สิงคโปร์เป็นรัฐพรรคเดียวโดยพฤตินัย โดยมีพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party–PAP) กุมบังเหียนมานับตั้งแต่การเลือกตั้งรัฐสภาครั้งแรกภายหลังประเทศได้รับเอกราชในปี 1968 องค์กร Freedom House มักจัดอันดับนครรัฐแห่งนี้อยู่ในกลุ่ม “เสรีบางส่วน” ตั้งแต่มีการจัดทำรายงานสถานการณ์ของประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกในปี 1973 1 ตั้งแต่ปี 2006 จนถึง 2013 แผนกวิจัยและวิเคราะห์ของสำนักข่าว The Economist ให้คำจำกัดความว่าสิงคโปร์เป็น “ระบอบพันทาง” และต่อมาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยแบบมีตำหนิ” (flawed democracy) (2014 ถึง 2021) 2 เสรีภาพของสื่อถูกจำกัดอย่างรุนแรง จนองค์กร Reporters Without Borders (RSF) จัดอันดับสิงคโปร์อยู่ที่ 160/180 ในรายงาน World Press Freedom Index ประจำปี 2021 ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่เลวร้ายที่สุดในโลก 3
เนื่องจากความแพร่หลายของการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 จนถึงทศวรรษ 2010 รัฐบาลพรรค PAP และเครือข่ายเริ่มพบว่ามันยากมากขึ้นเรื่อยๆ ในการปั้นแต่งเรื่องเล่าแม่บททางการเมืองในภาวะที่พลังและอิทธิพลของสื่อกระแสหลักเสื่อมถอยลง ด้วยเหตุนี้ จุดโฟกัสจึงย้ายไปที่การสู้รบกับเรื่องเล่าแม่บทที่เป็นทางเลือกในโลกออนไลน์ โดยอาศัยการออกกฎหมายกำกับเนื้อหาในโลกออนไลน์แทน ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ เสรีภาพในอินเทอร์เน็ตและสิทธิด้านดิจิทัลยิ่งเสื่อมถอยลงและระบบเผด็จการดิจิทัลยิ่งเถลิงอำนาจในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มาตรวัดเชิงปริมาณต่อความเสื่อมถอยลงดังกล่าวมีข้อมูลอยู่ในดัชนี ‘Freedom on the Net’ ขององค์กร Freedom House ซึ่งจัดให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 59 จาก 100 ในปี 2016 และ 54 จาก 100 ในปี 2021 4
บทความนี้สำรวจพิจารณาภาวะของ “เผด็จการดิจิทัล” ในสิงคโปร์ปัจจุบัน การใช้กฎหมาย การสอดแนมของรัฐ และการปั่นเนื้อหาสนับสนุนพรรค PAP เพื่อครอบงำบทสนทนาภายในโลกดิจิทัลของประเทศ รวมทั้งควบคุมปั้นแต่งการไหลเวียนของข้อมูลไปสู่ประชากรของนครรัฐ บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าในระยะสั้น วิธีการเช่นนี้สามารถสกัดยับยั้งผู้ตั้งคำถามท้าทายทางการเมืองได้ก็จริง แต่กลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการแข็งกร้าวของพรรค PAP ก็ขยายวงมากขึ้น และกลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสก่อตัวเป็นฐานของพลังที่อาจจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของระบอบในอนาคตวันใดวันหนึ่งข้างหน้า
พัฒนาการของระบบเผด็จการดิจิทัล
การออกกฎหมายชุดใหม่ของรัฐบาลพรรค PAP เพื่อควบคุมโลกดิจิทัล มีเป้าหมายเพื่อจำกัดการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ ซึ่งมีการขยายตัวในช่วงที่สื่อสังคมออนไลน์เฟื่องฟูเป็นประวัติการณ์เมื่อช่วงปลายทศวรรษ 2000 และตลอดทศวรรษ 2010 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง พรรค PAP สร้างผลงานย่ำแย่ที่สุดในสนามเลือกตั้ง กล่าวคือ ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2011 5 นับจากนั้นเป็นต้นมา นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเซนเซอร์และการจำกัดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารก็ถูกผลักดันให้นำออกมาใช้มากขึ้น
ตาราง 1: การออกกฎหมายสำคัญด้านดิจิทัลในสิงคโปร์
Constitution Parliament can impose restrictions as it considers necessary or expedient on the freedom of speech and expression for national security, friendly relations with other countries, public order, morality, to protect privileges of Parliament and against contempt of court, defamation or incitement to any offence.
