Kyoto Review of Southeast Asia Issue 11 (March 2011): Southeast Asian Studies in Korea
I.คานา
ปัจจุบันนี้คนไทยเข้ามามีบทบาทและมีรายการที่นาเสนอเกี่ยวกับอาหาร ทัศนียภาพเมืองไทยในวงการสื่อสารมวลชนเกาหลี อีกทั้งในชีวิตประจาวันเรายังมี การติดต่อกับคนไทยเสมอดังนั้น จึงเกิดประเด็นอภิปรายและคาดเดาถึงวัฒนธรรมไทยในสังคมเกาหลี และการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะสื่อสารกันระหว่างในกลุ่มสังคม งานวิจัยนี้ศึกษาภายใต้กรอบความหมายสภาพการณ์เชิงวัฒนธรรมและสังคมที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยที่สามารถสัมผัสประสบการณ์ได้จากสังคมเกาหลีในรูปปรากฏการณ์ทางสังคมใหม่สังคมหนึ่งและเรียกขอบเขตความหมายของปรากฏการณ์นี้ว่า“แทรยู” ประเด็นหลักซึ่งอยู่ใต้กรอบความคิดที่เรียกว่า แทรยู คือ แรงงานต่างชาติไทย ผู้อพยพจากการแต่งงานระหว่างประเทศ วัฒนธรรมประชานิยม อาหารและการนวด การท่องเที่ยวและการศึกษาที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจาวันจากในสังคมเกาหลี งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อตระหนักถึงแนวโน้มชั่วคราวของแทรยู หลังจากศึกษาความเป็นมาของแทรยูในเกาหลี และสภาวการณ์และประสิทธิผลในแต่ละด้านของแทรยู
II.ความเป็นมาของ “แทรยู”
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีเริ่มต้นจากสงครามเกาหลี คนไทยมีความทรงจาเกี่ยวกับชาวเกาหลีและประเทศเกาหลีอย่างชัดเจนผ่านสายสัมพันธ์ ในอดีตที่เชื่อมโยงโดยสงคราม หลังจากสงครามเกาหลีประทุขึ้นในปี ค.ศ.1950 รัฐบาลไทยเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย ในฐานะในสมาชิกทหาร UN ไม่เพียงแต่ส่งความช่วยเหลือทางการทหารภาคพื้นดินจานวน 4,000 นายเท่านั้น ยังมอบข้าวสารให้อีก 4 หมื่นตัน
สิ่งที่คนไทยสัมผัสได้จากสงครามเกาหลีและยังคงระลึกคือ โสมกับเพลงอารีรัง ถึงขนาดมีการตั้งชื่อเรียกเกาหลีใต้ว่า โสมขาว และเรียก เกาหลีเหนือว่าโสมแดงไม่เพียงแต่ฟังเพลงอารีรัง(อารีดัง)เพลงพื้นบ้านซึ่งเป็นที่นิยมเพื่อความบันเทิง ยังนาทานองเพลงอารีดังมาแต่งเป็นเพลงด้วย(คิมฮงกุ2008: 540) สงครามเกาหลีจึงนับเป็นเหตุการณ์แรกที่จุดประกายให้คนไทยรู้จักเกาหลี
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ทาให้คนไทยที่สนใจในประเทศเกาหลีเป็นพิเศษ คิดว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีเปลี่ยนไปอย่างคาดไม่ถึง คือต้นตอความเป็นมาของ“แทรยู”ที่สาคัญ ช่วงปลายทศวรรษ ค.ศ. 1960 สิ่งที่คนไทยรับรู้คือเกาหลีเป็นประเทศที่ไทยเคยจัดส่งทหารไปช่วยเหลือขณะตกอยู่ในภาวะสงคราม และในด้านเศรษฐกิจยังเทียบเท่าประเทศของประเทศตัวเองไม่ได้เลย แต่เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ประสบความสาเร็จตาม นโยบายทางการเมืองภายใต้อานาจปกครองของอดีตประธานาธิบดีปาร์ค จอง ฮี ความคิดนี้จึงเปลี่ยน เพราะ ค่า GNP ต่อหนึ่งคนของเกาหลี ในยุคที่เริ่มก้าวนาหน้าไทย เริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1968 และในปี ค.ศ. 1979 ปีเดียวกับที่ประธานาธิบดีปาร์คถึงแก่อสัญกรรม ค่า GNP ต่อหนึ่งคนของเกาหลีมากกว่าไทยถึง 2.79 เท่า (Yoshihara 1999: 499~500) 1ไทยจึงเกิดความรู้สึกอิจฉาในการพัฒนาเศรษฐกิจราวปาฏิหาริย์เป็นอย่างมาก
