Farchan Bulkin
“State and Society: Indonesian Politics Under the New Order, 1966-1978”
(รัฐกับสังคม: การเมืองอินโดนีเซียภายใต้นโยบายระเบียบใหม่ 1966-1978)
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก / University of Washington / 1983
Mochtar Mas’oed
Ekonomi dan Struktur Politik Orde Baru 1966-71
(โครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองในยุคนโยบายระเบียบใหม่ 1966-1971)
Jakarta / LP3ES / 1989
Daniel Dhakidae
“The State, the Rise of Capital and the Fall of Political Journalism: Political Economy of the Indonesian News Industry”
(รัฐ ความเฟื่องฟูของทุนกับความล่มสลายของหนังสือพิมพ์การเมือง: เศรษฐศาสตร์การเมืองของอุตสาหกรรมข่าวสารในอินโดนีเซีย)
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก / Cornell University / 1991
บทความนี้วิจารณ์ผลงานศึกษาสำคัญสามชิ้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองของอินโดนีเซีย ซึ่งเขียนโดยชาวอินโดนีเซียเองในยุคนโยบายระเบียบใหม่ บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายระเบียบใหม่ในยุคซูฮาร์โตที่พยายามลดความสำคัญของการวิเคราะห์ระบบทุนนิยมกับชนชั้น โดยอ้างว่ามันเกี่ยวข้องกับลัทธิมาร์กซิสต์ซึ่งถือเป็นลัทธิที่ผิดกฎหมาย ได้ทำให้ผลงานศึกษาประเภทนี้มีอยู่น้อยมาก นอกจากนี้ ไม่มีผลงานใดในสามชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งๆที่มันเป็นงานที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยของอเมริกา ผลงานเหล่านี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนอกวงวิชาการอินโดนีเซีย ทั้งยังมีเพียงเล่มเดียวเท่านั้นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอินโดนีเซีย
ผลงานของ Farchan Bulkin เป็นงานศึกษาภาพรวมทางประวัติศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาพื้นฐานทางสังคมของรัฐอินโดนีเซียที่สัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของ “ทุนนิยมชายขอบ” และโชคชะตาทางการเมืองที่ขึ้น ๆ ลงๆ ของ “กลุ่มชนชั้นกลาง” ในประเทศ Bulkin ชี้ว่า การที่อินโดนีเซียไม่สามารถมีระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น เนื่องมาจากการขาดชนชั้นกลางที่เข้มแข็งที่จะสามารถพัฒนาระบบเศรษฐกิจ “แห่งชาติ” ที่เข้มแข็งขึ้นมาได้ ส่วนผลงานของ Mochtar Mas’oed พยายามวิเคราะห์ยุคแรกเริ่มก่อตั้งนโยบายระเบียบใหม่กับโครงสร้างและสถาบันทางการเมืองที่เกิดขึ้น เขาให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ทางผลประโยชน์ระหว่างกันในหมู่ทุนข้ามชาติกับผู้นำกองทัพ, ปัญญาชนและนักเผยแพร่อุดมการณ์รุ่นใหม่ของอินโดนีเซีย ในการสนับสนุนการพัฒนาตามแนวทางของระบบทุนนิยม ผลงานของ Daniel Dhakidae ได้บุกเบิกการศึกษาวงการหนังสือพิมพ์ของอินโดนีเซียในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งในระบบทุนนิยม โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและการวิจัยภาคสนามในช่วงเวลาที่ยาวนานเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ข้อโต้แย้งที่สำคัญของ Dhakidae คือ ความก้าวหน้าของทุนนิยมอุตสาหกรรมและการทำให้ข่าวสารกลายเป็นสินค้า ได้เปลี่ยนลักษณะของหนังสือพิมพ์ในอินโดนีเซียไปอย่างสิ้นเชิง อันนำไปสู่จุดจบของจารีต “หนังสือพิมพ์การเมือง”
Vedi R. Hadiz วิจารณ์
Translated by Pakavadi Jitsakulchaidej
Read the full article (in English) HERE