Defamation Definition: harming, with intention or having reason to believe that it will harm, a reputation of a person. ‘Harming of reputation’ is explained as an act of lowering the moral, intellectual character or merit of one, or causing it to be believed that the body of that person is loathsome or generally disgraceful.
Punishment: imprisonment ≤ 2 yrs; fine; or both
IMDA Act IMDA is given the following functions: promote the information, communications and media industry; regulate the telecommunication systems and services; ensure that the content is not against the public interest, public order or national harmony
Broadcasting Act Gives power to IMDA to specify conditions for granting licences (Art. 5, 9) and demand any material intended for broadcasting (Art. 16, 17)
POFMA Fine of ≤ 50,000 SGD (≤ 36,975 USD) for communicating falsehoods or statements that undermine the security of Singapore, diminish public confidence in Government, etc.
‘Directions’ can also be issued by government Ministers: Correction, Stop Communication, Disable Access, etc.
Ministers can direct IMDA to order ISPs to disable access should they not comply with Direction notices.
ศูนย์กลางในการบริหารจัดการเนื้อหาด้านดิจิทัลในนครรัฐแห่งนี้คือองค์กรพัฒนาสารสนเทศและการสื่อสาร (Infocomm Media Development Authority–IMDA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้งในปี 2015 6 องค์กร IMDA คือผลรวมของชุดกฎหมายและข้อบังคับใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อมวลชนและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้วยเหตุผลดังกล่าว หน่วยงานนี้จึงได้รับอำนาจครอบจักรวาล นับตั้งแต่การกำหนดเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตการกระจายเสียงและการแพร่ภาพ 7 การจัดการต่อเนื้อหาหรือรายการที่อยู่ระหว่างหรือกำลังจะกระจายเสียงและแพร่ภาพ (ทางอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์) 8 ไปจนถึงการตัดสินชี้ขาดว่า เนื้อหาหนึ่งๆ เป็นอันตรายต่อระเบียบสังคม ความกลมเกลียวในสังคมและความมั่นคงของชาติหรือไม่
ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปปี 2020 รัฐบาลพรรค PAP ผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมาย Protection from Online Falsehoods and Manipulation Act (POFMA) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการปิดปากผู้วิพากษ์วิจารณ์และเสียงของผู้ไม่พอใจรัฐบาลภายใต้ข้ออ้างของการจัดการ “ข่าวปลอม” ในประเทศ ลักษณะความเป็นเผด็จการของกฎหมายนี้อยู่ที่บทลงโทษรุนแรงอย่างไม่ได้สัดส่วนต่อการเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลที่มีความจริงครึ่งๆ กลางๆ ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กฎหมายนี้เปิดช่องให้รัฐบาลพรรค PAP มีอำนาจในการควบคุมปั้นแต่งการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารให้เป็นผลดีต่อตนและเป็นผลเสียต่อผู้กระทำการที่ไม่ใช่รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม 9 นอกจากนั้น คณะทำงานของกฎหมายฉบับนี้ยังได้รับอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายโดยปริยายในการตีความว่า ข่าวไหนเป็น “ข่าวปลอม” และข่าวไหนที่สร้างความเข้าใจผิด การอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อคัดค้านคำสั่งตามกฎหมาย POFMA จะทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลเห็นชอบต่อการอุทธรณ์นั้นหรือไม่
