถูกแปลให้เป็นภาษาบาลีได้ แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่มีคำอธิบายสำหรับคำเหล่านี้ในภาษาบาลี อาจารย์ สยาม ภัทรานุประวัติกล่าวว่ามีการเรียกชื่อเรื่องปัญจตันตระ ฉบับตันโตรปาขยานะ แตกต่างกันออกไปในภาคกลาง ภาคเหนือของไทย และลาว ซึ่งชื่อเรื่องก็มาจากชื่อผู้หญิงในภาษาสัสกฤตชื่อว่า ตันไตร หรือ ตันตรู หรือ นางตันไตร ในภาษาลาวและภาษาไทย เรื่องนางตันไตรปรากฏอยู่ใน นนทุกปกรณัม หญิงสาวที่ได้เล่านิทานถวายให้กับพระเจ้าไอสุริยพาหราช ซึ่งเป็นจุดเริ่มที่ทำให้เกิดนิทานกว่า 360เรื่อง แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอยู่เพียงประ 80-90 เรื่องเท่านั้น 

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องเล่ามีอยู่ว่า พระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี การโต้ตอบตอบปัญหากับเวตาล ปีศาจที่มีร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก พระวิกรมาทิตย์ต้องการที่จะจับเวตาลไปให้กับฤๅษี เพื่อที่จะได้พลังอำนาจวิเศษจากฤาษี เวตาลพยายามที่จะหนีจากพระวิกรมาทิตย์อยู่เสมอโดยการยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำตอบที่ถูกต้องออกมาอยู่เสมอ เวตาลก็จะบินหนีจากไหล่ของพระวิกรมาทิตย์กลับไปยังต้นอโศก ยกตัวอย่างเช่น 

เรื่องราวระหว่างนกแก้วและนกขุนทองที่โต้แย้งกันว่าระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครโง่เขลามากกว่ากัน นกขุนทองเล่าเรื่องชายผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่รักของสาวงามผู้หนึ่งแต่มีความเนรคุณด้วยการลักของของเธอแล้วทิ้งเธอไป ในขณะที่นกแก้วเล่าเรื่องหญิงรายหนึ่งที่ผ่านการสมรสแล้วแต่คบชู้กับพราหมณ์อยู่เป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็อยู่มาวันหนึ่งพราหมณ์ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นขโมยแอบย่องเข้ามาในห้องของเธอ เขาถูกคนรับใช้ของผู้หญิงตีเข้าที่ศีระษะอย่างแรง และในขณะที่เขานอนตายผู้หญิงพยายามที่จะทำให้เขาฟื้นคืนชีพโดยการเป่าลมหายใจเข้าไปในปากของเขา เขากัดจมูกของเธอดดยบังเอิญเธอตำหนิสามีผู้ที่ควรจะได้รับการประหารจากกษัตริย์ที่ทำให้เธอเสียโฉม เวตาลได้ถามพระวิกรมาทิตย์ว่า ใครโหดร้ายที่สุดระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง พระองค์เผลอตรัสออกไปว่าผู้หญิง ซึ่งคำตอบนี้ไม่มีเหตุผลอะไรเลย เพียงแค่ว่าเวตาลบอกว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 

อีกเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับ แม่และพ่อผู้เป็นพราหมณ์กําลังครํ่าครวญกับเสียชีวิตอย่างกะทันหันของลูกชายคนเล็กของพวกเขา พวกเขาพาร่างของลูกชายไปสุสาน มีโยคีแก่ตนหนึ่งร้องไห้เมื่อได้เห็นลูกของพวกเขา แต่แล้วก็กระโดดโลดเต้นและใช้เวทมนตร์เพื่อควบคุมจิตวิญญาณมีของศพเด็กผู้ชายคนนั้นให้ฟื้นกลับมามีชีวิตได้ พ่อแม่มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้เห็นลูกของตนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง เด็กตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามนักพรตโยคีตลอดชีวิตที่เหลือของเขา เวตาลได้ถามพระวิกรมาทิตย์ว่า ทำไมโยคีถึงร้องไห้ในตอนแรก แต่กลับกระโดดโลดเต้นภายหลัง พระองค์ทรงตรัสตอบถูกต้องอีกครั้งว่าโยคีเศร้าใจที่ได้เสียร่างกายเก่าของเขา แต่ดีใจที่จะได้มีร่างที่ยังอ่อนไวมาเป็นพราหมณ์ 

ยังคงมีเรื่องราวอีกมากมายที่เกี่ยวกับ ความรัก การวางยาพิษ หญิงแพศยา การใช้เวทย์มนต์ในการเปลี่ยนเพศ 

ท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ มุ่งหวังที่จะปลงพระชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้ และเวตาลก็กลายมาเป็นภูมิตวิเศษของพระวิกรมาทิตย์ 

จะเห็นได้ว่าจากเรื่องราวนี้ ภูตผีหรือ อมนุษย์ในวรรณคดีสันสกฤตนั้นจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา หรือเป็นพลังอำนาจเพื่อคุ้มครอง เป็นแหล่งที่มาของโชคลาภ เรื่องราวเล่านี้ที่ถูกเผยแพร่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในชวานั้นจะเป็นแหล่งที่มาของพิธีกรรมและตำนานที่มีการบอกเล่าอยู่ในปัจจุบัน วรรณคดีสันสกฤตเหล่านี้ล้วนแต่ มีส่วนต่อความสำเร็จต่อธุรกิจภาพยนต์ในประเทศไทย พม่า และลาว ส่วนในกัมพูชานั้นธุรกิจนี้ยังเพิ่งจะเริ่มต้น โดยในภาพยนต์หลายๆเรื่องมีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ อมนุษย์ ภูตผีหรือปีศาจ ตัวอย่างเช่น เรื่องมหาอุตม์เรื่องอรหันต์ซัมเมอร์เรื่องชั่วฟ้าดินสลาย เรื่องลุงบุญผู้ซึ่งสามารถระลึกชาติได้ เรื่องนางนาก และเรื่องจอมขมังเวทย์ และอีกหลายๆเรื่องที่ เนื้อหาเกี่ยวพลังอำนาจของภูตผี ปีศาจ หรืออมนุษย์ทั้งที่ให้ความรู้หรือให้เกิดความทรมารและความตาย ภาพยนต์เหล่ายังคงมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระภิกษุและคนธรรมดาอยู่ในเรื่องด้วยเช่นกัน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำการศึกษาค้นคว้า เพื่อหาแหล่งที่มาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ 

Justin Thomas McDaniel
ペンシルベニア大学

翻訳者 吉田千春 

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 12 (September 2012). The Living and the Dead

Exit mobile version