และช่วงกลางทศวรรษ ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา การลงทุนในประเทศไทยของกลุ่มธุรกิจเกาหลีเดินหน้าเต็มพิกัด ปี ค.ศ. 1983 เมื่อมีการลงทุนโดยตรงเป็นครั้งแรก มีจานวนเงินลงทุนของเกาหลี 8 แสนดอลลาร์ ระหว่างปี ค.ศ. 88-91 ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ปี ค.ศ. 1988 12 ล้าน 2 แสน ดอลลาร์ ปี ค.ศ. 1990 19 ล้าน 5 แสน ดอลลาร์(กระทรวงต่างประเทศและการค้า 2003: 55) ปี ค.ศ. 2004 มีการลงทุนในประเทศไทย 1 ร้อย 6 ล้าน 4 แสน ดอลลาร์ มีกลุ่มธุรกิจลงทุนของเกาหลีเข้ามาลง ทุนกว่า 200 ราย มีคนไทยเข้าทางานมากมาย และการทางานในกลุ่มธุรกิจเกาหลีจึงกลายเป็นสิ่งที่หลายคนคาดหวัง
ช่วงหลังทศวรรษ ค.ศ. 1980 การท่องเที่ยวในประเทศไทยของชาวเกาหลีเพิ่มขึ้นสูงมาก เรียกได้ว่าเป็นเบื้องหลังของแทรยูเช่นกัน ปี ค.ศ. 1986 จานวนนักท่องเที่ยว ที่ไม่เคยมากถึง 8,000 คน เริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 1995 เพิ่มมากขึ้นถึง 3 แสนคน เห็นได้ว่ามีอัตราการเพิ่มมากถึงเกือบ 40 เท่า ในปี ค.ศ. 1995 จานวนนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีมากถึงครึ่งหนึ่งของนักท่องเที่ยวไปประเทศอาเซียน(ASEAN) และถ้าดูจากความนิยมท่องเที่ยวของชาวเกาหลี ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 3 รองจาก อเมริกาและญี่ปุ่น หลังปี ค.ศ. 2002 จานวนนักท่องเที่ยว 7 แสนคน หลังปี ค.ศ. 2005 มีจานวนเพิ่มมากขึ้นเกิน 1 ล้านคน และจัดอยู่ในอันดับ 3 รองจาก ญี่ปุ่น มาเลเซีย ถ้าพิจารณาจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวไทย การมาเที่ยวเมืองไทยของนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี ไม่เพียงแต่เป็นตัวแปรเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกาหลี ในไทยเท่านั้น ประสบการณ์จากไทยของชาวเกาหลี ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมปรากฏการณ์แทรยูในเกาหลีอีกด้วย
ประการสุดท้ายนี้ คือความเป็นมาของแทรยูนั้นจัดอยู่ในขอบเขตเดียวกับฮันรยู ฮันรยูปลุกกระแสความนิยมชมชอบเกาหลีของชาวไทยและมีอิทธิพลมาก การเริ่มแพร่ กระจายของฮันรยูอย่างเป็นจริงเป็นจังนั้นเกิดขึ้นในต้นปี 2002 ฮันรยูเริ่มตันจากวัฒนธรรมประชานิยมของเกาหลี( ปี ค.ศ 2002 หนังเรื่องยัยตัวร้ายกับนายเจี๋ยมเจี้ยม ปี ค.ศ. 2004 ละครทีวีเรื่องรักนี้ชั่วนิรันดร ปี ค.ศ. 2001 เพลงเบบี้ว็อกซ์) และขยายออกไปอีกหลากหลายด้าน เช่น เกมออนไลน์(ปี ค.ศ. 2003 Ragnarok) อาหาร(ปี ค.ศ. 2005 หลังจาก ละครแดจังกึม ฉายทางโทรทัศน์) แฟชั่น การท่องเที่ยว การเข้ามาลงทุน จนมาถึงการศึกษาภาษาเกาหลี แทรยู ก็รับเอาอิทธิพลของฮันรยูเข้ามา และเกิดขึ้นตามหลังโดยทิ้งห่างระหว่างช่วงเวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
III. สภาวการณ์ในแต่ละด้านของ “แทรยู”
1. แรงงานต่างด้าว
ปี ค.ศ. 2008 เดือนมิถุนายนแรงงานไทยภายในประเทศ(เกาหลี) มีจานวน 30,405 คน ถูกกฎหมาย 25,580 คน ผิดกฎหมาย 4,825 คน รองมาจาก จีน (รวมถึงเชื้อสายเกาหลี 325,976 คน) เวียดนาม(44,526 คน) ฟิลิปปินส์(33,810) ตามลาดับ (ตาราง 1 : แรงงานต่างชาติของแต่ละประเทศ) 2
แรงงานไทยเริ่มเข้ามาในประเทศมาก นับตั้งแต่ไทย-เกาหลีตกลงทาสัญญา MOU ในระบบอนุญาตจ้างแรงงานในปี 2004 3 (ตาราง 2: จานวนแรงงานไทยที่ลงทะเบียนไว้แต่ละระยะช่วงเวลา) จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากผลสารวจของศูนย์ศึกษาแรงงานเกาหลี คาตอบเหตุผลของการว่าจ้างแรงงานต่างชาติของกลุ่มธุรกิจภายในประเทศ พบว่าอัตราคาตอบของผู้ประกอบธุรกิจตอบว่า “แรงงานในประเทศหายาก” สูงมากถึง 90.7% ลาดับต่อมาคือ “อัตราการลาออกต่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนในประเทศ” “ค่าจ้างถูกเมื่อเทียบกับอัตราผลการผลิต” และ “ง่ายต่อการสั่งงานนอกเวลา”