ข้ออ้างเดิมๆ ว่า เสถียรภาพและความกลมเกลียวเป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้อย่างไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่ให้ความชอบธรรมแก่การมีองค์กร IMDA และกฎหมาย POFMA เป็นข้ออ้างที่เอามาใช้สร้างความชอบธรรมแก่การสอดแนมประชาชนด้วย 10 ระบบการสอดแนมประชาชนที่ติดตั้งในสิงคโปร์ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจของฝ่ายบริหาร เพื่อประเมินและตีความภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติอย่างถูกกฎหมาย อีกทั้งยังไม่มีอุปสรรคทางข้อกฎหมายในการจำกัดการใช้อำนาจนี้ในทางมิชอบด้วย การละเว้นสิทธิในความเป็นส่วนตัวในรัฐธรรมนูญคือจุดอ่อนสำคัญที่สุดที่เปิดช่องให้รัฐบาลสามารถอนุมัติปฏิบัติการสอดแนมประชาชน โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากศาลก่อน
ถึงแม้ไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับขอบเขตของสมรรถนะในการสอดแนมของรัฐบาลสิงคโปร์ แต่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาตั้งข้อสังเกตว่า สิงค์โปร์มี “เครือข่ายกว้างขวางใหญ่โต” ของ “สมรรถนะที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง [ในการ]…ดำเนินการสอดแนม… [ต่อ] การสื่อสารทางดิจิทัลที่ตั้งใจให้เป็นเรื่องส่วนตัว” 11 ยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งก็คือ ในการควบคุมการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 รัฐบาลนำแอพ ‘TraceTogether’ มาใช้เพื่อติดตามผู้สัมผัสกับผู้ป่วย ในเดือนมกราคม 2021 มีการประกาศว่า กองบัญชาการตำรวจสิงคโปร์ (Singapore Police Force–SPF) สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลในแอพนี้เพื่อใช้ตรวจสอบด้านอาชญากรรม 12 กฎหมายที่จำกัดการใช้สมรรถนะด้านการติดตามโดยตำรวจเพิ่งนำมาประกาศใช้หลังจากมีการแสดงความวิตกกังวลกันมากมายเกี่ยวกับการสอดแนมประชาชนในประเทศในช่วงปี 2021. 13
การใช้สมรรถนะด้านการสอดแนม เครื่องมือในการแฮ็คข้อมูลและสปายแวร์ ถูกเปิดโปงจากเอกสารชิ้นหนึ่งที่รั่วออกมาโดยเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ซึ่งอ้างว่าหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานในสิงคโปร์สามารถเข้าถึงข้อมูลจากสายเคเบิลอินเทอร์เน็ตใต้น้ำที่เชื่อมจากเอเชียตะวันออกผ่านสิงคโปร์ไปจนถึงยุโรป 14ในปีเดียวกัน มีเค้าว่าองค์กร IMDA น่าจะเป็นลูกค้ารายสำคัญของบริษัท ‘Hacking Team’ บริษัทสัญชาติอิตาเลียนอันมีชื่อเสียงอื้อฉาวที่ดำเนินธุรกิจแฮ็คข้อมูลและสอดแนม 15 ในการเข้ารับการตรวจสอบทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนผ่านกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (Universal Periodic Review – UPR) เมื่อปี 2017 องค์กร Privacy International รายงานถึงการใช้ ‘PacketShaper’ หรือระบบสอดแนมและติดตามตรวจสอบเนื้อหาที่มีการเข้ารหัส ซึ่งมีการนำมาใช้ในประเทศนี้ในตอนนั้น มีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่า รัฐสิงค์โปร์เป็นเจ้าของเซิร์ฟเวอร์สำหรับระบบมัลแวร์ที่มีชื่อว่า ‘Finspy’ 16 เมื่อไม่นานนี้เอง สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์รายงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ว่า บริษัท ‘QuaDream’ บริษัทสัญชาติอิสราเอลผู้พัฒนาเครื่องมือในการแฮ็คข้อมูล ได้รับการว่าจ้างจากรัฐบาลสิงคโปร์ 17 ประเด็นนี้ถูกจุดให้กลายเป็นที่สนใจระดับชาติเมื่อซิลเวีย ลิม (Sylvia Lim) ประธานพรรคแรงงาน อ้างในการประชุมรัฐสภาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ว่า บริษัท Apple ส่งคำเตือนถึงเธอว่า โทรศัพท์ไอโฟนของเธอนั้นตกเป็นเป้าการล้วงข้อมูลจากแฮ็คเกอร์ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน 18