ถ้าดูจากเหตุผลการจ้างงานแรงงานต่างชาติ ในแต่ละลักษณะการจ้างงานแรงงานต่างชาติ เมื่อกลุ่มธุรกิจจ้างงานแบบผิดกฎหมาย เปรียบเทียบกับกลุ่มธุรกิจการจ้างงานแบบถูกกฎหมาย พบว่า กลุ่มธุรกิจจ้างงานแบบผิดกฎหมาย จ้างแรงงานทาได้ยากมากกว่า ดังนั้น กลุ่มธุรกิจจ้างงานแบบผิดกฎหมายจึงต้องการพึ่งพาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย (ศูนย์ศึกษาแรงงานเกาหลี 2001)
2. ผู้อพยพจากการแต่งงานระหว่างประเทศ
จากคู่แต่งงานทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าอัตราร้อยละของจานวนคนที่แต่งงานกับคนต่างชาติ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ปี ค.ศ. 1990 1.2% ปี ค.ศ. 1995 3.4% ปี ค.ศ. 2001 4.8% ปี ค.ศ. 2002 5.2% ปี ค.ศ. 2003 8.4% ปี ค.ศ. 2004 11.4% ปี ค.ศ. 2005 13.6% เริ่มต้นทศวรรษ ค.ศ. 1990 หลังมีการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างเกาหลีและจีน การแต่งงานกับคนต่างชาติระหว่างคนจีนเชื้อสายเกาหลีกับพี่น้องชาวจีนขยายจานวนเพิ่มมากขึ้นอย่างคึกคัก หลังช่วงกลางทศวรรษ ค.ศ.1990 ก็เริ่มขยายมายังชนชาติเป็นไทย ฟิลิปปินส์ มองโกล เป็นต้น โดยเฉพาะปี ค.ศ. 1999 เดือนสิงหาคม อาชีพนายหน้าแต่งงานกลายเป็นอาชีพอิสระบริษัทจัดหาการแต่งงานระหว่างประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว เจ้าสาวชาวไทยที่เข้าประเทศมาโดยผ่านบริษัทแต่งงานระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น(ตาราง 3 : การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้อพยพจากการแต่งงานระหว่างประเทศ) 4
จากฐานข้อมูลปี ค.ศ. 2008 เดือนมิถุนายน เจ้าสาวชาวไทยในเกาหลีทั้งหมดมี 1,946 คน(รวมจานวนชายที่อพยพจากการแต่งงานเป็น 1,980คน) จัดอยู่ในอันดับที่ 8 จาก คนจีนเชื้อสายเกาหลี(37,126คน), คนจีน(29,860คน), คนเวียดนาม(24,194คน), คนญี่ปุ่น(5,564คน), คนฟิลิปปินส์(5,442คน) , คนเขมร(2,726คน), คนมองโกล (2,274คน) (ตาราง 4 : สภาวการณ์ของผู้อพยพจากการแต่งงานระหว่างประเทศ)
และเหตุผลเดียวกันโดยทั่วไป การเพิ่มจานวนมากขึ้นของการแต่งงานระหว่างประเทศกับประเทศไทยนั้น พบว่าเป็นเพราะการเลี่ยงการแต่งงานของหญิงเกาหลี และแต่งงานเมื่ออายุมาก เงื่อนไขเข้มงวดในการเลือกหาเจ้าบ่าว เพศชายด้อยความสามารถทางการเงิน ความไม่สมดุลในอัตราการเกิดของเพศหญิงและชาย(ศูนย์ ศึกษาพัฒนาชอนบุก 2006) นอกจากนี้เจ้าสาวชาวไทยก็มีความรู้สึกสนใจผู้ชายเกาหลีด้วย
3.วัฒนธรรมประชานิยม
วัฒนธรรมประชานิยมที่รู้จักแพร่หลายในเกาหลีคือภาพยนตร์ 5 ปี 2001 ‘บางกอก แดนเจอรัส ’ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่นาเข้ามาฉายในประเทศ(หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจเกาหลี 2001/09/13) หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้รับความสนใจมากขึ้นผ่านเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพูซาน และมีการจัดนิทรรศการขึ้นมาก มาย เช่น คืนแห่งภาพยนตร์ไทย งานสัมมนาเกี่ยวกับภาพยนตร์ไทย นิทรรศการพิเศษเกี่ยวกับภาพยนตร์ไทย จนปัจจุบัน ถ้าพูดถึงภาพยนตร์ไทยที่นิยมในคนเกาหลีก็เช่น 303 กลัว กล้า อาฆาต, บางระจัน, บางกอกแดนเจอรัส, องค์บาก1,2, จันดารา, สตรีเหล็ก, ชัตเตอร์, นางนาค, แฝด, รักน้อยนิดมหาศาล, Three-อารมณ์ อาถรรพณ์ อาฆาต (http://www.consumernews.co.kr/news/view.html?pid=101512&cate =ent&page=2008/07/17).
ข้อมูลจากคณะกรรมการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ (Korea Media Rating Board) ระบุว่า ตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมา จานวนการนาเข้าภาพยนตร์จากประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ที่เข้ามาในประเทศเกาหลี ประเทศไทยมี 22 เรื่อง, อินโดนีเซียมี 3 เรื่อง, สิงคโปร์กับมาเลเซีย ประเทศละ 2 เรื่อง ฟิลิปปินส์ 1 เรื่อง ภาพยนตร์ไทยได้รับการนาเข้ามามากที่สุดอย่างเห็นได้ชัด(ตาราง 5 : คณะกรรมการจัดระดับความเหมาะสม ของสื่อ เอกสาร I)
ปี ค.ศ. 2005 ถ้าดูจากสภาวการณ์นาเข้าหนังในแต่ละปีและแต่ละประเทศ พบว่ามีหนังไทย 4 เรื่องซึ่งมีมูลค่า 489,515 ดอลลาร์ จัดอยู่ในอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชีย รองมาจาก จีน (4เรื่อง 2,300,872 ดอลลาร์) ญี่ปุ่น(33เรื่อง1,857,317ดอลลาร์) ฮ่องกง(3เรื่อง1,173,260ดอลลาร์) ตามลาดับ (ตาราง 6 : คณะกรรมการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อเอกสาร II , ปี 2002-2005 สภาวการณ์ของกระแสการนาเข้าในแต่ละปี และแต่ละประเทศ)
ถ้าพิจารณาจากเหตุผลมีเพียงไม่กี่ประการเท่านั้นว่าทาไมหนังไทยจึงกลายเป็นที่นิยม ประการแรกคือ เนื่องจากหนังไทยได้รับการฟื้นฟู หลังช่วงกลางทศวรรษ ค.ศ. 1990 ประเทศไทยรวมถึงประเทศเกาหลีเป็นศูนย์กลางภาพยนตร์ในแถบเอเชียที่น่าจับตามอง ในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1970 จานวนหนังที่ผลิตในรอบปี มีกว่า 200 เรื่อง แต่หลังจากปลายทศวรรษ ค.ศ. 1980 อิทธิพลของภาพยนตร์ฮอลลีวูด ภาพยนตร์ฮ่องกง และโฮมวีดีโฮมทาให้การพัฒนาถดถอยลง จานวนภาพยนตร์ ที่ผลิตภายในประเทศไทยจาก 200 เรื่องต่อปี ในปี ค.ศ. 1996 ทั้งภาพยนตร์จากภายนอกและภายในประเทศ เหลือเพียง 10 เรื่องต่อปี แต่การปฏิรูปรูปแบบภาพยนตร์ให้หลากหลายและแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ เริ่มต้นจาก “Dang Bireley’s and Young Gangsters 2499” (1997, ชื่อภาษาไทย, 2499 อันธพาลครองเมือง) ของผู้กากับนนทรีย์ นิมิตรบุตร ที่บุกเบิกรูปแบบหนังหลายหลากขึ้น จึงทาให้ภาพยนตร์เฟื่องฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง และเริ่มเดินหน้าเต็มที่กับการส่งออกไปฉายต่างประเทศ
ประการที่สอง ภาพยนตร์ไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายภายในประเทศเกาหลี ผ่านเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพูซาน(ปี ค.ศ. 1996) เทศกาลภาพยนตร์ Fantastique เมืองพูชอน( ปี ค.ศ. 1997) เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติชอนจู(2002) และโดยเฉพาะเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพูซานซึ่งรู้จักกันอย่างกว้างขวางมีจานวนผู้เข้าชมมากที่สุดในปี ค.ศ. 2007 ถึง 198,603คน(http://www.piff.org/).
ประการที่สาม รายได้ของภาพยนตร์ไทยเป็นอีกเหตุผลที่ทาให้ได้รับความนิยม ลักษณะของภาพยนตร์ไทยที่เป็นที่โด่งดังภายในประเทศ คือหนังแอคชั่น หนังสยองขวัญ หนังตลก องค์บากเป็นต้นแบบของภาพยนตร์แอคชั่น เหตุผลที่ได้รับความชื่นชอบคือ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของหนัง เรียล แอคชั่น 100 % ที่ไม่ใช้ Computer Graphic และสลิง
ภาพยนตร์สยองขวัญ เป็นลักษณะภาพยนตร์ที่รู้จักแพร่หลายที่สุด จุดเริ่มต้นของความนิยมหนังสยองขวัญไทย คือ “ดิ อาย” ของผู้กับสองพี่น้องตระกูลแปง ที่ทาให้วงการหนังในหลายประเทศสั่นสะเทือนรวมถึงเกาหลีด้วย ภาพยนตร์สยองขวัญไทย มีหลายฉากที่สามารถกระตุกอารมณ์คนดูในประเทศเกาหลี เป็นเรื่องของบทลงโทษต่อผู้ที่คัดค้านหลักเหตุและผลกับวิญญาณความแค้น (http://www.consumernews.co.kr/) แนวความคิดเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดที่สามารถสัมผัสร่วมกันได้จากวัฒนธรรมทางศาสนาพุทธ และการชื่นชอบทัศนียภาพที่แปลกตาของต่างประเทศ โดยมีสีสันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยที่สร้างขึ้นมา จึงทาให้เกิดความรู้สึกร่วมกันได้
นอกจากภาพยนตร์แล้ว ปัจจุบันยังมีผู้ให้ความสนใจเพลงไทยมากผ่านทางอินเตอร์เน็ตด้วย ทาทายังผู้ที่ได้รับฉายาว่าเป็นอีฮโยรีเมืองไทย แม้จะไม่ได้โด่งดังในเกาหลี แต่เราสามารถได้ยินเพลง Sexy Naughty Bitchy เพลงฮิตของเธอได้ตามท้องถนนในเกาหลี เธอโด่งดังไปถึงประเทศอเมริกาในฐานะ สตาร์ ไอดอล ตัวแทนของประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็นนักร้องเอเชียที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ อีกทั้งเธอยังได้มีโอกาสร้องเพลงร่วมกับตัวแทนนักร้องจากประเทศเกาหลีหลายคน ล่าสุดเธอเป็นนักร้องไทยคนแรกที่มีเพลงติด Oricon Chart
แม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมหรือโดดเด่นมากนัก แต่นักร้องดังของไทยก็เคยมีโอกาสเข้ามามีบทบาทในตลาดเพลงในประเทศเกาหลี เช่น ปลามมี่(Plamy) เพลงจากอัลบั้ม 1-2 ที่วางแผงจาหน่ายในเมืองไทย ถูกคัดเลือกออกมา 14 เพลงและบันทึกเป็นภาพ live movie ปาล์มมี่ทาการแสดงในงาน เอเชีย เฟสติวัล ของแต่ละประเภท ซึ่งมีนักร้องเกาหลี เช่น บี(เรน) ชินฮวา เป็นต้น ร่วมแสดงด้วย และในปี ค.ศ. 2004 เดือนพฤศจิกายน เธอเป็นนักร้องที่ได้ร่วมแสดงความสามารถกับศิลปินของแต่ละประเทศในแถบเอเชีย เช่น หลี่หมิง อายูมิ ฮามาซากิ ดงบังชินกิ โบอา เป็นต้น(ยอนฮับนิวส์ 2004/12/20)
นอกจากทางอินเตอร์เน็ต นักร้องกับเพลงไทยยังเป็นที่รู้จักผ่านงานเอเชียซองเฟสติวัลเสมอ งานเอเชียซองเฟสติวัล ถือเป็นงานเทศกาลดนตรีอันดับต้นๆ ของเอเชีย ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประชานิยม งานนี้เริ่มจัดครั้งแรกในปี 2004 มีนักร้องอาทิเช่น ปลาล์มมี่(2004) ลานนา คัมมินส์ (2005, Lanna Commins), แคทลียา อิงลิช (2006,Katreeya English) กอล์ฟ และ ไมค์(2007,Glof&Mike) ร่วมทาการแสดง และเผยแพร่เพลงไทย ประเทศไทยกับเวียดนามนับว่าเป็นประเทศอันดับต้นในเอเชียตะวันออกที่เข้าร่วมงาน
บริษัทบันเทิงเกาหลีเองก็ให้การต้อนรับศิลปินไทยและมีการร่วมกิจกรรมระหว่างเกาหลีและไทยมากขึ้น เช่น นิชคุณ ศิลปินสัญชาติอเมริกา และเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ได้เข้ามาทางานในสังกัด JYP เอนเตอร์เทนเมนต์ หลังจากผ่านการคัดเลือกในปี ค.ศ. 2005 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิกวง 2PM ที่กาลังโด่งดังมาก
4. อาหาร และการนวดแผนไทย
ทศวรรษ ค.ศ. 2000 อาหารไทย เวียดนาม อินเดีย ฯลฯ เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมมาก การเสาะหาร้านอาหารที่ขายอาหารไทยซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นอาหารอร่อย ติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก ตามท้องถนนในแต่ละที่จึงไม่ใช่เรื่องยากเช่น อับกุจองดง ชองดัมดง มยองดง ชงโน และย่านอีแทวอนซึ่งเป็นย่านคนต่างชาติ ย่านชุมชนที่มีคนอยู่พลุกพล่าน หรือย่านที่มีร้านอาหารอร่อยตั้งรวมกันอยู่ สามารถหาร้านอาหารไทยได้ง่ายมา
ร้านอาหารไทยในเกาหลีซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงโซล ถ้านับจากร้านอาหารของประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ อาหารไทยเปิดขายเป็นอันดับสองจากเวียดนาม จากการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต พบว่า ร้านอาหารไทยมีทั้งหมด 27 ร้านและมีสาขารวมกันทั้งหมด 42 สาขา (ร้านอาหารเวียดนามมีทั้งหมด 28 ร้าน รวมทั้งหมด 291 สาขา) 6 เหตุผลที่ร้านอาหารไทยได้รับความนิยมมีอยู่หลายประการ ประการแรกพบว่าธุรกิจร้านทานอาหารนอกบ้านกาลังได้รับความสนใจ เนื่องจากการทางาน 5 วันต่อสัปดาห์, เทรนด์สุขภาพที่เรียกว่า well-being, กระแสเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการแสวงหาสิ่งแปลกใหม่, มาตรฐานผู้บริโภคสูงขึ้น เป็นต้น
จากตัวอย่างของญี่ปุ่น ร้านอาหาร Ethnic food ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารพื้นบ้านนานาชาติขยายตัวเติบโตรวดเร็ว ในรอบปีทีรายได้ประชาชาติ สูงถึง 22,000 ดอลลาร์นั้น ได้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นรอบปีที่มีการขยายตัวเร็วมาก (หนังสือพิมพ์แนอิล 2007/01/09)
และเหตุผลอื่นอีกคือ จะเห็นได้จากการแข่งขันทางการตลาดของอาหารไทยเอง เคล็ดลับรสชาติที่ถูกปากของอาหารไทยนั้น มีอยู่สามเคล็ดลับ อย่างแรกคือการผสมผสานรสชาติและกลิ่นหลากหลายในอาหารชนิดเดียว เคล็ดลับที่สองคือใช้ส่วนผสมมีกลิ่นและสมุนไพรธรรมชาติ ใช้กินแทนยาเพื่อคลายความร้อน เคล็ดลับที่สามคือ ไม่มันมาก ช่วยในการลดน้าหนัก(http://nadri.hankooki.com/lpage/weekzine/200711/wz20071 12318020373250.htm| 2007/11/23)