สมรรถนะเช่นนี้ได้รับการหนุนเสริมด้วยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสอดแนมเชิงกายภาพภายในประเทศ เช่น กล้อง CCTV ประมาณ 90,000 ตัวหรือมากกว่านั้นที่ติดตั้งไว้ การนำเข้ากล้องจดจำใบหน้าจากประเทศจีนและนำมาติดตั้งตามเสาไฟทั่วประเทศ มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การสร้างการวิเคราะห์ฝูงชนเพื่อสนับสนุน “ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย” 19 ประเด็นนี้ทำให้ต้องตั้งคำถามว่า รัฐบาลพรรค PAP เต็มใจลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไฮเทคเพื่อติดตามตรวจสอบพลเมืองของตนเองไปจนถึงระดับไหน รวมถึงว่ารัฐบาลจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเผด็จการในประเทศอื่น เช่น จีน มากขนาดไหนด้วย
มุ่งเป้าภาคประชาสังคมและพรรคฝ่ายค้าน
เป็นที่ทราบกันดีว่า หน่วยงาน IMDA และการที่รัฐบาลริเริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใต้อำนาจกฎหมาย POFMA มีเป้าหมายอยู่ที่บุคคลที่เป็นพรรคฝ่ายค้านและผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 20 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2022 มีการใช้กฎหมาย POFMA ใน 13 กรณีด้วยกัน โดยใช้กับนักการเมืองที่ไม่ใช่พรรค PAP นักกิจกรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดจนแพลตฟอร์มข่าวออนไลน์ 21 ช่วงการรณรงค์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2020 เราได้เห็นการใช้กฎหมาย POFMA เพิ่มมากขึ้น 22 ในขณะที่กฎหมาย POFMA เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อมูลเพื่อคลี่คลายความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล แต่เมื่อนำมาใช้เพื่อปิดกั้นข้อมูลและมีการใช้ POFMA เพื่อคุกคามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหรือผู้ปฏิบัติงานสื่อ มันจึงกลายเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมวัฒนธรรมการเซนเซอร์ตัวเองในหมู่ผู้วิพากษ์วิจารณ์หรือต่อต้านพรรค PAP 23
หน่วยงาน IMDA ก็มีบทบาทในการมุ่งเป้าไปที่เนื้อหาและผู้สร้างเนื้อหาที่องค์กรมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความกลมเกลียวของสังคม กรณีตัวอย่างกรณีหนึ่งคือ หน่วยงานนี้บล็อกเว็บโฮสติ้งแห่งหนึ่ง ด้วยข้อกล่าวหาว่าเผยแพร่บทความเกี่ยวกับการที่นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีอื้อฉาว 1MDB โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุน หน่วยงาน IMDA ให้เหตุผลว่าบทความนี้บ่อนทำลายความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อรัฐบาลสิงคโปร์ 24 ในเดือนกรกฎาคม 2019 มีการบล็อกการเข้าถึงวิดีโอเพลงแร็ปที่มีเนื้อหาประท้วงเพลงหนึ่ง ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศ 25
นอกจากนี้ หน่วยงาน IMDA ยังใช้กฎหมายหลากหลายรูปแบบเป็นเครื่องมือ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซท์ The Online Citizen ตกเป็นเป้าของ IMDA มาอย่างต่อเนื่อง ในเดือนธันวาคม 2018 เว็บไซท์นี้ได้รับหนังสือแจ้งว่า ไม่สามารถรับเงินบริจาคจาก “แหล่งเงินทุนท้องถิ่นที่ไม่ระบุชื่อ” ผ่านรูปแบบของการสมัครสมาชิก และเว็บไซท์ต้องรายงานการเงินของตนแก่ IMDA ทุกปี เนื่องจาก “อาจเป็นช่องทางสำหรับอิทธิพลต่างชาติ” ในปี 2021 IMDA สั่งพักใบอนุญาตของเว็บไซต์ 26 ก่อนหน้านี้ IMDA ฟ้องหมิ่นประมาททางอาญาต่อ Terry Xu บรรณาธิการของเว็บไซท์ สาเหตุจากการเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกของผู้อ่านคนหนึ่งในเดือนกันยายน 2018 ซึ่งอ้างว่ามี “การคอร์รัปชั่นในกลุ่มบุคคลระดับสูงสุด” ของพรรครัฐบาล 27 การฟ้องร้องนี้เกิดขึ้นหลังจาก Xu ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ IMDA ให้ลบจดหมายฉบับนั้นออกจากเว็บไซท์แล้ว ต่อมา Terry Xu และ Daniel De Costa Augustin ผู้เขียนจดหมายดังกล่าว ถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาหมิ่นประมาทในเดือนพฤศจิกายน 2021 28 ระหว่างการไต่สวนในศาล อัยการยืนยันว่าการกระทำของทั้งสองทำไปด้วยเจตนาร้ายที่ต้องการทำลายชื่อเสียงของรัฐบาล 29
รัฐบาลพรรค PAP ยังได้ยื่นคำร้องขอข้อมูลของผู้ใช้งานจากบริษัท Meta (Facebook) โดยเฉลี่ยถึง 1500 คำร้องขอต่อปีในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าคำร้องขอ 1100 ครั้งโดยเฉลี่ยต่อปีในระดับโลก และมากกว่าคำร้องขอจากประเทศอื่นที่เหลือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกัน 30 นอกจากนี้ ทั้ง Twitter 31 Microsoft 32 และ Google 33 ก็ได้รับคำร้องขอข้อมูลจากรัฐบาลสิงคโปร์เป็นประจำ แม้ว่าในปริมาณที่ต่ำกว่า Facebook มากก็ตาม
แม้ว่าก่อนหน้านี้ กลุ่มบริษัทข้างต้นไม่เคยปริปากวิพากษ์วิจารณ์ก็ตาม แต่ความกังวลของพวกเขาก็แสดงออกมาเมื่อมีการผ่านกฎหมาย POFMA บริษัท Google แถลงว่า กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลเสียต่อนวัตกรรมและความเติบโตของระบบนิเวศข้อมูลดิจิทัลในประเทศสิงคโปร์ Facebook เตือนรัฐบาลพรรค PAP ให้ระลึกถึงคำมั่นสัญญาว่าจะมีแนวทางที่ได้สัดส่วนและบันยะบันยังในการใช้กฎหมาย POFMA 34 อย่างไรก็ตาม หลังจาก Facebook ถูกบีบให้ปฏิบัติตามกฎหมายในการบล็อกการเข้าถึงเพจ State Times’ Review ตามคำสั่งของกฎหมาย POFMA ทางฝ่าย Facebook ก็แสดงความไม่พอใจต่อกฎหมายนี้ ยืนยันว่ามาตรการต่างๆ ถูกใช้มากเกินไปโดยไม่ได้สัดส่วนและ POFMA กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเซนเซอร์ความคิดเห็น 35
ถึงแม้รัฐบาลอ้างว่าต้องการส่งเสริมอุดมคติสูงส่งดังเช่น “ความจริง” และ “ความกลมเกลียวของสังคม” แต่รัฐบาลพรรค PAP กลับทำเป็นมองไม่เห็นเมื่อผู้สนับสนุนฝ่ายตนและนักเลงคีย์บอร์ดในอินเทอร์เน็ตที่หนุนหลังพรรค PAP จงใจเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือชวนให้เข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของรัฐบาล กลุ่มที่เรียกว่า “กองพันอินเทอร์เน็ต” (Internet Brigades –IBs) นี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านไซเบอร์ของรัฐบาลในการจัดการกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออนไลน์ โดยใช้ข้ออ้างว่าพรรคจำเป็นต้องมีกระบอกเสียงภายในโลกไซเบอร์สเปซที่ต่อต้านสถาบันบ้าง 36
ในเดือนมิถุนายน 2020 Facebook ปิดการใช้งานเพจเฟสบุ๊คที่สนับสนุนพรรค PAP ชื่อ ‘Fabrications About the PAP’ (มีผู้ติดตาม 250,000 ราย) ซึ่งเปิดเพจขึ้นมาเพื่อตอบโต้เว็บไซท์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล 37 กระนั้นก็ตาม จากนั้นก็มีการเปิดเพจเฟสบุ๊คใหม่ในชื่อเดิม ‘Fabrications About the PAP’ และรวบรวมผู้ติดตามได้ 5,500 ราย เพจนี้ยังคงโพสต์สเตตัสและวิดีโอสนับสนุนพรรค PAP อย่างสม่ำเสมอ ทั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากชี้ให้เห็นว่า เนื้อหาบางส่วนในเพจเป็นข้อมูลเท็จ 38
Singapore Matters 39 เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่สนับสนุนสมาชิกในรัฐบาลพรรค PAP และคอยผลิตซ้ำถ้อยความใส่ร้ายป้ายสีที่สื่อกระแสหลักสาดใส่สมาชิกภาคประชาสังคม สื่อออนไลน์อิสระและพรรคฝ่ายค้าน เพจเหล่านี้ไม่เคยถูกบล็อกภายใต้ข้อหาการกล่าวเท็จตามกฎหมาย POFMA อีกทั้งเจ้าของเพจก็ไม่เคยถูกตั้งข้อหาข่มขู่คุกคามภายใต้กฎหมายข้อมูลข่าวสารหรือกฎหมายสื่อในอำนาจของหน่วยงาน IMDA เลย