การตลาดเชิงรุกอย่างกระตือรือร้นของรัฐบาลไทยก็เป็นอีกเหตุผลที่สาคัญ ทาให้อาหารไทยเป็นที่ยอมรับ ในปี ค.ศ. 2006 รัฐบาลไทยได้ริเริ่มโครงเครื่องหมายรับรองร้านอาหารไทย(โครงการ “Thai Select”)โดยผ่านสถานทูตประจาต่างประเทศ ในประเทศเกาหลีดาเนินโครงการนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 ปัจจุบันมีร้านอาหาร 7 ร้านที่ได้รับเครื่องหมายนี้ เครื่องหมายนี้จะมีผลใช้ภายในระยะเวลา 3 ปี ร้านที่ได้รับการรับรอง จะติดเครื่องหมาย “Thai Select” นอกจากสถานทูตไทยในเกาหลีนอกจะดาเนินการโครงการเครื่องหมายรับรองแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมหลายอย่างควบคู่กันไปด้วย
ปรากฏการณ์ “แทรยู” นอกเหนือจากอาหารแล้วสิ่งขาดไม่ได้ คือนวดแผนไทย ข้อมูลจากองค์กรนวดแผนไทยเกาหลี (http://www.koreathai.co.kr) ตามสถิติในปี ค.ศ. 2007 เดือนสิงหาคม มีร้านนวดแผนไทยเกิดขึ้นทั้งหมด 69 แห่ง เหตุผลของการขยายรากฐานของการนวดแผนไทย ประการแรกคือ การท่องเที่ยวเมืองไทยที่ส่งเสริมวัฒนธรรมการนวดจานวนนักท่องเที่ยวเกาหลีในไทยในรอบหนึ่งปีเกินกว่า 1 ล้านคน และด้วยเหตุผลความเหนื่อยล้าจากทางาน อีกทั้งเทรนด์เชิงสังคมที่เรียกว่า well-being และอัตราการแข่งขันของการนวดแผนไทยก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งด้วย
5. การท่องเที่ยวและการศึกษา
หลายสิบปีที่ผ่านมาจานวนนักท่องเที่ยวคนไทยเพิ่มขึ้นมากอย่างสม่าเสมอ ปี 2003 นักท่องเที่ยวคนญี่ปุ่น อเมริกา ฮ่องกง นั้นลดลงมาก แต่ จานวนนักท่องเที่ยวคนไทยกลับเพิ่มสูงขึ้น 5.7% (คิมฮงกุ 2008: 546) โดยเฉพาะปี 2004 มีนักท่องเที่ยวมากถึง 100,000 คน(ตาราง 7: การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นนักท่องเที่ยวคนไทย) ข้อมูลจากองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเนื่องจากการริเริ่มโครงการท่องเที่ยวสถานที่ถ่ายทาละครเกาหลี
ด้านการศึกษาก็มีปรากฏการณ์“แทรยู”เกิดขึ้นเช่นกัน เนื่องจากระหว่างเกาหลีและไทย มีส่วนได้ส่วนเสียทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างมากความสนใจในการศึกษาภูมิภาคประเทศไทยของมหาวิทยาลัยเกาหลีจึงเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ. 1966 มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ จึงได้ริเริ่มก่อตั้งภาควิชาภาษา ไทย เพื่อดาเนินการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ต่อมาในปี ค.ศ. 1982 มหาวิทยาลัยพูซาน ภาษาและกิจการต่างประเทศ ได้ก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย และในปี ค.ศ. 1983 มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ วิทยาเขตยงอินได้ก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย
ประเทศไทยเองก็ริเริ่มดาเนินการเรียนการสอนวิชาภาษาเกาหลีด้วยเหตุผลเดียวกัน ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 7 แห่งที่ดาเนินการสอนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ปี1999), มหาวิทยาลัยบูรพา(ปี2000), มหาวิทยาลัยศิลปากร(ปี2003), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(ปี2005), มหาวิทยาลัยนเรศวร(ปี2006), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(2005), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่(2006) มหาวิทยาลัยเกาหลี(มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการ ต่างประเทศและมหาวิทยาลัยพูซาน ภาษาและกิจการต่างประเทศ)กับมหาวิทยาลัยไทย(ภาควิชาภาษาเกาหลี มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ)ได้ทาสัญญาร่วมมือกันทางงานวิชาการ แลกเปลี่ยนนักเรียน (ระบบ 2+2, 3+1) ปี ค.ศ. 2008 จานวนนักเรียนที่มาเรียนในเกาหลีมีมากกว่า 100 คน
IV.ประสิทธิผลของ “แทรยู”
ประสิทธิผลของแทรยูไม่เพียงแต่ส่งผลดีในทางตรงด้านเศรษฐกิจ เช่น การส่งเงินกลับประเทศของแรงงานต่างชาติ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าวัฒนธรรมเท่านั้น ยังส่งผลในทางอ้อม เมื่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยถูกระดับ สินค้าแบรนด์ไทย และมูลค่าการขายสินค้าส่งออกจึงเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังส่งสริมภาพลักษณ์ประเทศด้วย
ตาราง 8 เป็นข้อมูลระหว่างปี ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ.2008 ธนาคารเวฮวัน มียอดบริการการโอนเงินต่างประเทศของเงินค่าจ้าง(เฉพาะปี2008)ของผู้ที่ไม่ได้พานักประจาประเทศหรือชาวต่างชาติ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา มียอดอัตราการโอนเงินของประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปี ค.ศ.2008 รอบการโอน 168,607 ครั้ง จานวนเงิน 165,167,511 ดอลลาร์ อยู่ในอันดับต้นของประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