บทสรุป
ทั้ง POFMA ชุดกฎหมายภายใต้การจัดการของ IMDA และกฎหมายฉบับอื่นๆ ช่วยให้พรรค PAP สามารถควบคุมจำกัดมิให้อินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นแพลตฟอร์มสำหรับวาทกรรมต่อต้านรัฐบาลอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น กฎหมายและสถาบันเหล่านี้ยังป้องกันไม่ให้มีเสียงคัดค้านต่อการที่พรรค PAP ใส่ร้ายป้ายสีต่อภาคประชาสังคม สื่อออนไลน์อิสระและพรรคฝ่ายค้าน ในขณะเดียวกัน ทั้งพรรค PAP และกลุ่มสนับสนุนเองก็ใช้อินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ก่อตั้งเว็บไซท์และสร้างบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อทำลายชื่อเสียงของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ถึงแม้การคุกคามต่อการพัฒนาประชาธิปไตยภายใต้รัฐบาลพรรค PAP จะเป็นสภาพความเป็นจริงในนครรัฐสิงคโปร์ แต่จำนวนของผู้กระทำการทางเลือกอื่นก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การข่มขู่คุกคามและรังควานกลั่นแกล้งภาคประชาสังคม สื่อออนไลน์อิสระและพรรคฝ่ายค้านที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลับยิ่งก่อให้เกิดการขยายตัวและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่กลุ่มผู้ท้าทายอำนาจรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ระบบเผด็จการดิจิทัลจะขยายตัวมากขึ้นในสิงคโปร์ แต่รากฐานของฝ่ายพันธมิตรที่ท้าทายต่อระบอบการปกครองของพรรค PAP ก็ตั้งมั่นและเริ่มเติบโตในสิงคโปร์เช่นกัน
James Gomez
Regional Director at Asia Centre
Banner: Singapore, May 2022. A circle of 6 cameras CCTV outside a building in Singapore. Bima Eriarha, Shutterstock
Notes:
- Freedom House, ‘Freedom in the World’, Freedom House, 2022, https://freedomhouse.org/report/freedom-world ↩
- Economist Intelligence Unit, Democracy Index 2021: The China Challenge (Economist Intelligence Unit, 2022), https://www.eiu.com/n/campaigns/democracy-index-2021 ↩
- RSF ‘2021 World Press Freedom Index: Singapore’, Reporters Without Borders, 2011, https://rsf.org/en/ranking ↩
- Freedom House, ‘Freedom on the Net’, Freedom House, 2022, https://freedomhouse.org/report/freedom-net ↩
- Institute of Policy Studies, Singapore, ‘POPS (5) Presidential Election Survey 2011’, Lee Kuan Yew School of Public Policy, 2011, https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/ips/pops-5_slides_0911.pdf ↩
- IMDA ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยเป็นการปรับโครงสร้างและควบรวมหน่วยงาน Infocomm Development Authority (IDA) กับ Media Development Authority (MDA). ↩
- Law Revision Commission, ‘Info-Communications Media Development Authority Act 2016’, Singapore’s Attorney-General’s Chamber, 1 April 2022, https://sso.agc.gov.sg/Act/IMDAA2016 ↩
- Law Revision Commission, ‘Broadcasting Act 1994’, Singapore’s Attorney-General’s Chamber, 18 April 2022, https://sso.agc.gov.sg/Act/BA1994 ↩
- Aqil Haziq Mahmud and Tang See Kit (2019) ‘“Very onerous” process to challenge order on content deemed as online falsehood: Sylvia Lim’, Channel News Asia, 8 May 2019, https://www.channelnewsasia.com/singapore/online-falsehoods-bill-workers-party-onerous-appeal-process-877101 ↩
- Shane Harris, ‘The Social Laboratory’, Foreign Policy, 29 July 2014, https://foreignpolicy.com/2014/07/29/the-social-laboratory ↩