เปรียบเทียบกับจานวนแรงงานชาวเวียดนาม(44,526คน) ฟิลิปินส์(33,810คน) ที่มากกว่าไทย(30,405คน) (อ้างอิง ตาราง 1 สภาวการณ์แรงงานต่างชาติของแต่ละประเทศ) กลับมียอดการโอนเงินระหว่างต่างประเทศน้อยกว่าไทยถ้าดูจากประเทศที่โอนเงินให้ทั้งหมด ไทยอยู่ในอันดับสองรองจากจีน(200,750,205ดอลลาร์)
ปัจจุบันไทยส่งออกผลิตผลทางวัฒนธรรมเป็นสินค้าหลักมายังเกาหลี ส่วนใหญ่จะเน้นที่ภาพยนตร์ จากตาราง 6 (เอกสารⅡจาก คณะกรรมการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ) ปี ค.ศ. 2002 2 เรื่อง, 31,955 ดอลลาร์ ปี ค.ศ. 2003 1 เรื่อง 31,700 ดอลลาร์, ปี ค.ศ. 2004 1 เรื่อง 102,000 ดอลลาร์, ปี ค.ศ. 2005 4 เรื่อง 489,515 ดอลลาร์ เงินจานวนนี้เมื่อเทียบกับยอดเงินของหนังเกาหลีที่เข้าฉายในไทย ปี ค.ศ. 2005 1,520,000 ดอลลาร์ ปี ค.ศ. 2004 1,771,500 ดอลลาร์ ปี ค.ศ. 2003 1,448,500 ดอลลาร์ ปี ค.ศ. 2002 820,000 ดอลลาร์ ทาให้พบว่าน้อยลงอย่างมาก(สถานทูตเกาหลีในไทย 2006)
แทรยูทาให้การเพิ่มขึ้นของสินค้าไทยเป็นเอกลักษณ์และเพิ่มแบรนด์ของสินค้าไทยในเกาหลีได้ แต่สิ่งนี้ถ้าจะประเมินค่าทางเศรษฐกิจก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นปรากฏการณ์แทรยูนั้น การเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าทั่วไปของประเทศไทยมีปริมาณยอดการส่งออกมีจานวนเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไม่อาจประเมินผลได้อย่างชัดเจนว่าเป็นผลมาจากอิทธิพลของแทรยูได้หรือไม่
และถ้าถามว่าการแพร่กระจายของแทรยูส่งผลอะไรต่อการยกระดับภาพลักษณ์ประเทศไทยนั้น เราสามารถมองได้สองมุมมอง คือภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาคนเกาหลี ที่คิดว่าเป็นประเทศมองโลกในแง่ดี ไม่มีความเครียด เปิดกว้าง ชอบความเปลี่ยนแปลง และมีความหลากหลาย แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งก็คิดว่าเป็นประเทศที่เชื่องช้า, ไม่สะอาด, ขาดความกระตือรือร้น คนเกาหลีมองว่าคนไทยเป็นคนดี ซื่อสัตย์ มีศีลธรรม จริงใจ แต่อีกด้านหนึ่งก็มีภาพลักษณ์ในทางลบ ซึ่งดูเป็นคนอ่อนแอ อ่อนไหว วุ่นวาย ไม่ขยันขันแข็ง ขี้เกรงใจ (ชองฮวันซึง 2008: 320-328)
V. แนวโน้มและอนาคต
ปัจจุบันนี้การศึกษาแนวโน้มชั่วคราวของแทรยูนั้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เป็นอันดับแรก ถ้าดูทางด้านประวัติศาสตร์ จะพบว่าเบื้องหลังของปรากฏการณ์แทรยูนั้น เริ่มต้นคือช่วงสงครามเกาหลี คนไทยเริ่มรับรู้เกี่ยวกับเกาหลีผ่านเหตุการณ์ในครั้งนั้น เปลี่ยนเป็นความคิดบวก รับเอาประสบการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจราวปาฏิหาริย์เข้ามา จนมาถึงวันนี้ส่งผลในทางอ้อมต่อปรากฏการณ์แทรยู และเป็นเบื้องหลังครอบคลุมถึงทุกด้าน นอกจากนั้น การลงทุนโดยตรงของไทยในเกาหลี ประสบการณ์ในเมืองไทยของนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี มองว่าเป็นผลทางตรงของแทรยู
งานวิจัยนี้มีประเด็นศึกษาหลักรวมอยู่ในขอบเขตของแทรยูอันหลากหลาย อาทิ แรงงานต่างชาติไทย ผู้อพยพจากการแต่งงานระหว่างประเทศ วัฒนธรรมประชานิยม อาหารและการนวด การท่องเที่ยวและการศึกษา
แต่ในงานวิจัยนี้พบว่า ยังมีสาเหตุมาจากการที่คนไทยคาดหวังเกี่ยวกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเกาหลีและมาจากปรากฎการณ์ฮันรยูด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุผลทางอ้อม
วัฒนธรรมประชานิยมไทย เริ่มจากการสื่อสารในเกาหลีในยุคปัจจุบัน แม้จะบอกว่าวัฒนธรรมประชานิยมไทยเริ่มต้นในสังคมเกาหลี แต่ก็ไม่เหมือนกับฮันรยู (กระแสเกาหลี) ที่มีวิธีการทางพาณิชย์ขนาดใหญ่มากกว่า มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากกว่า แต่วัฒนธรรมประชานิยมไทยมีลักษณะและความสาคัญน้อยกว่า
ปัจจุบันวัฒนธรรมประชานิยมของไทยที่มีอิทธิพลอย่างเห็นได้ชัดคือภาพยนตร์ เหตุผลการรับเอาภาพยนตร์ไทยเข้ามานั้น จะเห็นได้จากรายได้จากการเข้าฉาย กาลังการแข่งขันของธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศของตัวเอง แต่การนาเข้าภาพยนตร์นั้นยังไม่กว้างขวางมากนัก แต่ถ้าพิจารณาว่าภาพยนตร์ไทยมีอัตราการนาเข้ามาฉายสูงมากกว่าภาพยนตร์ในแถบประเทศเอเชียอาคเนย์ และในอนาคตเอกลักษณ์เฉพาะของภาพยนตร์จะเป็นตัวนาไปสู่การแพร่กระจายของวัฒนธรรมประชานิยมของไทยแล้ว จึงไม่สามารถประเมินค่าอิทธิพลดังกล่าวว่าต่าได้
อาหารกับการนวดแผนไทย สาเหตุที่ได้รับความนิยมคือ มีการแข่งขันกันเอง การรุกทางการตลาดอย่างกระตือรือร้นของรัฐบาลไทย และผลตอบรับฮันรยูจากประสบการณ์ท่องเที่ยวเมืองไทยของนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี การเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวในประเทศไทย สาเหตุคือ ความเข้าใจในทางบวกต่อประเทศเกาหลีของคนไทยที่มีประสบการณ์ผ่านฮันรยู และความคาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของเกาหลี ด้านการศึกษาภาษาเกาหลีกับภาษาไทยได้รับความนิยม สาเหตุคือ เรื่องเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศก็มีส่วนหนึ่งสาคัญ นักศึกษาระหว่างทั้งสองประเทศจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรจับตามอง เนื่องจากสามารถเป็นผู้นาพาการเผยแพร่กระจายแทรยู
นอกจากแรงงานต่างชาติแล้ว ยังถือว่าแทรยูยังไม่มีประสิทธิผลมากเท่าไหร่นัก จานวนการโอนเงินข้ามประเทศของแรงงานต่างชาติ ซึ่งว่ามียอดเงินไม่น้อยเลย จึงสามารถประเมินได้ว่าเป็นผลมาจากทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ประเภทอื่นของแทรยูยังมีอิทธิพลน้อย เหตุผลที่สาคัญคือ ยกเว้นแรงงานต่างชาติ ปรากฏการณ์อย่างนี้จะออกมาอย่างชัดเจนในอนาคตกว่าในปัจจุบัน อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ อิทธิพลของวัฒนธรรมประชานิยมซึ่งต้องนาแทรยูยังมีน้อย เพราะฮันรยูเริ่มกระจายจากภาพยนตร์ ละครทีวี ดนตรี คือวัฒนธรรมประชานิยม ตามมาด้วยแฟชั่น อาหาร เกม เอนิเมชั่น ตลอดจนผลิตภัณฑ์เกาหลี แต่อิทธิพลของแทรยูในเชิงวัฒนธรรมประชานิยมที่แพร่กระจายออกไปในสังคม มีผลเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น จึงสรุปได้ว่ายังไม่มีประสิทธิผลมากนัก
ในปัจจุบัน แม้จะสรุปได้ว่าประสิทธิผลของแทรยูยังมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เราไม่สามารถประเมินค่าอิทธิพลและความสาคัญนั้นต่าได้ เช่น เรื่องปัญหาแรงงานต่างชาติและผู้อพยพจากการแต่งงานระหว่างประเทศ (มีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ) ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศเกาหลีและอิทธิพลความสามารถทางการทูตของเกาหลีก็ถูกจากัด
แม้จะมองเห็นอิทธิพลเพียงเล็กน้อย แต่การรับเอาวัฒนธรรมประชานิยมของไทย กลายเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทั้งสองทิศทาง ถ้าเราตระหนักว่ายังมีคนไทยบางส่วนมีความกังวล ไม่ค่อยเห็นด้วยและไม่ค่อยยอมรับการแพร่กระจายฮันรยู การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทั้งสองทิศทาง จะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยคลายความกังวลที่เกิดขึ้นจากไทย
คิม ฮง กุ1
Notes:
- ปี ค.ศ 1968 ค่า GNP ต่อหนึ่งคนของเกาหลี 169 ดอลลาร์ ไทย 160 ดอลลาร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1979 เกาหลี 1,662 ดอลลาร์ ไทย 595 ดอลลาร์ และในปี ค.ศ. 1995 เกาหลี 10,000 ดอลลาร์ ไทย 2,753 ดอลลาร์ มากกว่าถึง 3.63 เท่า(Yoshihara 1999: 499~500) ↩
- ส่วนใหญ่รับจ้างมาทางานตั้งแต่อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง จนถึงงาน บริการ การเกษตร การประมง เป็นต้น ↩
- นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 1995 แรงงานไทยได้เข้ามาภายใต้ระบบฝึกงานอุตสาหกรรม และหลังปี 2007 นโยบายนี้ได้ถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นระบบอนุญาตจ้างงาน ภายใต้นโยบายการจ้างงานแรงงานต่างชาติ ↩
- กฎหมายนายหน้าแต่งงาน ปี ค.ศ. 1993 เปลี่ยนจากระบบการแจ้ง เป็นอาชีพอิสระในปี ค.ศ. 1999 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เดือนมิถุนายน เป็นต้น ธุรกิจนายหน้าแต่งงานระหว่างประเทศเปลี่ยนเป็นระบบลงทะเบียน ธุรกิจนายหน้าแต่งงานภายในประเทศเปลี่ยนเป็นระบบแจ้ง ↩
- กรณีของละครยังไม่เคยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์อย่างเป็นทางการจากสัญญาณทางอากาศ ตั้งแต่ปี 1981 ถึง 2005 มี DVD/ DVD ทั้งหมด 79 เรื่องที่มาจากไทย ↩
- ข้อมูลนี้ได้มาจากผลการสารวจ จากไดเร็กทอรี่ในขอบเขตค้นหาของเวบไซด์เนเวอร์ เวบไซด์ร้านอาหารอร่อยขึ้นชื่อที่สุดภายในประเทศ (http://www.menupan.com) วิงบัส ร้านอาหารอร่อยในกรุงโซล (http://www.wingbus.com). โดยเน้นกรุงโซลเป็นศูนย์กลาง ↩