- Bureau of Democracy, Human Rights and Labor, Singapore 2015 Human Rights Report (United States Department of State, 2015), 8, https://2009-2017.state.gov/documents/organization/253009.pdf ↩
- Matthew Mohan, ‘Singapore Police Force can obtain TraceTogether data for criminal investigations: Desmond Tan’, Channel News Asia, 4 January 2021, https://www.channelnewsasia.com/singapore/singapore-police-force-can-obtain-tracetogether-data-covid-19-384316 ↩
- Kenny Chee, ‘Bill limiting police use of TraceTogether data to serious crimes passed’, The Straits Times, 2 February 2021, https://www.straitstimes.com/singapore/politics/bill-limiting-use-of-tracetogether-for-serious-crimes-passed-with-govt-assurances ↩
- Philip Dorling, ‘Singapore, South Korea revealed as Five Eyes spying partners’, The Sydney Morning Herald, 25 November 2013, https://www.smh.com.au/technology/singapore-south-korea-revealed-as-five-eyes-spying-partners-20131124-2y433.html ↩
- Ibid.; Jeanette Tan,‘ Does Italian surveillance tech firm Hacking Team sell spy software to Singapore’s IDA?’ Mothership, 7 July 2015, https://mothership.sg/2015/07/does-italian-surveillance-tech-firm-hacking-team-sell-spy-software-to-singapores-ida ↩
- Privacy International, Universal Periodic Review Stakeholder Report: 24th Session, Singapore: The Right to Privacy in Singapore (Privacy International, 2017), https://privacyinternational.org/sites/default/files/2017-12/Singapore_UPR_PI_submission_FINAL.pdf ↩
- Ibid.; Christopher Bing and Raphael Satter, ‘EXCLUSIVE iPhone flaw exploited by second Israeli spy firm-sources’, Reuters, 3 February 2022, https://www.reuters.com/technology/exclusive-iphone-flaw-exploited-by-second-israeli-spy-firm-sources-2022-02-03 ↩
- Kenny Chee, ‘WP chairman Sylvia Lim’s phone not hacked by Singapore Govt: Shanmugam’, 19 February 2022, https://www.straitstimes.com/singapore/politics/wp-chairman-sylvia-lims-phone-not-hacked-by-singapore-govt-shanmugam ↩
- Steven Feldstein, ‘The Road to Digital Unfreedom: How Artificial Intelligence is Reshaping Repression’, Journal of Democracy 30 (1) (January 2019): 40, https://carnegieendowment.org/files/201901-Feldstein-JournalOfDemocracy.pdf ↩
- Lasse Schuldt, ‘Official Truths in a War on Fake News: Governmental Fact-Checking in Malaysia, Singapore, and Thailand’, Journal of Current Southeast Asian Affairs 40(2) (2021): 340-371, DOI: 10.1177/18681034211008908. ↩
- Factually, ‘Factually: POFMA’, Government of Singapore, 2022,https://www.gov.sg/factually?topic=POFMA; POFMA’ed, ‘POFMA’ed Dataset’, POFMA’ed, 24 May 2021, https://pofmaed.com/data/ ↩
- OFMA’ed (2020) ‘Explainer: What is POFMA?’, POFMA’ed, at: http://pofmaed.com/explainer-what-is-pofma ↩
- See Schuldt, ‘Official Truths in a War on Fake News’. ↩
- Freedom House, ‘Freedom on the Net 2021: Singapore’. ↩
- Ng Huiwen, ‘Police looking into rap video by local YouTube star Preetipls alleged to contain offensive content’, The Straits Times, 30 July 2019, https://www.straitstimes.com/singapore/police-looking-into-rap-video-by-local-youtube-star-preetipls-allegedly-containing ↩
- Rei Kurohi, ‘The Online Citizen taken offline, ahead of deadline set by IMDA after failure to declare funding’, The Straits Times, 16 September 2021, https://www.straitstimes.com/singapore/the-online-citizen-goes-dark-ahead-of-deadline-set-by-imda; Palatino Mong, ‘Singapore’s The Online Citizen news website stops operating after government suspends its license’, The Straits Times, 18 September 2021, https://globalvoices.org/2021/09/18/singapores-the-online-citizen-news-website-stops-operating-after-government-suspends-its-license ↩
- ‘Why The Online Citizen is being investigated for ‘criminal defamation’, Coconuts Singapore, 21 November 2018, https://coconuts.co/singapore/news/online-citizen-investigated-criminal-defamation. ↩
- ในการไต่สวนคดีเดียวกัน Daniel De Costa Augustin ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาเข้าถึงบัญชีอีเมล์ของบุคคลอีกคนหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเขาใช้ส่งจดหมายฉบับนี้ ↩
- Lydia Lam, ‘The Online Citizen’s Terry Xu and writer convicted of criminal defamation over article calling Cabinet corrupt’, Channel News Asia, 12 November 2021, https://www.channelnewsasia.com/singapore/online-citizen-toc-terry-xu-editor-writer-criminal-defamation-2308961 ↩
- ‘Government Requests for User Data’, Meta, 2022, www.transparency.fb.com/data/government-data-requests ↩
- ‘Information Requests’, Twitter, 2022, https://transparency.twitter.com/en/reports/information-requests.html ↩
- ‘Law Enforcement Requests Report’, Microsoft, 2021, https://www.microsoft.com/en-us/corporate-responsibility/law-enforcement-requests-report. ↩
- ‘Global Requests for User Information’, Google Transparency Report, 2021, https://transparencyreport.google.com/user-data/overview. ↩
- Jewel Stolarchuk, ‘Google and Facebook remain concerned over Singapore’s newly-passed fake news law’, The Independent Singapore, 9 May 2019, https://theindependent.sg/google-and-facebook-remain-concerned-over-singapores-newly-passed-fake-news-law/ ↩
- Shawn Lim, ‘Facebook expresses censorship concerns after blocking Singapore users’ access to fake news page’, The Drum, 19 February 2020, https://www.thedrum.com/news/2020/02/19/facebook-expresses-censorship-concerns-after-blocking-singapore-users-access-fake ↩
- Lu Xueying, ‘PAP moves to counter criticism of party, Govt in cyberspace’, The Straits Times, 3 February 2007; https://bit.ly/36VmC0R; PAPBrigade, ‘About’, PAP Internet Brigade, 2012, https://papbrigade.tumblr.com/about ↩
- Aqil Haziq Mahmud, ‘Facebook removes Fabrications About The PAP admin accounts for violating policies’, Channel News Asia, 28 June 2020, https://www.channelnewsasia.com/singapore/facebook-removes-fabrications-about-the-pap-accounts-663871 ↩
- Suleiman Daud, ‘PAP GE 2020 candidate says people “misunderstood” why he shared unsubstantiated Fabrications About PAP post about Sarah Bagharib & WP’, Mothership, 18 June 2021, https://mothership.sg/2021/06/shamsul-kamar-sarah-bagharib ↩
- Singapore Matters มีเพจเฟสบุ๊คที่มีจำนวนไลค์มากกว่า 85,000 ครั้งและผู้ติดตาม 97,000 ราย โปรดดู “Singapore Matters”, Facebook, https://www.facebook.com/SingaporeMatters ↩